ผลวิจัยชี้ การจ้องจอโทรศัพท์ก่อนนอน เชื่อมโยงกับคุณภาพการนอนหลับที่ย่ำแย่ลง

ที่มาของภาพ : Getty Images

Article files

  • Creator, ลิฟ แมคมาฮอน
  • Characteristic, ผู้สื่อข่าวเทคโนโลยี

ผลการศึกษาในประเทศนอร์เวย์พบว่า ผู้ที่ใช้เวลาดูหน้าจอบนเตียงมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะมีอาการนอนไม่หลับหรือสูญเสียเวลานอนได้

งานวิจัยนี้มาจากการสำรวจในชาวนอร์เวย์ ซึ่งมีนักเรียนจำนวนมากกว่า forty five,000 คน เข้าร่วมการศึกษาด้วย บ่งชี้ระบุว่าเวลาอยู่หน้าจอที่เพิ่มขึ้นแต่ละชั่วโมง มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการนอนไม่หลับเพิ่มขึ้นถึง 63% และระยะเวลาในการนอนหลับน้อยลง 24 นาทีด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขาเปรียบเทียบเพียงความสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างการจ้องหน้าจอกับคุณภาพการนอนหลับที่ลดลงเท่านั้น และไม่ได้แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมอย่างแรกเป็นสาเหตุของอย่างตัวแปรอย่างหลัง

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การวางโทรศัพท์ก่อนนอน แล้วหันไปหากิจกรรมผ่อนคลายอย่างอื่น รวมถึงสร้างกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ อาจช่วยทำให้การนอนหลับดีขึ้นได้

นักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังงานศึกษาซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากการทำแบบสอบถามสำรวจตัวแทนประชากรระดับประเทศในกลุ่มนักเรียน-นักศึกษาอายุ 18-28 ปี ในปี 2022 ต้องการตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างระยะเวลาที่ใช้งานหน้าจอบนเตียงและรูปแบบการนอนหลับ

and proceed finding outเรื่องแนะนำ

Stop of เรื่องแนะนำ

พวกเขายังพยายามสำรวจผลกระทบต่อการนอนหลับอันเนื่องมาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมการใช้หน้าจอในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย

ดร. กุนฮิลด์ ยอห์นเซน ฮเยตลันด์ จากสถาบันสาธารณสุขแห่งนอร์เวย์และเป็นหัวหน้าผู้เขียนงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารฟรอนเทียร์ส (Frontiers) กล่าวว่า ประเภทของกิจกรรมการใช้หน้าจอ ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการนอนน้อยกว่าระยะเวลาที่อยู่หน้าจอโดยรวม

“เราไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์และกิจกรรมการใช้หน้าจอแบบอื่น ๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้หน้าจอเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้การนอนหลับถูกรบกวน” เขากล่าว

จะนอนหรือจะเล่นสื่อสังคมออนไลน์ ?

การสำรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของนอร์เวย์ในปี 2022 ได้ข้อให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาใช้สื่อสังคมออนไลน์หลังจากเข้านอนหรือไม่ โดยมีตัวเลือกให้ตอบตั้งแต่ การชมภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ การส่องสื่อสังคมออนไลน์ ไปจนถึงการท่องอินเทอร์เน็ต และเล่นเกม

ในบรรดาผู้ที่ตอบว่าพวกเขาใช้งานหน้าจอบนเตียงก่อนนอนราว 69% บอกว่า พวกเขาใช้สื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ บนหน้าจอด้วยเช่นกัน

ผู้เข้าร่วมยังถูกขอให้ระบุจำนวนคืนต่อสัปดาห์ที่พวกเขาใช้งานสื่อดังกล่าว พร้อมกับระบุระยะเวลา ตลอดจนความถี่ที่พวกเขาพบว่า นอนหลับได้ยาก ตื่นเช้าเกินไป หรือรู้สึกเหนื่อยล้า

ที่มาของภาพ : Getty Images

ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ระบุได้ว่า ผู้ที่กล่าวว่าประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 คืนหรือวันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ต่างมีอาการนอนไม่หลับ

แม้การศึกษาจะพบความเชื่อมโยงระหว่างการใช้งานหน้าจอกับผู้ที่รายงานว่า ตนเองถูกรบกวนการนอนหรือมีอาการนอนไม่หลับ แต่ผู้วิจัยกล่าวว่า มันไม่ได้หมายความกิจกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุของผลกระทบอย่างหลัง

“การศึกษานี้ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ เช่น การใช้หน้าจอทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือไม่ หรือนักเรียนนอนไม่หลับเป็นเพราะใช้งานหน้าจอมากกว่าหรือไม่” ดร.ฮเยตลันด์ กล่าว

พวกเขายังบอกด้วยว่า การพึ่งพาข้อมูลจากแบบสำรวจที่รายงานด้วยผู้ที่มีประสบการณ์ด้วยตัวเองนั้น อาจหมายความว่าข้อมูลนั้นมีอคติ และไม่ควรถือผลการศึกษานี้ให้เป็นตัวแทนภาพใหญ่ของผู้คนในระดับโลก

โจชัวร์ ไปเปอร์ แพทย์ด้านการนอนหลับจากเรสเมด ยูเค (ResMed UK) บอกว่าการศึกษาชิ้นนี้ให้ “หลักฐานที่มีประโยชน์และชัดเจน” ว่า การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นส่งผลเสียต่อการนอนหลับ

“มันขโมยทั้งโอกาสและคุณภาพการนอนหลับของคุณ ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมบางคนต้องดิ้นรนอย่างหนักเมื่อเริ่มมีอาการ หรือบางคนต้องพยายามอย่างหนักเพื่อทำให้หลับลงให้ได้” เขาบอกกับบีบีซี

ในขณะที่ผู้คนอาจพยายามลดผลกระทบโดยการปรับความสว่างหน้าจอให้ลดลง หรือใช้โหมดกลางคืน แต่ไปเปอร์บอกว่าการศึกษาก่อนหน้านี้เคยชี้ให้เห็นว่าไถหน้าจอ รวมถึงอุปกรณ์ใด ๆ มีแนวโน้มว่าจะทำให้การนอนหลับถูกรบกวน

เคล็ดลับเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น

เชื่อกันว่าอาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อคนมากถึง 1 ใน 3 ในสหราชอาณาจักร

ภาวะการนอนที่ผิดปกติเป็นหนึ่งในปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้คนรายงานว่า ตนเองกำลังเผชิญกับประสบการณ์นี้กับการนอน ซึ่งมักกล่าวโทษว่าเป็นเพราะการใช้โทรศัพท์หรือการไถหน้าจอช่วงดึก

แม้ว่าในทางปฏิบัติโดยทั่วไป แต่ผลกระทบที่แท้จริงของการใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือไถหน้าจอเพื่อเลื่อนดูเนื้อหาออนไลน์ ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่ามันส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจอย่างไรกันแน่

ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้คนหยุดใช้อุปกรณ์ดิจิทัลสักระยะหนึ่งก่อนเข้านอน

พวกเขายังกล่าวด้วยว่าการสร้างกิจวัตรการเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกัน ทุก ๆ วัน อาจช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

ที่มาของภาพ : Getty Images

องค์กรการกุศลด้านสุขภาพจิต เช่น ไมด์ (Thoughts) และ รีธิงค์ (Rethink) แนะนำว่าควรพยายามผ่อนคลายก่อนเข้านอนโดยฝึกการหายใจ อ่านหนังสือ หรืออาบน้ำ แทนที่จะพยายามบังคับตัวเองให้หลับ

พวกเขายังแนะนำด้วยว่าควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มกาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรืออาหารค่ำมื้อใหญ่ก่อนนอน และควรออกกำลังกายเบา ๆ รวมถึงจัดวางที่นอนของคุณให้สะดวกสบายยิ่งขึ้นหากเป็นไปได้

ดร. แคท เลเดอร์เล นักบำบัดด้านการนอนหลับ บอกกับบีบีซีว่า การได้รับแสงธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงเช้า ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยควบคุมนาฬิกาภายในร่างกายของเรา

เธอกล่าวว่าการค้นหาวิธี “ปล่อยวางจากวันยุ่ง ๆ หรือวันที่มีเรื่องให้คิดมากมาย” ด้วยการหากิจกรรมที่สนุกสนานซึ่งไม่กระตุ้นจิตใจมากเกินไป อาจเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้ด้วย

ผู้เขียนงานศึกษานี้ยังสะท้อนถึงความจำเป็นในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ รวมถึงการตรวจสอบรูปแบบการนอนหลับในระยะยาว ตลอดจนการตรวจสอบในด้านอื่น ๆ เช่น การแจ้งเตือนจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีผลให้การนอนหลับถูกรบกวนหรือไม่ เป็นต้น

“หากรวมข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้ มันจะช่วยให้เราหาความชัดเจนได้ว่า ผลกระทบจากการใช้หน้าจอก่อนนอนมีผลต่อการนอนหลับอย่างไร และสามารถให้คำแนะนำที่ตรงเป้าหมายสำหรับนักเรียนและประชากรกลุ่มอื่น ๆ” พวกเขากล่าวสรุป