ปี 2024 ปีแรกที่โลกร้อนทะลุขีดจำกัด 1.5 องศาเซลเซียส

ที่มาของภาพ, AFP

คำบรรยายภาพ, ทางการอินเดียระบุว่า ในฤดูร้อนนี้ อินเดียต้องประสบกับคลื่นความร้อนที่ยาวนานมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

Article records

  • Creator, มาร์ก พอยน์ทิง
  • Position, นักวิจัยด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันค่อนข้างจะ “แน่นอน” แล้วว่าปี 2024 ซึ่งเป็นปีที่เต็มไปด้วยความแปรปรวนทางธรรมชาติที่สลับกันไปมาระหว่างคลื่นความร้อนรุนแรงและพายุรุนแรง และทำให้ปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตามการคาดการณ์ของสำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งยุโรป

อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกตลอดทั้งปีมีแนวโน้มจะสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ปี 2024 เป็นปีปฏิทินแรกที่ทะลุขีดจำกัดในเชิงสัญลักษณ์นี้

อุณหภูมิที่สูงนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ โดยมีปัจจัยจากธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ เข้ามาเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นสัญญาณเตือนก่อนการประชุมการสภาพอากาศของสหประชาชาติ (COP29) ที่ประเทศอาเซอร์ไบจาน จะเริมต้นในสัปดาห์หน้า

“สถิติล่าสุดนี้เป็นการส่งสัญญาณเตือนที่ชัดเจนอีกครั้งไปยังรัฐบาลต่าง ๆ ในการประชุม COP29 ถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อไป” ลิซ เบนท์ลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจากราชสมาคมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร กล่าว

Skip เรื่องแนะนำ and continue readingเรื่องแนะนำ

Cessation of เรื่องแนะนำ

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นมากในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2024 ซึ่งปรากฏว่าในช่วงสองเดือนสุดท้ายเท่านั้นที่อุณหภูมิลดลงอย่างฮวบฮาบจนทำให้ไม่สามารสร้างสถิติใหม่ได้ ตามที่กำหนดก่อนหน้านี้

ข้อมูลจากโครงการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Local climate Swap Carrier) ของยุโรป ระบุว่า มีแนวโน้มว่าปี 2024 จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างน้อย 1.55 องศาเซลเซียส จากยุคก่อนอุตสาหกรรม

สำหรับ ยุคก่อนอุตสาหกรรม หมายถึงช่วงเวลาระหว่างปี 1850-1900 ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่มนุษย์เริ่มทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างมาก เช่น จากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลในปริมาณมาก

การคาดการณ์นี้ทำให้ปี 2024 อาจทุบสถิติ 1.forty eight องศาเซลเซียส ซึ่งบันทึกไว้เมื่อปีที่แล้ว

“นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการบันทึกอุณหภูมิโลก” ซาแมนธา เบอร์เกส รองผู้อำนวยการ โครงการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส กล่าว

คำบรรยายภาพ, แผนภูมิแท่งแสดงอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีทั่วโลกระหว่างปี 1940-2024 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปีนี้จะเห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงสุดที่ 1.55 องศาเซลเซียส จากการประมาณการ

นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่โลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสใน 1 ปีปฏิทิน ตามข้อมูลของโครงการโคเปอร์นิคัส

นี่อาจเป็นสัญลักษณ์ เพราะประเทศต่าง ๆ เกือบ 200 ประเทศให้คำมั่นว่าจะพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในระยะยาวให้อยู่ในระดับดังกล่าวภายใต้ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2015 โดยหวังว่าจะหลีกเลี่ยงผลกระทบอันเลวร้ายที่สุดบางประการจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

การมีอุณหภูมิเกินขีดจำกัด 1.5 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายของข้อตกลงปารีสล้มเหลวลง นั่นเพราะเป็นการตั้งเป้าอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาประมาณ 20 ปี เพื่อปรับระดับความแปรปรวนตามธรรมชาติ

แต่การเกินขีดจำกัดดังกล่าวทุกปีจะทำให้โลกเข้าใกล้ระดับ 1.5 องศาเซลเซียสในระยะยาวมากขึ้น เมื่อเดือนที่แล้ว สหประชาชาติเตือนว่า โลกอาจร้อนขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียสในศตวรรษนี้

ข้อมูลจำเพาะของปี 2024 ยังก่อให้เกิดความกังวลอีกด้วย

ในช่วงต้นปี 2024 อากาศที่ร้อนขึ้นเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นจุดที่น้ำผิวดินในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนทางตะวันออกอุ่นกว่าปกติ และปล่อยความร้อนส่วนเกินนี้ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ปรากฏการณ์เอลนีโญล่าสุดเริ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2023 และสิ้นสุดลงในเดือน เม.ย. 2024 แต่นับแต่นั้นมา อุณหภูมิก็ยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลของโครงการโคเปอร์นิคัส ระบุว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกได้สร้างสถิติใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวทุกวัน

คำบรรยายภาพ, แผนภูมิแสดงอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยรายวันทั่วโลก โดยเส้นสีเทาเป็นอุณหภูมิของแต่ละปีระหว่างปี 1940-2022 ส่วนปี 2023 และปี 2024 เป็นเส้นสีแดงและสีแดงเข้มตามลำดับ โดยทั้ง 2 เส้นอยู่ในตำแหน่งเหนือกว่าระดับที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้

นักวิทยาศาสตร์หลายคนคาดว่า ปรากฏการณ์ลานีญาซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญจะพัฒนาขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว สิ่งนี้น่าจะส่งผลให้อุณหภูมิโลกลดลงชั่วคราวในปีหน้า แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร

“เราจะเฝ้าติดตามด้วยความสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในปี 2025 และปีต่อ ๆ ไป” เอ็ด ฮอว์กินส์ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง กล่าว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์จึงเตือนว่า น่าจะใช้เวลาไม่นานก่อนเกิดสถิติใหม่

“อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้พายุรุนแรงขึ้น คลื่นความร้อนร้อนขึ้น และฝนตกหนักขึ้น ซึ่งส่งผลชัดเจนต่อผู้คนทั่วโลก” ศาสตราจารย์ฮอว์กินส์กล่าว

“การรักษาเสถียรภาพอุณหภูมิโลกด้วยการบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ คือหนทางเดียวที่จะหยุดยั้งไม่ให้ภัยพิบัติเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น”