สำรวจสูตรหั่นค่าไฟเหลือ 3.70 บาทของทักษิณ คิดอย่างไร ใช่การลดอย่างยั่งยืนหรือไม่ ?

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำประกาศลดค่าไฟฟ้าลงเหลือ 3.70 บาทต่อหน่วยของนายทักษิณ ชินวัตร ด้านหนึ่งอาจถูกมองว่าเป็นเกมกระตุกเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจากพรรคร่วมรัฐบาล ทว่าตัวเลขดังกล่าว สะท้อนประเด็นน่าสนใจถึงโครงสร้างราคาค่าไฟของประเทศไทยที่ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชนมาเป็นเวลานาน

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีหาเสียงการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เมื่อ 5 ม.ค. โดยประกาศลดค่าไฟให้เหลือหน่วยละ 3.70 บาท จากราคาปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วย

“ไฟฟ้าปีนี้ จะต้องเอาลงให้เห็นเลขสาม วันนี้มัน 4 บาทกว่าแล้ว ใจผมอยากให้เอาลงเหลือ 3.50 แต่ดูแล้วน่าจะได้ประมาณ 3.70 นี่ง่าย ๆ น่าจะได้อยู่ กำลังให้เขาช่วยกันทุบอยู่ เพราะเวลานี้ไฟฟ้าฝ่ายผลิต ก็เป็นองค์กรผลิตไฟขาย ก็เอาเปอร์เซ็นต์ไว้ส่วนหนึ่ง ไฟฟ้านครหลวง ไฟฟ้าภูมิภาคก็เอาไว้ส่วนหนึ่ง เอกชนก็เอาไว้ส่วนหนึ่ง ผลสุดท้ายชาวบ้านตาย เพราะฉะนั้นก็เลยบอกว่าต้องแก้” บิดาของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร กล่าว เมื่อ 5 ม.ค. 2568

นายทักษิณ ให้สัมภาษณ์หลังปราศรัยด้วยว่า ได้หารือกับนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อหาทางช่วยกัน โดยเห็นว่ารีดไขมันเพื่อลดค่าไฟฟ้าได้อีก

4.15 บาทต่อหน่วยเป็นค่าไฟฟ้าของงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 2568 ตามมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่คำนวณโดยยืดหนี้ที่รัฐต้องจ่ายคืนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ออกไป ซึ่งปัจจุบันยังคงค้างจ่ายมากกว่า 85,226 ล้านบาท

Skip เรื่องแนะนำ and proceed discovering outเรื่องแนะนำ

Cease of เรื่องแนะนำ

เรื่องค่าไฟฟ้า 3.70 บาท หากปรับลดจริงเป็นการคำนวณจากอะไร และจะเป็นการช่วยค่าใช้จ่ายของประชาชน แต่ผลักภาระไว้ในอนาคตหรือไม่ .สำรวจแง่มุมต่าง ๆ ต่อเรื่องนี้

ที่มาของภาพ, กองโฆษก พรรคเพื่อไทย

คำบรรยายภาพ, นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีหาเสียงการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เมื่อ 5 ม.ค. โดยประกาศลดค่าไฟให้เหลือหน่วยละ 3.70 บาท จากราคาปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 4.15 บาทต่อหน่วย

ลดค่าไฟฟ้าเหลือ 3.70 บาท/หน่วย คิดจากอะไร

ค่าไฟฟ้างวดปัจจุบัน (เดือน ม.ค.-เม.ย. 2568) 4.15 บาท/หน่วย เป็นมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่ลดจากมติตั้งต้นจาก 4.18 บาท/หน่วย โดยเป็นอัตราที่คำนวณรวมเอาการชำระคืนต้นทุนคงค้างให้กับ กฟผ. ไว้ 15,094 ล้านบาท และจะทำให้ ณ สิ้นสุดเดือน เม.ย. ยังมีหนี้ส่วนนี้อยู่ที่ 85,226 ล้านบาท

การคำนวณค่าไฟฟ้าแต่ละรอบ กกพ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็น โดยแต่ละครั้งจะมีแนวทางออกมา 3 แนวทาง แต่หากจะคำนวณโดยยึดตัวเลขที่จ่ายคืนหนี้ต่อรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ค่าไฟฟ้าอาจสูงถึง 5.26-5.49 บาท/หน่วย ซึ่งมติของ กกพ. แต่ละครั้งได้ตรึงค่าไฟเอาไว้

ดังนั้น ค่าไฟงวดปัจจุบันจึงยังไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพราะยังมีส่วนการชำระคืนค่าต้นทุนคงค้างให้ กฟผ. ราว 15,000 ล้านบาท และค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ (กฟผ. และ ปตท.) อีกประมาณ 85,000 ล้านบาท

การลดค่าไฟฟ้าจากเดิม 4.15 บาท เป็น 3.70 บาท ตามคำประกาศของนายทักษิณ จึงหมายถึงรัฐจะต้องหาวิธีการตัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในโครงสร้างค่าไฟไป 0.forty five บาท ตามรายงานของกรุงเทพธุรกิจ อ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลโดยระบุแนวทางการลดค่าไฟไว้ 4 แนวทาง

1. ค่าแอดเดอร์ (Adder) หรือส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ในปี 2568 สัญญาซื้อขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (Runt Energy Producers – SPPs) จะทยอยหมดสัญญา กรณีไม่ต่อสัญญาจะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ 0.15-0.20 บาท/หน่วย

2. ยืดเวลาจ่ายคืนหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

3. ยืดเวลาจ่ายส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจระหว่าง กฟผ. และ ปตท.

4. ขอความร่วมมือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Self reliant Energy Producers – IPPs) และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPPs) ให้ลดกำไร ช่วยลดค่าไฟฟ้าลง 0.05 บาท

นักวิชาการทีดีอาร์ไอชี้ทำได้ แต่มีหลายส่วนได้รับผลกระทบ

จากทัศนะของ ดร.อารีพร อัศวินพงศ์พันธ์ นักวิชาการด้านนโยบายพลังงานจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ กล่าวกับ.ว่า ค่าไฟฟ้า 3.70 บาท/หน่วย หากมองในแง่ว่าเมื่อเป็นนโยบายของรัฐบาล การลดค่าไฟฟ้าก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ การลดลงมา forty five สตางค์จะมีผลกระทบต่อหลายส่วน

นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอระบุว่า จากการคำนวณการลดค่าไฟฟ้า ความเป็นไปได้มากที่สุดน่าจะอยู่ที่ 3.80 บาท โดยหากให้ประเมินวิธีที่รัฐบาลอาจหยิบยกมาดำเนินการ อาจเป็นได้ 4 แนวทาง ได้แก่

1. ยืดหนี้ส่วนภาระต้นทุนการจัดหาไฟฟ้าของ กฟผ. หรือค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติของรัฐวิสาหกิจระหว่าง กฟผ. และ ปตท. จำนวน 15,000 ล้านบาท หากตัดส่วนนี้จะลดค่าไฟลง 23 สตางค์

2. ค่าแอดเดอร์ (Adder) หรือส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 ผลิตไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2564 และโครงการสุดท้ายจะหมดสัญญาในปี 2570 แต่ส่วนของโครงการที่จะหมดอายุในปี 2568 คิดเป็นค่าไฟฟ้าได้ราว 17 สตางค์ ดร.อารีพร กล่าวว่า การลดในส่วนนี้อาจเฉลี่ยเป็นรายไตรมาส ไตรมาสละ 5 สตางค์ เนื่องจากโรงไฟฟ้าแต่ละสัญญาจะหมดอายุสัญญาไม่พร้อมกัน

ตามคำอธิบายของ ดร.อารีพร ค่าแอดเดอร์คือส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น ราคาไฟฟ้าจากเดิม 3 บาท รัฐอยากให้เอกชนช่วยผลิตไฟฟ้า จึงให้ค่าแอดเดอร์ส่วนต่างเพิ่มอีก 2 บาท เป็น 5 บาท

ที่มาของภาพ, Getty Photos

3. เงินส่งคืนจากการลงทุนที่ไม่เป็นไปตามแผน (Claw Encourage) ส่วนนี้คือค่าใช้จ่ายที่อยู่ในแผนการลงทุนของหน่วยงานการไฟฟ้า แต่ยังไม่ได้มีการก่อสร้างจริง เช่น การลงทุนค่าสายส่งไฟฟ้าที่รัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้ายื่นขอเงินลงทุนจากภาครัฐเพื่อขอให้รัฐอนุมัติว่าจะอยู่ในส่วนของค่าไฟ ส่วนนี้ กกพ. มีสิทธิขอคืนได้ หากยังไม่มีการลงทุนจริงและต้องการลดภาระค่าไฟให้กับประชาชน

4. ปรับลดงบประมาณของการไฟฟ้าในโครงการบางส่วนในด้านการบริหารจัดการหรือซ่อมบำรุง

อย่างไรก็ตาม จากวิธีการข้างต้น ดร.อารีพร ไม่เห็นด้วยในหลายแนวทาง ทั้งวิธีการยืดหนี้ส่วนต่างค่าก๊าซออกไป เพราะจะยิ่งทำให้เกิดภาระทางดอกเบี้ยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ปริมาณมากและนำเข้ามาในราคาที่สูง หรือแนวทางไปปรับลดงบประมาณด้านการบริหารจัดการไฟฟ้าก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริหารจัดการ หากระบบการจัดส่งไฟฟ้าไม่มีเสถียรภาพ อาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกทอดหนึ่ง

“3.80 บาท น่าจะเป็นไปได้ แต่ 3.70 บาท น่าจะมีคนเจ็บเยอะ หากอยากจะลดจริง ๆ การพิจารณาค่าแอดเดอร์เป็นส่วนที่ทำได้ ส่วนค่า Claw Encourage ต่าง ๆ ของโครงการที่อยู่ในแผนการลงทุน แต่ยังไม่มีการลงทุน อาจจะชะลอการลงทุนไปเล็กน้อย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของประชาชน” ดร.อารีพร กล่าว

เปิดข้อเสนอปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าแบบยั่งยืน

ดร.อารีพร ชี้ว่าในการปรับอัตราค่าไฟฟ้า การยืดหนี้ (แนวทางที่ 1) เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด แต่เป็นวิธีการที่จะยิ่งเพิ่มภาระดอกเบี้ยให้กับหนี้ที่อย่างไรรัฐก็ต้องจ่ายคืน โดยหากคำนวณค่าไฟฟ้าโดยรวมค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องชดเชยต้นทุนคงค้างให้กับ กฟผ. และค่าส่วนต่างราคาก๊าซ จะทำให้ราคาค่าไฟฟ้าพุ่งไปที่ 5.seventy 9 จนถึงเกือบ 6 บาท ซึ่งนี่คือราคาจากต้นทุนจริง แต่ว่าไม่ใช่ต้นทุนที่ควรจะเป็น

นักวิชาการด้านนโยบายพลังงานจากทีดีอาร์ไอ ชี้ว่าการทำให้ราคาค่าไฟฟ้าปรับลดอย่างยั่งยืนต้องมีการปรับโครงสร้างราคาค่าไฟ ซึ่งส่วนหลักคือการปรับต้นทุนระบบการผลิตไฟฟ้าหรือต้นทุนจากเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 60% ของราคาค่าไฟ

ดร.อารีพร อธิบายว่า ปัจจุบันระบบการผลิตไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ก๊าซจากอ่าวไทย เมียนมา และการนำเข้าจากประเทศอื่น ๆ แต่ด้วยก๊าซในอ่าวไทยมีปริมาณน้อยลง ทำให้ต้องมีการนำเข้าในปริมาณที่สูงขึ้น แม้มีบางช่วงที่ราคาถูก แต่ก็ไม่ถูกเท่าก๊าซจากอ่าวไทย ที่ผ่านมา มีการนำระบบให้โรงแยกก๊าซร่วมหารต้นทุนก๊าซ หรือ Pool gasoline ร่วมกันระหว่างก๊าซที่ใช้ผลิตไฟฟ้าและก๊าซสำหรับภาคการผลิตปิโตรเคมี ทำให้สามารถลดสัดส่วนของค่าไฟฟ้าได้ถึง 30 สตางค์ จึงเห็นว่าการดำเนินนโยบายนี้ในระยะยาวจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้

ที่มาของภาพ, Getty Photos

นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เสนอด้วยว่า รัฐควรเปิดเสรีการนำเข้าก๊าซขึ้นอีกขั้น จากปัจจุบันที่เปิดให้ผู้นำเข้าในปริมาณที่ได้รับการจัดสรรในราคาที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาเพดาน ควรเปิดเสรีในระยะที่สาม เพื่อให้การนำเข้าสะท้อนการแข่งขันทางด้านราคา

“เปิดแข่งขันในการนำเข้าแล้ว แต่ยังไม่เปิดการแข่งขันในด้านราคา เพราะฉะนั้น ในขั้นต่อมาอยากเสนอให้เปิดแข่งขันทางด้านราคาด้วย” ดร.อารีพร กล่าว “ชิปเปอร์ [ผู้นำเข้า] ที่นำเข้าได้ในราคาที่ถูกที่สุด ควรจะนำเข้าได้มากที่สุด มันจะทำให้ต้นทุนในการนำเข้าก๊าซเพื่อการผลิตไฟฟ้าถูกลง”

นอกจากนี้ ในต้นทุนที่อยู่ในค่าไฟ ยังมีค่าผ่านท่อก๊าซที่ตามอายุการใช้งานจะอยู่ที่ 40 ปี ตอนนี้มีหลายท่อจะหมดอายุหรือหมดอายุไปแล้ว แต่ยังมีการลงทุนเพิ่มเติมให้ยังใช้งานได้อยู่ ดร.อารีพร เสนอว่าควรพิจารณาการลงทุนในส่วนนี้ว่าควรนำมาคิดต่ออายุโครงการท่อก๊าซเพื่อหักค่าเสื่อมหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นการยืดอายุโดยไม่จำเป็น ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในต้นทุนค่าไฟ

เช่นเดียวกับท่อก๊าซและการลงทุนในโครงสร้างของท่อก๊าซ โครงการไหนที่ยังไม่มีการนำมาใช้จริง ๆ ก็ไม่ควรมาคิดในรอบของการคิดต้นทุนราคาค่าไฟ

“ตอนนี้ในทางบัญชี ถ้ามีแผนแล้วสามารถนำแผนมาคิดเป็นการลงทุนและนำมาเป็นส่วนหนึ่งของค่าไฟได้ แต่หลักการที่ควรจะเป็นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โครงการไหนที่มีการลงทุนไปแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาใช้จริง ก็ไม่ควรจะนำต้นทุนส่วนนั้นมาคิดค่าไฟ สิ่งนี้สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่เยอะ”

แนะรัฐทบทวนสัญญาค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้ากับเอกชน

ดร.อารีพร ชี้ด้วยว่าค่าใช้จ่ายที่สำคัญรองลงมาจากค่าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนค่าไฟฟ้าด้วยคือ ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Funds – AP) ซึ่งหมายถึงเงินที่รัฐจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPPs) ทั้งของรัฐและเอกชนที่ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในระยะยาวกับ กฟผ. โดยถึงแม้ว่าจะไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าก็จะได้เงินชดชาย ซึ่งเรียกการทำสัญญารูปแบบนี้ว่า คอสต์พลัส (Worth plus) ที่ผู้ขายไม่มีทางขาดทุน

“เรามีโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่องอยู่จำนวนมาก จากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPPs) ที่มีอยู่ในไทย 13 โรง มีโรงไฟฟ้า 7 โรงที่ไม่ได้เดินเครื่อง ทำให้เฉพาะปีนี้ปีเดียวรัฐเสียค่าความพร้อมจ่ายไปแล้ว 2,500 ล้านบาท และค่าความพร้อมจ่ายก็คือส่วนหนึ่งของค่าไฟ”

นักวิชาการด้านพลังงานเสนอว่า รัฐไม่ควรมีการเซ็นสัญญาลักษณะนี้เพิ่มเติม ส่วนสัญญาในอนาคตควรพิจารณาปรับเปลี่ยนโดยอาจให้ผู้ผลิตหรือเจ้าของโรงไฟฟ้าเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต้นทุน ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าด้วย ตรงนี้จะช่วยลดค่าความพร้อมจ่ายได้

“เสนอว่าไม่ควรมีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวอีก โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ถ้าต้องมีการทำ ควรให้มีการทบทวนสัญญาค่าความพร้อมจ่าย ให้ผู้ผลิตหรือโรงไฟฟ้าเข้ามามีส่วนร่วมในค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ตรงนี้คือการปรับโครงสร้างที่สามารถทำให้ค่าไฟถูกลง และเป็นการทำให้ค่าไฟถูกลงอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ถูกลงแบบยืดหนี้ ตรงนี้จะช่วยในเรื่องภาระต้นทุนของ กฟผ. ที่รัฐเป็นหนี้ได้”

ที่มาของภาพ, EGAT

คำบรรยายภาพ, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัทลูกของ กฟผ. จัดว่าเป็นโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่

.คำนวณค่าใช้จ่ายประมาณการค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. ปี 2567 เฉพาะส่วนของโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPPs) ที่มีอยู่ในไทย 13 แห่ง ดังที่ปรากฏบนเว็บไซต์ กฟผ. พบว่าตลอดทั้งปีรัฐจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า IPPs ทั้งสิ้นกว่า 185,300 ล้านบาท ทว่าในจำนวนนี้เป็นการจ่ายค่าความพร้อมจ่ายให้กับโรงไฟฟ้า 7 แห่ง ที่ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 20,863 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้มี 4 แห่งที่ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแม้แต่เดือนเดียว ได้แก่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GPSC), บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด (GLOW IPP), บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ จำกัด (GPG) และบริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด (RPCL)

ขณะที่อีก 3 แห่ง เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าไม่ตลอดปี โดยพบว่าผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 9-10 เดือน

ส่วนช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 (ม.ค.-เม.ย.) ประมาณการว่าจะมี 5 โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเลยตลอดช่วง 4 เดือนนี้ แต่ได้รับค่าความพร้อมจ่าย รวมเป็นเงินสูงถึง 8,023.33 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.7% ของงบการซื้อไฟฟ้าช่วง 4 เดือนแรกของปีทั้งสิ้น 68,449.88 ล้านบาท

สำหรับค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าและค่าความพร้อมจ่าย ถือเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนรวมกันอยู่ที่ 15-18% ตามการให้ข้อมูลของนักวิชาการทีดีอาร์ไอ

ทำไมการปรับค่าไฟอย่างยั่งยืนจึงเกิดขึ้นได้ยากในไทย

แม้ความพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างจะเริ่มดำเนินการบ้างแล้วอย่างระบบการหารร่วมต้นทุนผลิตก๊าซ (Pool gasoline) แต่ ดร.อารีพร เห็นว่า เหตุที่ยังไม่เห็นความชัดเจนเรื่องการปรับในเชิงโครงสร้าง เพราะมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก อย่างเช่นโรงไฟฟ้าที่อยู่ในระบบ และผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่มั่นใจว่าจะได้อะไรชดเชย อย่างเช่น การยกเลิกสัญญาค่าความพร้อมจ่ายระยะยาว

“เพราะมีคนที่ได้รับประโยชน์แต่กำลังจะเสียประโยชน์ แม้มีการปรับโครงสร้างเรื่องนี้อยู่บ้าง แต่ว่ายังไม่ถึงจุดที่เห็นผล” ดร.อารีพร กล่าว พร้อมบอกว่า การปฏิรูปด้านอื่น ๆ อย่างค่าความพร้อมจ่าย การเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติให้มีการแข่งขันด้านราคา ยังไม่เห็นผลชัดเจน และคาดว่าต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดความพร้อม

“จริง ๆ แล้วค่าไฟถูกลงเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วยลดภาระของประชาชน แต่หากถูกลงแล้ว ถูกลงวันนี้ แต่แพงวันหน้าหรือเปล่า อันนี้เป็นสิ่งที่กังวล… ยืดหนี้วันนี้ อนาคตก็ต้องจ่าย แต่ถ้าไปปรับตรงค่าแอดเดอร์ มันเป็นสิ่งที่ในอนาคตมันต้องหมดไปอยู่แล้ว ส่วนการลงทุนโครงสร้างใหม่ ๆ บางทีเราชะลอได้ก็ชะลอ” ดร.อารีพร ระบุ

ที่มาของภาพ, AFP

เปิดข้อเสนอลดต้นทุนค่าไฟฟ้าจากภาคประชาสังคม

ก่อนหน้านี้ สภาผู้บริโภคมีข้อเสนอเรื่องการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศไปยัง คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือน ก.ค. 2567 สาระสำคัญคือขอให้รัฐดำเนินนโยบายลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยข้อเสนอหลายประการ ได้แก่

  • ชะลอหรือยุติการลงนามในสัญญารับซื้อไฟฟ้า (Energy Buy Settlement – PPA) จากโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าที่ต้องใช้พลังงานฟอสซิลซึ่งมีแนวโน้มราคาแพงในอนาคต และไม่ตอบโจทย์การที่ประเทศไทยจะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
  • ชะลอหรือยุติการดำเนินงานใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 256-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 จนกว่าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2567-2580 (แผน PDP 2024) จะประกาศใช้
  • ปรับโครงสร้างค่าความพร้อมจ่าย (AP) และค่าซื้อไฟฟ้า (CP) จากโรงไฟฟ้าเอกชน โดยให้เปิดการเจรจาเพื่อลดค่าความพร้อมจ่ายลงสำหรับโรงไฟฟ้าที่อายุใกล้ครบสัญญา และยืดการจ่ายค่าพร้อมจ่ายออกไปหรือยกเลิกค่าความพร้อมจ่ายสำหรับโรงไฟฟ้าใหม่
  • ปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่คิดกับกลุ่มปิโตรเคมีและการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LPG) จากโรงแยกก๊าซที่มาจากก๊าซในอ่าวไทย เพื่อขายให้กลุ่มปิโตรเคมี เป็นราคาตลาดโลก และให้รายได้ส่วนเพิ่มจากการขายนี้นำส่งเข้ากองทุนน้ำมันเพื่อใช้ในการอุดหนุนก๊าซหุงต้มในประเทศ และลดค่าเชื้อเพลิงที่โรงแยกก๊าซขายให้แก่ กฟผ. เป็นรายแรก