เสรีภาพสื่อตุรกีเป็นอย่างไร ท่ามกลางกระแสการจับกุมและคุมเข้มสื่อ ?

ที่มาของภาพ : Reuters

คนถือป้ายประท้วงในวันที่นายกเทศมนตรีนครอิสตันบูล เอเครม อิมาโมกลู ถูกสั่งจำคุกจากการสอบสวนคดีทุจริต เมื่อ 23 มี.ค. 2025

data

  • Author, เซลิน กิริท
  • Position, บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

เสรีภาพสื่อในตุรกีตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และการจับกุมสื่อมวลชนไม่ต่ำกว่า 10 คน ที่รายงานเกี่ยวกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในนครอิสตันบูล เมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อสื่อมวลชนที่กำลังรายงานข่าวของกลุ่มผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง

สื่อมวลชนเหล่านี้ถูกควบคุมตัวทั้งในสถานที่ชุมนุมประท้วงและในการจู่โจมตอนรุ่งสาง ในคราวเดียวกับผู้คนมากกว่า 1,400 คน หลังจากการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้น หลังจากการจับกุม เอเครม อิมาโมกลู นายกเทศมนตรีนครอิสตันบูล ในข้อหาทุจริต

อิมาโมกลู ระบุว่า ข้อกล่าวหาต่อเขามีแรงจูงใจทางการเมือง แต่ประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกี ปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อิมาโมกลูถูกส่งตัวไปยังเรือนจำความมั่นคงสูงแห่งหนึ่ง ในเขตชานนครอิสตันบูล ในวันเดียวกันกับที่เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตประธานาธิบดีหลักจากพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งเขาจะเป็นคู่แข่งทางการเมืองคนสำคัญของแอร์โดอันในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในอนาคต

การเลือกตั้งประธานาธิบดีตุรกีมีกำหนดจัดขึ้นในปี 2028 แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดการเลือกตั้งก่อนกำหนด

สื่อมวลชนส่วนใหญ่ที่ถูกจับกุมเป็นช่างภาพนิ่ง ซึ่งในจำนวนนั้นมี 7 คนที่ถูกจับกุมด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ และถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานที่คุมขัง

ที่มาของภาพ : AFP

สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) ส่งหนังสือถึงทางการตุรกี และประณามการคุมขัง ยาซิน อัคกุล ช่างภาพนิ่งในสังกัดว่าเป็นเรื่องที่ “ยอมรับไม่ได้”

“การจงใจพุ่งเป้าไปที่ช่างภาพข่าวแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทางตุลาการกำลังถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อปราบปรามการทำงานของสื่อในสถานการณ์ความไม่สงบ” เอโรล ออนเดโรกลู ผู้แทนองค์กรสื่อไร้พรมแดน (Journalists With out Borders – RSF) ระบุ

“นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า การสื่อสารมวลชนมีความสำคัญขนาดไหนในการกำหนดทิศทางความคิดเห็นของสาธารณชน และรัฐบาลมองมันว่าเป็นภัยคุกคามที่อันตรายอย่างไร” เขาบอกกับบีบีซี

ทั้งนี้ ในปี 2024 องค์กรสื่อไร้พรมแดนได้จัดอันดับตุรกี ตามดัชนีเสรีภาพสื่อโลก (World Press Freedom Index) ไว้ในอันดับที่ 158 จาก 180 ประเทศ

เอวิน บาริส อัลตินทัส ประธานสมาคมศึกษาสื่อและกฎหมาย (Media and Regulation Analysis Affiliation) ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์ด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อสนับสนุนสื่อมวลชนที่ถูกจับกุมในตุรกี เห็นด้วยว่า การจับกุมสื่อมวลชนสะท้อนถึงกลยุทธ์ของรัฐบาลที่ใช้ตุลาการเป็นเครื่องมือในการกดปราบปราบกิจกรรมของสื่อมวลชนและจำกัดการรายงานข่าวของพวกเขา

การจับกุมเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนคนอื่น ๆ ในลักษณะการสร้างบรรยากาศอันเย็นยะเยือกที่ทำให้ผู้คนไม่อยากจะแสดงความคิดเห็นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่แม้จะมีความกังวลต่อผลที่จะตามมา พวกเขาจะยังทำงานของพวกเขาต่อไป” เธอบอกกับบีบีซี

ที่มาของภาพ : Yasin Akgul/AFP

ภาพนี้ถูกถ่ายโดยยาซิน อัคกุล เมื่อ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา เป็นภาพพิธีกรรมร่ายรำของนักบวชคณะซูฟีนิกายเมฟเลวี (whirling dervish) ด้านหน้าตำรวจควบคุมฝูงชน ในช่วงเวลาก่อนที่เขาจะถูกจับกุม

ขณะที่การชุมนุมประท้วงทวีความเข้มข้นขึ้น และตำรวจตอบโต้ด้วยการใช้สเปรย์พริกไทยและปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และมีรายงานมากมายที่รายงานว่า สื่อมวลชนต้องเผชิญกับการกระทำทารุณด้วยน้ำมือกองกำลังของรัฐบาล

วีดีโอที่ถูกแชร์อย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย แสดงให้เห็นช่างภาพคนหนึ่ง คือ แทนเซล แคน พยายามเปล่งเสียงพูดอย่างยากลำบาก หลังจากสัมผัสกับสเปรย์พริกไทยระหว่างการปราบปรามของตำรวจ

“มีตำรวจ 6 นาย หรือไม่ก็ 7 นายนี่แหละที่ทำร้ายผม แม้ว่าผมพยายามจะบอกว่าผมเป็นสื่อมวลชนและแสดงบัตรสื่อให้พวกเขาดูก็ตาม” แทนเซลระบุ

“พวกเขาพ่นแก๊สใส่หน้าพวกเรา ใช้ไม้กระบองตีพวกเรา และซ้อมพวกเราขณะที่พวกเรานอนอยู่บนพื้น”

RSF ประณามการมุ่งเป้าไปที่สื่อมวลชนในตุรกี และเรียกร้องให้ทางการระบุตัวและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด

ที่มาของภาพ : YASIN AKGUL/AFP

อีกรูปภาพที่ถ่ายโดย ยาซิน อัคกุล แสดงให้เห็นผู้ประท้วงอย่างสงบเผชิญหน้ากับตำรวจควบคุมฝูงชน

การบล็อกบัญชีสื่อสังคมออนไลน์

นอกจากนี้ ข้อมูลขององค์กรเฝ้าระวังทางอินเตอร์เน็ต “เน็ตบล็อกส์” (NetBlocks) รายงานว่า การเข้าถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น เอ็กซ์ ติ๊กตอก อินสตาแกรม และยูทิวบ์ ก็ถูกจำกัดในตุรกี

ทางการตุรกียังกดดันผู้ให้บริการบางแพลตฟอร์มบล็อกบัญชีผู้ใช้หลายร้อยบัญชี นำมาซึ่งการจำกัดกระแสการไหลของข้อมูลข่าวสาร

ที่มาของภาพ : YASIN AKGUL/AFP

ภาพนี้ถูกถ่ายโดย ยาซิน อัคกุล ในเย็นวันเดียวกัน แสดงให้เห็นขนาดของการเข้าสลายการชุมนุมของตำรวจครั้งนี้

คณะทำงานฝ่ายกิจการรัฐบาลระหว่างประเทศของเอ็กซ์ (X) โพสต์ผ่านเอ็กซ์ว่า บริษัท “คัดค้านคำสั่งศาลหลายครั้ง จากที่องค์การเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของตุรกี (Turkish Records and Verbal substitute Technologies Authority) ร้องขอให้บริษัทปิดกั้นบัญชีกว่า 700 บัญชี ซึ่งประกอบด้วยสำนักข่าวต่าง ๆ สื่อมวลชน บุคคลสำคัญทางการเมือง นักเรียน และบุคคลอื่น ๆ”

“เราเชื่อว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของรัฐบาลตุรกีไม่เพียงแต่จะผิดกฎหมาย แต่ยังเป็นการปิดกั้นผู้ใช้งานชาวตุรกีหลายล้านคนจากการเข้าถึงข่าวสารและการสื่อสารทางการเมืองในประเทศ” เอ็กซ์ ระบุในแถลงการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงของเอ็กซ์ ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้สนับสนุนเสรีภาพทางการพูดในตุรกี เนื่องจากมีรายงานว่าเอ็กซ์ได้ระงับบัญชีหลายสิบบัญชี ตามคำร้องขอของทางการตุรกี

“ไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับการสมรู้ร่วมคิดในการปิดกั้น ทั้ง ๆ ที่อ้างว่าปกป้องเสรีภาพในการพูด” ยาเมน อัคเดนิซ วิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิทางไซเบอร์ ระบุ เพื่อตอบโต้แถลงการณ์ของเอ็กซ์

“เนื่องจากขาดกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกต้องและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ ทำให้ตุรกีถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มเลวร้ายที่สุดในการปิดกั้นทางอินเตอร์เน็ต และเอ็กซ์ก็กลายเป็นผู้สนับสนุนให้ทำสำเร็จมากที่สุด” เขากล่าวเสริม

ที่มาของภาพ : Getty Photography

ผู้ประท้วงได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมและการใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อพวกเขา

กูคลู ยามาน นักสร้างภาพยนตร์ คือหนึ่งในผู้ที่ถูกระงับบัญชี หนึ่งวันหลังจากที่เขาแชร์วิดีโอที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายปฏิบัติต่อผู้ประท้วงคนหนึ่งอย่างไม่เหมาะสม

“ผมไม่เชื่อว่าเอ็กซ์กำลังสนับสนุนเสรีภาพสื่อ หรือเสรีภาพทางการพูดเลย” เขาระบุบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์

“พวกเขาปิดกั้นเสียงของผู้คนและจำกัดกลุ่มรับสารของพวกเขา ผมคิดว่าพวกเขากำลังทำงานเป็นองครักษ์พิทักษ์ให้กับรัฐบาลตุรกี” เขาเสริม

ยามานเปิดบัญชีใหม่บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ซึ่งมีผู้ติดตามราว 400 คนในตอนนี้ ขณะที่บัญชีเก่าของเขาที่ถูกระงับมีผู้ติดตาม 18,500 คน

ทีมงานฝ่ายกิจการรัฐบาลระหว่างประเทศของเอ็กซ์ ยังไม่ได้ตอบสนองหรือให้ความเห็นใด ๆ ตามคำร้องขอของบีบีซี จนถึงขณะที่เขียนรายงานชิ้นนี้

คำเตือนจากองค์กรกำกับดูแลสื่อ

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เอบูเบกีร์ ซาฮิน ประธานองค์กรกำกับดูแลสื่อของตุรกี “RTUK” ออกมาเตือนสื่อในสังกัดฝ่ายค้านและสื่ออิสระ ว่าจะถูกสั่งห้ามการออกอากาศในระยะยาว และอาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต หากพวกเขายังคงรายงานการชุมนุมประท้วง

“เราขอย้ำว่าใครก็ตามที่ชักชวนสาธารณชนให้ออกมาบนท้องถนน ให้พื้นที่แพลตฟอร์มกับวาทกรรมที่ผิดกฎหมาย หรือเผยแพร่ออกอากาศด้วยอคติที่ขัดแย้งต่อกฎหมาย จะต้องเผชิญกับการลงโทษที่เริ่มด้วยมาตรการต่าง ๆ นับตั้งแต่ การถูกสั่งห้ามการออกอากาศในระยะยาว ไปจนถึงมาตรการสูงสุดคือ การเพิกถอนใบอนุญาต” เขาระบุ

เขายังกล่าวหาสื่อบางสำนักว่าปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบ เรียกร้องให้สื่อต่าง ๆ ยึดมั่นตามถ้อยแถลงของทางการเท่านั้น และปฏิเสธว่าคำเตือนของ RTUK ไม่ใช่การคุกคามเสรีภาพสื่อในตุรกี

ที่มาของภาพ : Getty Photography

ความเงียบของสื่อในการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่นครอิสตันบูล สะท้อนการปิดกั้นที่พบเห็นได้ในช่วงกว่าทศวรรษที่แล้วระหว่างการชุมนุมประท้วงที่สวนสาธารณะเกซี (Gezi Park)

การขาดการรายงานข่าวจากสื่อเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่นครอิสตันบูล สะท้อนภาพที่เคยเกิดขึ้นกว่าทศวรรษที่แล้ว ที่สื่อกระแสหลักถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความล้มเหลวในการรายงานการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นในปี 2013 ที่สวนสาธารณะเกซี (Gezi Park) ในนครอิสตันบูล

ในขณะที่ผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนรวมตัวกันเพื่อประท้วงต่อต้านนโยบายของรัฐบาล สำนักข่าวช่องหลักต่าง ๆ กลับออกอากาศรายการที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น สารคดีเพนกวิน แทนที่จะรายงานสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น สิ่งนี้ได้การรับรู้อย่างกว้างขวางว่า เป็นผลมาจากแรงกดดันของรัฐบาล ซึ่งตอกย้ำถึงภัยคุกคามต่อเสรีภาพสื่อที่กำลังฝังรากลึกในประเทศ

ในตุรกี รัฐบาลยังคงควบคุมสื่อดั้งเดิมอย่างแพร่หลาย โดย 90% ของสื่อกระแสหลักต่าง ๆ ดำเนินการโดยบุคคลหรือหน่วยงานที่มีแนวทางเดียวกับกับพรรครัฐบาล

ส่วนสื่อทางเลือกก็ต้องเผชิญกับคดีความต่าง ๆ การปิดกั้น และมาตรการลงโทษโดยพลการ ซึ่งยิ่งเป็นการจำกัดภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบัน

ที่มาของภาพ : Instagram.com/kilicbil

“คนหนุ่มสาวรู้สึกโกรธแค้นอย่างมาก โดยเฉพาะกับสื่อที่สนับสนุนรัฐบาล” บูเลนต์ คิลิก หนึ่งในสื่อมวลชนที่ถูกจับกุม ระบุในโพสต์ผ่านอินสตาแกรม

เมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายค้านได้เรียกร้องให้คว่ำบาตรสื่อที่สนับสนุนรัฐบาล ที่ล้มเหลวในการรายงานข่าวการชุมนุม พร้อมกล่าวหาพวกเขาว่ารับใช้รัฐบาลและละเลยหน้าที่สื่อสารมวลชน

“พวกเราจดชื่อช่องโทรทัศน์ทั้งหมดที่ไม่ได้รายงานข่าวการชุมนุมของผู้คนเกือบ 1 ล้านคนที่จัตุรัสในนครอิสตันบูลไว้” ออซกูร์ โอเซล ผู้นำพรรคสาธารณรัฐประชาชน (Republican Participants's Celebration – CHP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน กล่าวปราศรัยที่ด้านนอกของศาลากลางนครอิสตันบูล

“การคว่ำบาตรกำลังจะไปหาผู้ที่มองไม่เห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในจัตุรัสแห่งนี้” เขาระบุ

ที่มาของภาพ : Yasin Akgul/AFP

หลังคืนที่ 6 ของการชุมนุมประท้วงในนครอิสตันบูล พรรคฝ่ายค้าน CHP ระบุว่า การเดินขบวนด้านนอกศาลากลางจะยุติในวันอังคาร โดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ เพิ่มเติม

กลุ่มสื่อรายใหญ่ในตุรกี มักจะมีเจ้าของเป็นเครือบริษัทที่มีผลประโยชน์ในธุรกิจหลากหลายประเภท

สิ่งที่ตามมาจากการเรียกร้องคว่ำบาตรของโอเซล คือมีการเผยแพร่รายชื่อบริษัทที่ถูกมองว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาล อย่างแพร่หลายในโซเชียลมีเดีย

“หากสื่อในตุรกียังคงปิดตาต่อการชุมนุมประท้วงของผู้คนหลายแสนคน มันจะไม่ใช่แค่เป็นปัญหาทางการเมืองเท่านั้น” ออนเดโรกลู จาก RSF ระบุ

“แต่มันจะหมายความว่าพวกเราอยู่ในภูมิทัศน์สื่อ ที่สื่อสารมวลชนอิสระและเป็นกลางไม่ได้รับการให้ความสำคัญอีกต่อไป รัฐบาลต้องการทำลายสื่อที่มีความสำคัญทั้งหมด และผมไม่คิดว่า พวกเขาจะหยุดการทำหน้าที่ เพียงเพราะแรงกดดันที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น”

ขณะที่ RTUK ไม่ได้ตอบรับคำขอสัมภาษณ์จากบีบีซี