อุบัติเหตุรถยนต์ตกสะพานในอินเดีย จุดประเด็นความกังวลเกี่ยวกับกูเกิลแมป (Google blueprint) อย่างไร

ที่มาของภาพ, Anoop Mishra

คำบรรยายภาพ, ชายในอินเดีย 3 คน กำลังเดินทางไปร่วมงานแต่งงานก่อนจะเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต

Article knowledge

  • Author, เชอริแลน มอลลัน และ ไซเอด โมซิส อิมมาม
  • Role, บีบีซีนิวส์และบีบีซีแผนกภาษาฮินดู

แอปพลิเคชันนำทางต้องรับผิดชอบหรือไม่ หากผู้ใช้งานประสบอุบัติเหตุ ? กลายเป็นคำถามในอินเดียหลังชาย 3 คนเสียชีวิต เมื่อรถของพวกเขาเบี่ยงขึ้นสะพานที่ยังสร้างไม่เสร็จ และตกลงไปในก้นแม่น้ำของรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือของอินเดีย

ตำรวจยังคงสืบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (24 พ.ย.) แต่พวกเขาเชื่อว่ากูเกิลแมป (Google Diagram) นำทางให้กลุ่มชายทั้งสามคนใช้เส้นทางดังกล่าว

มีรายงานว่าส่วนหนึ่งของสะพานพังถล่มเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเนื่องจากน้ำท่วม และขณะที่คนท้องถิ่นรู้และหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว แต่ผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่ไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งยังไม่มีสิ่งกีดขวางหรือป้ายบอกทางที่ระบุว่าสะพานยังก่อสร้างไม่เสร็จ

ตำรวจได้ระบุชื่อวิศวกร 4 คน จากแผนกการทางของรัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกูเกิลแมปที่ไม่ได้เปิดเผยนาม ในการแจ้งข้อหาตามฐานความผิดเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม

ทางด้านโฆษกของกูเกิลบอกกับบีบีซีแผนกภาษาฮินดูว่า กำลังให้ความร่วมมือกับการสืบสวน

Skip เรื่องแนะนำ and continue finding outเรื่องแนะนำ

Stay of เรื่องแนะนำ

อุบัติเหตุที่น่าเศร้าได้เน้นย้ำถึงโครงสร้างพื้นฐานทางถนนที่ไม่ดีของอินเดีย และจุดประเด็นให้เกิดการถกเถียงว่าแอปฯ นำทางอย่างกูเกิลแมป ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ โดยบางคนตำหนิแอปฯ ที่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขณะที่บางคนโต้แย้งว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ปิดทางเข้าสถานที่

กูเกิลแมปเป็นแอปฯ นำทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอินเดียและกลายเป็นคำเรียกติดปากว่า “จีพีเอส (GPS-ระบบระบุตำแหน่งบนโลก)” หรือระบบนำทางจากวิทยุ-ดาวเทียม

นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนบริการแพลตฟอร์มที่ให้บริการร่วมเดินทาง (go-sharing) ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ (e-commerce) รวมถึงบริการส่งอาหาร โดยมีรายงานว่ามีผู้ใช้งานกูเกิลแมปประมาณ 60 ล้านคน และมีผู้ค้นหาผ่านแอปฯ ดังกล่าว 50 ล้านครั้งใน 1 วัน

อย่างไรก็ตาม แอปฯ กลับถูกตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น หลังจากพบว่าให้การนำทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรง

ในปี 2021 ชายคนหนึ่งจากรัฐมหาราษฏระจมน้ำตาย หลังจากขับรถเข้าไปในเขื่อน เนื่องจากไปตามคำแนะนำของแอปฯ และเมื่อปีที่แล้ว แพทย์หนุ่ม 2 คน ในรัฐเกรละเสียชีวิต หลังขับรถลงไปในแม่น้ำ ซึ่งตำรวจกล่าวว่าพวกเขาเดินทางโดยเส้นทางที่แสดงโดยแอปพลิเคชัน และเตือนว่าผู้คนไม่ควรพึ่งพาเส้นทางในแอปฯ มากเกินไปเมื่อถนนถูกน้ำท่วมขัง

ที่มาของภาพ, ANI

คำบรรยายภาพ, สะพานที่รถตกลงมา

แล้วกูเกิลแมปเรียนรู้เกี่ยวกับถนนหนทางที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร ?

สัญญาณจีพีเอส (GPS) จากแอปฯ ของผู้ใช้จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของการจราจรตลอดเส้นทางโดยดูว่าเส้นทางใดติดขัด จากนั้นจึงแนะนำเส้นทางที่บ่งชี้ว่ามีการใช้งานน้อยกว่า

นอกจากนี้ทางแอปฯ ยังได้รับข้อมูลที่อัปเดตจากหน่วยงานของรัฐบาล รวมถึงการรายงานจากผู้ใช้งานว่าเส้นทางใดมีการจราจรติดขัดหรือปิดเส้นทาง

อาชิช แนร์ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มทำแผนที่ชื่อว่าพอตเตอร์ แมปส์ (Potter Maps) และอดีตพนักงานของกูเกิลแมป บอกว่าการร้องเรียนเกี่ยวข้องกับการจราจรหนาแน่นหรือการแจ้งเตือนที่มาจากหน่วยงานโดยตรง จะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้อันดับต้น ๆ เนื่องจากกูเกิลไม่มีกำลังคนเพียงพอที่จะจัดการกับข้อร้องเรียนหลายล้านรายการที่ไหลเข้ามาทุกวันได้

“จากนั้นผู้ให้บริการแผนที่จะใช้ภาพถ่ายดาวเทียม, กูเกิลสตรีทวิว (Google Avenue Peep) และการแจ้งเตือนของรัฐบาลเพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงและทำการอัปเดตแผนที่” เขาบอก

จากข้อมูลของแนร์ แอปฯ นำทางไม่สามารถรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุได้ เนื่องจากข้อกำหนดในการให้บริการได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องใช้วิจารณญาณของตนเองเมื่ออยู่บนท้องถนน ซึ่งสภาพจริงอาจไม่เหมือนกับข้อมูลที่ทางแอปพลิเคชันแนะนำ

เขายังบอกด้วยว่ามันเป็นเรื่องยากมากสำหรับแพลตฟอร์มอย่างกูเกิลในการเข้าไปจัดการกับแผนที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนตลอดเวลา

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, ในอินเดียมีการใช้งานกูเกิลแมปอย่างแพร่หลาย

ต่างจากประเทศอื่น ๆ อินเดียไม่ได้มีระบบที่แข็งแกร่งสำหรับการรายงานปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวได้ทันเวลา

“ข้อมูล (knowledge) ยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในอินเดีย ไม่มีระบบสำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่จะเข้าสู่ระบบเว็บอินเทอร์เฟส (ระบบเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน) ซึ่งแอปฯ อย่างกูเกิลแมปนำไปใช้ได้ เหมือนกับประเทศสิงคโปร์” แนร์ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มทำแผนที่ในอินเดีย ระบุ

เขายังกล่าวเสริมว่า ด้วยประชากรจำนวนมากของอินเดียและการพัฒนาที่รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่แม่นยำนั้นเป็นเรื่องท้าทายมากกว่าเดิม

“กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แผนที่ที่ไม่ดีจะคงมีอยู่จนกว่ารัฐบาลจะกระตือรือร้นมากขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงแบ่งปันข้อมูล”

ขณะที่ทางทนายความยังเสียงแตกว่าแอปฯ จีพีเอสต้องรับผิดชอบตามกฎหมายหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือไม่

ไซมา ข่าน ทนายความ กล่าวว่า พ.ร.บ.เทคโนโลยีสารสนเทศของอินเดียให้สถานะแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างกูเกิลแมปว่าเป็น “ตัวกลาง” (หมายถึงแพลตฟอร์ที่เผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลที่ 3 ให้มา) จึงได้รับความคุ้มครองจากการรับผิด

แต่เธอกล่าวเสริมว่า หากพิสูจน์ได้ว่าแพลตฟอร์มไม่ได้แก้ไขข้อมูลอย่างทันท่วงที แม้จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ทางแอปฯ ก็ต้องรับผิดชอบต่อความประมาทเลินเล่อดังกล่าว