เปิดจุดกำเนิด “ไทม์โซน” เส้นแบ่งเขตเวลาของโลกมีที่มาจากทางรถไฟอย่างไร
Article knowledge
- Writer, ลินน์ บราวน์
- Characteristic, บีบีซี ทราเวล
นวัตกรรมการขนส่งที่เรียกว่า “ทางรถไฟ” (railroad) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ทำให้มนุษย์เข้าสู่ยุคใหม่ของการคมนาคมทางบก รวมทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้เวลาของคนเราไปตลอดกาล
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ในปีค.ศ. 1883 บรรดาบริษัทเดินรถไฟในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ต่างก็เปลี่ยนแปลงวิธีการบอกเวลาในทั้งสองประเทศ ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นจุดกำเนิดที่นำไปสู่แนวคิดใหม่เรื่อง “ไทม์โซน” (time zone) หรือ “เขตเวลา” ที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลาหลายพันปีในอดีต ก่อนจะมาถึงช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 ผู้คนทั่วโลกต่างวัดและบอกเวลาด้วยการดูตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่นเวลาเที่ยงวัน (excessive noon) จะมาถึง ก็ต่อเมื่อดวงอาทิตย์อยู่บนจุดสูงสุดของท้องฟ้า เหนือเมืองหรือหมู่บ้านที่เป็นจุดสังเกตการณ์
ต่อมานาฬิกาที่ใช้กลไกของเครื่องจักร ได้เข้ามาแทนที่การบอกเวลาด้วยนาฬิกาแดด ในช่วงยุคกลาง (Heart Ages) ของยุโรป โดยเมืองแต่ละแห่งจะปรับตั้งนาฬิกาของตนให้เดินตามผลการวัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้นาฬิกาของแต่ละท้องถิ่นบอกเวลาต่างกันอยู่เล็กน้อย แม้กระทั่งในช่วงต้นและช่วงกลางของยุคศตวรรษที่ 19 ภูมิภาคอเมริกาเหนือก็ยังมีเขตเวลาย่อย ๆ ที่แต่ละแห่งบอกเวลาแตกต่างกันออกไปถึงอย่างน้อย 144 เขตเลยทีเดียว
เนื่องจากผู้คนในสมัยก่อนไม่นิยมเดินทางไกลกันมากนัก มีน้อยครั้งที่พวกเขาจะต้องห่างบ้านไป ในระยะที่เกินความสามารถของม้า, ลา, อูฐ, หรือเกวียนที่ลากจูงด้วยสัตว์จะพาไปถึงได้ ดังนั้นการบอกเวลาแบบดั้งเดิมที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกันในแต่ละท้องถิ่น จึงไม่สู้จะเป็นปัญหามากมายอะไร จนกระทั่งยุคของการขนส่งด้วยระบบรางได้เริ่มต้นขึ้น
Skip เรื่องแนะนำ and continue studyingเรื่องแนะนำ
Extinguish of เรื่องแนะนำ
จอน โกลด์แมน หัวหน้าภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟบีแอนด์โอ (B&O Railroad Museum) ในเมืองบัลติมอร์ของรัฐแมริแลนด์ บอกว่าในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 การเดินทางด้วยรถไฟเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในสหรัฐฯ และแคนาดา ทำให้มีการสร้างและขยายทางรถไฟ ซึ่งสามารถขนส่งผู้โดยสารและตู้สินค้าไปทั่วทวีปอเมริกาเหนือได้มากขึ้น
ดังนั้นจึงเริ่มมีความจำเป็น ที่จะต้องคิดค้นระบบการวัดและบอกเวลาที่สอดคล้องกันเป็นสากล ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้การคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังถือเป็นเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยระดับชาติอีกด้วย
“การมีเขตเวลาท้องถิ่นจำนวนมากที่บอกเวลาแตกต่างกันไป ทำให้เกิดปัญหาใหญ่กับการขนส่งทางรถไฟ” โกลด์แมนกล่าว “อย่างดีที่สุด ผู้โดยสารอาจจะตกรถไฟ แต่สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดก็คือ มีความเป็นไปได้ที่รถไฟสองขบวนจะชนประสานงากันมากขึ้น เมื่อวิ่งอยู่บนรางเดียวกัน”
ในช่วงเวลานี้ สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดทางรถไฟยุคใหม่มาตั้งแต่ปี 1825 ได้ประสบปัญหาแบบเดียวกัน เพราะเมื่อเริ่มมีการขยายเส้นทางรถไฟให้เชื่อมต่อระหว่างเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลกันออกไปมากขึ้น ก็ยิ่งชัดเจนว่าสถานีรถไฟไม่สามารถจดบันทึกเวลาออกรถและเวลาที่รถไฟทุกขบวนเดินทางมาถึง โดยระบุเป็นเวลาท้องถิ่นของเขตต่าง ๆ ทั้งหมดได้ ดังนั้นในปี 1847 บริษัทเดินรถไฟสัญชาติอังกฤษทั้งหมด จึงเปลี่ยนมาใช้การบอกเวลาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งระบบการเดินรถ โดยเรียกว่า “เวลารถไฟ” (Railway Time)
วิธีบอกเวลาแบบใหม่สำหรับการเดินรถไฟนี้ ถูกนำมาใช้ทั่วสหราชอาณาจักรในปี 1880 โดยเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า “เวลามาตรฐานกรีนิช” (Greenwich Point out Time – GMT) ทำให้สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกของโลก ซึ่งมีการบอกเวลาที่เป็นมาตรฐานกลาง
เวลามาตรฐานกรีนิช คือเวลาที่เป็นค่าเฉลี่ยหรือค่ากลาง เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวข้ามเส้นเมริเดียนแรกหรือปฐมเมริเดียน (High Meridian) อันเป็นเส้นสมมติซึ่งลากผ่านหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์หลวงตำบลกรีนิช (Royal Observatory Greenwich) บริเวณชานกรุงลอนดอน
ทุกวันนี้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ สามารถไปเยี่ยมชม “ศูนย์กลางของเวลา” หรือเส้นปฐมเมริเดียนได้ ที่หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์หลวงดังกล่าว ทั้งยังสามารถเดินเหยียบหรือก้าวข้ามเส้นแบ่งเวลาในจินตนาการนี้ได้ เพื่อเข้าไปอยู่ในเขตเวลาของทั้งซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ซึ่งมาบรรจบพบกันที่เส้นสมมตินี้
การทำเวลาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งเกาะอังกฤษ ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของการเดินรถไฟขึ้นอย่างมาก ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในระบบราง และช่วยให้ผู้โดยสารไปถึงที่หมายได้ตรงเวลาตามต้องการ ข้อดีที่มีอยู่มากมายทำให้ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น แนวคิดเรื่องการทำเวลาให้เป็นมาตรฐานเพื่อการเดินรถไฟ ก็ได้แพร่ขยายไปถึงภูมิภาคอเมริกาเหนือด้วย
อย่างไรก็ตาม การปรับใช้แนวคิดข้างต้นกับระบบทางรถไฟของสหรัฐฯ และแคนาดา มีความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งกว่ากรณีของสหราชอาณาจักรมาก เพราะต้องทำเวลาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่วงกว้างขึ้น ไม่เพียงแค่ภายในประเทศของตนเท่านั้น แต่ต้องทำให้ครอบคลุมทั้งทวีปเลยทีเดียว
ในปี 1879 วิศวกรทางรถไฟชาวแคนาดาชื่อว่า เซอร์ แซนฟอร์ด เฟลมมิง เกิดความคิดใหม่เอี่ยมแบบปฏิวัติวงการขึ้นมาอย่างหนึ่ง หลังพลาดตกรถไฟเพราะการบอกเวลาที่ชวนสับสน โดยเขาเสนอให้มีการกำหนด “ไทม์โซน” หรือเขตเวลาขึ้นมานั่นเอง ต่อมามีการนำแนวคิดนี้มาใช้กับการขนส่งระบบรางทั่วสหรัฐฯ และแคนาดา ในวันที่ 18 พ.ย. 1883
ด้วยเหตุที่ทวีปอเมริกาเหนือกว้างใหญ่ไพศาล เสมือนกับมีหลายประเทศตั้งอยู่รวมกัน จึงต้องมีการกำหนดเขตเวลาหลักขึ้นทั้งหมด 4 เขต ได้แก่เขตเวลาตะวันออก (Eastern Time Zone), เขตเวลากลาง (Central Time Zone), เขตเวลาแถบภูเขา (Mountain Time Zone) , และเขตเวลาแปซิฟิก (Pacific Time Zone) ซึ่งการแบ่งเขตเวลาหรือไทม์โซนเช่นนี้ในสหรัฐฯ และแคนาดา ยังคงใช้กันเหมือนเดิมโดยแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน
“ด้วยระบบเขตเวลาใหม่ที่ปรับให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟจึงลดลงอย่างมาก” โกลด์แมนกล่าวเสริม
ต่อมาในปี 1884 หลังมีการใช้ระบบเขตเวลาในทวีปอเมริกาเหนือไปได้หนึ่งปี เฟลมมิงได้ช่วยจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยเส้นปฐมเมริเดียน (IPMC) ขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงวอชิงตัน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ได้บรรลุข้อตกลง ให้เส้นปฐมเมริเดียนที่ตำบลกรีนิชของสหราชอาณาจักร เป็นเส้นลองกิจูดศูนย์องศาที่ทุกประเทศยึดถือร่วมกัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการบอกเวลาในแบบเดียวกันทั่วโลก
ด้วยแรงจูงใจจากโอกาสในการแสวงหาความมั่งคั่งและความเจริญด้านอื่น ๆ ที่มากับทางรถไฟ บรรดาเมืองท้องถิ่นในสหรัฐฯ และแคนาดา ต่างรีบเปลี่ยนมาใช้ระบบเขตเวลาใหม่ของทวีปอเมริกาเหนือทันที ในขณะที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ยังคงลังเลใจกับระบบดังกล่าวอยู่นาน จนกระทั่งปี 1918 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ระบบเขตเวลาโดยสมบูรณ์ในที่สุด
การบอกเวลานั้นเป็นเพียงหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหลายอย่าง ที่มากับการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ ในขณะที่เทคโนโลยีนี้ช่วยกระจายผู้คนและแพร่ขยายแนวคิดต่าง ๆ ให้ไปถึงแดนไกลได้ทั่วโลก คนทั้งหลายก็มีความต้องการมากขึ้นที่จะสื่อสารทางไกลให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิมด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ข้อความอิเล็กทรอนิกส์หรือ “โทรเลข” ข้อความแรกของโลก ถูกส่งจากอาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตันมายังสถานีรถไฟเมาน์ตแคลร์ (Mount Clair Quandary) ในเมืองบัลติมอร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟบีแอนด์โอนั่นเอง
นักท่องเที่ยวและผู้สนใจที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะได้เห็นรถไฟเก่าที่ผ่านการบูรณะซ่อมแซมแล้วกว่าสิบขบวน ทั้งยังได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเดินทางที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ทางรถไฟใต้ดิน” (Underground Railroad) หรือเส้นทางลับที่ช่วยขนย้ายผู้คนให้หลบหนีพ้นจากความเป็นทาส ในยุคสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์อาจยังมีโอกาสได้นั่งรถไฟด่วนขบวนประวัติศาสตร์ Mile One Inform ซึ่งวิ่งขึ้นล่องตามระยะทางหนึ่งไมล์แรก บนรางรถไฟที่สร้างขึ้นเพื่อการพาณิชย์เป็นแห่งแรกของสหรัฐฯ
และในปี 2025 ที่กำลังจะมาถึง สหราชอาณาจักรมีกำหนดจะจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ ในโอกาสที่การคิดค้นและการก่อสร้างทางรถไฟยุคใหม่ ได้เวียนมาบรรจบครบรอบ 200 ปี ซึ่งนับเป็นโอกาสพิเศษที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สำหรับเหล่าแฟนพันธุ์แท้ด้านการรถไฟที่มีแผนจะร่วมฉลองด้วยในปีหน้า
ที่มา BBC.co.uk