ที่ประชุม COP29 ปิดดีลงบหนุนประเทศยากจนสู้โลกร้อนกว่า 10 ล้านล้านบาท เพียงพอแล้วหรือยัง ?
Article recordsdata
- Author, จอร์จินา แรนนาร์ด และ เอสมี สตอลลาร์ด
- Feature, ทีมสภาพภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์ของบีบีซี
ชาติที่ร่ำรวยกว่าได้ให้คำมั่นว่าจะมอบเงิน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี หรือราว 10.2 ล้านล้านบาท เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเตรียมพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้
การเจรจาในประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 29 ขององค์การสหประชาชาติในกรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจานดำเนินล่าช้าไป 33 ชั่วโมง และเกือบจะล่มไม่เป็นท่า แต่ไซมอน สตีล หัวหน้าอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า “เป็นการเดินทางที่ยากลำบาก แต่เราได้บรรลุข้อตกลงแล้ว”
อย่างไรก็ตาม การเจรจาดังกล่าวล้มเหลวในการสร้างข้อตกลงของปีที่ผ่านมา ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ “เปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล”
นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้พากันเดินออกจากการประชุมเมื่อวันเสาร์ช่วงบ่ายที่ผ่านมา (23 พ.ย.) อีกด้วย
“ผมไม่ได้พูดเกินจริงเมื่อบอกว่าหมู่เกาะของฉันกำลังจะจม! คุณคาดหวังให้เรากลับไปบอกผู้หญิง ผู้ชาย และเด็ก ๆ ในประเทศของเราด้วยข้อตกลงแย่ ๆ ได้อย่างไรกัน ?” เซดริก ชูสเตอร์ ประธานแนวร่วมกลุ่มประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก (Alliance of Dinky Island States – AOSIS) กล่าว
Skip เรื่องแนะนำ and proceed readingเรื่องแนะนำ
Dwell of เรื่องแนะนำ
หลังมีการปรับเปลี่ยนบางรายละเอียด ประเทศต่าง ๆ ก็ยอมผ่านข้อตกลงดังกล่าวด้วยเสียงเชียร์และเสียงปรบมือกึกก้องเมื่อเวลา 03.00 น. ของวันอาทิตย์ (24 พ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น ทว่า ตัวแทนจากอินเดียลุกขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่เผ็ดร้อนซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีความไม่พอใจหลงเหลืออยู่
“เราไม่สามารถยอมรับมันได้…เป้าหมายที่เสนอจะไม่แก้ปัญหาอะไรให้เรา ไม่เอื้อต่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของประเทศของเรา” ลีลา นันดาน กล่าวในที่ประชุม โดยบอกว่าจำนวนเงินดังกล่าวยังน้อยเกินไป
ประเทศต่าง ๆ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ มัลดีฟส์ แคนาดา และออสเตรเลีย ยังทักท้วงว่าถ้อยคำที่เกี่ยวกับการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นอ่อนแอเกินไป โดยการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวถูกเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีการเจรจาด้านสภาพอากาศครั้งต่อไปในปี 2025
คำมั่นที่ระบุว่าจะมีเงินเข้ามามากขึ้น ถือว่าเป็นการยอมรับว่าประเทศยากจนกำลังแบกรับภาระที่ไม่สมส่วนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งที่มีส่วนทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุดในอดีต
วงเงินที่ระบุไว้ในคำมั่นครั้งใหม่นี้ คาดว่าจะมาจากเงินช่วยเหลือของรัฐบาล รวมถึงภาคเอกชน ภาคธุรกิจและการธนาคาร ซึ่งควรช่วยให้ประเทศต่าง ๆ เปลี่ยนจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน
นอกจากนี้ ยังมีความมุ่งมั่นที่เพิ่มเงินเป็น 3 เท่า เพื่อเตรียมประเทศให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ จากเดิมที่มีเงินทุนเพียง 40% เท่านั้นที่นำไปสู่สิ่งนี้
นอกเหนือจากคำมั่นสัญญาว่าจะให้เงิน 10.2 ล้านล้านบาทแล้ว ประเทศต่าง ๆ ยังเห็นพ้องกันว่า จำเป็นต้องมีเงิน 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 44.2 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2035 เพื่อช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แทบจะแน่นอนแล้วว่าปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ และเกิดคลื่นความร้อนที่รุนแรงสลับกับเกิดพายุร้ายแรงอีกหลายลูก
ช่วงเริ่มต้นของการเจรจา ข่าวสารกลับถูกบดบังด้วยข่าวการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ปรากฏว่า โดนัลด์ ทรัมป์ได้รับชัยชนะและจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือน ม.ค. ที่จะถึงนี้
เขาเป็นคนที่ไม่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2015 ทรัมป์นำสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแผนงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศให้กับประเทศต่าง ๆ
“แน่นอนว่า สิ่งนี้จะทำให้จำนวนพาดหัวข่าวนี้ลดลง ผู้บริจาคในประเทศที่พัฒนาแล้วคนอื่น ๆ ตระหนักดีว่าทรัมป์จะไม่จ่ายเงินสักบาทเดียว และพวกเขาต้องชดเชยเงินส่วนนี้ที่หายไป” ศ.โจแอนนา ดีเพลดก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ ประจำมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ บอกกับบีบีซี
การบรรลุข้อตกลงนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ประเทศต่าง ๆ ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันในด้านสภาพภูมิอากาศ แต่เมื่อประเทศที่เป็นผู้เล่นใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจของโลกดูเหมือนไม่ได้มีบทบาทมากนัก มันจึงเป็นเรื่องยากหากต้องการบรรลุเป้าหมายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
“จุดจบที่ยืดเยื้อใน COP29 สะท้อนให้เห็นถึงภูมิรัฐศาสตร์ที่ยากลำบากซึ่งโลกกำลังเผชิญอยู่ ผลที่ได้จากการเจรจาคือการประนีประนอมในข้อตกลงที่บกพร่อง ระหว่างประเทศผู้บริจาคและประเทศที่เปราะบางที่สุดในโลก” ลี ชูโอ จากสถาบันนโยบายสังคมเอเชีย กล่าว
เอ็ด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหราชอาณาจักร เน้นย้ำว่าคำมั่นครั้งใหม่นี้ไม่ได้ผูกมัดว่าสหราชอาณาจักรจะต้องจัดหาเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้วเป็น “โอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับธุรกิจของอังกฤษ” ในการลงทุนในตลาดอื่น ๆ
“นี่เป็นข้อตกลงสำคัญอย่างยิ่งต่อสภาพอากาศในนาทีสุดท้าย แม้จะไม่ใช่ทุกอย่างที่เราหรือคนอื่น ๆ ต้องการ แต่ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับเราทุกคน” เขากล่าว
ประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ มีความมุ่งมั่นอย่างแข็งแกร่งในการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนในการสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น
แม้พวกเขาจะหวังว่าข้อตกลงที่บรรลุในการเจรจาที่นครดูไบ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เมื่อปีที่แล้ว เพื่อ “เปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิล” จะแข็งแกร่งขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วข้อตกลงในปีนี้ก็แทบไม่ต่างจากเดิม ซึ่งมันไม่ดีพอสำหรับหลาย ๆ ประเทศ และถูกปฏิเสธ ซึ่งนำไปสู่การตกลงร่วมกันอีกครั้งในปีหน้า
มีรายงานว่าประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซได้ต่อสู้อย่างหนัก เพื่อให้การเจรจาดังกล่าวไม่คืบหน้าไปมากกว่านี้
“กลุ่มประเทศอาหรับจะไม่ยอมรับถ้อยคำใด ๆ ที่มุ่งเป้าไปยังภาคส่วนใดเป็นการเฉพาะ รวมถึงเชื้อเพลิงฟอสซิล” อัลบารา ทาว์ฟิค ตัวแทนจากซาอุดีอาระเบียกล่าวในการประชุมวงเปิด เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขณะที่มีหลายประเทศที่เข้าประชุมมาพร้อมกับแผนใหม่เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศของตัวเอง
อย่างนายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ ของสหราชอาณาจักร แสดงความเป็นผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศบนเวทีโลก และให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 81% ภายในปี 2035 ซึ่งหลายคนยกย่องว่าเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน
ขณะที่อาเซอร์ไบจาน เจ้าภาพการประชุม COP29 ในครั้งนี้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ระบุว่าประเทศต้องการขยายการผลิตก๊าซเพิ่มขึ้นถึง 1 ใน 3 ภายในทศวรรษหน้า
สำหรับการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 30 ของสหประชาชาติ หรือ COP 30 คาดว่า เมืองเบเลมของบราซิลจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเป็นเจ้าภาพในปีถัดไป เนื่องจากความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของประธานาธิบดีลูลา ดา ซิลวา ต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการลดการตัดไม้ทำลายป่าในแถบป่าฝนแอมะซอนซึ่งมีความสำคัญระดับโลก
ที่มา BBC.co.uk