นักเคลื่อนไหวกลุ่ม “ฮ่องกง 47” ที่ถูกจำคุกในคดีความมั่นคงแห่งชาติ คือใครบ้าง ?
ศาลฮ่องกงตัดสินลงโทษจำคุกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยคนสำคัญหลายคนในคดีความมั่นคงแห่งชาติ โดยนักเคลื่อนไหวที่ถูกจำคุก โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ โจชัว หว่อง และเบนนีย์ ไถ้ อดีตนักวิชาการมหาวิทยาลัยชื่อดัง
นักเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ชื่อว่า “ฮ่องกง 47” ซึ่งถูกตั้งข้อหาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากการปราบปรามกวาดล้างภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ (national safety regulation – NSL) ที่จีนบังคับใช้
ก่อนหน้านี้ในปีนี้ นักเคลื่อนไหวในกลุ่มนี้ 2 คน ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิด ส่วนอีก Forty five คนที่เหลือ ถูกตัดสินจำคุกในวันนี้ (19 พ.ย.)
ทางการกล่าวหานักเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นหญิง 8 คน และชายอีก 39 คน ว่าพยายามล้มล้างรัฐบาล โดยการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อเลือกผู้สมัครฝ่ายค้านสำหรับการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ
การเลือกตั้งขั้นต้นซึ่งจัดขึ้นในเดือน ก.ค. 2020 มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ฝ่ายค้านได้รับเสียงสนับสนุนมากเพียงพอที่จะขัดขวางร่างกฎหมายของรัฐบาลที่สนับสนุนจีน การเลือกตั้งครั้งดังกล่าวทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งล้านคน
การเลือกตั้งขั้นต้นถูกมองว่าเป็นวิธีการในการสานต่อการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย หลังจากการประท้วงในปี 2019 ถดถอยลง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 การเลือกตั้งขั้นต้นดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนและฮ่องกงวิตกกังวล โดยเตือนว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ (NSL) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งขั้นต้น
ผู้จัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้นโต้แย้งว่า การกระทำของพวกเขาได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมายพื้นฐาน (Commonplace Law) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับย่อที่ใช้ปกครองฮ่องกงและรับรองเสรีภาพในบางเรื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อการพิจารณาคดีสิ้นสุดลง ผู้พิพากษาเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของอัยการที่ว่า แผนการดังกล่าวจะทำให้เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ หากผู้ชนะการเลือกตั้งขั้นต้นได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรัฐสภา
จำเลยส่วนใหญ่มีทั้งให้การรับสารภาพหรือไม่ก็ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานสมคบคิดเพื่อพยายามล้มล้างการปกครอง
“ฮ่องกง 47” คือใคร ?
นักเคลื่อนไหวในกลุ่ม “ฮ่องกง 47” บางคนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น นายโจชัว หว่อง และเบนนีย์ ไถ้ ซึ่งทั้งคู่เป็นสัญลักษณ์การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2014 ที่สั่นสะเทือนเกาะฮ่องกง
นอกจากนี้ยังมีสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านที่มีชื่อเสียง เช่น คลอเดีย โม, เฮเลนา หว่อง, กวอก กา-กี และเหลียง กวอก-หุ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “คนผมยาว”
แต่หลายคนในกลุ่มนี้เป็นตัวแทนของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ที่ออกมาส่งเสียง เช่น โอเวน โชว, เวนตัส หลาว และทิฟฟานี หยวน โดยหลาวและโชว เป็นหนึ่งในกลุ่มคนหลายร้อยคนที่บุกเข้าไปในอาคารสภานิติบัญญัติและพ่นสีสเปรย์บนตราสัญลักษณ์ของประเทศฮ่องกง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นช่วงเวลาสำคัญหนึ่งของการประท้วงเมื่อปี 2019
นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่มาเข้าร่วมการประท้วงในปี 2019 ด้วย อย่างเช่นนักสังคมสงเคราะห์ ที่ชื่อว่า เฮนดริก ลุย, ผู้ประกอบการ เช่น ไมก์ แลม และอดีตพยาบาล วินนี ยู
จำเลยส่วนใหญ่ถูกคุมขังมาตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อต้นปี 2021 เนื่องจากการกักขังก่อนการพิจารณาคดีกลายเป็นเรื่องปกติภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ
นายลอว์เรนซ์ เลา ทนายความและอดีตสมาชิกสภาเขต และลี เยว่-ซุน อดีตสมาชิกสภาเขต ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์ – เบนนีย์ ไถ้
เบนนีย์ ไถ้ หนึ่งในแกนนำคนหลักที่จัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้นในปี 2020 เขาถูกจีนตราหน้าว่าเป็น “ตัวสร้างปัญหาหัวรุนแรง” โดยถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการแยกตัวของฮ่องกง และเรียกการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าเป็น “เผด็จการ”
ไถ้ เป็นนักวิชาการและศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย เขาเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังในปี 2014 เมื่อก่อตั้งขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “อ็อกคิวพาย เซ็นทรัล” (Include Central) ร่วมกับบุคคลอีก 2 คน
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว นับเป็นการรณรงค์เคลื่อนไหวด้วยอารยะขัดขืนครั้งประวัติศาสตร์เพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมในฮ่องกง โดยมีประชาชนหลายแสนคนออกมาเดินขบวนบนท้องถนน
ในปี 2019 ศาสตราจารย์ไถ้ ถูกตัดสินจำคุกจากบทบาทของเขาในการประท้วงอ็อกคิวพาย เซ็นทรัล
หนึ่งปีต่อมา หลังจากที่มีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ เขาถูกไล่ออกจากงานประจำที่มหาวิทยาลัยฮ่องกง (College of Hong Kong – HKU) เนื่องจากเคยถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา
ไถ้กล่าวหามหาวิทยาลัยว่ายอมจำนนต่อแรงกดดันของจีน และเรียกมันว่า “การสิ้นสุดของเสรีภาพทางวิชาการ”
หลังจากนั้น เขาได้เผชิญข้อกล่าวหาเรื่องการล้มล้างรัฐบาลภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ จากการจัดการเลือกตั้งขั้นต้น โดยศาลฮ่องกงตัดสินจำคุกเขา 10 ปี
นักศึกษา – โจชัว หว่อง
โจชัว หว่อง ถือเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่โด่งดังที่สุดในฮ่องกง เส้นทางสู่การเป็นนักเคลื่อนไหวของเขาเริ่มต้นเมื่อเขาอายุเพียง 14 ปี
ในปี 2014 เขากลายเป็นหน้าตาของขบวนการร่ม (Umbrella Movement) หรือการประท้วงของนักศึกษาจำนวนมากที่ใช้ร่มเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการนั่งชุมนุมของกลุ่มอ็อกคิวพาย เซ็นทรัล
หว่องถูกจำคุกครั้งแรกจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อเขามีอายุได้เพียง 20 ปี
ในปี 2019 เกิดการประท้วงยาวนานหลายเดือนในฮ่องกง โดยมีผู้คนหลายแสนคนออกมาเดินขบวนเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่เป็นที่ถกเถียงอย่างหนัก กฎหมายฉบับนี้จะอนุญาตให้ส่งตัวชาวฮ่องกงไปยังจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเข้ารับการพิจารณาคดีที่นั่นได้
หว่องเป็นหนึ่งในกลุ่มคนนับพันคนที่บุกเข้ายึดสำนักงานตำรวจในเขตหว่านไจ้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง รวมทั้งก่อเหตุขว้างไข่ใส่อาคารและพ่นสีกราฟฟิตี้ตามผนังในเดือน มิ.ย. ปีเดียวกัน
ในขณะที่การชุมนุมประท้วงในช่วงเวลาดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวแบบ “ไร้ผู้นำ” ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ทางอัยการกล่าวว่า หว่องเป็นผู้นำการประท้วงครั้งนั้น โดยระบุหลักฐานที่มาจากวิดีโอที่หว่องเรียกร้องให้มวลชน “ปิดล้อมสำนักงานตำรวจให้หมด”
หว่องถูกจำคุกเพราะบทบาทของเขาในการชุมนุมยึดสถานีตำรวจครั้งดังกล่าว และถูกคุมขังเดี่ยว ทว่าหว่องยังคงดื้อแพ่งหลังจากรับสารภาพว่า “บางทีเจ้าหน้าที่อาจต้องการให้ผมติดคุกไปเรื่อย ๆ แต่ผมเชื่อว่าไม่จะทั้งคุกตะราง หรือการสั่งห้ามการเลือกตั้ง หรืออำนาจเบ็ดเสร็จอื่นใด ก็ไม่อาจหยุดพวกเราจากการเคลื่อนไหวได้”
หว่องยังคงรับโทษอยู่ ขณะที่ถูกกล่าวหาว่าพยายามล้มล้างรัฐบาลภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ
ศาลฮ่องกงตัดสินโทษจำคุกเขาเพิ่มเติม 4 ปี 8 เดือนในวันนี้
นักปฏิวัติ – “คนผมยาว”
เหลียง กวอก-หุ่ง อดีตสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน เป็นที่รู้จักดีในชื่อ “คนผมยาว” จากทรงผมของเขา ครั้งหนึ่งเขาเคยเรียกตัวเองว่าเป็น “นักปฏิวัติมาร์กซิสต์”
ชายวัย 68 ปีผู้นี้ เป็นที่รู้จักจากการแสดงละครการเมือง หนึ่งในท่าประจำตัวของเขาคือการขว้างกล้วยเพื่อประท้วง เมื่อเขาสาบานตนรับตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาอีกครั้งในปี 2016 เขาได้ปล่อยลูกโป่งที่มีป้ายข้อความการเมืองและถือร่มสีเหลืองพร้อมประกาศว่า “ขบวนการร่มจะไม่มีวันสิ้นสุด”
เหตุการณ์นี้ทำให้เขาถูกตัดสิทธิ์ออกจากสภา เขาถูกจับกุมและต้องติดคุกซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากการเข้าร่วมการประท้วงเมื่อปี 2019
หลังจากที่กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติถูกบังคับใช้ในปี 2020 เขาก็แต่งงานกับวาเนสซา ชาน คู่รักที่คบหากันมายาวนาน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ชาน โพ-หยิง ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียง ทั้งคู่เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองที่มีชื่อว่า League of Social Democrats (แปลเป็นไทยว่า ภาคีสังคมนิยมประชาธิปไตย)
เหลียง กวอก-หุ่ง และภรรยา บอกว่าพวกเขาตัดสินใจที่จะแต่งงานกันเพราะว่าหากคนใดคนหนึ่งถูกจำคุก พวกเขาก็จะมีสิทธิทางกฎหมายมากขึ้น เช่น สิทธิเยี่ยมเยียนในเรือนจำ
หลังจากแต่งงานได้ 40 วัน เหลียง กวอก-หุ่ง ก็ถูกตั้งข้อกล่าวหา
เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 6 ปี 9 เดือน
นักเคลื่อนไหว – คลอเดีย โม
คลอเดีย โม หรือที่รู้จักอีกชื่อในภาษากวางตุ้งว่า “ป้าโม” เป็นสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านที่มีชื่อเสียง
เธอเคยเป็นนักข่าวของสำนักข่าวเอเอฟพี ซึ่งทำข่าวการปราบปรามที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1989
หญิงวัย 67 รายนี้ ช่วยก่อตั้งพรรคพลเมือง(Civic Celebration) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในปี 2006 และในปี 2012 เธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเธอยอมสละสัญชาติอังกฤษเพื่อดำรงตำแหน่งในฮ่องกง
เธอเป็นหนึ่งในสมาชิกรัฐสภา 15 คน ที่ลาออกจากสภานิติบัญญัติพร้อมกันหลังจากสมาชิกรัฐสภาฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย 4 คน ถูกขับออกจากตำแหน่งในเดือน พ.ย. ปี 2020 การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้สภานิติบัญญัติไม่มีฝ่ายค้านเหลืออยู่ในสภา
โมกล่าวในตอนนั้นว่า “เราต้องทำ” และบอกว่า “เราจำเป็นต้องประท้วงต่อสิ่งที่อาจเป็นการปราบปรามขั้นรุนแรงที่สุดของปักกิ่งต่อฮ่องกง เพื่อปิดปากผู้เห็นต่างคนสุดท้ายในเมืองนี้”
สำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์ส รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า ตำรวจ “บุกเข้าไปในห้องนั่งเล่น” เพื่อจับกุมเธอในช่วงเช้าของวันที่ 6 ม.ค. 2021 โดยแหล่งข่าวรายดังกล่าวระบุว่าเป็นการบุกจับกุมที่ “รุนแรงอย่างแท้จริง”
เธอถูกคุมขังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่อฟิลิป โบว์ริง นักข่าวชาวอังกฤษซึ่งเป็นสามีของเธอป่วยหนัก คลอเดีย โม ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยมเขาจากคุก
คลอเดีย โม ถูกศาลฮ่องกงตัดสินจำคุก 4 ปี 2 เดือน
นักเคลื่อนไหว LGBT – จิมมี แชม
จิมมี แชม เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและกลุ่ม LGBTQ มาอย่างยาวนาน เขายังเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของฮ่องกงที่มีชื่อว่า แนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเมือง (Civil Human Rights Entrance – CHRF) ด้วย
กลุ่ม CHRF ได้ยุติบทบาทลงในปี 2021 โดยอ้างว่าไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ท่ามกลางความท้าทาย “ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” อันมาจากการปราบปรามของจีน
แชมถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงหลายครั้งในปี 2019 และครั้งหนึ่งเขาถูกทิ้งไว้ข้างถนนด้วยอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยกลุ่ม CHRF กล่าวหาผู้สนับสนุนรัฐบาลว่า เป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยผู้นี้ รวมถึงการทำร้ายร่างกายนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ ด้วย แต่คำกล่าวหานี้ก็ไม่เคยได้รับการพิสูจน์
แชม ซึ่งมีอายุ 37 ปี แต่งงานกับคู่รักของเขาในนิวยอร์กในปี 2013 และต่อสู้เพื่อให้ฮ่องกงยอมรับการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกันในต่างประเทศ ศาลสูงสุดของฮ่องกงมอบชัยชนะบางส่วนแก่เขาในปี 2023 หลังจากมีคำสั่งให้รัฐบาลกำหนดกรอบการทำงานเพื่อให้การยอมรับความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกัน
ในเวลานั้น แชมถูกคุมขังเนื่องจากมีบทบาทในการเลือกตั้งขั้นต้นในฮ่องกง
เขาถูกปฏิเสธการประกันตัวหลายครั้ง โดยผู้พิพากษากล่าวว่าเขาเป็น “ชายหนุ่มที่มุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยว” ซึ่งมีแนวโน้มจะ “กระทำการอันเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ” ต่อไปได้ หากเขาได้รับการปล่อยตัว
เขาถูกตัดสินจำคุก 4 ปี 3 เดือน
นักข่าว – กวินเนธ โฮ
ก่อนจะผันตัวมาทำงานในแวดวงการเมือง กวินเนธ โฮ วัย 33 ปี เคยทำงานให้กับสำนักข่าวหลายแห่ง เช่น บีบีซีภาคภาษาจีน, สถานีโทรทัศน์ RTHK ที่ดำเนินการโดยรัฐบาล และสแตนด์นิวส์
โฮมีชื่อเสียงโด่งดังจากการประท้วงในปี 2019 เมื่อเธอถูกกลุ่มมวลชนรุมทำร้ายขณะรายงานข่าวเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว การทำร้ายร่างกายครั้งนั้นทำให้เธอต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
โฮลงสมัครในการเลือกตั้งขั้นต้นในปี 2020 และได้รับคะแนนเสียงจำนวนมากในเขตเลือกตั้งของเธอ
เธอกล่าวระหว่างการพิจารณาคดีว่า “เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” ที่ผู้สมัครพรรคฝ่ายประชาธิปไตยทั้ง 12 คน รวมทั้งตัวเธอเอง จะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสภานิติบัญญัติ
“ฉันเชื่อว่าชาวฮ่องกงส่วนใหญ่รู้ลึก ๆ ในใจว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์จีนนั้นเป็นเพียงจินตนาการเท่านั้น” เธอกล่าว
กวินเนธ โฮ ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 7 ปี
ที่มา BBC.co.uk