เกิดอะไรขึ้นในซีเรีย หลังกลุ่มกบฏบุกยึดกรุงดามัสกัส เมืองหลวงได้สำเร็จ
Article info
- Author, เดวิด กริทเทน
- Position, บีบีซีนิวส์
ครอบครัวอัสซาดปกครองซีเรียด้วยกำปั้นเหล็กมานาน fifty three ปี แต่ตอนนี้มันมาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว
ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ขึ้นสู่อำนาจในปี 2000 ต่อจากพ่อของเขาซึ่งปกครองซีเรียมานานเกือบสามทศวรรษ
ย้อนไปเมื่อ 13 ปีก่อน ประธานาธิบดีอัสซาดได้ใช้กำลังปราบปรามการลุกฮืออย่างสงบเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งสุดท้ายได้กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่เต็มไปด้วยความสูญเสีย มีผู้เสียชีวิตจากสงครามกลางเมืองนี้แล้วเกินครึ่งล้าน และกว่า 12 ล้านคนต้องผลัดถิ่นจากบ้านตัวเอง
แต่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา กลุ่มอิสลามต่อต้านรัฐบาลที่ชื่อ ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (Hayat Tahrir al-Sham – HTS) ร่วมกับพันธมิตร ได้บุกยึดพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศได้สำเร็จ
กลุ่มกบฏสามารถบุกยึดเมืองอเลปโป เมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศได้สำเร็จ จากนั้นได้เดินขบวนลงมาทางใต้ด้วยถนนสายหลักมุ่งหน้าสู่กรุงดามัสกัส ในห้วงเวลาที่กองทัพซีเรียล่มสลาย
Skip เรื่องแนะนำ and continue readingเรื่องแนะนำ
Dwell of เรื่องแนะนำ
ชาวซีเรียจำนวนมากบอกว่า พวกเขารับรู้ได้ถึงอิสรภาพ แต่บางคนก็กังวลเกี่ยวกับอนาคตที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้
สถานการณ์สู้รบภาคพื้นดินเป็นอย่างไร
กลุ่มกบฏที่นำโดย กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองอเลปโป เมื่อวันที่ 30 พ.ย. พวกเขาบอกว่าเผชิญกับการต่อต้านภาคพื้นดินเพียงเล็กน้อย หลังจากที่รัฐบาลถอนทหารและกองกำลังรักษาความปลอดภัยออกไปอย่างรวดเร็ว
อัสซาดประกาศกร้าวว่าจะ “บดขยี้” กลุ่มกบฏด้วยความช่วยเหลือของพันธมิตรของเขา เครื่องบินรบของรัสเซียได้เพิ่มการโจมตีในพื้นที่ที่กลุ่มกบฏยึดครอง ส่วนกลุ่มติดอาวุธที่มีอิหร่านหนุนหลังก็ส่งกองกำลังไปเพิ่มเพื่อเสริมแนวป้องกันรอบเมืองฮามา ซึ่งเป็นเมืองถัดไปที่อยู่ทางใต้ลงมาก่อนถึงกรุงดามัสกัส
อย่างไรก็ตาม กลุ่มกบฏบุกเข้าเมืองฮามาได้ในวันพฤหัสบดี หลังการต่อสู้นานหลายวันที่ทำให้กองทัพซีเรียตัดสินใจถอนกำลัง
กลุ่มกบฏประกาศต่อในทันทีว่าจะยึดเมืองฮอมส์ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในซีเรีย และทำได้สำเร็จในคืนวันเสาร์หลังจากการต่อสู้เพียงวันเดียว
ในเวลาเดียวกัน กลุ่มกบฏอื่น ๆ ที่มีฐานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศซึ่งติดกับประเทศจอร์แดน ได้บุกไปถึงรอบนอกของกรุงดามัสกัส หลังจากที่สามารถควบคุมเมืองดาราร์ (Daraa) และเมืองสุเวดา (Suewida) ได้ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
ในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ กลุ่มกบฏที่นำโดย กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม ได้ประกาศว่าพวกเขาได้เข้าสู่กรุงดามัสกัสแล้ว และได้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทหารที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประเทศที่ชื่อ แซดนายา (Saydnaya) เป็นที่เชื่อกันว่าผู้สนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรียหลายพันคนถูกสังหารที่นี่ในระหว่างสงครามกลางเมือง
ไม่ถึงสองชั่วโมงต่อมา พวกเขาก็ประกาศว่า “เผด็จการบาชาร์ อัล-อัสซาด ได้หนีไปแล้ว”
“หลังจากการกดขี่กว่า 50 ปีภายใต้การปกครองของพรรคบาธ (Baath) และ 13 ปีของอาชญากรรม เผด็จการ และการพลัดถิ่น… เราขอประกาศวันนี้ว่านี่คือจุดจบของห้วงเวลาอันมืดหม่นนี้ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่สำหรับซีเรีย” พวกเขากล่าว
เจ้าหน้าที่ทหารอาวุโสหลายคนบอกว่า ประธานาธิบดีอัสซาดได้บินออกจากเมืองหลวงไปยังปลายทางที่ไม่เป็นที่รับรู้แล้ว หลังจากที่กลุ่มกบฏมาถึงเมืองหลวงไม่นาน
โมฮัมเหม็ด อัล-จาลาลี นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลอัสซาด ได้ประกาศผ่านวิดีโอว่า เขา “พร้อมที่จะร่วมมือกับ” ผู้นำคนใดก็ตามที่ “ถูกเลือกโดยประชาชนชาวซีเรีย”
อัล-จาวลานี สั่งการไม่ให้กองกำลังของเขาเข้าใกล้อาคารของทางการ พร้อมบอกว่าองค์กรเหล่านี้จะยังคงอยู่ภายใต้อำนาจของนายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีการถ่ายโอนอำนาจ “อย่างเป็นทางการ”
ใครควบคุมซีเรียในอดีตจนถึงตอนนี้
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบในซียเรียจะจบสิ้นลงไปแล้ว หลังจากรัฐบาลของอัสซาดยึดคืนเมืองส่วนใหญ่ในซีเรียกลับมาได้ ด้วยความช่วยเหลือของรัสเซีย อิหร่าน รวมถึงกลุ่มติดอาวุธที่มีอิหร่านหนุนหลัง
ที่ผ่านมา พื้นที่แนวหน้าไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในการควบคุมของรัฐบาล
พื้นที่ทางเหนือและทางตะวันออกควบคุมโดยกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces – SDF) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรติดอาวุธที่สนับสนุนโดยสหรัฐฯ และนำโดยชาวเคิร์ด
ฐานที่มั่นสุดท้ายของกลุ่มกบฏคือที่เมืองอเลปโปและอิดลิบ ซึ่งอยู่ติดกับประเทศตุรกี และยังเป็นที่อยู่ของผู้คนกว่าสี่ล้านคน ซึ่งจำนวนมากเป็นผู้พลัดถิ่นด้วย
ในสองเมืองดังกล่าว กลุ่มหลักที่ปกครองคือกลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มกบฏติดอาวุธที่เป็นพันธมิตรกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงกลุ่มญิฮาดอีกหลายกลุ่ม ก็มีฐานที่มั่นอยู่ที่นั่นด้วย ส่วนกองทัพแห่งชาติซีเรีย (Syrian Nationwide Navy – SNA) ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏที่มีตุรกีหนุนหลัง ก็ควบคุมพื้นที่ดังกล่าวอยู่ส่วนหนึ่งเช่นกันด้วยการสนับสนุนจากกองทัพตุรกี
กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม คือใคร
ในปี 2011 HTS เคยก่อตั้งในชื่ออื่น นั่นคือ จาบัต อัล-นุสรา (Jabhat an-Nusra) ซึ่งขึ้นตรงกับกลุ่มอัลกออิดะห์ (Al Qaeda) ในฐานะพันธมิตร และพบว่านายอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี ผู้นำของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส (Islamic Voice – IS) ก็เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังถือว่าจาบัต อัล-นุสรา เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพและอันตรายที่สุดในบรรดากลุ่มต่อต้านประธานาธิบดีอัสซาดของซีเรีย
แต่ดูเหมือนว่าแนวอุดมการณ์ญิฮาดจะเป็นเพียงแรงผลักดันมากกว่าจะทำให้กลุ่มดังกล่าวลุกขึ้นมาก่อการปฏิวัติ ทำให้ในขณะนั้นพวกเขาถูกมองว่ามีแนวทางขัดแย้งกับแนวร่วมกบฏกลุ่มหลักที่รวมตัวกันภายใต้ธงซีเรียเสรี (Free Syria)
ต่อมาในปี 2016 อาบู โมฮัมเหม็ด อัล-จาวลานี ผู้นำของกลุ่ม ออกมาประกาศตัดความสัมพันธ์กับกลุ่มอัลกออิดะห์ต่อสาธารณชน และยุบกลุ่มจาบัต อัล-นุสรา พร้อมกับจัดตั้งองค์กรใหม่ที่มีชื่อว่า ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) โดยควบรวมกับกลุ่มที่คล้ายคลึงกันอีกหลายกลุ่มในช่วงหนึ่งปีถัดมา
อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รวมถึงอีกหลายประเทศ ยังคงถือว่ากลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม เป็นสาขาของกลุ่มอัลกออิดะห์ และมักเรียกกลุ่มนี้ว่า แนวร่วมอัล-นุสรา (al-Nusra Front) ด้านสหรัฐฯ ได้แปะป้าย อาบู โมฮัมเหม็ด ผู้นำของกลุ่ม ว่าเป็นผู้ก่อการร้ายระดับโลก และเสนอจะให้รางวัล 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับใครก็ตามที่มอบเบาะแสที่นำไปสู่การจับตัวเขาได้
กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม กระชับอำนาจในเมืองอิดลิบและอเลปโปด้วยการกำจัดกลุ่มติดอาวุธคู่แข่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอัลกออิดะห์ รวมถึงกลุ่มย่อยของกลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic Voice – IS) พวกเขาได้ก่อตั้งสิ่งที่เรียกว่า รัฐบาลกู้ชาติซีเรีย (Syrian Salvation Authorities) เพื่อปกครองพื้นที่ดังกล่าวตามหลักศาสนาอิสลาม
อัล-จาวลานี ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็นเมื่อวันศุกร์ ว่า “เป้าของการปฏิวัติยังคงเป็นการล้มระบอบปกครองของอัสซาด” และเขาวางแผนที่จะสร้างรัฐบาลบนฐานของสถาบันต่าง ๆ และ “คณะกรรมการที่ประชาชนเป็นผู้เลือก”
ทำไมกลุ่มกบฏต้องเปิดฉากโจมตี
เป็นเวลาหลายปีที่เมืองอิดลิบกลายเป็นสมรภูมิ เนื่องจากรัฐบาลซีเรียพยายามเข้ามาควบคุมพื้นที่นี้อีกครั้ง แต่ข้อตกลงหยุดยิงในปี 2020 ซึ่งมีรัสเซียและตุรกีเป็นตัวกลางระหว่างคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย ยังเป็นที่ยอมรับในส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีการต่อสู้เกิดขึ้นประปราย
กลุ่มฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม และพันธมิตร บอกว่าพวกเขาบุกโจมตีเพื่อ “ป้องกันการรุกราน” จากรัฐบาลซีเรีย โดยกล่าวหาว่ารัฐบาลซีเรียและกลุ่มติดอาวุธที่มีอิหร่านหนุนหลัง พยายามขยายการโจมตีพลเรือนในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ
แต่การโจมตีนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลซีเรียอ่อนแอลงแล้วจากสงครามที่ลากนานหลายปี การคว่ำบาตร และคอร์รัปชัน รวมถึงการที่ประเทศพันธมิตรของซีเรียกำลังยุ่งอยู่กับความขัดแย้งอื่น ๆ
กลุ่มฮิซบอลเลาะห์จากเลบานอนซึ่งมีอิหร่านหนุนหลัง มีความสำคัญในการช่วยรัฐบาลซีเรียสู้กับกลุ่มกบฏต่าง ๆ ในช่วงปีแรก ๆ ของสงครามในซีเรีย แต่ฮิซบอลเลาะห์ก็อ่อนแอลงอย่างมากจากการถูกอิสราเอลโจมตีในเลบานอน การโจมตีของอิสราเอลยังได้สังหารผู้บัญชาการทหารของอิหร่านในซีเรีย และทำให้เส้นทางขนส่งอาวุธไปยังกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรียเสียหาย ทางด้านรัสเซียก็กำลังง่วนอยู่กับสงครามในยูเครน
เมื่อไม่มีการสนับสนุนเหล่านี้ กองกำลังของอัสซาดก็อ่อนแอลงอย่างมาก
ที่มา BBC.co.uk