ทำไมชาวละตินอเมริกันแห่กันไปลงคะแนนเสียงให้ทรัมป์ ?

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ, ชาวลาติโน ครั้งหนึ่งเคยเป็นฐานคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครต แต่มาในการเลือกตั้งครั้งนี้กลับหันมาสนับสนุน โดนัลด์ ทรัมป์ จนสามารถทะยานไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดเหนือ กมลา แฮร์ริส

Article info

  • Author, เบิร์นด์ เดบัสมันน์ จูเนียร์, เมเดลีน ฮัลเพิร์ต และ ไมค์ เวนดลิง
  • Role, บีบีซีนิวส์

ประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งของพรรครีพับลิกัน เคยแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนชั้นแรงงานผิวขาวซึ่งช่วยผลักดันเขาขึ้นสู่ทำเนียบขาวมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2016 แต่ในครั้งนี้เขากลับได้รับเสียงสนับสนุนอย่างมากจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวละตินอเมริกัน หรือ “ลาติโน” รวมถึงได้คะแนนเสียงจากหมู่คนอเมริกันอายุน้อยที่เป็นผู้ชายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

ถือว่าคนลาติโนเป็นฐานเสียงสำคัญของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสำหรับพรรคเดโมแครตมานานหลายทศวรรษ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้เขากลับได้เสียงจากคนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมากมายถึง 14 จุดร้อยละ เมื่อเทียบกับผลการเลือกตั้งปี 2020 จากผลการสำรวจความเห็นหน้าคูหาเลือกตั้งหรือเอ็กซิท โพล (Exit ballot)

และไม่มีที่ไหนที่ทรัมป์ได้ปรับรูปแบบของคณะผู้เลือกตั้งได้ชัดเจนมากเท่าในรัฐเพนซิลเวเนีย รัฐมิชิแกน และ รัฐวิสคอนซิน ซึ่งเคยเป็น “กำแพงสีน้ำเงิน” ช่วยหนุนให้โจ ไบเดน ได้รับชัยชนะเมื่อปี 2020

คราวนี้ทรัมป์ชนะทั้ง 3 รัฐ บดขยี้ความหวังของพรรคเดโมแครตที่คิดว่าแฮร์ริสจะสามารถหาเส้นทางสู่ชัยชนะได้ แม้เจอกับความพ่ายแพ้ในคืนการเลือกตั้งล่วงหน้าในรัฐทางตอนใต้อย่างนอร์ทแคโรไลนาและจอร์เจีย

ในการกล่าวสุนทรพจน์เพื่อประกาศชัยชนะในรัฐฟลอริดา ทรัมป์ซึ่งกำลังชนะคะแนนนิยมเช่นกัน บอกว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็น “การร่วมมือกันที่ใหญ่ที่สุด กว้างขวางมากที่สุด และเป็นหนึ่งเดียวกันมากที่สุด” ในประวัติอเมริกัน

Skip เรื่องแนะนำ and continue finding outเรื่องแนะนำ

Cease of เรื่องแนะนำ

“พวกเขามาจากทุก ๆ ด้าน ทั้งที่เป็นสหภาพแรงงานและไม่ใช่สหภาพแรงงาน รวมถึงชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ชาวฮิสแปนิกอเมริกัน” เขากล่าวกับฝูงชนที่ส่งเสียงเชียร์กึกก้อง “เรามีกันทุกคน และมันก็สวยงามมาก”

ในรัฐเพนซิลเวเนียซึ่งเป็นรัฐสมรภูมิอันล้ำค่า ทรัมป์ได้รับประโยชน์จากเสียงสนับสนุนของชาวละตินอย่างมาก ซึ่งมีจำนวนประชากรในรัฐนี้เพิ่มมากขึ้น

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวละตินที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงประมาณ 600,000 คนในรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งรวมถึงประชากรชาวเปอร์โตริโกจำนวนมาก

ผลสำรวจเอ็กซิทโพลชี้ให้เห็นว่าคะแนนเสียงทั้งหมดในรัฐเพนซิลเวเนียประกอบไปด้วยชาวละตินประมาณ 5% ในการเลือกตั้งครั้งนี้ทรัมป์ได้คะแนนเสียง 42% ขณะที่เมื่อปี 2020 ซึ่งลงชิงชัยแข่งกับไบเดน เขาได้ไปเพียง 27% ผลโพลยังคงจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปเนื่องจากการนับคะแนนที่ดำเนินอยู่ ทว่านี่ก็ชี้ให้เป็นทิศทางการเลือกตั้งในภาพใหญ่ได้

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา รัฐที่มีชื่อเรียกว่า “ลาติโนเบลต์ (Latino belt หรือแปลเป็นภาษาไทยว่าแถบละติน)” ซึ่งเป็นแนวระเบียงอุตสาหกรรมในแถบตะวันออกได้เปลี่ยนเป็นพวกฝ่ายขวามากขึ้น โดยผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงบางคนบอกว่าพวกเขาไม่แปลกใจเลยเมื่อเห็นผลการเลือกตั้ง

“เหตุผลมันง่ายมาก ๆ เราชอบสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว” ซามูเอล เนกรอน ตำรวจรัฐเพนซิลเวเนียและสมาชิกของชุมชนเปอร์โตริโกขนาดใหญ่ในเมืองอัลเลนทาวน์ กล่าว

เนกรอนและผู้สนับสนุนคนอื่น ๆ ของทรัมป์ อาศัยอยู่ในเมืองที่มีชาวละตินเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมือง พวกเขายังบอกด้วยว่าเหตุที่ชุมชนของพวกเขาโน้มเอียงไปทางทรัมป์นั้น มันมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งรวมถึงประเด็นทางสังคม และการรับรู้ค่านิยมของครอบครัวที่สอดคล้องกับพรรครีพับริกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่พบมากที่สุดคือเรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาอัตราเงินเฟ้อ

“ที่นี่ คุณจ่าย 5 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 170 บาท) สำหรับไข่ 1 โหล แต่เมื่อก่อนมันแค่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ninety nine เซ็นต์ (ราว 33-34 บาท)” เนกรอนกล่าว “ผมคิดว่า พวกเราหลายคนตื่นจากคำโกหกของพรรคเดโมแครตที่คิดว่าสิ่งต่าง ๆ จะดีขึ้น เราตระหนักว่าสิ่งต่าง ๆ เคยดีกว่านี้มาก”

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ, ผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกันในงานเลี้ยงติดตามผลการเลือกตั้งในรัฐวิสคอนซิน

ก่อนการเลือกตั้ง โพลหลายสำนักยังชี้ให้เห็นว่า ชาวละตินจำนวนมากทั่วสหรัฐฯ โดยเฉพาะในรัฐเพนซิลเวเนียต่างสนใจข้อเสนอของทรัมป์ในการปิดกั้นผู้อพยพที่ชายแดนสหรัฐฯ – เม็กซิโก รวมถึงการออกกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดขึ้น

แดเนียล แคมโป ชาวอเมริกันเชื้อสายเวเนซุเอลา กล่าวว่า คำกล่าวอ้างของทรัมป์เรื่อง “สังคมนิยม” ที่คืบคลานเข้ามา ทำให้เขานึกถึงสถานการณ์ในประเทศบ้านเกิดที่ตนเองจากมา

“ผมเข้าใจสิ่งที่ [ผู้อพยพ] กำลังจากมา แต่คุณต้องทำอย่างถูกวิธี อย่างเช่นผมที่มาถูกวิธี” เขากล่าว “สิ่งต่าง ๆ ควรถูกต้องตามกฎหมาย พวกเราหลายคนกังวลว่าพรมแดนเพิ่งกลับมาเปิดอีกครั้ง” ภายใต้การบริหารของไบเดน-แฮร์ริส

โดยภาพรวมแล้ว ชาวละตินโน้มเอียงไปทางทรัมป์มากขึ้น นอกจากนี้ ฐานเสียงจากชนชั้นแรงงานผิวขาว รวมถึงการได้รับความสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ก็มากพอที่จะสร้างอุปสรรคให้กับการหาเสียงของแฮร์ริส

แต่ในขณะเดียวกันทรัมป์เองก็มีพัฒนาการในบางมุมอย่างน่าประหลาดใจด้วยเช่นกัน โดยเมื่อปี 2020 โจ ไบเดน ได้เปรียบโดยนำทรัมป์อยู่ที่ 24 จุด ด้วยฐานเสียงของผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี แต่ในครั้งนี้คะแนนนำดังกล่าวกลับลดลงเหลือเพียง 11 จุดเท่านั้น

ในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิวดำทั่วประเทศยังคงสนับสนุนแฮร์ริสอย่างท่วมท้น (85%) ทว่า ทรัมป์กลับได้เสียงสนับสนุนเพิ่มขึ้นในรัฐวิสคอนซินมากกว่าเดิม 2 เท่า จาก 8% ในปี 2020 เป็น 22% ในการเลือกตั้งครั้งนี้

สมรภูมิที่สำคัญที่สุดในวิสคอนซินคือ 3 เทศมณฑลรอบ ๆ เมืองมิลวอกีที่ ได้แก่ วอเคชา, โอซอคี และ วอชิงตัน

แฮร์ริสล้มเหลวในการรักษาส่วนแบ่งคะแนนเสียงของไบเดนเมื่อปี 2020 อย่างมีนัยสำคัญ และในขณะเดียวกันก็เสียคะแนนให้กับชาวผิวขาวที่อยู่ในเขตชนบทซึ่งเป็นฐานเสียงของทรัมป์

ผลการเลือกตั้งขั้นต้นยังชี้ว่าแฮร์ริสล้มเหลวในการได้รับคะแนนเสียงมากเท่ากับไบเดนในเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายมากที่สุดในวิสคอนซิน นั่นคือ มิลวอกี

มิเชล วากเนอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน กล่าวว่า การขอคะแนนเสียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นชนชั้นแรงงานของแฮร์ริสนั้น ไม่อาจสร้างความแตกต่างได้มากนัก เมื่อดูจากบริบทบรรยากาศการเมืองระดับชาติ

เท็ด ดีทซ์เลอร์ ลงคะแนนเสียงในสถานีดับเพลิงที่ตั้งอยู่เขตชานเมืองเล็ก ๆ ของวอเคชา

“ผมเลือกทรัมป์เพราะเรื่องพรมแดน สภาพเศรษฐกิจ และไม่อยากให้มีสงครามอีกต่อไป” เขาบอก

“เราเห็นความแตกต่างอย่างมาก ในสมัยที่ทรัมป์เคยเป็นประธานาธิบดี” ดีทซ์เลอร์ กล่าว และเสริมว่าเขาสนใจที่ทรัมป์อ้าแขนรับ โรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี้ จูเนียร์ และ ทัลซี แกบบาร์ด อดีตสมาชิกพรรคเดโมแครต ซึ่งดูเหมือนว่าทั้งคู่จะเข้ามามีบทบาทในรัฐบาลของทรัมป์

“อัตราเงินเฟ้อเป็นเรื่องใหญ่ และผมไม่คิดว่าแฮร์ริสเข้าใจมัน” เขาบอก “ผมคิดว่าเราทุกคนจะดีขึ้นเมื่อทรัมป์กลับมา”

คำบรรยายภาพ, นาฮิม อุดดิน วัย 34 ปี บอกว่า เขาเลือกทรัมป์เพราะปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สูง

นโยบายทางด้านเศรษฐกิจระดับของทรัมป์ยังโดนใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนชั้นแรงงานในรัฐมิชิแกนซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลางของประเทศเช่นกัน

ด้วยนับคะแนนเสียงที่เกือบนับเสร็จสิ้นแล้ว ทรัมป์ยังมีคะแนนนำในรัฐที่เขาเคยพ่ายแพ้มาก่อนเมื่อปี 2020 ด้วยคะแนนประมาณ 85,000 เสียง โดยเขาได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ชนบทอย่างเทศมณฑลมาคอมบ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนชั้นแรงงานจำนวนมากในเขตชานเมืองดีทรอยต์

หนึ่งในนั้นคือ นาฮิม อุดดิน คนขับรถส่งของและอดีตพนักงานบริษัทผลิตรถยนต์ฟอร์ด เขาเลือกโหวตให้ทรัมป์เพราะคิดว่าเขาจะช่วยลดราคาต่าง ๆ ลงได้

“ผมไปซื้อรถมา อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นมาก” ชายวัย 34 ปีผู้นี้กล่าว “นั่นคือเหตุผลทั้งหมดที่ผมโหวตให้กับเขา”

เช่นเดียวกับ เยียน เยียน ชีน เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในเมืองวอร์เรนที่บอกว่า ทรัมป์จะลดภาษีเงินได้และช่วยเหลือคนเช่นเธอ

พรรคเดโมแครตพยายามปรับแต่งข้อความหาเสียงเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เพื่อโน้มน้าวในผู้คนในรัฐมิชิแกน โดยโฆษณาการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ขณะที่ได้รับการสนับสนุนจาก ชอว์น เฟน ประธานสหภาพแรงงานยานยนต์ ซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทรัมป์อยู่หลายครั้ง

ศาตราจารย์แมตต์ กรอสส์แมน จากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน บอกว่า แต่พรรครีพับลิกันก็สามารถ “ลบล้าง” ข้อความหาเสียงเหล่านั้นโดยการบอกว่า การเปลี่ยนแปลงสู่รถยนต์ไฟฟ้าจะลดตำแหน่งงานลง

ด้านศาสตราจารย์โจนาธาน แฮนสัน จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนบอกว่า ในท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ทำให้พรรคเดโมแครตเสียคะแนนเสียงไป ก็เพราะผลงานด้านเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ที่เคยสนับสนุนรู้สึกว่าพวกเขาต้องถูกตำหนิในเรื่องราคาของต่าง ๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงงบประมาณที่บีบรัด

“ส่วนใหญ่แล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรู้สึกเจ็บปวดทางเศรษฐกิจสื่บเนื่องมาจากช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 และพวกเขากล่าวโทษว่าเป็นผลจากไบเดน” และแฮร์ริส