ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ สร้างประวัติศาสตร์เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
ยานอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Protest Administration – NASA) หรือนาซา สร้างประวัติศาสตร์จากการเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาและสามารถรอดกลับมาได้
นักวิทยาศาสตร์ได้รับสัญญาณจากยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Solar Probe – PSP) ในช่วงเวลาก่อนเที่ยงคืนตามเขตเวลาในภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกา (EST) ของวันพฤหัสบดีที่ 26 ธ.ค. ที่ผ่านมา (05.00 น. GMT ของวันที่ 27 ธ.ค.) หลังจากที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับยานได้เป็นเวลาหลายวันระหว่างที่ยานบินผ่านดวงอาทิตย์ซึ่งเต็มไปด้วยความร้อนระอุ
นาซากล่าวว่ายานสำรวจ “ปลอดภัย” และทำงานได้ตามปกติ หลังจากที่เคลื่อนตัวผ่านดวงอาทิตย์โดยห่างจากพื้นผิวของมันเพียง 3.8 ล้านไมล์ (6.1 ล้านกิโลเมตร)
ยานสำรวจได้พุ่งเข้าไปในชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ในคืนก่อนวันคริสต์มาส โดยต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่โหดร้ายและการแผ่รังสีที่รุนแรง เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงการทำงานของดวงอาทิตย์ได้ดียิ่งขึ้น
จากนั้นนาซารอคอยสัญญาณจากยานสำรวจด้วยความกังวล ซึ่งคาดว่าจะมาถึงในเวลา 05.00 น. GMT ของวันที่ 28 ธ.ค. (หรือเที่ยงวันของวันที่ 28 ธ.ค. ตามเวลาในไทย)
Skip เรื่องแนะนำ and proceed readingเรื่องแนะนำ
Stay of เรื่องแนะนำ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ของนาซาระบุว่า ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 430,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือ 692,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 1,800 ฟาเรนไฮต์ (980 องศาเซลเซียส)
“การศึกษาดวงอาทิตย์แบบใกล้ชิดครั้งนี้ช่วยให้ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ สามารถตรวจวัดค่าต่าง ๆ ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจได้ดีขึ้นว่า สสารในบริเวณนี้ได้รับความร้อนถึงหลายล้านองศาได้อย่างไร รวมทั้งได้ติดตามต้นกำเนิดของลมสุริยะ (กระแสสสารที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง) และค้นพบว่าอนุภาคพลังงานสูงถูกเร่งความเร็วให้ใกล้ความเร็วแสงได้อย่างไร” นาซา ระบุ
ก่อนหน้านี้ ดร.นิโคลา ฟ็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของนาซา กล่าวกับบีบีซีว่า “มนุษย์ศึกษาดวงอาทิตย์มาหลายศตวรรษแล้ว แต่เราไม่สามารถสัมผัสบรรยากาศของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งได้จนกว่าจะได้ไปเยือนสถานที่นั้นจริง ๆ”
“ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสัมผัสบรรยากาศของดวงอาทิตย์ได้อย่างแท้จริง ยกเว้นแต่ว่าเราจะบินผ่านมัน”
ยานสำรวจ PSP ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี 2018 โดยมุ่งหน้าสู่ใจกลางของระบบสุริยะ
ยานนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปแล้ว 21 ครั้ง และเข้าใกล้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในวันคริสต์มาสอีฟ 24 ธ.ค. ยานนี้ได้ทำลายสถิติด้วยการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด โดยอยู่ห่างจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์ราว 3.8 ล้านไมล์ (6.2 ล้านกิโลเมตร)
แม้ฟังดูไม่ใกล้ขนาดนั้น แต่นิโคลา ฟ็อกซ์ อธิบายให้เห็นภาพว่า “เราอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 93 ล้านไมล์ ดังนั้น หากเราวางดวงอาทิตย์และโลกไว้ห่างกัน 1 เมตร ยาน PSB ก็จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าใกล้มาก”
ยาน PSP จะต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง 1,400 องศาเซลเซียส และรังสีที่อาจจะแผ่ออกมา ทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์บนยานเสียหาย
ยานได้รับการปกป้องด้วยเกราะคาร์บอนคอมโพสิตหนา 11.5 ซม. (4.5 นิ้ว) แต่กลยุทธ์ของยานอวกาศ คือการเข้าและออกอย่างรวดเร็ว
โดยข้อเท็จจริง ยานจะเคลื่อนที่เร็วกว่าวัตถุใด ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยพุ่งด้วยความเร็ว 430,000 ไมล์ต่อชั่วโมง เทียบเท่ากับการบินจากลอนดอน สหราชอาณาจักร ไปมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ในเวลาไม่ถึง 30 วินาที
ความเร็วของยานพาร์กเกอร์ PSP เกิดจากแรงดึงดูดอันมหาศาลที่รู้สึกได้ขณะที่ตกลงไปยังดวงอาทิตย์
แล้วทำไมถึงต้องใช้ความพยายามทั้งหมดนี้เพื่อ “สัมผัส” ดวงอาทิตย์
นักวิทยาศาสตร์หวังว่า เมื่อยานอวกาศเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศชั้นนอก หรือโคโรนา (Corona) ของดวงอาทิตย์ จะสามารถไขปริศนาที่สืบต่อกันมายาวนานได้
“โคโรนาร้อนมากจริง ๆ และเราไม่รู้ว่าทำไม” ดร.เจนนิเฟอร์ มิลลาร์ด นักดาราศาสตร์จากฟิฟต์ สตาร์ แลบ (Fifth Monumental name Labs) ในเวลส์ อธิบาย
“พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงราว 6,000 องศาเซลเซียส แต่โคโรนาซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศภายนอกที่บางและคุณสามารถมองเห็นได้ในระหว่างเกิดสุริยุปราคา มีอุณหภูมิสูงหลายล้านองศา และอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ดังนั้น คำถามคือแล้วชั้นบรรยากาศนั้นร้อนขึ้นได้อย่างไร”
ภารกิจนี้ยังควรช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจลมสุริยะ ซึ่งเป็นกระแสของอนุภาคมีประจุที่พุ่งออกมาจากโคโรนาอย่างต่อเนื่อง ได้ดียิ่งขึ้น
เมื่ออนุภาคเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ท้องฟ้าจะสว่างไสวด้วยแสงเหนือที่สวยงาม
แต่สิ่งที่เรียกว่าสภาพอากาศในอวกาศนี้ก็สามารถสร้างปัญหาได้เช่นกัน เพราะทำให้ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบสื่อสารหยุดทำงาน
“การทำความเข้าใจดวงอาทิตย์ กิจกรรมของดวงอาทิตย์ สภาพอากาศในอวกาศ รวมถึงลมสุริยะ มีความสำคัญมากต่อชีวิตประจำวันของเราบนโลก” ดร.มิลลาร์ดกล่าว
นักวิทยาศาสตร์ของนาซาต้องเผชิญกับการรอคอยอย่างกระวนกระวายใจในช่วงคริสต์มาส ขณะที่ยานอวกาศไม่สามารถติดต่อกับโลกได้
นิโคลา ฟ็อกซ์ กล่าวว่า ทันทีที่ส่งสัญญาณกลับบ้าน ทีมจะส่งหัวใจสีเขียวให้เธอเพื่อแจ้งให้เธอทราบว่ายานสำรวจปลอดภัยดี
เธอยอมรับว่า รู้สึกกังวลเกี่ยวกับความพยายามอันกล้าหาญนี้ แต่เธอก็มีศรัทธาในยานสำรวจ
“ฉันจะเป็นห่วงยานอวกาศ แต่เราออกแบบยานให้ทนต่อสภาพที่โหดร้ายเหล่านี้ได้จริง ๆ มันเป็นยานอวกาศลำเล็กที่แข็งแกร่งมาก”
ที่มา BBC.co.uk