ตาม ทักษิณ ชินวัตร เหยียบอุดรฯ ฟังคำปราศรัยแรกในอดีต “เมืองหลวงเสื้อแดง-เพื่อไทย”
Article data
- Creator, หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
- Role, ผู้สื่อข่าว.
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ลั่น “ผมกลับมาแล้ว” ขอตั้งตำแหน่ง “สทร.” ให้แก่ตัวเอง พร้อมเปิดเผยสิ่งที่รัฐบาล “แพทองธาร” จะทำหลังจากนี้ แต่ชิงออกตัวว่า “ไม่มีสิทธิครอบงำลูก เพราะผมรักลูกแบบเกรงใจมาก” ในระหว่างเปิดปราศรัยครั้งแรกในรอบ 18 ปี
ไม่เพียงประชาชนใน 4 อำเภอเป้าหมาย ประกอบด้วย กุมภวาปี, ประจักษ์ศิลปาคม, ศรีธาตุ และหนองหาน ที่เดินทางมารอรับฟังการเปิดปราศรัยของ “อดีตผู้นำในดวงใจ” ที่วัดศรีนคราราม อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี แต่ยังมีคนต่างถิ่น-ต่างอำเภอ-ต่างจังหวัด มาจับจองที่นั่งหน้าเวทีตั้งแต่ช่วงบ่าย เป็นผลให้เก้าอี้ 10,000 ตัวที่ทีมรณรงค์หาเสียงของพรรคเพื่อไทย (พท.) จัดเตรียมไว้รองรับมวลชนเต็มเกือบทุกที่นั่ง
เวลา 16.forty five น. ชายวัย 75 ปี ปรากฏกายในชุดเสื้อเชิ้ตสีฟ้า สวมเสื้อแจ๊กเก็ตสีดำทับ นุ่งกางเกงยีนส์ดูทะมัดทะแมง เรียกเสียงปรบมือ-โห่ร้อง-ตะโกนเรียก “นายกฯ ทักษิณ” และ “เรารักทักษิณ” วนไปมาหลายรอบ
สมพร วัย 64 ปี ชาวนาจาก อ.กุมภวาปี เป็นอีกคนที่เดินทางมารอเจอตัวเป็น ๆ ของอดีตนายกฯ
“อยากมาเจอคือเก่า (เดี๋ยวนี้) รักเปิ้ล (ท่าน) ดีใจที่เปิ้ลปิ๊กมาบ้านเฮา เห็นแล้วเปิ้ลยังไม่แก่เลย ยังทำอะไรให้บ้านเมืองได้อีกมาก” สมพร พรรณนาความรู้สึกกับ.ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม หลังเธอพร้อมเพื่อนบ้านราว 10 คนเข้าแถวต้อนรับ ทักษิณ
Skip เรื่องแนะนำ and continue learningเรื่องแนะนำ
Live of เรื่องแนะนำ
ส่วนพื้นที่ด้านหน้าเวที มีประชาชนจำนวนมากพยายามเข้าประชิดขอบเวที เพราะหวังจะมีโอกาสถ่ายรูป-สัมผัสมือ ผู้ปราศรัยคนสุดท้ายที่ชื่อ ทักษิณ
“กูต้องกลับ”
“คิดฮอดพี่น้องชาวอุดรฯ หลายเด้อ… จากไป 18 ปีรวยขึ้นหรือไม่ เมื่อก่อนตอนผมอยู่ คนอุดรฯ มีควายหลายตัว แต่วันนี้เหลือกี่ตัว หายหมดแล้วเหลือแต่ชีวิต” อดีตผู้นำที่ห่างไมค์-ห่างหายจากเวทีการเมืองไปถึง 18 ปี กล่าวปราศรัยในพื้นที่ที่เขาเรียกว่า “เมืองหลวงคนเสื้อแดง”
เขาระบุว่า อยากมาขอบคุณประชาชนโดยเฉพาะคนอุดรฯ ที่ไม่เคยลืมกัน
ทักษิณ เล่าว่า อยู่เมืองนอก 17 ปี อยู่ได้เพราะยึดหลักธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้า รู้จักปล่อยวางและไม่ไปลุ่มหลง แต่เมื่อไปเห็นอะไรก็จะนึกถึงประเทศไทยและคนไทยตลอด
“17 ปีไม่รู้ว่าได้กลับเมื่อไร แต่ในใจคิดอย่างเดียวว่า ‘กูต้องกลับ’ กลับยังไง กลับเมื่อไร ไม่รู้หรอก ก็สู้ไปเรื่อย ๆ แล้ววันนี้ได้กลับมา ได้กราบพระบาทพระเจ้าอยู่หัว กลับมากราบพระพุทธศาสนา กลับมาเจอพี่น้องประชาชน ทั้งหมดเป็นความสุขของชีวิตแล้ว” อดีตนายกฯ และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.) กล่าว
นี่เป็นครั้งแรกที่ ทักษิณ บิดาของ แพทองธาร ชินวัตร หรือ “อุ๊งอิ๊ง” นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดหน้าบนเวทีหาเสียงทางการเมืองอย่างเป็นทางการในฐานะ “ผู้ช่วยหาเสียง” ของผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี สังกัดพรรค พท. ภายหลังเดินทางกลับไทยเมื่อ 22 ส.ค. 2566 เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทว่าเขาไม่ทันได้นอนเรือนจำแม้แต่คืนเดียว ก็ถูกย้ายไปรักษาอาการป่วยที่ รพ.ตำรวจ ชั้น 14 และอยู่ที่นั่นนาน 6 เดือนกระทั่งได้รับการพักโทษกรณีมีเหตุพิเศษเมื่อ 18 ก.พ. 2567 ท่ามกลางข้อครหาเรื่อง “ป่วยทิพย์” และระบบยุติธรรม “สองมาตรฐาน”
แต่ถึงกระนั้น อดีตนายกฯ ชินวัตร “ผู้พ่อ” ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว-พบปะ-พูดคุยกับผู้คนโดยเฉพาะในแวดวงการเมือง เป็นผลให้ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ออกมากล่าวหาว่า ทักษิณ “มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และเป็นผู้สั่งการ” พรรค พท. ในหลายกรณี พร้อมยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย มีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ โดยศาลนัดพิจารณา 22 พ.ย. นี้ว่าจะรับหรือไม่รับคำร้องไว้พิจารณา
ทักษิณ ผู้ถูกร้องที่ 1 เคยให้ความเห็นเอาไว้ว่า “ไม่มีอะไรต้องกังวล เราทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามประเพณีปฏิบัติ ไม่ต้องสนใจอะไร เราก็ทำงานไป คุณอยากร้องก็ร้องไป ไม่เป็นไร”
นายกฯ อุ๊งอิ๊ง บอกพ่อว่าจะทำอะไร
ในระหว่างกล่าวปราศรัย ทักษิณ บอกว่า “ขอแอบนินทาลูกสาวหน่อย” โดยนำคำพูดของนายกฯ คนที่ 31 มาถ่ายทอดต่อ และย้ำอยู่หลายครั้งว่า “นายกฯ อิ๊งเขาบอกผมว่า…” นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่อดีตนายกฯ คนที่ 23 ฝากบอกใครหลายคน
.ขอสรุปสาระสำคัญเอาไว้ ดังนี้
หนึ่ง นายกฯ อิ๊งเป็นห่วงเรื่องหนี้ครัวเรือนมาก ชาวบ้านเป็นหนี้เยอะ คนจะโดนยึดบ้านยึดรถ “วันนี้มีทางออกแล้ว นายกฯ อิ๊งบอกเดือน ธ.ค. จะบอก เราจะให้ชาวบ้านได้ใช้หนี้ยังไง ลืมตาอ้าปากได้ยังไง” และย้ำว่า การให้เงินคนละหมื่นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเริ่มต้นตั้งหลัก ลดหนี้ และจะพยายามเพิ่มรายได้ให้ประชาชน
“ผมไม่มีสิทธิครอบงำลูก เพราะผมรักลูกแบบเกรงใจมาก ดังนั้นต้องให้ลูกครอบงำแทน ลูกบางทีนั่งคุยกับผม ปรึกษาผม แต่สั่งผมนะ สั่งให้ทำนั่นทำนี่ให้หน่อย” ทักษิณ กล่าว
สอง นายกฯ อิ๊งเป็นห่วงลูกชาวบ้าน จะทำอย่างไรให้มีโอกาสทางการศึกษาดีกว่านี้ “นายกฯ อิ๊งบอกว่าหาตังค์ได้มาช่วยเรื่องการศึกษาเด็ก เดี๋ยวค่อยเล่าให้ประชาชนฟังเดือน ธ.ค. เพื่อให้เด็กบ้านนอกมีการศึกษาดี มีโอกาสไปเรียนเมืองนอก”
สาม ประเทศไทยกำลังจูงใจให้นักธุรกิจใหญ่ ๆ มาลงทุนในไทย มาสร้างงาน มีรายได้มากขึ้น และการกระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัด
สี่ สมัยตนเป็นนายกฯ ยาเสพติดหายหมดไหม “พี่น้องช่วยไปบอกพ่อค้าขายยาด้วยว่าวันนี้ทักษิณกลับมาแล้ว ทักษิณนี่นะเกลียดพ่อค้าขายยามาก ไม่อยากเห็นหน้าแม่งสักคนเลย มาแล้วนะ บอกให้มันรู้ด้วย”
ห้า ตอนตนไม่อยู่ การแต่งตั้งโยกย้ายต้องจ่ายเงินซื้อโดยเฉพาะตำรวจ “นายกฯ อิ๊งบอกว่าพ่อวันนี้เราต้องคุยกับตำรวจใหญ่ทุกคนว่ายุคต่อไปนี้ไม่มีการเอาเงินจากการแต่งตั้งโยกย้าย ดังนั้นตำรวจใหญ่ต้องไม่ไปเอาเงินลูกน้องจากการแต่งตั้งโยกย้าย”
“แต่ก่อนผมจับผู้การฯ กับผู้ว่าฯ เป็นฝาแฝด ปราบยาให้หมด ถ้าปราบไม่ได้ก็จับมือออกจากจังหวัดทั้งคู่ นายกฯ อิ๊งบอกว่า งั้นลูกจะจูงมือพี่หนู (อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย) ให้จับมือทั้งตำรวจและจังหวัดเอายาเสพติดให้อยู่” ทักษิณ กล่าว
หก หลังแต่งตั้งโยกย้ายเที่ยวนี้ นายกฯ อิ๊งบอกว่าต้องจัดการเด็ดขาด พนันออนไลน์ และหวยเถื่อนทั้งหลาย
เจ็ด ค่าแรง 400 บาท มีอุปสรรคนิดเดียว แต่เชื่อว่าแก้ได้
แปด ถ้าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โตขึ้น จะแก้ปัญหาได้ วันนี้กำลังแก้ปัญหาเรื่องเงินลงทุนทั้งหลาย
เก้า พรรคร่วมรัฐบาลสามัคคีกันดี ขอให้ประชาชนเบาใจได้
ทักษิณ ยังแสดงความเชื่อมั่นว่า แพทองธาร จะเป็นนายกฯ ที่ดี และ “ดีไม่ดีเก่งกว่าผม” เพราะอายุน้อยกว่า เป็นคนรุ่นใหม่ รู้จักใช้เทคโนโลยี ขอให้นายกฯ อิ๊งทำงานไปสักระยะหนึ่ง เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจน
“ผมมั่นใจว่าภายในกลางปีหน้าเห็นหน้าเห็นหลัง ภายในสิ้นปีหน้าฟื้น มันเห็นแล้ว ก็มั่นใจว่าพี่น้องชาวอุดรฯ วันนั้นจะยิ้มสวยกว่านี้ ยิ้มกว้างกว่านี้ ตอนเลือกตั้งปี 2570 ผมมาอีกทีจะเห็นพี่น้องหน้าตาผ่อง เพราะตังค์มีใช้แล้ว ไม่แห้งแบบนี้ วันนี้แห้งไปหน่อย ยิ้มไม่ค่อยหวาน พอเลือกตั้ง 2570 ต้องยิ้มหวาน ๆ หน่อย” ทักษิณ กล่าว
นอกจากนี้ บิดาของนายกฯ ซึ่งมีเงินเดือนเป็นเบี้ยผู้สูงอายุ 700 บาท ยังขอตั้งตำแหน่งให้ตัวเองเป็น “ตำแหน่ง สทร. เสือกทุกเรื่อง เห็นอะไรน่ารำคาญต้องตะโกนโวยวายในฐานะประชาชนคนชรา คนแก่ขี้บ่น บ่นตลอด ไม่มีใครฟังก็บ่นให้ลูกสาวฟังก็ได้”
พรรคแดง VS พรรคส้ม
อดีตผู้นำทางการเมืองวัย 75 ปี เดินทางมาเยือน จ.อุดรธานี เพื่อพบปะมวลชนก่อนการเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย. โดยเป็นการช่วงชิงเก้าอี้ระหว่าง “พรรคสีแดง-พรรคสีส้ม”
เขาย้ำอยู่หลายครั้งว่า “อย่าลืมผมนะ” และ “ผมกลับมาแล้ว”
แม้ ทักษิณ ใช้เวลาไม่ถึงครึ่ง ชม. แต่ปรากฏว่าพอเขาพูดไปได้ราว 10-15 นาที ประชาชนก็เริ่มทยอยออกจากหน้าเวทีจนเก้าอี้ว่าง จากการสอบถามประชาชนบางส่วนบอกว่า เดินทางมาตั้งแต่ช่วงบ่าย เพราะต้องการมารอดูหน้าและมาฟังเสียงของอดีตนายกฯ เมื่อได้เจอและได้ยิน ก็รู้สึกพอใจแล้ว ก็เลยกลับ
พรรค พท. ส่ง ศราวุธ เพชรพนมพร อดีต สส.อุดรธานี 4 สมัย ลงรักษาเก้าอี้หลังจาก วิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรฯ จากพรรคเดียวกัน ลาออกก่อนครบวาระ เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์
ส่วนพรรคประชาชน (ปชน.) ส่ง คณิศร ขุริรัง อดีตรองนายก อบจ.อุดรธานี และประธานสภาทนายความ จ.อุดรธานี 2 สมัย ท้าชิง ทั้งนี้ 3 หัวหน้าพรรคสีส้ม – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.), ชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรค ก.ก., ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค ปชน. มีกำหนดขึ้นเวทีปราศรัยช่วยผู้สมัครของพรรคในวันที่ 15-16 พ.ย.
ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อุดรธานีถูกขนานนามว่าเป็น “เมืองหลวงคนเสื้อแดงในอีสาน” และ “จังหวัดไทยรักไทย/เพื่อไทย” สะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง สส. รวม 6 ครั้งที่ “พรรคทักษิณ” กวาดผู้แทนฯ ยกจังหวัดถึง 3 ครั้ง (2548, 2554, 2562)
ทว่าในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2566 พรรค พท. หิ้ว สส.อุดรฯ เข้าสภาได้ 7 จากทั้งหมด 10 คน ต้องเสียที่นั่งให้แก่พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) 2 เขต และพรรคก้าวไกล (ก.ก. ปัจจุบันคือพรรคประชาชน) 1 เขต
ศึกชิงเก้าอี้ “นายกฯ เล็ก” ในหนนี้ พรรค พท. ต้องการทบทวน-ตอกย้ำภาพจำเดิม จึงขนเอาอดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และทายาทคนเสื้อแดง มาเป็นคณะติดตาม ทักษิณ วันเหยียบ “เมืองหลวงคนเสื้อแดง” อาทิ จิราพร สินธุไพร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บุตรสาวของ นิสิต สินธุไพร อดีต สส.ร้อยเอ็ด และแกนนำ นปช., ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกฯ และแกนนำ นปช., ก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. และอดีตแกนนำ นปช., ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. และบุตรสาว “เสธ.แดง” พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล, พิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ อดีตแกนนํา นปช.
ที่มา BBC.co.uk