เจาะข้อมูลการลงมติของสภาสูง “สว.สีน้ำเงิน” รวมกลุ่มบล็อกโหวตจริงไหม
Article data
- Author, หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
- Role, ผู้สื่อข่าว.
การประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 (ก.ค.-ต.ค.) เกิดขึ้นทั้งหมด 21 ครั้ง ใช้เวลาในการประชุมประมาณ 123 ชม. 30 นาที ทุกมติที่ออกมาสะท้อนภาพความเป็นบึกแผ่นของ “สว. สีน้ำเงิน” ต่างจาก สว. ที่ถูกเรียกขานว่า “สว. ประชาชน” ที่ลงมติไปคนละทิศทาง และยังมีจำนวนลดน้อยถอยลงเรื่อย ๆ
จากการตรวจสอบของ. พบว่า มีการลงมติอย่างน้อย forty eight ครั้ง โดย สว. นอกกลุ่มใหญ่ “แพ้ทุกโหวต” ไม่ว่าจะชงประเด็นใด เรื่องเล็กหรือใหญ่ ไล่ตั้งแต่การกำหนดเวลา กติกา ตัวแสดง ก็ไม่อาจโต้แย้งทิศทางหลักจากเหล่าวุฒิสมาชิกที่ถูกเรียกขานว่า “สว. สีน้ำเงิน” ได้
ค่าเฉลี่ยคะแนนโหวตของฝ่ายฝ่ายเสียงข้างมาก (เฉพาะที่ลงมติด้วยเครื่องลงคะแนน 41 ครั้ง) คือ 154.7 คะแนน
ส่วนคะแนนสูงสุดที่ สว. เสียงข้างน้อยได้รับคือ forty eight คะแนน จากการเสนอร่างข้อบังคับการประชุมฉบับ “เปรมศักดิ์” และเสนอตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาอุทกภัย ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ข้อเสนอได้รับการตอบสนอง
สว. ชุดที่ 13 มาจากการ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม และ “เลือกไขว้กลุ่มอาชีพ” ค่อย ๆ ไต่ระดับ 3 ชั้นจากอำเภอ จังหวัด สู่ประเทศ จนเหลือ 200 คน ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง “สีน้ำเงินยึดสภาสูง” เนื่องจากปรากฏรายชื่อ สว. จากจังหวัดที่อยู่ในเขตอิทธิพลของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) รวมถึงคนใกล้ชิดของแกนนำพรรคสีน้ำเงินได้เข้าสภาอย่างพร้อมเพรียง โดยครั้งแรกมีการประเมินตัวเลขเบื้องต้นไว้ที่ 120 คน ก่อนขยายวงหลังจากนั้น
Skip เรื่องแนะนำ and continue finding outเรื่องแนะนำ
Discontinue of เรื่องแนะนำ
ต่อไปนี้คือสถิติและสรุปผลโหวตที่.สังเคราะห์ได้จากการตรวจสอบบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของ 200 สว. ในสมัยประชุมแรก พร้อมข้อสังเกตที่น่าสนใจ
ล็อกคนบนบัลลังก์
การลงมติครั้งแรกของวุฒิสภาชุดที่ 13 เกิดขึ้นในการประชุมนัดแรกเมื่อ 23 ก.ค. เพื่อสอบถามความเห็นของสมาชิกว่า เห็นควรให้แคนดิเดตชิงเก้าอี้ประธานและรองประธานวุฒิสภาแสดงวิสัยทัศน์คนละไม่เกิน 7 นาทีตามข้อเสนอของสมาชิกที่เรียกตัวเองว่า “สว. พันธุ์ใหม่” หรือ 5 นาทีตามข้อเสนอของ “สว. สีน้ำเงิน”
ผลปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นด้วยให้แคนดิเดตแสดงวิสัยทัศน์คนละ 5 นาที ด้วยคะแนนเสียง 143:54 งดออกเสียง 3 เสียง
ตัวเลขที่ออกมาคล้ายเป็นการ “ทดสอบระบบ” ก่อนที่สาธารณชนจะมีโอกาสเห็น “ยอดจริง” ของ สว. สีน้ำเงิน ในการลงมติสำคัญเพื่อกำหนดตัว “คนบนบัลลังก์” ที่ต้องควบคุมการประชุมสภาสูงไปอีก 5 ปี
การเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภาใช้วิธีลงคะแนนลับโดยใช้บัตรลงคะแนน ด้วยการให้สมาชิกรับบัตร เข้าคูหา เขียนชื่อบุคคลที่ต้องการเลือกลงไป ก่อนนับคะแนน จึงไม่ปรากฏข้อมูลว่า สว. แต่ละคนลงมติอย่างไร แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีเหตุ “พลิกผัน” หรือ “พลิกโผ” ที่ปรากฏตามหน้าสื่อ เนื่องจากสายสีน้ำเงินหรือคนที่สีน้ำเงินให้การสนับสนุนสามารถยึดเก้าอี้ได้ครบทั้ง 3 ตำแหน่ง ด้วยคะแนนเสียงทะลุ 150 เสียง หรือคิดเป็น 75% ของวุฒิสภา
- มงคล สุระสัจจะ สว. สีน้ำเงิน กลุ่ม 1 (กลุ่มบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง) จาก จ.บุรีรัมย์ อดีตประธานคณะทำงาน รมช.มหาดไทย (ทรงศักดิ์ ทองศรี) ขึ้นแท่นประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนน 159 เสียง
- พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ สว. สีน้ำเงิน กลุ่ม 1 (กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง) จาก จ.สุราษฎร์ธานี อดีตประธานที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย (อนุทิน ชาญวีรกูล) ได้เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ด้วยคะแนน 150 เสียง
- บุญส่ง น้อยโสภณ สว. กลุ่ม 2 (กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม) จาก จ.ระยอง ได้เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ด้วยคะแนนสนับสนุนสูงสุดถึง 167 เสียง แม้เคยประกาศตัวผ่านสื่อว่าเป็น “สว. อิสระ” ทว่าได้ดอดไปร่วมวงประชุมลับของ สว. สีน้ำเงิน เพื่อนำเสนอตัวตน-ขายวิสัยทัศน์ ก่อนการประชุมวุฒิสภาเพื่อโหวตเลือกประธานและรองประธานสภาจะเกิดขึ้น
ขณะที่บรรดาผู้ท้าชิงในทั้ง 3 ตำแหน่ง รวม 7 คน จากหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น “สว. พันธุ์ใหม่” “สว. สีขาว” และ “สว. อิสระ” ได้คะแนนเห็นชอบตั้งแต่หลักหน่วยไปจนถึงหลักสิบ โดยมี นพดล อินนา แคนดิเดตชิงรองประธานสภา คนที่ 1 ได้รับคะแนนสูงสุด แต่ก็ได้เพียง 27 เสียงเท่านั้น
เขียนกติกาสีน้ำเงิน
หลังได้คนคุมกลเกมใหญ่ในวุฒิสภา ก็ได้เวลากำหนดกติกาในการอยู่ร่วมกัน และจัดสรรอำนาจผ่านกลไกคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
ในการประชุมวุฒิสภานัดที่ 2 เมื่อ 5 ส.ค. มี สว. เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 5 ฉบับ โดย 4 ฉบับมาจาก สว. เสียงข้างน้อย เสนอโดย เปรมศักดิ์ เพียยุระ, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, เทวฤทธิ์ มณีฉาย, เอกชัย เรืองรัตน์ และอีก 1 ฉบับเสนอโดย พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี สว. สีน้ำเงิน
ผลออกมาตามคาด เมื่อคนส่วนใหญ่ในสภาสูงพร้อมใจกัน “ตีตก” 4 ร่างแรก ด้วยคะแนนตั้งแต่ 147-137 เสียง ถึงแม้ร่างข้อบังคับการประชุมฉบับ เปรมศักดิ์ จะได้แรงหนุนสูงสุดในหมู่ร่างที่ถูกคว่ำ แต่ก็มีเพียง forty eight เสียงเท่านั้น
ต่างจากร่างข้อบังคับการประชุมฉบับ ยุทธนา ที่ สว. โหวตรับหลักการในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 148:39 งดออกเสียง 13 เสียง โดยมี สว. เข้าประชุมครบ 200 คน
จากนั้นมีการตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา จำนวน 21 คน มี ธวัช สุระบาล สว. สีน้ำเงิน เป็นประธาน ก่อนที่ กมธ. ชุดนี้จะนำร่างกติกา กลับมาให้เพื่อนร่วมสภาพิจารณาในวาระ 2 (พิจารณารายมาตรา) และวาระ 3 (พิจารณาทั้งฉบับ) โดยที่ประชุมวุฒิสภามีมติเมื่อ 2 ก.ย. เห็นชอบ ด้วยคะแนนเสียง 148:20 งดออกเสียง 8 เสียง
สำหรับสาระสำคัญของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา กำหนดให้มี กมธ.สามัญประจำวุฒิสภา 21 คณะ โดยแต่ละคณะมี กมธ. 9-18 คน และลดจำนวนอนุ กมธ. เหลือ 3 คณะ มีอนุ กมธ. 12 คน
พล.ต.ท.ยุทธนา ในฐานะต้นร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ให้เหตุผลในการยุบ กมธ. จากเดิม 26 คณะ เหลือ 21 คณะ ว่า “ต้องการให้สอดคล้องกับจำนวนคน” เนื่องจากจำนวน สว. ลดจาก 250 คน เหลือ 200 คน อีกทั้ง “ต้องการลดงบประมาณที่ใช้ต่อปีจำนวนหลายล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม สว. เสียงข้างน้อยวิเคราะห์กับ.ว่า ผู้กำหนดยุทธศาสตร์ค่ายน้ำเงินคงประเมินแล้วว่า สมาชิกในกลุ่มที่มีศักยภาพในการเป็นประธาน กมธ. ได้น่าจะมีอยู่ราว 20 คน จึงต้องลดสัดส่วน กมธ. ให้สอดคล้องกับจำนวนคน ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ในค่ายน้ำเงินไม่มีบทบาทมากนัก เพราะถูกวางตัวให้เป็น “โหวตเตอร์” ตั้งแต่ในสนามเลือกกันเอง 3 ระดับ แต่หลุดเข้าสภา-กลายเป็น “สว. ตัวจริง” และคนเหล่านั้นก็ยังต้องเล่นบทโหวตเตอร์ดังเดิมเพื่อโชว์เอกภาพและการันตีว่าการลงมติสำคัญจะไม่เกิดการ “แหกมติ”
เมื่อเปรียบเทียบผลการลงมติในแต่ละวาระ พบว่า สว. เสียงข้างน้อยที่เคยลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิฯ ในวาระ 1 จำนวน 39 คน ได้หายไปครึ่งหนึ่ง-หดเหลือ 20 คนในวาระ 3
เดิม สว. อิสระกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “สว. ประชาชน” ซึ่งมีการเปิดโผรายชื่อสมาชิกไว้ 28 คน หรือคิดเป็น 14% ของวุฒิสภา ก่อนมีการเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “สว. พันธุ์ใหม่” แต่หลังจากนั้น สว. ประชาชน/พันธุ์ใหม่ อย่างน้อย 3 คนที่.พูดคุยด้วยบอกว่าขอเป็น “สว. อิสระ” ไม่สังกัดกลุ่มใด ขณะที่แกนนำ สว. สีน้ำเงินยอมรับว่า มี สว. ย้ายมาร่วมงานกับกลุ่มใหญ่มากขึ้น
.เข้าใจว่า การจัดสรรตำแหน่งใน กมธ. และอนุ กมธ. ชุดต่าง ๆ ได้กลายเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ สว. อิสระ มีจำนวนร่อยหรอลง ขณะที่แนวร่วมสีน้ำเงินเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้เห็นบริบทในการตัดสินใจ ณ ห้วงที่ลงมติ จึงขอประมวลข้อมูลและจัดกลุ่มเอาไว้ ดังนี้
20 คน โหวตคว่ำ “กติกาสีน้ำเงิน” ในวาระ 3
- กลุ่มที่เคยมีชื่อในบัญชี “สว. ประชาชน” 14 คน ได้แก่ ชวพล วัฒนพรมงคล, เทวฤทธิ์ มณีฉาย, นรเศรษฐ์ ปรัชญากร, นันทนา นันทวโรภาส, นิคม มากรุ่งแจ้ง, ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ, พรชัย วิทยเลิศพันธุ์, รัชนีกร ทองทิพย์, วราวุธ ตีระนันทน์ (เดิมงดออกเสียง), วีรยุทธ สร้อยทอง, วีระพันธ์ สุวรรณนามัย, สุนทร พฤกษพิพัฒน์, อังคณา นีละไพจิตร, เอกชัย เรืองรัตน์
- กลุ่มอื่น ๆ 6 คน ได้แก่ กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์, เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ (เดิมงดออกเสียง), นพดล อินนา, พล.ต.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร (เดิมเห็นด้วย), สมศักดิ์ จันทร์แก้ว (เดิมเห็นด้วย), สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์
16 คน เปลี่ยนใจจาก ไม่เห็นด้วย ในวาระแรก เป็น เห็นด้วย ในวาระ 3
- กลุ่มที่เคยมีชื่อในบัญชี “สว. ประชาชน” 7 คน ได้แก่ กัลยา ใหญ่ประสาน, ชิบ จิตนิยม, ณภพ ลายวิเศษกุล, ประทุม วงศ์สวัสดิ์, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล, ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ
- กลุ่มอื่น ๆ 9 คน ได้แก่ กมล สุขคะสมบัติ, ว่าที่ พ.ต.กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์, ชาญวิศว์ บรรจงการ, ชูชีพ เอื้อการณ์, นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์, พล.ต.ท.วันไชย เอกพรพิชญ์, วาสนา ยศสอน, วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์, อภินันท์ เผือกผ่อง
3 คน เปลี่ยนใจจาก ไม่เห็นด้วย ในวาระแรก เป็น งดออกเสียง ในวาระ 3
- กลุ่มที่เคยมีชื่อในบัญชี “สว. ประชาชน” 1 คนคือ มณีรัฐ เขมะวงค์
- กลุ่มอื่น ๆ 2 คน ได้แก่ เปรมศักดิ์ เพียยุระ, พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต
นอกจากนี้ยังมี “สว. ประชาชน” อีก 3 คนที่โหวตเห็นด้วยทุกวาระ ได้แก่ โชติชัย บัวดิษ, แล ดิลกวิทยรัตน์, ศรายุทธ ยิ้มยวน
เครื่องกรองเงียบ
หนึ่งในภารกิจสำคัญของวุฒิสภา หนีไม่พ้น การพิจารณาและให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งใน 6 องค์กรอิสระ และ 7 ตำแหน่งในองค์กรอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ตำแหน่งแรก ๆ ที่ สว. ชุดนี้ต้องเป็น “ตัวกรอง” คัด-เคาะชื่อ คือ อัยการสูงสุด (อสส.) และประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นวาระคงค้างจาก สว. ชุดเฉพาะกาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ ที่ประชุมมีมติให้ใช้ กมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ชุดเดียวกัน มี พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี สว. สีน้ำเงิน เป็นประธาน
การเลือก กมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ จำนวน 15 คน เกิดขึ้นในคราวประชุมวุฒิสภา 5 ส.ค. โดยตัวแทน สว. สีน้ำเงินเสนอชื่อมาเป็นแพ็ก 15 คนรวด ขณะที่ สว. พันธุ์ใหม่เสนอชื่อสมาชิกในกลุ่มแข่ง 10 คน และมี สว. เสียงข้างน้อยอื่น ๆ เสนอชื่อตัวเองและเพื่อนสมาชิกเข้าประกวดประปราย รวมมีแคนดิเดตทั้งสิ้น 33 คน ต้องคัดเหลือ 15 คน
มติที่ออกมา พบว่า 14 สว. สีน้ำเงิน ได้รับเลือกให้เป็น กมธ. ด้วยคะแนนตั้งแต่ 144-135 เสียง โดยมี สุนทร เชาว์กิจค้า สว. นอกกลุ่มสีน้ำเงิน สอดแทรกเข้าไปเป็นคนสุดท้าย-มีคะแนนเป็นลำดับที่ 15 ได้ 109 เสียง
ส่วน สว. รายอื่น ๆ อีก 18 คน ได้คะแนนตั้งแต่ 3-13 คะแนน โดยมีอยู่ 11 คนที่ได้คะแนนเพียงหลักหน่วย
ต่อมา 3 ก.ย. ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบให้ ไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ ดำรงตำแหน่ง อสส. ด้วยคะแนนเสียง 184:2 งดออกเสียง 9 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง และมีมติเห็นชอบให้ ประสิทธิศักดิ์ มีลาภ ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ด้วยคะแนนเสียง 164:17 งดออกเสียง 9 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง ทั้ง 2 ตำแหน่ง เป็นการลงคะแนนลับโดยใช้บัตรออกเสียงลงคะแนน จึงไม่ปรากฏข้อมูลการลงคะแนนของ สว. แต่ละคน
หลังจากนั้นเมื่อ สว. เสียงข้างน้อยเสนอให้เปิดเผยรายงานลับของ กมธ. แต่ไม่อาจฝ่าด่านน้ำเงินไปได้ วุฒิสภามีมติไม่เห็นด้วยกับการเปิดเผยรายงานตรวจสอบประวัติฯ อสส. ด้วยคะแนนเสียง 166:17 งดออกเสียง 1 เสียง และไม่เห็นด้วยกับการเปิดเผยรายงานตรวจสอบประวัติฯ ประธานศาลปกครองสูงสุด ด้วยคะแนนเสียง 170:14
กมธ. ทั้ง 15 คนจึงได้ปิดจ็อบ “เครื่องกรองเงียบ”
“พลิก” ร่างกฎหมายสำคัญจากสภาผู้แทนฯ
ในช่วง 3 เดือนแรกของการทำหน้าที่ สว. ชุดนี้ได้ร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 11 ฉบับ ในจำนวนนี้เป็นการผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ 2 ฉบับ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
ฉบับแรก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. …. วุฒิฯ ลงมติเห็นด้วย ด้วยคะแนนเสียง 139:38 งดออกเสียง 18 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง (มติ 6 ส.ค.)
ฉบับที่สอง ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วุฒิฯ ลงมติเห็นด้วย ด้วยคะแนนเสียง 174:3 งดออกเสียง 7 (มติ 9 ก.ย.)
แต่สำหรับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนฯ ด้วยมติเอกฉันท์ 409 เสียง ได้ถูก สว. ชุดนี้ “พลิกมติ” ทั้งสภาล่างและสภาตัวเอง จากเคยรับหลักการท่วมท้นในวาระแรก ได้รื้อหลักเกณฑ์ใหม่โดยให้กลับไปใช้เกณฑ์ “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” (Double Majority) ในการหาข้อยุติกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แทนการใช้ “เสียงข้างมากชั้นเดียว” (Easy Majority) ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าเป็นแผน “เตะถ่วง” กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ต้องอาศัยการทำประชามติหรือไม่
.ขอสรุปไทม์ไลน์และผลการลงมติที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายประชามติเอาไว้ ดังนี้
27 ส.ค. วุฒิสภามีมติรับร่างของ สส. (ให้ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว) เอาไว้พิจารณา ในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 179:5 งดออกเสียง 3 เสียง
จากนั้น เทวฤทธิ์ มณีฉาย สว. พันธุ์ใหม่ เสนอให้ตั้ง กมธ. เต็มสภาเพื่อพิจารณาต่อในวาระ 2 และ 3 โดยไม่ชักช้าเพื่อให้ทันจัดประชามติหนแรกพร้อมการเลือกนายก อบจ. ในเดือน ก.พ. 2568 ตามปฏิทินที่รัฐบาลประกาศไว้ แต่ข้อเสนอนี้ถูกตีตกด้วยมติ 34:147 งดออกเสียง 6 โดยเสียงส่วนใหญ่ของ สว. เห็นควรให้ตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ จำนวน 25 คน ซึ่งปรากฏชื่อ พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สว. สีน้ำเงิน เป็นประธาน กมธ. หลังจากนั้น
25 ก.ย. กมธ. ชุด พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ มีมติ 17:1 ให้แก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติ โดยกลับไปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น โดย 1 เดียวที่โหวตสวนคือ นันทนา นันทวโรภาส จากกลุ่ม สว. พันธุ์ใหม่
30 ก.ย. วุฒิสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ในวาระ 2 และ 3 ตามที่ กมธ. แก้ไข
วาระ 2 วุฒิสภามีมติเห็นด้วยกับมาตรา 7 แก้ไขมาตรา 13 (ให้ใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น) ด้วยคะแนนเสียง 164:21 งดออกเสียง 9 เสียง
วาระ 3 วุฒิสภามีมติเห็นด้วยกับทั้งร่าง (ตามที่ กมธ. แก้ไข) ด้วยคะแนนเสียง 167:19 งดออกเสียง 7 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง
เป็นอันว่าสภาสูงได้กลับมติของสภาล่างเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาสภาผู้แทนฯ ไม่เห็นด้วย จึงต้องตั้ง กมธ. ร่วมกัน 2 สภาเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
21 ต.ค. เทวฤทธิ์ มณีฉาย เสนอให้งดใช้ข้อบังคับการประชุม ข้อ 83 วรรคสาม เป็นการชั่วคราว เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตัวแทน สว. ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ กมธ. ร่วมกับฝ่าย สส. จากปกติ 1 คนเลือก กมธ. ได้ 14 รายชื่อ เปลี่ยนเป็น 1 คนเลือก กมธ. ได้ 1 ชื่อ เพราะหวังว่า สว. เสียงข้างน้อยจะมีโอกาสสอดแทรกเข้าไปเป็น กมธ. บ้าง แต่มีผู้สนับสนุนแนวคิดนี้เพียง 26 คน ขณะที่เสียงส่วนใหญ่ 138 คนไม่เอาด้วย และอีก 5 คนงดออกเสียง
จากนั้น ที่ประชุมลงมติเลือก สว. เพื่อตั้งเป็น กมธ. ฝ่ายวุฒิสภา จำนวน 14 คน ซึ่งเป็นการลงคะแนนลับโดยใช้บัตรออกเสียงลงคะแนน
ผลปรากฎว่า สว. ที่ได้เลือกจำนวน 14 คน จากรายชื่อ 16 คน เป็นสีน้ำเงินยกแผงได้คะแนนตั้งแต่ 155-139 คะแนน โดยผู้ได้คะแนนมากสุดคือ วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ได้ 155 คะแนน ตามด้วย ธวัช สุระบาล ได้ 151 คะแนน และ พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร ได้ 151 คะแนน
ส่วน 2 สว. พันธุ์ใหม่ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น กมธ. ต้องพ่ายโหวต-ชวดเข้าไปนั่งเป็น กมธ. คือ นันทนา นันทวโรภาส ได้ 27 คะแนน และ ประภาส ปิ่นตบแต่ง ได้ 25 คะแนน
30 ต.ค. มีการประชุม กมธ. ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ นัดแรก ซึ่งปรากฏว่า สว. ฉัตรวรรษ บุกไปยึดเก้าอี้ประธาน กมธ. ได้สำเร็จ ชนิดที่ กมธ. จากฝ่าย สส. เป็นได้แค่รองประธานคนที่ 1
20 พ.ย. กมธ. ร่วมกัน 2 สภา มีมติ 13:9 ยืนยันให้ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้นในการทำประชามติตามที่ สว. แก้ไขมา หากสภาผู้แทนฯ ยืนยันร่างเดิมของตัวเอง ก็จะทำให้ร่าง พ.ร.บ. นี้ถูกแขวนไว้ 180 วัน บวกกับขั้นตอนออกเป็นกฎหมายอีก 1 เดือน รวมเป็น 7 เดือน
.ตรวจสอบการลงมติของ สว. ในการพิจารณาร่างกฎหมายประชามติทั้ง 3 วาระ พบว่า 5 สว. ที่ชิงโหวตคว่ำร่างของ สส. ตั้งแต่วาระแรก ประกอบด้วย ชาญวิศว์ บรรจงการ, พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์, พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี, สมศรี อุรามา, สมศักดิ์ จันทร์แก้ว
มาถึงวาระ 2 คนส่วนใหญ่ 187 เสียงได้ร่วมกันกลับหลักเกณฑ์เดิมตามที่ กมธ. ชงมา คงเหลือ 21 สว. ที่ยืนตามความเห็นเดิมในวาระแรกคือ ไม่เห็นด้วยกับการกลับไปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ประกอบด้วย กมล สุขคะสมบัติ, กัลยา ใหญ่ประสาน, เกียรติชาย ไมตรีวงษ์, ชิบ จิตนิยม, เทวฤทธิ์ มณีฉาย, นรเศรษฐ์ ปรัชญากร, นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์, นันทนา นันทวโรภาส, ประทุม วงศ์สวัสดิ์, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล, เปรมศักดิ์ เพียยุระ, พรชัย วิทยเลิศพันธุ์, มณีรัฐ เขมะวงค์, รัชนีกร ทองทิพย์, แล ดิลกวิทยรัตน์, วีรยุทธ สร้อยทอง, เศรณี อนิลบล, สุนทร พฤกษพิพัฒน์, อภินันท์ เผือกผ่อง, อังคณา นีละไพจิตร
ทว่าเมื่อถึงวาระ 3 สว. ในกลุ่มนี้ 2 คนคือ นวลนิจ กับ เศรณี หันไปลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ทั้งฉบับ เช่นเดียว สว. ที่ลงมติงดออกเสียงในวาระ 2 จำนวน 3 จาก 9 คน ได้พลิกมาลงมติเห็นด้วยในวาระสุดท้าย ประกอบด้วย ประเทือง มนตรี, ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ, พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง
นอกจากนี้ยังมี 2 สว. ที่ไม่ปรากฏการลงคะแนนคือ เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ, วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ จากเคยโหวตเห็นชอบทั้งวาระ 1 และ 2
“ขาประจำ” ในสารพัด กมธ.
พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ อดีตผู้การฯ บุรีรัมย์ หาใช่ สว. สีน้ำเงิน คนเดียวที่ “ได้รับความไว้วางใจ” ให้รับบทผู้พลิกกล-เกมอำนาจในรัฐสภา
เมื่อนำรายชื่อของ กมธ. ชุดสำคัญ ๆ มาไล่เรียง พบว่า มีแกนนำ สว. สีน้ำเงินหน้าเดิม ๆ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นประธาน กมธ.สามัญวุฒิสภา วนเวียนไปร่วมวงกรรมาธิการอื่นสูงสุดถึง 4 คณะ
สำหรับ กมธ. เหล่านี้มีทั้งชุดที่ “ปิดจ็อบ” ไปแล้ว ได้แก่ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา, กมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น อสส., กมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานศาลปกครองสูงสุด, กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติของวุฒิสภา และชุดที่ภารกิจยังไม่จบ อาทิ กมธ.วิสามัญตรวจสอบประวัติฯ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น ป.ป.ช., กมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ), กมธ.ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียง
.รวบรวมรายชื่อ สว. “ขาประจำ” ที่ถูกใช้บริการอยู่เนือง ๆ เอาไว้ ดังนี้
4 ชุด
1) วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ประธาน กมธ.การคมนาคม เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 4 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, ป.ป.ช., และ กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
2) อภิชาติ งามกมล ประธาน กมธ.การปกครองท้องถิ่น เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 4 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, ป.ป.ช. และ กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
3) นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ประธาน กมธ.การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 4 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, ป.ป.ช. และ กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
4) พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร ประธาน กมธ.กิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 4 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ (ประธาน), กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ (ประธาน)
3 ชุด
1) ธวัช สุระบาล ประธาน กมธ.การเกษตรและสหกรณ์ เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดร่างข้อบังคับการประชุม (ประธาน), ชุดตรวจสอบประวัติ ป.ป.ช., กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
2) พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ประธาน กมธ.การกฎหมายและการยุติธรรม เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด และ กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
3) พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา ประธาน กมธ.การทหารและความมั่นคงของรัฐ ยุติธรรม เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ศาลปกครองสูงสุด, ป.ป.ช.
4) พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ประธาน กมธ.การบริหารราชการแผ่นดิน เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส. (ประธาน), ประธานศาลปกครองสูงสุด (ประธาน), ป.ป.ช.
5) กมล รอดคล้าย ประธาน กมธ.การศึกษา การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
6) วิรัตน์ รักษ์พันธ์ ประธาน กมธ.การแรงงาน เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, ป.ป.ช.
7) ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประธาน กมธ.การสาธารณสุข เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 3 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด, กมธ.ร่วมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ
2 ชุด
อลงกต วรกี ประธาน กมธ.การติดตามการบริหารงบประมาณ เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 2 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบประวัติ อสส., ประธานศาลปกครองสูงสุด
พรเพิ่ม ทองศรี ประธาน กมธ.การพลังงาน งบประมาณ เป็น กมธ. อื่นอย่างน้อย 2 ชุด ได้แก่ ชุดร่างข้อบังคับการประชุม, ชุดตรวจสอบประวัติ ป.ป.ช.
นอกจาก กมธ. ชุดสำคัญ ๆ แม้แต่กรรมการกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา จำนวน 3 คน ซึ่งต้องโหวตลับโดยใช้บัตรลงคะแนน มีผู้สมัคร 8 คน สว. สีน้ำเงินก็ยังยึดเก้าอี้เอาไว้ทั้ง 3 ตัว ได้แก่ วุฒิชาติ, พล.ต.ท.ยุทธนา, สุทนต์ กล้าการขาย ด้วยคะแนนตั้งแต่ 145-131 เสียง
ตีตก “วาระร้อน” จาก สว. นอกกลุ่ม
มีหลาย “วาระร้อน” ในสังคมที่ สว. เสียงข้างน้อยหยิบฉวยมาตั้งเป็นญัตติกลางสภา ทว่าถูกเสียงข้างมากตีตกไป 3 ญัตติหลัก
- โหวตคว่ำญัตติขอให้มีการตรวจสอบจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของ นันทนา นันทวโรภาส ด้วยคะแนนเสียง 117:38 งดออกเสียง 12 เสียง (มติ 2 ก.ย.)
- โหวตคว่ำญัตติขอให้ตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากวิกฤตอุทกภัยอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ ของ เศรณี อนิลบล และ เปรมศักดิ์ เพียยุระ ด้วยคะแนนเสียง 127:forty eight งดออกเสียง 10 เสียง (มติ 10 ก.ย.)
- โหวตคว่ำญัตติขอปรึกษาหารือเป็นการด่วน กรณีการเสียชีวิตของทหารเกณฑ์ในค่ายทหาร ของ นรเศรษฐ์ ปรัชญากร ด้วยคะแนนเสียง 141:26 งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง (มติ 7 ต.ค.)
มติเอกฉันท์
อย่างไรก็ตามวุฒิสภาที่ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันเคยลงมติเอกฉันท์ 8 ครั้ง เพื่อผ่านร่าง พ.ร.บ. 7 ฉบับ โดยร่างกฎหมายยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2557 เป็นกฎหมายที่คนในสภาสูงพร้อมใจกันยกเลิกด้วยแรงหนุนถึง 189 เสียง จาก สว. ที่เข้าร่วมประชุม 192 คน มีเพียงประธานและประธานวุฒิสภารวม 3 คน ที่ใช้สิทธิงดออกเสียงตามธรรมเนียมปฏิบัติของคนบนบัลลังก์
สำหรับร่างกฎหมาย 7 ฉบับที่ผ่านวุฒิสภาชนิดไร้แรงต้าน ได้แก่
- ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ลงวันที่ 4 เม.ย. พ.ศ. 2559 ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 184:0 จากนั้นตั้ง กมธ. เต็มสภาพิจารณาวาระ 2 และผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 ด้วยมติเอกฉันท์ 189:0 (มติ 13 ส.ค.)
- ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 187:0 (มติ 13 ส.ค.)
- ร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 161:0 (มติ 22 ต.ค.)
- ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 162:0 (มติ 22 ต.ค.)
- ร่าง พ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 ด้วยคะแนนเสียง 164:0 (มติ 22 ต.ค.)
- ร่าง พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 167:0 (มติ 28 ต.ค.)
- ร่าง พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทย ผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 ด้วยคะแนนเสียง 168:0 (มติ 28 ต.ค.)
บัตรเสีย
นอกจากการลงมติด้วยการกดปุ่มที่เครื่องลงคะแนนว่าเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย-งดออกเสียง ในการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ข้อบังคับการประชุมกำหนดให้ใช้บัตรออกเสียงลงคะแนน ซึ่งมีทั้งการลงมติลับและลงคะแนนโดยเปิดเผย
.ตรวจสอบพบว่า ผู้ทรงเกียรติในสภาสูงชุดนี้ได้ทำบัตรเสียรวมกันอย่างน้อย forty eight ใบ ในการขอมติ 9 ครั้ง ดังนี้
- เลือกประธานวุฒิสภา มีบัตรเสีย 5 ใบ (มติ 23 ก.ค.)
- เลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 มีบัตรเสีย 2 ใบ (มติ 23 ก.ค.)
- เลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ไม่มีบัตรเสีย (มติ 23 ก.ค.)
- ตั้ง กมธ.สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ ของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง อสส. มีบัตรเสีย 6 ใบ (มติ 5 ส.ค.)
- ให้ความเห็นชอบ ไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ ดำรงตำแหน่ง อสส. มีบัตรเสีย 1 (มติ 3 ก.ย.)
- ให้ความเห็นชอบ ประสิทธิศักดิ์ มีลาภ ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด มีบัตรเสีย 1 (มติ 3 ก.ย.)
- ตั้ง กมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา มีบัตรเสีย 19 (มติ 30 ก.ย.)
- เลือกกรรมการกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มีบัตรเสีย 6 ใบ (มติ 1 ต.ค.)
- ตั้ง กมธ.ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มีบัตรเสีย 8 ใบ (มติ 21 ต.ค.)
ที่มา BBC.co.uk