แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/xd86 | ดู : 303015 ครั้ง

สตง.นัดประชุมด่วนปัญหาตึกอาคารสนง.แห่งใหม่  2 พันล้าน พังถล่ม เผยมีถกข้อมูลสำคัญเทคนิคก่อสร้างสมัยใหม่แบบพื้นไร้คาน-อาศัยเสาค้ำพื้นของบริษัทจีน คู่สัญญา มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในจีนชี้ต้านทานต่อแผ่นดินไหวไม่พอ


จากกรณีเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ริกเตอร์  ส่งผลทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ทำให้ อาคารที่ทำการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ความสูง 30 ชั้น งบประมาณ 2,136 ล้านบาท ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อที่ 11 ไร่ ใจกลางย่านการค้าตลาดนัดจตุจักร ใกล้ MRT กำแพงเพชร ติดสถานีกลางบางซื่อ ตรงข้าม JJ MALL พังถล่มลงมาทั้งหมด

  • เคียงข่าว :พลิกข้อมูลอาคาร 2 พันล้าน สตง.ถล่ม หลังเหตุแผ่นดินไหว เพิ่งตรวจรับงาน 20 กว่า%

แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ว่า ในช่วงเวลา 08.00 น. วันที่ 29 มีนาคม 2568 นายมณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สตง. มีนัดหมายประชุมกับผู้บริหาร สตง. และทีมงานนายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสรุปสถานการณ์ปัญหาอาคารที่ทำการ สตง.แห่งใหม่ พังถล่มเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไว้ ก่อนนำข้อมูลไปเสนอต่อที่ประชุมแก้ไขปัญหาแผ่นดินไว้ ที่มีน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในช่วงเวลา 09.30 น.

ส่วนกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เกี่ยวกับบริษัทจีน ที่เข้ามาก่อสร้างอาคาร นั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ผู้รับเหมางานก่อสร้างอาคาร ดำเนินงานโดยกิจการร่วมค้า ไอทีดี – ซีอาร์อีซี  ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของจีน โดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ รับผิดชอบงานโครงสร้างอาคาร ปัจจุบันดำเนินการไปได้ประมาณ 30กว่า% ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะมีปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้งานมาความล่าช้า

เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการก่อสร้างอาคารสูงแบบพื้นไร้คาน อาศัยเสาค้ำพื้น ว่าอาจเป็นต้นต่อปัญหาตึกพังถล่ม   แหล่งข่าวกล่าวว่า เบื่องต้นมีคำชี้แจงว่า ก่อสร้างอาคารสูงแบบพื้นไร้คาน เป็นเทคนิคการก่อสร้างอาคารแบบสมัยใหม่ ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ สตง.ต้องถกรายละเอียดว่า เทคนิคการก่อสร้างอาคารแบบสมัยใหม่ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่

เมื่อถามว่า การตรวจรับงานที่ผ่านมา มีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใด แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจุบัน สตง.ตรวจรับงานประมาณ 20 กว่า% มีความเข้มงวดมาก มีตัวแทนจากหลายหน่วยงานเข้าร่วม

เมื่อถามถึงการประมาณความเสียหายเบื้องต้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ยังบอกรายละเอียดไม่ได้ ต้องรอประชุมก่อน แต่ในส่วนของสัญญาว่าจ้างงาน สตง.บังคับให้เอกชนทำประกันไว้อยู่แล้ว แต่ไม่ว่าอย่างไร กรณีนี้ สตง. ถือว่าได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก

สำนักข่าวอิศรา รายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงาน สตง.แห่งใหม่ดังกล่าว เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 แต่หยุดชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19  โดย สตง. ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคาร ที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ บนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ 3 งาน บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยได้เสนอขออนุมัติงบประมาณรายการค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 2,560 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อมาได้ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และได้ผู้ชนะการประกวดราคา ได้แก่ กิจการร่วมค้า ไอทีดี – ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) ซึ่งเป็นผู้เสนอราคารายต่ำสุด ด้วยวงเงิน 2,136 ล้านบาท จากนั้นได้ดำเนินการจัดหาผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยวิธีคัดเลือกผู้ให้บริการควบคุมงานจ้างก่อสร้าง โดยกิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จำกัด บริษัท ว. และสหาย คอนซัลแตนตส์ จำกัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ จำกัด) เป็นผู้ชนะการยื่นข้อเสนองานจ้างควบคุมงาน ด้วยวงเงิน 74.65 ล้านบาท

ในระหว่างการก่อสร้าง สตง.มีความจําเป็นต้องขยายระยะเวลาดังกล่าวทําให้ครบกําหนดสัญญาในวันที่ 3 มิถุนายน 2567 ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เนื่องจากงานรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมในพื้นที่ การหยุดงานก่อสร้างตาม ประกาศของทางราชการอันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และมีงานพิธีวางศิลาฤกษ์ รวมเป็น ระยะเวลา 58 วัน

ครั้งที่ 2 เนื่องจากการแก้ไขแบบก่อสร้าง กรณี Load Recount, Core Wall และการสัญจรของรถบรรทุกในชั้นใต้ดิน รวมเป็นระยะเวลา 97 วัน

ขณะที่ภายหลังเกิดเหตุ อาคารที่ทำการสำนักงาน สตง.แห่งใหม่ พังถล่มหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในประเทศจีนได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงเทคนิคการก่อสร้างอาคารสูงแบบพื้นไร้คาน อาศัยเสาค้ำพื้น เป็นอย่างมาก ว่ามีความต้านทานต่อแผ่นดินไหวไม่พอ

ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ดีพร้อม-บางจากฯ ผนึก 5 พันธมิตรธุรกิจ ดันน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน Saf

แม่สุดเศร้า!

จับกุมสาวร่วมแก๊งลวงลงทุน ลวงเหยื่อ 3 ราย มูลค่าความเสียหา

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการ รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพูสถานีศูนย์ราชการนนทบ 2025-03-30 20:08:00

สำรวจเหล็กที่ใช้ก่อสร้างตึก สตง. หลังกระทรวงอุตสาหกรรม พบเหล็กบางส่วนผิดมาตรฐาน

แบงก์ชาติ แถลง ภาวะเศรษฐกิจไทย ก.พ. 68 ลดลงกว่าเดือนก่อน-ติดตามนโยบายสหรัฐฯ-แผ่นดินไหว

รวบอดีตหัวหน้าพรรคการเมือง หลบหนีหมายจับศาลอาญา พบมีหมายจับต

ผู้ช่วย ผบ.ตำรวจกำชับด้านจราจร 3 ข้อ เพื่อดูแลอำนวยความสะดวกให 2025-03-29 15:44:00

ร้องอิศราตรวจ บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ 10 สร้างตึกศูนย์ฝึกมวยให้ กกท.-ผู้ว่าฯแจงไม่มีอะไรผิดปกติ

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/xd86 | ดู : 303015 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content