สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย 20 ปีก่อน เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สึนามิในมหาสมุทรอินเดียปี 2004 ยังเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งทั้งในแง่ของขนาดและความหายนะ
20 ปีก่อน ในวันที่ 26 ธ.ค. เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีการบันทึกมา ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา และมีขนาด 9.1 พัดเข้าชายฝั่งประเทศอินโดนีเซีย ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่พัดพาชุมชนรอบมหาสมุทรอินเดียให้ราพณาสูร
สึนามิ ซึ่งเป็นคำใช้เรียกสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย และสึนามิคริสต์มาส คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 230,000 ราย ในจำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9,000 รายจากหลายประเทศ ตามข้อมูลของสหประชาชาติ และมีการรายงานการเสียชีวิตใน 14 ประเทศ
ขณะที่ข้อมูลจาก Tsunami Overview Coalition ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 275,000 ราย และยังมีอีกหลายคนที่ยังเป็นผู้สูญหาย
คลื่นแห่งความเสียชีวิต

ที่มาของภาพ : PA Media
หนึ่งในสัญญาณเตือนสึนามิ คือคลื่นที่เคลื่อนตัวลงไปตามชายฝั่ง ทำให้น้ำลดฮวบ จนเผยให้เห็นชายหาดและพื้นทะเลหลายร้อยเมตร
and proceed readingเรื่องแนะนำ
Discontinue of เรื่องแนะนำ
ไม่ถึง 30 นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหว คลื่นขนาดใหญ่เริ่มซัดโจมตีชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และหมู่เกาะนิโคบาร์ของอินเดีย ภายใน 2 ชั่วโมง คลื่นได้เคลื่อนตัวไปถึงตอนใต้อินเดีย ศรีลังกา และไทย ต่อมาภายใน 7 ชั่วโมง คลื่นก็ซัดถล่มชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก
มีการคาดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติครั้งนี้ว่ามีมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.4 แสนล้านบาท)
สึนามิคืออะไร

สึนามิเป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มาจากรากศัพท์ 2 คำ คือ tsu แปลว่าท่าเรือ และ nami แปลว่าคลื่น
สึนามิเกิดขึ้นเมื่อพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้พื้นทะเลเคลื่อนตัวในแนวตั้งหลายเมตร และส่งผลให้น้ำปริมาณหลายร้อยลูกบาศก์กิโลเมตรเคลื่อนตัว
องค์การสหประชาชาติให้คำจำกัดความสึนามิไว้ว่าเป็น “คลื่นที่มักมีลักษณะเหมือนกำแพงน้ำ สามารถโจมตีชายฝั่งและก่ออันตรายได้นานหลายชั่วโมง”
คลื่นลูกแรกอาจไม่ใช่คลื่นลูกใหญ่เสมอไป ในเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2004 คลื่นลูกใหญ่ที่สุดคือลูกที่ 2 ในขณะที่ในสึนามิที่อลาสกาเมื่อปี 1964 คลื่นลูกใหญ่ที่สุดคือลูกที่ 4
สึนามิอาจเกิดจากแผ่นดินไหว ดินถล่ม หรือการปะทุของภูเขาไฟ

การเตือนภัยสึนามิ
ชาวญี่ปุ่นเป็นกลุ่มแรกที่เชื่อมโยงสึนามิกับเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ปี 1896 หลังจากสึนามิที่ซานริกุ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 22,000 ราย
ในปี 1923 ก่อนที่ประเทศใดจะมีความสามารถในการออกคำเตือนสึนามิได้ โทมัส จักการ์ นักแผ่นดินไหวและผู้ก่อตั้งหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟฮาวาย เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่กล่าวถึงความเป็นไปได้ของสึนามิ หลังจากแผ่นดินไหวคัมชัตกาในรัสเซียตะวันออก
ปี 1941 องค์กรเตือนภัยสึนามิแห่งแรกของโลก ก่อตั้งขึ้นที่เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น

ที่มาของภาพ : Getty
ศูนย์เตือนภัยสึนามิแห่งแรกของรัฐบาลสหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 1949 ที่หอสังเกตการณ์แม่เหล็กโลกโฮโนลูลู ต่อมาศูนย์แห่งนี้กลายเป็นส่วนสำคัญของศูนย์เตือนภัยสึนามิในแปซิฟิก
แต่ในปี 2004 ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียไม่มีระบบเตือนภัยหรือกลไกในการแจ้งเตือนและอพยพประชากรที่เปราะบางตามชายฝั่ง
ระบบเตือนภัยและบรรเทาภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2005 โดยมีนานาประเทศเข้าร่วม 28 ประเทศ แต่เริ่มดำเนินการในปี 2011
ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ยังนำระบบเตือนภัยสึนามิของตนเองมาใช้ด้วย




ที่มา BBC.co.uk