ผลเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: ทรัมป์ชนะแฮร์ริส ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47

ชาวอเมริกันได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันอังคารที่ 5 พ.ย. (ตามเวลาท้องถิ่น) ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างตัวแทนจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่ นั่นคือ โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน และ กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต

เวลา 7.30 น. วันนี้ (6 พ.ย.) ตามเวลาในประเทศไทย การเลือกตั้งในหลายรัฐของสหรัฐฯ ได้ปิดหีบการเลือกตั้งแล้ว เช่น รัฐเคนตักกี, อินเดียนา, เซาท์แคโรไลนา, เวอร์มอนต์, เวอร์จิเนีย และรัฐสมรภูมิ หรือ “สวิงสเตท” (swing roar) อย่างจอร์เจีย ขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ และกมลา แฮร์ริส เริ่มทำคะแนนนำในช่วงต้น

ล่าสุด เวลา 17.33 น. ทรัมป์คว้าสวิงสเตรทได้ 4 รัฐ ส่งผลให้เขาเป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐฯ

ผลการนับคะแนนในแต่ละรัฐล่าสุด

เมื่อ 17:33 น. ตามเวลาในประเทศไทย การนับคะแนนเลือกตั้งได้ประกาศผลไปแล้ว 46 รัฐ และเมืองหลวงวอชิงตัน ดี.ซี.

ผลการนับคะแนนล่าสุด โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ได้ไป 279 เสียง และกมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต ชนะไป 223 เสียง

Skip เรื่องแนะนำ and continue finding outเรื่องแนะนำ

Dwell of เรื่องแนะนำ

โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ชนะไปแล้ว 28 รัฐ

ได้แก่ ฟลอริดา (30 เสียง), อลาบามา (9 เสียง), เซาท์แคโรไลนา (9 เสียง), หลุยส์เซียนา (8 เสียง), เท็กซัส (40 เสียง), โอคลาโฮมา (7 เสียง), เทนเนสซี (11 เสียง), อาร์คันซอส์ (6 เสียง), เคนตักกี (8 เสียง), อินเดียนา (11 เสียง), เวสต์เวอร์จิเนีย (4 เสียง), นอร์ทดาโคตา (3 เสียง), เซาท์ดาโคตา (3 เสียง), ไวโอมิง (3 เสียง), ยูทาห์ (6 เสียง), มอนทานา (4 เสียง), มิสซูรี (10 เสียง), แคนซัส (6 เสียง), โอไฮโอ (17 เสียง), ไอโอวา (6 เสียง), มิสซิสซิปปี (6 เสียง), เนแบรสกา (3 เสียง), นอร์ทแคโรไลนา (16 เสียง), จอร์เจีย (16 เสียง), เพนซิลเวเนีย (19 เสียง), วิสคอนซิน (10 เสียง), อลาสกา (3 เสียง)

กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมเครต ชนะไปแล้ว 18 รัฐ และเมืองหลวงวอชิงตัน ดี.ซี.

ได้แก่ วอชิงตัน ดี.ซี. (3 เสียง), อิลลินอยส์ (19 เสียง), เวอร์จิเนีย (13 เสียง), แมรีแลนด์ (10 เสียง), เดลาแวร์ (3 เสียง), นิวยอร์ก (28 เสียง), โรดไอแลนด์ (4 เสียง), แมสซาชูเซตส์ (11 เสียง), เวอร์มอนต์ (3 เสียง), โคโลราโด (10 เสียง), แคลิฟอร์เนีย (54 เสียง), ฮาวาย (4 เสียง), เวอร์จิเนีย (13 เสียง), นิวเม็กซิโก (5 เสียง), คอนเน็คติกัต (7 เสียง), มินนิโซตา (10 เสียง), นิวเจอร์ซีย์ (14 เสียง), นิวแฮมป์เชียร์ (4 เสียง)

คำบรรยายภาพ, ผลการเลือกตั้ง ณ เวลา 17.33 น. ตามเวลาประเทศไทย

ทรัมป์คว้าชัยชนะใน “รัฐสมรภูมิ” หรือสวิงสเตทแล้ว 4 รัฐ พิชิตทำเนียบขาว

รัฐนอร์ทแคโรไลนา เป็นรัฐสมรภูมิรัฐแรก จาก 7 รัฐ ที่ประกาศผลคะแนนออกมา โดยจำนวนคณะผู้แทนเลือกตั้งในรัฐนอร์ทแคโลไรนา 16 เสียง ได้ตกเป็นของโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน

ล่าสุดเมื่อเวลา 12.40 น. ตามเวลาในประเทศไทย ทรัมป์ ได้รัฐจอร์เจียเพิ่มอีก 16 เสียง

นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับทีมรณรงค์หาเสียงของทรัมป์ เพราะการได้เสียงจากรัฐนี้ทำให้ทรัมป์อยู่บนเส้นทางสู่ 270 เสียง เพื่อจะเอาชนะกมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต

ในเวลา 13.36 น. สำนักข่าวซีบีเอสซึ่งเป็นพันธมิตรของบีบีซี ระบุว่าทรัมป์มีแนวโน้มชนะในรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งมีเสียงคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีมากถึง 19 เสียง ถือว่ามากที่สุดในบรรดาสวิงสเตท

เมื่อเวลาประมาณ 14.20 น. ทรัมป์ได้เพนซิลเวเนียเพิ่มมาอีก 1 รัฐ ทำให้เขาเหลือเพียงอีก 4 เสียงเท่านั้น เพื่อพิชิตทำเนียบขาว

และเมื่อเวลาประมาณ 17.33 น. ทรัมป์คว้ารัฐวิสคอนซินซึ่งมี 10 เสียงได้อีกหนึ่งแห่ง ส่งผลให้เขากลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว ด้วยคะแนน 279 เสียง

ในเวลานี้ยังเหลือีก 3 รัฐสมรภูมิที่ยังไม่ทราบผลการเลือกตั้ง ได้แก่ รัฐเนวาดา รัฐมิชิแกน และ รัฐแอริโซนา แต่ดูเหมือนว่าทรัมป์จากรีพับลิกันจะนำแฮร์ริสด้วยคะแนนสูสีในทั้ง 3 รัฐดังกล่าว

ทรัมป์ประกาศชัยชนะหลังคะแนนเสียงนำแฮร์ริส

ที่มาของภาพ, Reuters

แม้ว่าการนับคะแนนยังไม่เสร็จสิ้น เหลือเพียง 3 เสียงเท่านั้นที่จะทำให้ทรัมป์เป็นผู้คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เขาได้ออกมากล่าวสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะพร้อมกับกล่าวขอบคุณบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ รวมทั้งภริยา ซึ่งเขาเรียกเธอว่า สุภาพสตรีหมายเลข 1 คนต่อไป และสมาชิกในครอบครัวด้วย

“ผมขอขอบคุณประชาชนชาวอเมริกันที่ให้เกียรติพิเศษในการเลือกผมเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 และคนที่ forty five ของคุณ” ทรัมป์กล่าวสุนทรพจน์ต่อกลุ่มผู้สนับสนุนพร้อมกับกล่าวถึงชัยชนะที่มาจากป๊อปปูลาร์โหวต แม้ว่าการนับคะแนนจะยังไม่เสร็จสิ้น แต่ทรัมป์มองว่า ด้วยการคว้าคะแนนเสียงส่วนใหญ่จึงทำให้ตนเองจะคว้าชัยชนะครั้งนี้

“อเมริกาได้มอบอาณัติอันทรงพลังและไม่เคยมีมาก่อนแก่เรา” เขากล่าว

ขณะเดียวกันนายทรัมป์กล่าวชื่นชม เจดี แวนซ์ ผู้เข้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่ากลายเป็นตัวเลือกที่ดี ขณะที่แวนซ์ก็กล่าวชื่นชมทรัมป์ว่า ทรัมป์เพิ่งสร้าง “การกลับมาทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา”

ในช่วงหนึ่งของการกล่าวสุนทรพจน์ ทรัมป์ยังกล่าวถึงอิลอน มัสก์ มหาเศรษฐีและนักธุรกิจด้านเทคโนโลยีชื่อดังชาวสหรัฐฯ และเป็นคนที่สนับสนุนทรัมป์อย่างเปิดเผย ว่าเปรียบเสมือน “ดาวดาว” และยังเป็น “บุคคลที่น่าทึ่ง”

นอกจากนี้ทรัมป์ยังกล่าวถึง โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี จูเนียร์ เป็นนัยว่า เขาอาจจะมีบทบาทในส่วนงานนโยบายด้านสาธารณสุขในรัฐบาลของเขาด้วย สำหรับ โรเบิร์ต เอฟ เคเนดี จูเนียร์ เป็นอดีตผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามอิสระ ซึ่งเคยมีประวัติสนับสนุนทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่มีมูลเกี่ยวกับวัคซีน แต่ต่อมาในเดือน ส.ค. เขาตัดสินใจถอนตัวออกไปและประกาศรับรองทรัมป์เป็นแคนดิเดตชิงประธานาธิบดีแทน

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, ประชาชนผู้สนับสนุน กมลา แฮร์ริส ตัวแทนชิงประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ต่างเริ่มแสดงความผิดหวังหลังผลนับคะแนนในช่วงคืนหลังเลือกตั้ง โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรคริพับลิกันยังมีคะแนนนำ โดยเฉพาะประชาชนผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตที่ปักหลักร่วมลุ้นผลโหวตที่มหาวิทยาลัยโฮเวิร์ด ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ กมลา แฮริส เรียนจบมา

บรรดาผู้นำแสดงความยินดีกับทรัมป์

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความยินดีผ่านเอ็กซ์ (เดิมทวิตเตอร์) ว่า เธอขอแสดงความยินดีกับท่านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และ สว.เจดี แวนซ์

“สำหรับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดิฉันพร้อมทำงานร่วมกับท่าน ส่งเสริมความเป็นพันธมิตรระหว่างไทย-สหรัฐฯ ที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก” เธอระบุ

ด้านนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ออกมากล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับการกลับมาของทรัมป์ โดยบอกว่าการกลับมาครั้งประวัติศาสตร์ของทรัมป์เป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับสหรัฐฯ และเป็นความมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ระหว่างมหามิตรอย่างอิสราเอลและอเมริกา

“นี่เป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่” นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล ระบุ

ด้านวิกเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ก็ออกมากล่าวในทำนองเดียวกัน โดยบอกว่าการกลับมาของทรัมป์ในครั้งนี้ ถือว่า “เป็นการกลับมาครั้งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐฯ” พร้อมกับบอกด้วยว่ามันคือ “ชัยชนะที่จำเป็นอย่างมากต่อโลก”

เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ก็ออกมาแสดงความยินดีกับทรัมป์ด้วยเช่นกัน และกล่าวด้วยว่าตนเองหวังว่าจะได้ร่วมงานกับทรัมป์ “ในฐานะพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุด พวกเรายืนเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อปกป้องค่านิยมที่เรามีร่วมกันในเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย และการค้า”

ส่วนประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส กล่าวว่าเขา “พร้อมที่จะทำงานร่วมกัน” กับทรัมป์เป็นครั้งที่ 2

ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ก็ออกมาแสดงความยินดีกับทรัมป์พร้อมกับชื่นชมความมุ่งมั่นของเขาที่มีต่อ “สันติภาพผ่านควมแข็งแกร่ง” ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาบอกว่ามัน “จะนำสันติภาพมาสู่ยูเครนมากขึ้น”

แต่จนถึงตอนนี้ บีบีซียังไม่ได้ยินปฏิกิริยาจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

คาดพรรครีพับลิกันครองที่นั่งในวุฒิสภาสหรัฐฯ

จากการคาดการณ์ของสำนักข่าวซีบีเอส พันธมิตรของบีบีซีในสหรัฐฯ ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชี้ให้เห็นว่า พรรครีพับลิกันน่าจะครอบครองที่นั่งส่วนใหญ่ในวุฒิสภาสหรัฐฯ

แม้ว่ายังต้องนับคะแนนอีกจำนวนมาก แต่ดูเหมือนว่าชัดเจนแล้วว่า พรรคเดโมแครตจะสูญเสียเสียงข้างมากในวุฒิสภาให้กับรีพับลิกัน

พรรคเดโมแครตคาดหวังว่าจะชิงเก้าอี้จากรีพับลิกันเพื่อที่จำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้นในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย แต่จากการประกาศผลการนับคะแนนล่าสุด เดโมแครตประสบกับความล้มเหลวในการโค่นตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เท็ด ครูซ ในรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของพรรค

10 รัฐเปิดให้โหวตเรื่องสิทธิการทำแท้ง พร้อมเลือกตั้งประธานาธิบดี

นอกเหนือจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีและตัวแทนในสภาคองเกรส ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 10 รัฐของสหรัฐฯ ยังได้ร่วมลงคะแนนเกี่ยวกับมาตรการทำแท้ง

การเข้าถึงกระบวนการทำแท้งถูกจำกัดอย่างมากในบางพื้นที่ นับตั้งแต่การยกเลิกการคุ้มครองจากรัฐบาลกลางโดยศาลสูงสุดสหรัฐฯ ในปี 2022 บางรัฐได้จัดการลงคะแนนในระดับท้องถิ่นเพื่อพิจารณาว่าจะรับรองการคุ้มครองทางกฎหมายในระดับท้องถิ่นหรือไม่

หนึ่งในรัฐที่จัดให้มีการลงคะแนนในประเด็นนี้ คือรัฐฟลอริดา ซึ่งผลปรากฏว่า ฝ่ายที่สนับสนุนสิทธิการทำแท้งประสบกับความล้มเหลวในการได้เสียงสนับสนุนเพียงพอต่อสิทธิดังกล่าว

แม้ว่าผู้ลงคะแนนส่วนใหญ่ดูเหมือนจะสนับสนุนให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นสิทธิตามธรรมนูญของรัฐ แต่ผลการลงคะแนนดูเหมือนว่าจะได้ไม่ถึง 60% ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กฎระเบียบท้องถิ่นกำหนดไว้เพื่อให้มาตรการนี้มีผลบังคับใช้

กฎหมายทำแท้งปัจจุบันของรัฐฟลอริดา ระบุให้การทำแท้งในขณะที่อายุครรภ์เกินกว่า 6 สัปดาห์ไปแล้ว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และหากผู้ใดต้องการยุติการตั้งครรภ์ขณะอายุครรภ์ไม่ถึง 6 สัปดาห์ กฎหมายกำหนดว่า ต้องไปพบแพทย์ที่คลินิกสองครั้ง โดยแต่ละครั้งห่างกัน 24 ชั่วโมง

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, ป้ายสนับสนุนกฎหมายห้ามทำแท้งในรัฐฟลอริดาที่มีให้เห็นพร้อม ๆ กับป้ายหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ 5 พ.ย. 2567

ทรัมป์และแฮร์ริส กล่าวอะไรในการปราศรัยครั้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ, ทรัมป์ขึ้นกล่าวปราศรัยหาเสียงครั้งสุดท้ายที่รัฐมิชิแกน

โดนัลด์ ทรัมป์ขึ้นเวทีท่ามกลางเสียงเชียร์และเสียงตอบรับจากผู้ชมจำนวนมากที่เมืองแกรนด์ เรพิดส์ รัฐมิชิแกน สำหรับการปราศรัยหาเสียงครั้งสุดท้าย ซึ่งในการเลือกตั้งปี 2016 และ 2020 เขาเลือกที่นี่เป็นจุดยุติการรณรงค์หาเสียงเช่นกัน

“การหาเสียง 4 ที่ในวันเดียวเป็นเรื่องลำบากเล็กน้อย” ทรัมป์กล่าว และเสริมด้วยว่าการสนับสนุนที่เขาได้รับในการหาเสียงแต่ละครั้ง “ทำให้ทุกอย่างคุ้มค่า”

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขึ้นเวทีสุดท้ายล่าช้าเกือบ 2 ชั่วโมง จากกำหนดการเดิมที่วางไว้ 22.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

เมื่อขึ้นเวที เขาถามผู้ฟังปราศรัยว่าพวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้วหรือไม่ ซึ่งเรียกเสียงโห่ร้องจากผู้ชมจนดังกึกก้อง

“สารจากผมถึงพวกคุณ ถึงชาวอเมริกันทุกคนในคืนนี้ นั้นเรียบง่ายอย่างยิ่ง พวกเราไม่จำเป็นต้องมีชีวิตแบบนี้” เขากล่าว

ข้าม YouTube โพสต์ , 1ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก “ยินยอมและไปต่อ”

คำเตือน: บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่มาจากภายนอก เนื้อหาจาก YouTube อาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 1

นอกจากนี้ เขายังกล่าวโจมตีแฮร์ริสระหว่างการปราศรัยด้วย ซึ่งต่างจากแฮร์ริสที่แทบไม่พูดถึงผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันเลยในช่วงวันสุดท้ายของการหาเสียง โดยทรัมป์เรียกคู่แข่งของเขาว่า “พวกหัวรุนแรงซ้ายจัดที่บ้าคลั่ง” และบอกกับผู้สนับสนุนว่าตนเองจะชนะการเลือกตั้งในวันนี้

“นี่จะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศเรา” เขาระบุ

เขายังย้ำคำมั่นสัญญาในนโยบายหาเสียงบางอย่างของเขา เช่น การใช้โทษประหารสำหรับผู้อพยพที่คร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพลเมืองอเมริกัน และในตอนท้ายของการหาเสียง ลูก ๆ ของทรัมป์ก็เข้าร่วมกับเขาบนเวที เพื่อแสดงความเคารพรักต่อตัวเขาและสนับสนุนให้ทุกคนออกไปลงคะแนนเสียง

“โดยสรุปแล้ว การลงคะแนนเสียงของคุณจะทำให้เราไล่กมลาออกได้ เราจะช่วยอเมริกาไว้ได้ เราจะลดภาษีและอัตราเงินเฟ้อ ลดราคาสินค้า ขึ้นค่าแรง และนำโรงงานหลายพันแห่งกลับมายังสหรัฐฯ รวมถึงมิชิแกน นอกจากนี้ คำว่าภาษีศุลกากรยังเป็นคำโปรดของผมอีกด้วย” เขากล่าวกับฝูงชน

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ, แฮร์ริสหาเสียงครั้งสุดท้ายที่รัฐเพนซิลเวเนีย

ด้านกมลา แฮร์ริส ปิดท้ายการหาเสียงที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย

เธอพยายามดึงดูดผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อย และใช้เวลาในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ของการหาเสียงตามสถานที่ต่าง ๆ ด้วยการสะท้อนภาพการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่ “นำพาผู้คนจากทั่วทุกมุมของประเทศและทุกสาขาอาชีพมารวมกัน”

“ฉันพร้อมจะเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป” เธอกล่าว

การปราศรัยของเธอเริ่มต้นด้วยการขอบคุณผู้สนับสนุนที่ “แสดงให้เห็นว่าอเมริกาเป็นใคร และพวกเรามีเป้าหมายร่วมกัน”

“การหาเสียงของเราได้เข้าถึงความทะเยอทะยาน แรงบันดาลใจ และความฝันของชาวอเมริกัน เราล้วนมองโลกในแง่ดีและเราตื่นเต้นกับสิ่งที่เราสามารถทำร่วมกันได้” เธอกล่าว และบอกด้วยว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงนั้นมีโอกาสที่จะ “พลิกหน้าการเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยความกลัวและความแตกแยกมานานนับทศวรรษได้”

เธอกล่าวต่อว่า “การต่อสู้ของเราไม่ใช่ความสูญเปล่า แต่มันคือบางสิ่งบางอย่าง คืนนี้เราจบการหาเสียงด้วยการเริ่มต้นใหม่อย่างมีพลัง มองโลกในแง่ดี และมีความสุข”

นอกจากนี้ แฮร์ริสยังเรียกร้องไปถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ที่มีอายุน้อยด้วยการกล่าวว่า “โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกคุณ ฉันบอกได้ว่าฉันเห็นพลังของพวกคุณ และฉันภูมิใจในตัวพวกคุณมาก”

รองประธานาธิบดีรู้ดีว่าตนเองต้องการเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นเยาว์เหล่านี้จำนวนมาก เพื่อเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้

ข้าม YouTube โพสต์ , 2ยินยอมรับเนื้อหาจาก Google YouTube

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Google YouTube เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Google YouTube และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Google YouTube ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก “ยินยอมและไปต่อ”

คำเตือน: บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่มาจากภายนอก เนื้อหาจาก YouTube อาจมีโฆษณา

สิ้นสุด YouTube โพสต์, 2

จะทราบผลว่าใครได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อไร ?

การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ จะสิ้นสุดลงในวันอังคารที่ 5 พ.ย. นี้ (ตามเวลาท้องถิ่น) แต่จากการสำรวจความเห็นทั้งในระดับชาติและสมรภูมิเลือกตั้งในสวิงสเตท (Swing roar – รัฐที่ยังไม่แน่ชัดว่าใครจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง) พบว่าตัวแทนจากทั้ง 2 พรรคมีคะแนนสูสีกันมาก จึงอาจส่งผลให้บางพื้นที่ต้องนับคะแนนใหม่เนื่องจากชนะห่างกันด้วยคะแนนเพียงเล็กน้อยมาก และอาจทำให้การทราบผลเลือกตั้งล่าช้ากว่าปกติ

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงวิธีจัดการการเลือกตั้งในแต่ละรัฐรวมถึงสวิงสเตททั้ง 7 แห่งด้วย ดังนั้นการประกาศรายชื่อผู้ชนะการเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นได้ในคืนวันเลือกตั้ง ไม่ก็เช้าวันถัดไป หรืออาจจะใช้เวลาหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากนั้นก็เป็นได้

แต่โดยปกติแล้ว ผู้คนจะพอทราบผลการเลือกตั้งก่อนที่พวกเขาจะเข้านอนในคืนวันเลือกตั้ง หรือช้าที่สุดก็คือช่วงเช้าตรู่ของวันถัดไป ยกเว้นการเลือกตั้งปี 2000 ระหว่าง จอร์จ ดับเบิลยู บุช และอัลกอร์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันในรัฐฟลอริดาที่มีการแข่งขันสูสี และผลการเลือกตั้งยังไม่ได้ข้อสรุปจนกระทั่งวันที่ 12 ธ.ค. ศาลสูงสหรัฐฯ ต้องลงมติให้ยุติกระบวนการนับคะแนนใหม่ในรัฐนี้ ซึ่งทำให้บุชได้รับการรับรองเป็นผู้ชนะและเข้าสู่ทำเนียบขาว

อย่างไรก็ตาม ว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 จะเข้าพิธีรับตำแหน่งในวันจันทร์ที่ 20 ม.ค. 2025 ณ อาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งผู้ชนะการเลือกตั้งจะต้องสาบานตนเพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญและกล่าวสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่ง

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, เจ้าหน้าที่การเลือกตั้งกำลังเคลื่อนย้ายบัตรลงคะแนนทางไปรษณีย์ไปที่ศูนย์ประมวลผลบัตรลงคะแนนของนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันก่อนวันเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับวันที่ 4 พ.ย. 2024

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, จำนวนผู้อพยพเข้าสหรัฐฯ จากชายแดนเม็กซิโกเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในสมัยประธานาธิบดีโจ ไบเดน แม้ว่าล่าสุดจำนวนได้ลดลงมากแล้วก็ตาม