กฎหมายจบชีวิตแบบรับการช่วยเหลือ มีใช้ที่ไหนบ้างในโลก แต่ละที่แตกต่างกันอย่างไร ?
เป็นครั้งแรกในรอบเกือบสิบปีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหราชอาณาจักร ได้ลงมติในวาระแรก รับร่างกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายในอังกฤษและเวลส์สามารถเลือกจบชีวิตโดยการได้รับการช่วยเหลือ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา
การจบชีวิตแบบรับการช่วยเหลือ (assisted loss of life) ยังคงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ แต่ตอนนี้มีประชากรมากกว่า 300 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่การจบชีวิตด้วยการช่วยเหลือเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย
แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน และออสเตรีย ต่างออกกฎหมายการจบชีวิตแบบรับการช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งเป็นปีที่ สส.สหราชอาณาจักร ลงมติเรื่องนี้ครั้งล่าสุด โดยบางประเทศอนุญาตให้การจบชีวิตด้วยการช่วยเหลือสามารถทำได้ แม้แต่ในผู้ที่ไม่ได้ป่วยระยะสุดท้าย
ร่างกฎหมายที่เสนอในอังกฤษและเวลส์มาพร้อมกับมาตรการป้องกันที่ผู้สนับสนุนกล่าวว่าจะทำให้เป็นชุดกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดในโลก โดยผู้ป่วยต้องได้รับการอนุมัติจากผู้พิพากษาศาลสูง ขณะที่ฝ่ายวิจารณ์มองว่าการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจะเป็นขั้นตอนอันตรายซึ่งจะทำให้ผู้ที่เปราะบางตกอยู่ในความเสี่ยง และโต้แย้งด้วยว่าควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care)
ทว่า กฎหมายว่าด้วยการจบชีวิตโดยได้รับการช่วยเหลือในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และโซนออสเตรเลีย เป็นอย่างไร
Skip เรื่องแนะนำ and proceed studyingเรื่องแนะนำ
End of เรื่องแนะนำ
สหรัฐอเมริกา
ในสหรัฐอเมริกา การจบชีวิตด้วยการรับการช่วยเหลือ ซึ่งบางคนวิจารณ์ว่าควรจะเรียกว่า “การฆ่าตัวตายด้วยความช่วยเหลือ” (assisted suicide) เป็นสิทธิที่ได้รับรองตามกฎหมายในรัฐ 10 รัฐ รวมถึงเมืองหลวงกรุงวอชิงตัน ดี ซี
รัฐโอเรกอนเป็นแห่งแรกในโลกที่อนุญาตให้มีการช่วยเหลือในการจบชีวิตสำหรับคนไข้ตั้งแต่ปี 1997 ทำให้โอเรกอนเป็นรัฐที่มีประสบการณ์ในด้านนี้มากกว่า 25 ปี และกลายเป็นต้นแบบของกฎหมายการจบชีวิตโดยได้รับการช่วยเหลือให้กับรัฐอื่น ๆ ของสหรัฐฯ
ในโอเรกอน กฎหมายอนุญาตให้การจบชีวิตโดยได้รับการช่วยเหลือ สามารถกระทำได้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยต้องเป็นผู้ใหญ่ที่มีสมรรถนะทางจิตที่พร้อมและคาดว่าจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือน ด้วยเงื่อนไขต้องได้รับการอนุมัติจากแพทย์สองคน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับใบสั่งยาสำหรับยาที่มีปริมาณร้ายแรงถึงแก่ชีวิตจำนวน 4,274 คน โดยมีผู้เสียชีวิต 2,847 คน (67%)
สถิติบันทึกไว้ว่าผู้ป่วยในรัฐจำนวน 2 ใน 3 ที่ขอความช่วยเหลือในการตายในปีที่แล้ว ป่วยด้วยโรคมะเร็ง และในกลุ่มนี้ราว 1 ใน 10 มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท และอีกราว 1 ใน 10 ยังเป็นโรคหัวใจ
ทั้งนี้ ในจำนวน 367 คนที่รับประทานยาในปริมาณที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตในปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ (91.6%) กล่าวว่าการสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตด้วยตนเองเป็นปัญหาสำคัญ ส่วนคนอื่น ๆ มีข้อกังวลในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ :
- รู้สึกสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ – 234 คน (63.8%)
- การสูญเสียการควบคุมการทำงานของร่างกาย – 171 คน (46.6%)
- ความกังวลเกี่ยวกับการเป็นภาระให้ครอบครัวและเพื่อน ๆ – 159 คน (43.3%)
- การควบคุมความเจ็บปวดไม่เพียงพอ – 126 คน (34.3%)
- ผลกระทบทางการเงินจากการรักษา – 30 คน (8.2%)
ในรัฐโอเรกอนและรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้จบชีวิตแบบรับความช่วยเหลือ การใช้ยาในปริมาณมากเพื่อจบชีวิตจะต้องถูกใช้โดยตัวผู้ที่ประสงค์จบชีวิตเอง ซึ่งเป็นข้อเสนอในอังกฤษและเวลส์ด้วย ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ผ่านมา ผู้ได้รับใบสั่งยาดังกล่าวประมาณ 1 ใน 3 ไม่ได้ดำเนินการต่อ
รัฐโอเรกอนมีความสำคัญต่อผู้สนับสนุนการตายด้วยการช่วยเหลือในอังกฤษและเวลส์ เพราะพวกเขาชี้ให้เห็นว่า การตายด้วยการช่วยเหลือในรัฐโอเรกอน ยังคงจำกัดเฉพาะผู้ใหญ่ที่ป่วยระยะสุดท้ายนับตั้งแต่เริ่มใช้กฎหมายนี้ตั้งแต่แรก
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกล่าวว่าข้อบังคับบางประเด็นได้ผ่อนคลายลงไปแล้ว เช่น การยกเลิกข้อกำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่พำนักในรัฐเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าการจบชีวิตโดยความช่วยเหลือได้เปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในรัฐนี้สามารถทำได้เช่นกัน และนั่นทำให้จำนวนของผู้ที่จบชีวิตด้วยการได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แคนาดา
แคนาดาเป็นประเทศที่ผู้คัดค้านการจบชีวิตด้วยความช่วยเหลือนำมาอ้างอิงว่าเป็นตัวอย่างของ “ทางลาดที่ลื่นไถล” อันหมายถึง ประเทศที่การจบชีวิตโดยได้รับความช่วยเหลือได้รับการอนุญาตถูกขยายไปในหลายพื้นที่ และเปิดให้กับผู้คนที่มีความประสงค์เข้าถึงมากขึ้นนับตั้งแต่มีกฎหมายนี้ออกมา
การตายโดยได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ (Scientific help in loss of life – Maid) ในแคนาดามีผลครั้งแรกในปี 2016 โดยเริ่มต้นเฉพาะกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต่อมาในปี 2021 ได้มีการแก้ไขและขยายขอบเขตให้ครอบคลุมผู้ที่ประสบ “ความทรมานที่ไม่อาจทนได้” จากโรคหรือความพิการที่ไม่สามารถรักษาหายได้ และยังคาดว่าจะอนุญาตให้กับผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตในอีก 3 ปีข้างหน้า แม้ว่าจะมีความล่าช้าอยู่บ้าง
ฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์กล่าวว่า ยิ่งกฎหมายขยายขอบเขตออกไปมากเท่าใด คนที่พิการและกลุ่มเปราะบางก็ยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในกลุ่มคนที่เข้ารับช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อจบชีวิต โดยปัจจุบันจำนวนผู้เสียชีวิตในแคนาดาทุก ๆ 100 คน เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากการได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ถึง 4 คน ซึ่งสูงกว่าในรัฐโอเรกอนที่มีประมาณ 1 คนจากทุก ๆ 100 คน
คิม ลีดบีเตอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหราชอาณาจักร ที่เสนอร่างกฎหมายการตายด้วยความช่วยเหลือในรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์กล่าวว่า ระบบของแคนาดาไม่ใช่สิ่งที่กำลังถกเถียงกันสำหรับกฎหมายของอังกฤษและเวลส์ ซึ่งจะจำกัดคุณสมบัติให้กับผู้ที่ป่วยระยะสุดท้ายเท่านั้น
ยุโรป
ในยุโรป มี 6 ประเทศที่มีกฎหมายการยุติชีวิตโดยได้รับการช่วยเหลือที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก สเปน และออสเตรีย ซึ่งประเทศดังกล่าวข้างต้น การยุติชีวิตโดยรับความช่วยเหลือไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งต่างจากข้อเสนอที่อังกฤษและเวลส์กำลังพิจารณาอยู่ในสภาตอนนี้
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศแรกในโลกที่กำเนิด “สิทธิในการตาย” หลังจากทำให้การฆ่าตัวตายแบบรับการช่วยเหลือเป็นกฎหมายในปี 1942 สวิสเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าถึงการช่วยเหลือในการยุติชีวิตผ่านองค์กรที่ชื่อว่า ดิกนิทัส (Dignitas) ในเมืองซูริก ซึ่งคนจากสหราชอาณาจักรกว่า 500 คน ได้เลือกจบชีวิตที่ดิกนิทัสในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยปีที่แล้วมีผู้ที่เดินทางไปจบชีวิตถึง 40 คน อย่างไรก็ตาม ยาที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตจะถูกใช้โดยตัวผู้เข้ารับการจบชีวิตเอง
เนเธอร์แลนด์และเบลเยียมได้ออกกฎหมายการยุติชีวิตโดยได้รับการช่วยเหลือมากว่า 20 ปีแล้วสำหรับผู้ป่วยที่ประสบความทรมานที่ไม่อาจทนได้จากโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยกฎหมายดังกล่าวได้ขยายไปถึงเด็กด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเพียง 2 ประเทศในยุโรปที่อนุญาตให้ทำเช่นนี้ นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังอนุญาตการทำการุณยฆาต (euthanasia) หรือการตายด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์ (physician-assisted loss of life)
ล่าสุด สเปนและออสเตรียได้ออกกฎหมายการยุติชีวิตโดยการช่วยเหลือทั้งสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้ที่ประสบความทุกข์ทรมานที่ไม่อาจทนได้ สำหรับออสเตรีย ยาต้องถูกใช้โดยผู้ป่วยเอง ขณะที่ในสเปน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นผู้ที่สามารถให้ยาได้เท่านั้น
แม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ คุณสมบัติเข้าผู้ที่จะเข้ารับกระบวนการยุติชีวิตโดยการช่วยเหลือในยุโรปกว้างกว่ามาก เมื่อเทียบกับร่างกฎหมายที่กำลังถูกเสนอในอังกฤษและเวลส์ ขณะเดียวกันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฮอลีรูดก็เตรียมอภิปรายร่างกฎหมายที่คล้ายกันนี้ในสกอตแลนด์ด้วย ขณะที่รัฐสภาอังกฤษได้ลงมติไปแล้ว
ร่างกฎหมายที่อนุญาตให้ผู้ป่วยที่ป่วยระยะสุดท้ายและมีชีวิตเหลือไม่เกิน 12 เดือนหรือน้อยกว่านั้นให้สามารถยุติชีวิตได้ เกือบจะผ่านทุกขั้นตอนในรัฐสภาของเกาะไอล์ออฟแมน (Isle of Man) แล้ว [เกาะไอล์ออฟแมน ตั้งอยู่ในทะเลไอริช ระหว่างสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ มีสถานะเป็นเขตปกครองพิเศษภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ] และการยุติชีวิตโดยการช่วยเหลืออาจเกิดขึ้นในปี 2027 โดยมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นผู้ที่พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 5 ปี
ทางด้านเกาะเจอร์ซีย์ เกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะแชนเนล (Channel Islands) ในทะเลอังกฤษ เขตปกครองพิเศษภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ก็ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่ออนุญาตกระบวนการยุติชีวิตโดยการช่วยเหลือสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเช่นกัน
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจบชีวิตโดยสมัครใจแบบรับการช่วยเหลือ (voluntary assisted loss of life) ได้กลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายในเกือบทุกภูมิภาคของออสเตรเลีย ขณะที่ในนิวซีแลนด์ต้องเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายและคาดว่าจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือน ซึ่งในบางภูมิภาคของออสเตรเลียจะขยายระยะเวลาดังกล่าวเป็น 12 เดือน สำหรับผู้ที่มีภาวะโรคทางระบบประสาทที่เสื่อมลง
ทั้งสองประเทศ ผู้ป่วยสามารถใช้ยาสำหรับการจบชีวิตได้ด้วยตัวเอง แต่ก็สามารถเข้ารับการให้ยาโดยแพทย์หรือพยาบาลได้เช่นกัน ซึ่งตามปกติจะเป็นการฉีดยาทางหลอดเลือดดำ
กฎหมายการจบชีวิตแบบรับการช่วยเหลือ ผ่านขั้นแรกของสภาอังกฤษ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (29 พ.ย.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ผ่านร่างกฎหมายการจบชีวิตโดยได้รับการช่วยเหลือในวาระแรก ด้วยเสียงข้างมาก 55 เสียง โดย สส. ที่ลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าว ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับบางส่วนของกฎหมายและต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะให้สภาอนุมัติขั้นสุดท้าย
สส. บางคน แสดงความกังวลเกี่ยวกับข้อกำหนดในร่างกฎหมายที่อนุญาตให้แพทย์เสนอวิธีการนี้เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งไม่ได้ร้องขอที่จะเข้ารับกระบวนการนี้ตั้งแต่ต้น
ร่างกฎหมายที่เสนอนี้จะให้สิทธิแก่ผู้ใหญ่ที่มีชีวิตเหลือน้อยกว่า 6 เดือน ในการเลือกจบชีวิตด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ “ใช้วิจารณญาณทางวิชาชีพในการตัดสินใจหากมีเงื่อนไข, และเมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะหารือเรื่องดังกล่าวกับบุคคลผู้นั้น (ผู้ป่วย)”
สมาคมวิชาชีพแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (British Scientific Affiliation-BMA) ระบุว่า แพทย์แพทย์ไม่ควร “ถูกห้ามตามกฎหมายจากการเสนอเรื่องนี้”
สส. ฝ่ายที่แสดงความกังวลต้องการให้ปัญหาของพวกเขาได้รับการพิจารณาและแก้ไขเมื่อร่างกฎหมายผ่านการตรวจสอบ และลงมติในรอบต่อไปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ไมก์ แทป สส.พรรคแรงงาน ในเขตโดเวอร์และดีล กล่าวว่า จะต้อง “ระบุไว้เป็นการเฉพาะในร่างกฎหมายว่าแพทย์ไม่ควรหยิบยกวิธีการจบชีวิตแบบรับการช่วยเหลือใด ๆ เสนอต่อผู้ป่วย”
“มันควรจะได้รับการอภิปรายก็ต่อเมื่อผู้ป่วยกล่าวขึ้นมาเองเท่านั้น” เขากล่าวกับบีบีซี “การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการบังคับโดยไม่ตั้งใจ หรือความรู้สึกถึงการแนะนำในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความเครียดทางอารมณ์และความเปราะบาง”
โรซ ซาเวจ สส.พรรคเสรีประชาธิปไตย จากเขตเซาท์คอตส์โวลด์ กล่าวว่า การตายด้วยการช่วยเหลือควร “เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่ใช่แพทย์”
“ในความคิดของฉัน มันจะเป็นการผิดอย่างยิ่งที่แพทย์หรือใครก็ตาม จะเสนอแนะให้บุคคลนั้นขอความช่วยเหลือในการตาย” เธอกล่าว
“ฉันสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ เพราะมันให้ทางเลือกแก่ผู้คน และทางเลือกที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเขา ไม่ควรจะเกิดขึ้นภายใต้การส่งอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม”
ภายใต้ร่างกฎหมายฉบับนี้ สิทธิในการตายด้วยการได้รับความช่วยเหลือจะอนุญาตให้กับผู้ใหญ่ที่มีชีวิตเหลือน้อยกว่า 6 เดือน โดยต้องได้รับการอนุมัติจากแพทย์สองคนและผู้พิพากษาศาลสูง
สส.สหราชอาณาจักร ได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เสนอเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในรอบเกือบสิบปี หลังจากการอภิปรายอย่างขับเคี่ยวในที่ประชุมสภา
หลังจากนี้จะมีการอภิปรายเพิ่มเติมในหลายเดือนข้างหน้า โดยที่ สส. และสมาชิกสภาขุนนาง อาจเลือกที่จะแก้ไขร่างกฎหมายบางส่วน ซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภาของรัฐสภาก่อนที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมาย
ที่มา BBC.co.uk