ความช่วยเหลือนานาชาติกลายเป็นอาวุธของรัฐบาลทหารเมียนมาในเขตสงครามได้อย่างไร ?

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
- Author, กาวิน บัตเลอร์
- Operate, บีบีซี นิวส์
- Reporting from สิงคโปร์
ในทันทีหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ช่วงเวลา 72 ชั่วโมงแรกถือว่าเป็น “ช่วงเวลาทอง” ซึ่งผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังจะมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด
แต่ในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาเมื่อวันศุกร์ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ที่พยายามเข้าถึงบางพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดกลับถูกสกัดกั้นด้วยเจ้าหน้าที่ทหารของเมียนมา นี่คือสิ่งที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์หลายกลุ่มบอกกับบีบีซี
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แม้ว่าพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย หัวหน้าคณะรัฐบาลทหาร ได้มีคำร้องขอ ซึ่งได้เห็นไม่บ่อยนัก ขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
“ผมขอเชิญชวนประเทศใด ๆ องค์กรใด ๆ หรือใครก็ตามในเมียนมา ให้เข้ามาช่วยเหลือเรา” เขากล่าวในแถลงการณ์ไม่นานหลังจากเกิดพิบัติภัยดังกล่าว และยังอ้างว่า เขาได้ “เปิดทุกช่องทางสำหรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ” แล้ว
ทว่า ในพื้นที่จริง การเดินทางกลับไม่เป็นไปอย่างอิสระเช่นนั้น
เรื่องแนะนำ
Quit of เรื่องแนะนำ
“ผมได้คุยกับบางคนที่ในตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยกู้ภัยทั้งในเมืองสะกายและเมืองมัณฑะเลย์ และพวกเขาบอกว่าทหารในพื้นที่ได้ประกาศเคอร์ฟิว… ถนนถูกปิดกั้น จุดตรวจก็มีคิวยาว และยังมีการตรวจสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าออก และเจ้าหน้าที่ก็ถามหลายคำถามมาก” จอห์น ควินลีย์ ผู้อำนวยการองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ฟอร์ตี้ฟายไรต์ (Give a take care of shut to Rights) กล่าว
“มันจะง่ายกว่ามากถ้าให้กลุ่มคนเหล่านั้นเข้ามา” เขากล่าวเสริมและว่า “รัฐบาลทหารเมียนมาบอกว่าต้องทำเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่ผมไม่เชื่อว่านั่นจะฟังขึ้นทั้งหมด”
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาทองนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
ทั้งนี้ มีผู้คนมากกว่า 3,000 ราย ได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตแล้ว ในช่วงก่อนการตีพิมพ์บทความชิ้นนี้ไม่นาน ตามข้อมูลของรัฐบาลทหารเมียนมา

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
ในคืนวันอังคารที่ผ่านมา การโจมตีขบวนรถบรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์ยิ่งสร้างความกังวลเพิ่มขึ้นอีก
เมื่อเวลา 21.21 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขบวนที่ประกอบด้วยรถของสภากาชาดของจีนเก้าคันที่บรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวถูกทหารโจมตี ตามการรายงานของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง หรือ ทีเอ็นแอลเอ (Ta'ang National Liberation Military-TNLA) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาในรัฐฉาน
ข้อความที่โพสต์ทางแอปพลิเคชันเทเลแกรมของกลุ่ม TNLA เมื่อช่วงดึงของวันอังคารที่ผ่านมา ระบุว่า การโจมตีมีขึ้นขณะที่ขบวนรถดังกล่าวกำลังเดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ โดยทหารหลายนายได้เปิดฉากยิvด้วยปืนกล แล้วบังคับให้พวกเขาหันขบวนรถกลับ
ต่อมาโฆษกของรัฐบาลทหารเมียนมารายหนึ่งออกมายืนยันว่า ทหารได้ยิvปืนใส่รถยนต์เหล่านั้นจริง โดยระบุว่า พวกเขาไม่ได้รับการแจ้งว่า ขบวนรถดังกล่าวจะเดินทางผ่านไป จึงทำการยิvเพื่อตักเตือน หลังจากทำให้ขบวนรถดังกล่าวหยุดไม่ได้
ควินลีย์ บอกอีกว่า แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลทหารเมียนมาโจมตีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
“พวกเขาทหารเมียนมาจะบรรจงเลือกว่าจะอนุญาตให้ความช่วยเหลือใดเข้าพื้นที่ได้บ้าง และหากว่าพวกเขาไม่สามารถตรวจตรา หรือไม่สามารถใช้สิ่งของเหล่านั้นอย่างที่ต้องการได้ พวกเขาก็จะจำกัดไม่ให้เอาเข้าไป” เขาบอกและระบุเพิ่มเติมว่า “แน่นอนว่า พวกเขายังพุ่งเป้าไปยังเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมด้วย”
ทั้งนี้ รัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งเริ่มเปิดฉากทำสงครามกลางเมืองต่อกองกำลังฝ่ายต่อต้านในเมียนมาหลังยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2021 มีประวัติการใช้สิ่งของช่วยเหลือและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นอาวุธในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม เช่น การนำส่งสิ่งของช่วยเหลือดังกล่าวไปยังพื้นที่ใต้การควบคุมของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็จำกัดการส่งสิ่งของเหล่านั้นไปยังพื้นที่อื่น ๆ ที่ตนไม่ได้ยึดครอง เป็นต้น
ทีมข่าวบีบีซีเคยประเมินดุลอำนาจในเมียนมา จากกลุ่มหมู่บ้านจำนวนมากกว่า 14,000 แห่งในช่วงกลางเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว พบว่า ทหารเมียนมาสามารถเข้าควบคุมพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จได้เพียง 21% ของพื้นที่ทั้งหมดของเมียนมา หลังจากความขัดแย้งได้เริ่มปะทุขึ้นมาเกือบสี่ปี

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
ในเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งก่อน ๆ เช่น เหตุพายุไซโคลนโมคาพัดถล่มในปี 2023 และพายุไต้ฝุ่นยางิในปี 2024 ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อยคน กองทัพเมียนมาได้สร้างอุปสรรคต่อความพยายามในการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ที่กลุ่มต่อต้านยึดครอง โดยปฏิเสธไม่ให้การขนส่งเสบียงต่าง ๆ ผ่านจุดตรวจศุลกากรไปได้ หรืออนุมัติการเดินทางให้กับเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์หรือผ่อนปรนข้อจำกัดในการให้ความช่วยเหลือด้านการช่วยชีวิต
“นี่คือแนวโน้มที่น่ากังวลหนึ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่วิกฤต เช่น การเกิดแผ่นดินไหว” ควินลีย์ กล่าวและว่า “รัฐบาลทหารเมียนมากำลังสกัดกั้นความช่วยเหลือใด ๆ ที่จะถูกลำเลียงไปยังกลุ่มที่พวกเขาเห็นว่าเป็นฝ่ายเดียวกันกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาล”
เจมส์ โรดฮาเวอร์ หัวหน้าของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำเมียนมา เสนอแนะเพิ่มเติมว่า รัฐบาลทหารเมียนมากีดกันประชาชนเมียนมาไม่ให้ได้รับความช่วยเหลือโดยถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงโทษ
“พวกเขาทำเช่นนั้นเพราะว่า ประชากรในพื้นที่ดังกล่าวโดยทั่วไปไม่ให้การสนับสนุนพวกเขา ดังนั้น การกีดกันพวกเขาจากความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจึงไม่เพียงเป็นการลงโทษพวกเขา แต่ยังเป็นการตัดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและความสามารถในการยืนหยัดต่อสู้” เขาบอกกับบีบีซี
สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลทหารเมียนมาอาจจะใช้กลวิธีเช่นนี้อีกครั้งในเมืองสะกาย
แม้ว่าในทางตอนกลางของเมียนมา ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของเมืองสะกายและมัณฑะเลย์จะถูกดูแลในนามของรัฐบาลเมียนมา แต่ความช่วยเหลือต่าง ๆ จะได้รับการลำเลียงไปยังพื้นที่ที่พวกเขาร่วมดูแลเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองสะกายและเมืองมัณฑะเลย์ถือว่าเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้าน
แนวโน้มที่รัฐบาลทหารเมียนมาอาจจะใช้การกีดกันทางยุทธวิธีในพื้นที่เหล่านี้ ได้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน์หลายร้อยแห่ง ซึ่งได้เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติตรวจสอบให้แน่ใจว่าความช่วยเหลือต่าง ๆ จะสามารถเข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการมากที่สุดได้ และไม่ส่งต่อไปยังรัฐบาลทหารเมียนมา
หนึ่งในแถลงการณ์ในแนวทางดังกล่าว ได้รับการลงนามโดยองค์กรภาคประชาสังคม 265 แห่ง และได้รับการเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (31 มี.ค.) ตั้งข้อสังเกตว่า พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายรุนแรงมากที่สุดอยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารโดยกลุ่มต่อต้านที่สนับสนุนประชาธิปไตย
ข้อความในแถลงการณ์ดังกล่าวระบุอีกว่า “ประวัติด้านนี้ของเมียนมาได้ให้คำเตือนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอันตรายในกรณีการส่งความช่วยเหลือผ่านรัฐบาลเมียนมา”

ที่มาของภาพ : Getty Pictures
องค์กรด้านความช่วยเหลือเชิงมนุษยธรรมหลายแห่งระบุว่า ในเมืองสะกาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขาดแคลนความช่วยเหลือได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนหลายด้าน เช่น การขาดแคลนอาหาร น้ำดื่มน้ำใช้ และเชื้อเพลิง ขณะที่รถบรรทุกความช่วยเหลือก็ถูกจอดนิ่งที่จุดตรวจทหารรอบ ๆ เมือง ชาวเมืองหลายร้อยคนต้องกลายเป็นคนไร้บ้านแบบกะทันหัน ต้องอาศัยหลับนอนอยู่ด้านนอกบนถนน อาสาสมัครกู้ภัยก็จำเป็นต้องใช้มือเปล่าในการขุดซากอาคารที่พังถล่มลงมา รวมทั้งขาดแคลนถุงใส่ร่างผู้เสียชีวิตด้วย
สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่า ส่วนอื่น ๆ ของชุมชนที่กำลังพยายามจัดการกับสถานการณ์หลังแผ่นดินไหวก็ถูกบังคับให้ต้องได้รับการอนุญาตจากทางการรัฐบาลทหารเมียนมา ด้วยการส่งบัญชีรายชื่อของอาสาสมัคร รวมทั้งรายการสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาด้วย
แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านมนุษยธรรมบอกกับบีบีซีว่า กลวิธีที่ใช้การสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือด้วยการใช้ขั้นตอนกระบวนการและการตรวจสอบตามระบบราชการที่ใช้เวลายาวนานนี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลทหารเมียนมาดำเนินการมาโดยตลอดเพื่อจำกัดกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรด้านความช่วยเหลือระหว่างประเทศในเมียนมา
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนที่มีผลบังคับใช้ในปี 2023 ระบุว่า องค์กรต่าง ๆ ในลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตการขึ้นทะเบียน และมักจะต้องลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Belief – MOU) กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะดำเนินการกิจการต่าง ๆ อย่างในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แหล่งข่าวรายหนึ่งที่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับบีบีซีว่า กลุ่มองค์กรความช่วยเหลือต่าง ๆ มักจะถูกร้องขอให้ยกเลิกกิจกรรมใด ๆ บางประเภท หรืองดเว้นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือเมืองใดเมืองหนึ่ง จากแผนงานที่พวกเขาเสนอมา โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ สำหรับพื้นที่ที่รัฐบาลทหารไม่ได้ดูแลหรือควบคุมงานด้านความช่วยเหลือ โดยทั่วไปจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต
อย่างไรก็ตาม องค์กรด้านความช่วยเหลือต่าง ๆ ได้พบวิธีต่าง ๆ ในการหลบเลี่ยงข้อจำกัดของรัฐบาลทหารเมียนมา อย่างเช่น ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจำนวนมากในเมียนมาเกิดขึ้นใต้ดิน ผ่านกลุ่มทำงานในพื้นที่ซึ่งจะสามารถตัดขั้นตอนที่จุดตรวจต่าง ๆ และนำส่งความช่วยเหลือไปยังจุดที่ต้องการโดยไม่ไปเตะตาทางการได้
แหล่งข่าวอีกรายบอกกับบีบีซีว่า ธุรกรรมทางการเงินจำนวนมาก ที่ถูกส่งมาเพื่อเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้ดำเนินการนอกระบบธนาคารของเมียนมา เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบและการสอบสวนที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยธนาคารกลางของเมียนมา
ในบางกรณี องค์กรด้านมนุษยธรรมได้เปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยเพื่อที่พวกเขาจะสามารถรับเงินทุนช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว แล้วค่อยนำเงินดังกล่าวลำเลียงข้ามชายแดนไปยังเมียนมาในรูปแบบเงินสด
อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ไม่ตรงไปตรงมาเช่นนี้มักใช้เวลานาน และยังสามารถทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมากได้ด้วย อาจจะใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ก็ได้

ที่มาของภาพ : BBC Burmese
เจ้าหน้าที่ด้านความช่วยเหลือบางคนหวังว่า ด้วยขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผนวกกับคำวิงวอนขอความช่วยเหลือจากนานาชาติของพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย อาจจะช่วยให้เป็นเรื่องง่ายที่เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ และนำส่งความช่วยเหลือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ในอดีต พวกเราต้องเผชิญกับความท้าทายบางประการ” หลุยส์ กอร์ทอน ผู้เชี่ยวชาญด้านสถานการณ์ฉุกเฉิน จากสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ กล่าว
“แม้ว่าสถานการณ์ฉุกเฉินนี้จะอยู่ในระดับสำคัญเร่งด่วนอย่างมาก… แต่ฉันคิดว่าจะยังมีแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารเมียนมาเพื่อให้รับประกันการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างไม่มีข้อจำกัดและไม่ถูกจำกัด และเราจะยังคงตอบสนองความต้องการดังกล่าวต่อไป และค้นหาวิธีการต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นวิธีการที่เรียบง่าย เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือ”
คารา แบรกก์ ผู้จัดการประจำประเทศของหน่วยบริการบรรเทาทุกข์คาทอลิก (Catholic Relief Services and products – CRS) ในนครย่างกุ้ง ของเมียนมาระบุว่า แม้ว่าจะเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า รัฐบาลทหารเมียนมาจะยอมเปิดช่องทางเพื่อรับความช่วยเหลือจากนานาชาติอย่างแท้จริงหรือไม่ แต่ทีมงานของเธอกำลังเตรียมรับมือกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมอันซับซ้อนนี้เพื่อส่งความช่วยเหลือให้ได้
“แน่นอนว่า มีความกังวลประการหนึ่งที่ว่า พวกเขา รัฐบาลทหารเมียนมา อาจจะนำความช่วยเหลือไปยังบางสถานที่เฉพาะ และไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความจำเป็น” แบรกก์ กล่าว
“แต่ในฐานะผู้มีบทบาทด้านมนุษยธรรม CRS ทำงานภายใต้ภารกิจด้านมนุษยธรรม และจะให้ความสำคัญในด้านการส่งความช่วยเหลือไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่จำเป็น อย่างเช่นจุดที่ได้รับผละกระทบอย่างหนัก โดยไม่สนว่าใครควบคุมพื้นที่ดังกล่าว” เธอกล่าว
ข้อบ่งชี้ในระยะแรกระบุว่า แม้ว่าจะมีคำวิงวอนจากพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ต่อประชาคมนานาชาติก็ตาม แต่ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาที่กำลังเผชิญปัญหาต่าง ๆ ไม่มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการเปิดทางให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างไม่จำกัด
ไม่นานหลังจากเกิดแผ่นดินไหว เครื่องบินทหารของเมียนมาได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศหลายระลอกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว การโจมตีครั้งนั้นได้คร่าชีวิตพลเรือนไปมากกว่า 50 ราย ตามการรายงานของสภาที่ปรึกษาเพื่อเอกภาพแห่งชาติ (National Team spirit Consultative Council – NUCC)
ต่อมาในวันอังคารที่ผ่านมา พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้ปฏิเสธข้อเสนอหยุดยิvจากกลุ่มต่อต้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการจัดส่งความช่วยเหลือเข้าพื้นที่ เขาระบุว่า ปฏิบัติการทางทหารจะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปอีกในรูปแบบ “มาตรการป้องกันที่จำเป็น”
อย่างไรก็ตาม หนึ่งวันถัดมา รัฐบาลทหารเมียนมาได้เปลี่ยนใจ ยอมที่จะหยุดยิvเป็นระยะเวลา 20 วัน เพื่อช่วยให้ความช่วยเหลือสามารถดำเนินการไปได้ แต่ยังคงต้องดูกันต่อไปว่า การหยุดยิvจะมีผลจริงหรือไม่ โดยกองทัพเมียนมาเน้นย้ำว่าจะ “มีการตอบโต้ตามมา” หากกลุ่มกบฏเปิดฉากโจมตี
สำหรับผู้สังเกตการณ์หลายคน นี่อาจจะดูเหมือนย้อนแย้ง ที่มือข้างหนึ่งเรียกร้องขอความช่วยเหลือขณะที่มืออีกข้างยังคงดำเนินการโจมตีทางทหาร แต่ก็สอดประสานกับประวัติการตีสองหน้าของพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย
จอห์น ควินลีย์ จากฟอร์ตี้ฟายไรต์ชี้ว่า การขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศล่าสุดของผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมานั้นมีแนวโน้มว่าเป็นการขอความช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากกว่า
ควินลีย์ให้สัมภาษณ์ก่อนที่ทหารเมียนมาจะประกาศหยุดยิvว่า ที่ผ่านมาเขาทราบว่า ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาได้ “โกหกหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับการหยุดยิvและการละเมิดร้ายแรงที่เขาสั่งการ”
ควินลีย์กล่าวเสริมว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าความช่วยเหลือเหตุแผ่นดินไหวจะไปถึงที่ที่พวกเขาต้องการมากที่สุด
“ผมไม่มีความหวังเมื่อต้องนำคำพูดของ มิน ออง หล่าย มาตีความว่าอาจเป็นจริง” เขากล่าว
“ผมคิดว่าในฐานะกลุ่มสิทธิมนุษยชน เราจำเป็นต้องตรวจสอบ โอเค ที่ มิน ออง หล่าย อนุญาตให้ความช่วยเหลือเข้าไปในพื้นที่ แต่การช่วยเหลือไปถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจริงหรือไม่ หรือว่าเขาใช้ความช่วยเหลือเป็นอาวุธ เขาขัดขวางไม่ให้ความช่วยเหลือไปถึงชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่” เขาตั้งคำถามทิ้งท้าย
ที่มา BBC.co.uk