กลุ่มประเทศบริกส์ (BRICS) สำคัญอย่างไร ล่าสุดไทยเป็นสมาชิก มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. 2025
กลุ่มประเทศบริกส์ (BRICS) กำลังจะต้อนรับสมาชิกใหม่ 5 ชาติจากแอฟริกาและตะวันออกกลาง ด้วยความคาดหวังว่า จะกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ พร้อมเพิ่มบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก และลดการพึ่งพาชาติตะวันตก
แต่ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายมองว่า โลกกำลังแบ่งขั้วหรือไม่ แม้กระนั้น ประเทศไทยก็เล็งเห็นผลประโยชน์จากกลุ่มความร่วมมือนี้เช่นกัน โดยเมื่อต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มบริกส์แล้ว ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ การรักษาสมดุลของขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่และประเทศพัฒนาแล้วเป็นสำคัญ
แล้วกลุ่มบริกส์มีความสำคัญอย่างไรต่อเศรษฐกิจของโลก บีบีซีรวบรวมมาอธิบาย ดังนี้
นัยสำคัญของการก่อตั้งกลุ่ม BRICS คืออะไร และประเทศใดบ้างกำลังเข้าร่วม
กลุ่มประเทศเกิดใหม่นี้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2006 โดยมีสมาชิก 4 ชาติ ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน เริ่มแรกใช้ชื่อว่า กลุ่ม “BRIC” ในเวลาต่อมาแอฟริกาใต้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกด้วยในปี 2010 จึงทำให้เกิดชื่อ “BRICS”
ทว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. นี้ กลุ่ม BRICS จะต้อนรับสมาชิกใหม่อีก 5 ชาติอย่างเป็นทางการ ประกอบด้วย อียิปต์, เอธิโอเปีย, อิหร่าน, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์
Skip เรื่องแนะนำ and continue readingเรื่องแนะนำ
End of เรื่องแนะนำ
ทั้งนี้ ชื่อเรียกของกลุ่มประเทศนี้จะไม่มีอักษรแทนชาติสมาชิกใหม่ปรากฏในชื่อแต่อาจจะเรียกว่า กลุ่ม BRICS+ หรือบริกส์พลัส แทน
ก่อนหน้านี้ อาร์เจนตินา เป็นอีกชาติหนึ่งที่ได้รับการเทียบเชิญให้ร่วมเป็นสมาชิก แต่ว่าหลังการเลือกตั้งผ่านพ้นไปได้นายฮาเวียร์ มิเล เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ เขาได้ประกาศกร้าวว่าจะไม่ขอร่วมกับกลุ่ม BRICS
ในแต่ละปี กลุ่ม BRICS จะมีการประชุมสุดยอดเพื่อพิจารณาวาระสำคัญ ๆ โดยสมาชิกแต่ละชาติจะมีสิทธิหมุนเวียนกันเป็นประธานในแต่ละปี
เหตุใดกลุ่ม BRICS จึงมีความสำคัญ
ความน่าสนใจของกลุ่มประเทศบริกส์ คือ การมีสมาชิกที่เป็นชาติมหาอำนาจอย่าง จีนและรัสเซีย รวมทั้งอีกหลายประเทศที่ทรงอิทธิพลในแต่ละทวีป เช่น แอฟริกาใต้และบราซิล
ขณะเดียวกัน เมื่อกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งนี้มีจำนวนสมาชิกมากขึ้น จะทำให้ครอบคลุมประชากรราว 3.5 พันล้านคน หรือราว forty five% ของประชากรโลก
หากพิจารณาในแง่มูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มบริกส์ มีมูลค่ากว่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 28% ของมูลค่ารวมของเศรษฐกิจโลก
ที่สำคัญ คือ ประเทศสมาชิกกลุ่มบริกส์ยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบป้อนตลาดโลกราว 44% อีกด้วย
จากปัจจัยข้างต้น กลุ่มบริกส์จึงเรียกร้องขอ “การเป็นตัวแทนและเสียงที่ยิ่งใหญ่” จากกลุ่มเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต
ในปี 2014 ชาติสมาชิกกลุ่มบริกส์ได้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (Fresh Pattern Financial institution-NDB) ขึ้น เพื่อให้เงินกู้แก่ประเทศที่ต้องการนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ในสิ้นปี 2022 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งนี้ปล่อยกู้ให้ชาติกำลังพัฒนาเพื่อนำไปสร้างถนน, สะพาน, รางรถไฟ และโครงการพัฒนาน้ำประปา รวมเป็นมูลค่าเกือบ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ศ.ปาดเรจ คาร์โมดี ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์การพัฒนาจากมหาวิทยาลัยทรินิตี คอลเลจ ดับบลินในไอร์แลนด์อธิบายถึงแนวความคิดการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งนี้ว่า นี่คือเป้าประสงค์เชิงหลักการของจีน
“ประเทศจีนกำลังพยายามใช้เวทีบริกส์เพื่อสร้างอำนาจและอิทธิพล โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา และกลายเป็นพลังนำในซีกโลกทางใต้ (World South)” เขากล่าว
ขณะที่รัสเซีย หนึ่งในชาติมหาอำนาจในกลุ่มนี้ ก็มีวาระที่ต้องการผลักดันที่แตกต่างออกไป
“รัสเซียมองว่า จะใช้กลุ่มบริกส์เป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับชาติตะวันตก และช่วยให้สามารถเอาชนะมาตรการคว่ำบาตรจากนานาชาติ หลังบุกโจมตียูเครน” ครีออน บัทเลอร์ จากสถาบันคลังสมอง แชทแฮม เฮาส์ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร อธิบาย และว่า การเป็นสมาชิกของอิหร่านก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนทัศนคติต่อต้านชาติตะวันตกที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มบริกส์
เงินสกุลใหม่ของ BRICS จะสามารถทดแทนสกุลดอลลาร์ได้หรือไม่
โดยทั่วไป ในการค้าระหว่างประเทศ เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
ทว่า ผู้นำทางการเมืองในบราซิลและรัสเซียได้เสนอให้กลุ่มบริกส์สร้างสกุลเงินเป็นของตัวเอง เพื่อลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก โดยล่าสุดในการประชุมของกลุ่มบริกส์ ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2023 ก็ไม่มีการหารือถึงเรื่องนี้
ศ.คาร์โมดี ระบุว่า อาจจะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติสำหรับชาติสมาชิกของกลุ่มบริกส์ ที่จะสร้างสกุลเงินมาใช้ร่วมกัน เนื่องจากเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมาก
“อย่างไรก็ตาม ในอนาคต พวกเขาอาจจะพิจารณาสร้างสกุลเงินชนิดใหม่ขึ้นมาใช้ร่วมกันสำหรับการชำระด้านการค้าระหว่างประเทศ หรือ อาจจะเป็นเงินสกุลคริปโตสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ก็เป็นได้” เขาระบุ
แล้วกลุ่มบริกส์ถือว่าเป็นคู่แข่งของกลุ่มจี 20 หรือไม่
กลุ่มจี 20 หรือ กลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 เพื่อหารือประเด็นปัญหาของโลก เช่น วิกฤตการเงิน และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ ภาวะโลกร้อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายชื่อที่เป็นสมาชิกของกลุ่มจี 20 จะพบว่า มีบางประเทศก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS ด้วย
ดร.ไอรีน มีอา จากสถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในกรุงลอนดอนของอังกฤษอธิบายว่า ในอนาคต พวกเขาอาจจะทำงานคู่ขนานกันไป
“พวกเขาอาจจะเคลื่อนย้ายเงินทุนไปยังชาติกำลังพัฒนาเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน หรือไม่ก็ลดทอนอำนาจของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินของโลกลง” เธอกล่าว
รัสเซียจะใช้การเป็นประธานกลุ่มบริกส์อย่างไร
ในเดือน ต.ค. 2024 รัสเซียจะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดประจำปีที่เมืองคาซาน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียบอกว่า เขาจะใช้การดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มบริกส์ในครั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ
- เพิ่มบทบาทของกลุ่มบริกส์ในเวทีการเงินระหว่างประเทศ
- พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคธนาคารและขยายการใช้เงินสกุลท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่มบริกส์
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสรรพากร (ภาษี) และศุลกากร
“รัสเซียต้องการใช้บริกส์เป็นสิ่งที่แสดงให้ชาติตะวันตกเห็นว่า รัสเซียยังคงมีเพื่อนและชาติพันธมิตรในโลกใบนี้ แม้ว่าที่ผ่านมาจะบุกรุกยูเครนก็ตาม” ดร.มีอา กล่าว
กลุ่มบริกส์มีความสำคัญต่อไทยอย่างไร
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจและศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งวิเคราะห์บทบาทของกลุ่มบริกส์ต่อเศรษฐกิจโลกและไทยในลักษณะเดียวกันว่า การขยายตัวของของกลุ่มบริกส์มากขึ้นจะทำให้ภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งในแง่เศรษฐศาสตร์เปลี่ยนไป โดยจะแบ่งโลกออกเป็นสองขั้วมากขึ้น
เมื่อพิจารณาจากจุดยืนของกลุ่มบริกส์แล้ว อิทธิพลของกลุ่มนี้จะทำให้ชาติอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกบทวิเคราะห์ในเรื่องนี้เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาว่า บริกส์เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจแบบกว้าง ไม่มีข้อกำหนดการเปิดตลาด และสิทธิประโยชน์เหมือน FTA ทำให้เมื่อไทยเข้าร่วมกลุ่มจะถือเป็นการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจในอีกแง่มุม สามารถกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละทวีปทั่วโลก เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และนักลงทุนให้มีทางเลือกในการเข้าถึงตลาดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า และ การลงทุน โดยจะมีทางเลือกในการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่นกับประเทศสมาชิก รวมถึงมีโอกาสเข้าถึงเม็ดเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจในอีกฝั่งขั้วอำนาจของโลก
ปัจจุบันกลุ่ม บริกส์มีบทบาทต่อการค้าของไทยถึง 22.8% ของการค้ารวมไทยทั้งหมด ใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (G7) ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 26.2% ของการค้ารวมไทย
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังระบุว่า ท่ามกลางกระแสโลกที่มีการแบ่งเศรษฐกิจออกเป็นสองขั้วที่ชัดเจนมากขึ้น โดยบริกส์เป็นขั้วตรงข้ามของชาติตะวันตก ดังนั้น ทางการไทยจะต้องรักษาท่าทีในการรับข้อตกลงใหม่ ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความอ่อนไหวต่อคู่ค้าในฝั่งตะวันตก และ อาจนำมาซึ่งมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มเติมได้ในอนาคต ผู้ประกอบการ และ นักลงทุนไทยจึงต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ปัจจุบัน ไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มบริกส์แล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2023 ล่าสุดในวันที่ 30 ธ.ค. 2024 กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากรัสเซียในฐานะประธานกลุ่ม BRICS ประจำปี 2024 ว่า ไทยจะเข้าร่วมประเทศหุ้นส่วนของกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2025 เป็นต้นไป
นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์และวิชาการอิสระด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ผ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา โดยเสนอว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ แต่สมัครเข้าไปร่วมในลักษณะของผู้สังเกตการณ์ก่อน เหมือนกับการเข้าไปดูว่าข้อดีข้อเสียของการเป็นสมาชิกบริกส์ และในเวทีความร่วมมือนี้มีลักษณะการทำงานและให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง และประเทศไทยจะได้ประโยชน์อย่างไร
ที่มา BBC.co.uk