สถานการณ์แผ่นดินไหว
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ(ศภช.) แจ้งทาง X ว่า เมื่อเวลา 13.20 น. 28 มี.ค. 68 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 8.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กม. ได้รับความรู้สึกสั่นไหวบริเวณ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
จากนั้น ศภช.แจ้งเพิ่ม Aftershock เวลา 13.32 ขนาด 7.1 ประเทศเมียนมาพิกัด 21.415N 96.383 E
ส่วนทางด้าน U.S. Geological Look แจ้งข้อมูลทางเว็บไซต์ว่าจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ภูมิภาคสะกาย ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ของประเทศwม่า ขนาด 7.7 แมกนิจูด ความลึก 10 กม.
ศภช. รายงานเพิ่มเติมว่า 14.49 น. 28 มี.ค. 68 แผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.3 ความลึก 3 กม. บริเวณ ต.วังเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานความรู้สึกสั่นไหว หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศภช.ปภ.จะแจ้งให้ทราบต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
- เผยภาพความเสียหายในพม่าตอนบน-รัฐฉาน เหตุแผ่นดินไหว-อาคารถล่มหลายพื้นที่
ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตอาฟเตอร์ช็อก เหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา รวมทั้งหมด 44 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1
- ครั้งที่ 2 เวลา 13.forty five น. ขนาด 5.5
- ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0
- ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2
- ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9
- ครั้งที่ 6 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7
- ครั้งที่ 7 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0
- ครั้งที่ 8 เวลา 15.forty five น. ขนาด 3.7
- ครั้งที่ 9 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8
-
ครั้งที่ 10 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3
-
ครั้งที่ 11 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5
-
ครั้งที่ 12 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9
-
ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3
-
ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5
-
ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9
-
ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1
-
ครั้งที่ 17 เวลา 17.30 น. ขนาด 4.1
-
ครั้งที่ 18 เวลา 17.50 น. ขนาด 3.0
-
ครั้งที่ 19 เวลา 17.59 น. ขนาด 4.0
-
ครั้งที่ 20 เวลา 18.10 น. ขนาด 3.3
-
ครั้งที่ 21 เวลา 18.16 น. ขนาด 3.7
-
ครั้งที่ 22 เวลา 18.30 น. ขนาด 4.2
-
ครั้งที่ 23 เวลา 18.57 น. ขนาด 2.9
-
ครั้งที่ 24 เวลา 19.02 น. ขนาด 4.1
-
ครั้งที่ 25 เวลา 19.09 น. ขนาด 2.4
-
ครั้งที่ 26 เวลา 19.13 น. ขนาด 2.9
-
ครั้งที่ 27 เวลา 19.22 น. ขนาด 5.5
-
ครั้งที่ 28 เวลา 19.33 น. ขนาด 4.0
-
ครั้งที่ 29 เวลา 19.36 น. ขนาด 3.8
-
ครั้งที่ 30 เวลา 19.51 น. ขนาด 4.0
-
ครั้งที่ 31 เวลา 19.52 น. ขนาด 4.6
-
ครั้งที่ 32 เวลา 20.11 น. ขนาด 2.7
-
ครั้งที่ 33 เวลา 20.17 น. ขนาด 2.5
-
ครั้งที่ 34 เวลา 20.18 น. ขนาด 3.4
-
ครั้งที่ 35 เวลา 20.26 น. ขนาด 2.8
-
ครั้งที่ 36 เวลา 20.49 น. ขนาด 2.6
-
ครั้งที่ 37 เวลา 20.56 น. ขนาด 3.1
-
ครั้งที่ 38 เวลา 21.11 น. ขนาด 2.8
-
ครั้งที่ 39 เวลา 21.20 น. ขนาด 2.7
-
ครั้งที่ 40 เวลา 21.24 น. ขนาด 2.4
-
ครั้งที่ 41 เวลา 21.29 น. ขนาด 2.1
-
ครั้งที่ 42 เวลา 21.36 น. ขนาด 2.3
-
ครั้งที่ 43 เวลา 21.43 น. ขนาด 2.2
-
ครั้งที่ 44 เวลา 21.49 น. ขนาด 4.4
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกไลฟ์ทางเพจไทยคู่ฟ้าแจ้งว่าแผ่นดินไหวแล้วเกิดตึกถล่มที่จตุจักร ตอนนี้ได้รับรายงานแล้วและทางกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้กรุงเทพศเป็นพื้นที่ฉุกเฉินและให้ทั่วประเทศทำเสมือนเป้นเหตุฉุกเฉินทั้งหมด เมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องช่วยเหลือก้จะสามารถช่วยได้ทันที
- ตอนนี้มีการเตือนไปยังดีอีให้ส่งเอสเอ็มเอสบอกพี่น้องประชาชนว่าเกิดอะไรขึ้นและต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ทางรัฐบาลพยายามลงสื่อในทุกช่องทางทั้งเฟซบุ๊ก ทีวี เพื่อให้ประชาชนได้ทราบวิธีปฏิบัติตัว และสั่งดีอีเรื่องเซลล์บรอดแคสต์
- ผบสส. เตรียมเรื่องสนับสนุนกำลังพลหน่วยงานความมั่นคงเพื่อดูแลความปลอดภัย
- ให้กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมติดตามดูและคาดสถานการณ์
- ปกติหลังเกิดแผ่นดินไหวแล้วจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกภายใน 2 ชั่วโมงหลังแผ่นดินไหวครั้งแรก และอาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ แรงน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เท่าครั้งแรก แต่ใน 24 ชั่วโมงอาจเกิดแผ่นดินไหวได้อีก
- กระทรวงคมนาคมดูแลเรื่องของการเดินทางอากาศ และทางรถยนต์ ตอนนี้ทางสุวรรณภูมิยังไม่มีสถานการณ์น่าเป็นห่วงใดๆ แต่ว่าเบื้องต้นได้หยุดการเข้าออกของเครื่องบิน 20 นาที ตอนนี้เหตุการณ์ยังปกติอยู่
- การสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมเรื่องของโรงพยาบาลและการแพทย์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ที่อาจจะเกิดความเสี่่ยง
แพทองธารกล่าวถึงการติดตามข้อมูลของประชาชนสามารถทำได้ทาง NBT ที่ได้รวบรวมข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมงนับแต่นี้ไป
นายกฯ กล่าวว่าตอนนี้มาประชุมอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต แต่ว่าการสั่งการที่กรุงเทพนั้นเธอจะเดินทางกลับโดยด่วน ขอให้ประชาชนทุกคนไม่อยู่บนตึกสูง ห้ามใช้ลิฟท์เด็ดขาดต้องใช้บันได
เท่านั้นไม่ว่าจะเร่งด่วนขนาดไหนก็ตาม ขอให้อยู่ในความสงบไม่ต้องกังวลมากเกินไปแต่ขอให้ระวังตัว
นอกจากนั้นได้สั่งการโรงเรียนต่างๆ ให้เด็กทุกคนกลับบ้านก่อนเพื่อความปลอดภัยในเบื้องต้น หากมีอะไรคืบหน้าจะแจ้งเพิ่มเติม
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขอยืนยันว่า จากการตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนผ่านเครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนและรอบอ่างเก็บน้ำของ กฟผ. พบว่า เขื่อนของ กฟผ. ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในเมียนมา
รถไฟฟ้า BTS-MRT หยุดวิ่งชั่วคราว
@BEM_MRT แจ้งเมื่อ 13.39 น. ว่าเนื่องจากมีเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทย รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน/สายสีม่วง หยุดให้บริการชั่วคราว หากมีความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบต่อไป
Edited3m
@BTS_SkyTrain แจ้งเมื่อ 13.44 น. ว่ารถไฟฟ้าสายสุขุมวิท สายสีลม และสายสีทองปิดให้บริการสถานีและงดรับ-ส่งผู้โดยสารชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ถนนพระราม 2 ทรุดเป็นลูกคลื่น
สวพ. 91 รายงานว่าเมื่อเวลา 14.29 น. รับแจ้งจากศูนย์วิทยุรามา ถนนราชวิถี มุ่งหน้า อนุสาวรีย์ชัย อนุสาวรีย์ชัย มุ่งหน้า แยกตึกชัย ปิดการจราจร เนื่องจาก รพ.ราชวิถี ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แต่ล่าสุด 15.25 น. บก.จร.อัปเดต เปิดจราจรได้ ฝั่งละ 2 ช่องทางแล้ว
สวพ. 91 รายงานว่า 15.10 น. 28 มีนาคม 68 จากเหตุแผ่นดินไหว ขณะนี้ มีรายงานถนนทรุด เป็นลูกคลื่น ถนนพระราม 2 ขาเข้า ตรงข้าม รพ.บางมด ในช่องทางหลัก ขณะนี้ ปิดการจราจร ฝากหลีกเลี่ยง
ปิดทางด่วนดินแดง เครนล้ม
เพจเฟซบุ๊ก จส.100 รายงานว่า เมื่อเวลา 15.51 น. ผลกระทบจากแผ่นดินไหวจากเมียนมา 8.2 แมกติจูด ทำให้เกิดเหตุเครนล้มและมีเศษวัสดุหล่นช่วงทางลงทางด่วนดินแดงขาออก ที่จะลง ถ.วิภาวดี-รังสิต ขวางทุกช่องทาง เจ้าหน้าที่ปิดการจราจรชั่วคราว ให้ลงเพชรบุรี หรือใช้ร่วมมักกะสัน ไปลงพระราม 9 ทดแทน
ภาพที่เกิดเหตุ จาก จส.100
โรงพยาบาล เร่งอพยพผู้ป่วย
สื่ออีจันรายงานว่า โรงพยาบาลรามาธิบดี และ โรงพยาบาลศิริราช ทยอยอพยพผู้ป่วยออกนอกอาคาร หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว จนสามารถรับรู้ได้ถึงแรงเหวี่ยงของอาคารเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา
ความเสียหายในไทย
ในสื่อสังคมออนไลน์มีการโพสต์ทางช่องทางต่างๆ ถึงความเสียหายและสถานการณ์ตามอาคารต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วย
— 𝒥ℳ🧃(รับหิ้วหนังสือ) (@jiameng_27) March 28, 2025
ไซต์ก่อสร้างแถวจตุจักรถล่ม
เมื่อเวลาประมาณ 14.10 น. เบนาร์นิวส์ และเดอะ สแตนด์ดาร์ด รายงานว่า ผลจากแผ่นดินไหวจากประเทศwม่า เมื่อ 13.10 น. ทำให้ไซต์ก่อสร้างตึกแห่งหนึ่งย่านจตุจักร ถนนกำแพงเพชร 2 เกิดถล่มลงมา
ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก ‘สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669’ รายงานว่า อาคารที่ถล่มมีคนงานทำงานอยู่ประมาณ 50 คน หนีออกมาได้เพียง 7 ราย และติดในอาคาร 43 ราย เบื้องต้น ทางศูนย์นเรนทร สพฉ. กำลังเร่งเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือ พร้อมเครือข่ายกู้ชีพ
สุทธิพงษ์ บุญนิธิ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะโฆษกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ออกมายอมรับว่า โครงสร้างสำนักงาน สตง. แห่งใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ถล่มลงมาทั้งหมด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวจากเมียนมา
ปัจจุบันโครงการก่อสร้างเสร็จไปแล้ว 30% ของแผนการดำเนินงาน และทางรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กำลังตรวจสอบความเสียหายอยู่
สำหรับอาคารที่ถล่มเป็นโครงการก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน สตง.แห่งใหม่ เป็นโครงการก่อสร้างอาคาร ความสูง 30 ชั้น มูลค่าการก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 ดำเนินโครงการโดยกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด และกิจการร่วมค้า (Joint Venture) PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์ไนซ์ จำกัด, บริษัท ว. และสหาย คอนซัลแตนตส์ จำกัด และบริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมนเนจเม้น จำกัด) เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ จำนวน 74,653,000 บาท โดยขยายก่อสร้างหนี้ผูกพันเป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2569
เมื่อเวลา 15.21 น. เพจเฟซบุ๊ก ‘สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669’ รายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 50 ราย ได้นำส่งโรงพยาบาลแล้ว มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และยังมีผู้ติดอยู่ในอาคาร 1 ราย
— ผมเป็นไอโอพี่อาซาฮิ ( จะซื้อ ) (@imnagative) March 28, 2025
เมื่อเวลา 16.21 น. เพจของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) แจ้งเมื่อเวลา 16.20 น.ถึงสถานการณ์ที่ไซต์ก่อสร้างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว โดยอ้างข้อมูลจากหัวหน้างานก่อสร้างอาคารดังกล่าว
สพฉ.ระบุว่า มีคนงานก่อสร้างจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 320 คน ขณะนี้สูญหายจำนวน 70 คน ยังมีคนงานติดอยู่ในช่องลิฟท์ 20 คนสำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด
ขณะนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ชีพกู้ภัยอยู่ระหว่างให้การช่วยเหลือ โดยมีกรมการแพทย์ตั้งโรงพยาบาลสนาม มีแพทย์หญิงนฤมล จากโรงพยาบาลเลิดสิน เป็นผู้บัญชาการในสถานที่เกิดเหตุ
ชาวลำปางรายงานภาพความเสียหายจากแผ่นดินไหว
นายกฯ ย้ำกลับเข้าที่พักได้ BTS-MRT เปิดเช้าพรุ่งนี้
28 มี.ค.2568 18.00 น. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวเมื่อเวลา ว่าตึกที่เสียหายคือตึกที่กำลังก่อสร้างได้คุยกับทางวิศวกรและกรมโยธาแล้วว่าตึกภายในกรุงเทพสร้างได้มาตรฐานหากเกิดแผ่นดินไหวที่แรงกว่านี้ก็สามารถรับได้ แต่ว่าทุกตึกตอนนี้ยังมีการตรวจความพร้อมว่ามีความเสียหายอะไรบ้าง แต่ส่วนใหญ่สามารถกลับเข้าที่พักกันได้แล้ว ตึกที่มีปัญหาคือตึกที่กำลังก่อสร้างเพราะความแข็งแรงของพนังด้วย
นายกฯ กล่าวถึงข้อมูลที่ได้ทราบจากอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเมื่อ 13.20 น. เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นศูนย์กลางอยู่ที่มัณฑะเลย์ ประเทศwม่า มีอาฟเตอร์ช็อกตามมา 12 ครั้งแล้วโดยมีความแรงตอนแรกอยู่ที่ 7.2 ทำให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับประชาชนไทยในตอนเหนือและกรุงเทพฯ แต่ตอนนี้ความแรงลดลงเหลืออยู่ที่ 4.9 ริกเตอร์ ตอนนี้สามารถเข้าตึกได้แล้วเพราะต่ำกว่าเส้นอันตรายที่ 6 ริกเตอร์แล้วประเทศไทยได้รับผลกระทบที่น้อย และแผ่นดินไหวครั้งนี้ขึ้นบนบกไม่ได้เกิดบนทะเลจึงไม่เกิดสึนามิแน่นอน
แพทองธารกล่าวถึงข้อมูลเรื่องอาคารที่กำลังก่อสร้างจากผู้ว่า กรุงเทพมหานครว่า เป็นอาคารที่กำลังก่อสร้างในเขตจตุจักรเป็นจุดเดียวที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
ส่วนการเดินทางรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินยังอยู่ระหว่างตรวจสอบความปลอดภัยคาดว่าจะเปิดให้ใช้ได้อีกครั้งตอนเช้าวันพรุ่งนี้ แต่ตอนนี้เท่าที่เห็นด้วยตาเปล่ายังไม่มีอะไรเกิดขึ้นแต่ยังต้องตรวจให้แน่ชัดว่าเกิดความเสียหายอะไรหรือไม่ คาดว่าตอนเช้าจะกลับเป็นปกติได้แน่นอน ทางกระทรวงคมนาคมได้จัดรถขนส่งสาธารณะเพิ่มรอบวิ่งมากขึ้นตั้งแต่ตอนนี้จนถึงเช้า
ทาง กรุงเทพมหานครยังได้เปิดเวลาเพิ่มของสวนสาธารณะ โดยจะมีน้ำและอาหารให้บริการด้วย
“ขอย้ำกับพี่น้องประชาชนอีกครั้งว่า เหตุการณ์อาฟเตอร์ช็อกนี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับพี่น้องประชาชนแล้วก็พี่น้องประชาชนที่อยู่ในอาคารสูงที่ไม่ได้รับความเสียหายสามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยได้แล้วรวมถึงบ้านพักอาศัย หากไม่แน่ใจให้แจ้งกับ กรุงเทพมหานครเพื่อเข้าไปตรวจสอบ” แพทองธารย้ำ
นายกฯ ได้ย้ำว่าให้ติดตามข่าวสารที่มาจากภาครัฐ NBT ที่อัพเดตจากกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติโดย กรุงเทพมหานครจะมีศูนย์บัญชาการที่ศาลาว่าการกรุงเทพเสาชิงช้า ส่วนระดับประเทศอยู่ที่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตอนนี้ได้ระดมสรรพกำลังมาพี่น้องประชาชนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้
นอกจากนั้น หากนิติของคอนโดมิเนียมที่ต้องการตรวจสอบอาคารทางรัฐบาลมีวิศวกรที่ลงทะเบียนไว้ 2,000 คนที่จะช่วยดูแลความปลอดภัยให้ได้ สามารถติดต่อกับวิศวกรของกรมโยธาได้
ส่งช้าส่งเยอะยิ่งช้า ระบบส่งได้แค่ทีละ 2 แสนข้อความ
หลังจาก ปภ.ออกเอกสารชี้แจว่ามีหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) ให้ส่งข้อความ (SMS) เตือนประชาชนเรื่องแผ่นดินไหวตั้งแต่ 14.30 น. ทางด้าน กสทช.ก็ออกมาชี้แจงเหมือนกัน
ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สํานักงาน กสทช. ขอน้อมรับข้อท้วงติงจากประชาชนกรณีการสื่อสารจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อเวลา ประมาณ 13.20 น. ของวันนี้
รองเลขาฯ กสทช.ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ของสํานักงาน กสทช. ทุกคนไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการ ประชุมเร่งด่วนทันที แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะเป็นผู้กําหนดข้อความ และส่งมายัง สํานักงาน กสทช. ขอให้ประสานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือช่วยส่งข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนประชาชน ดังนั้น หาก ปภ. ส่งข้อความมาล่าช้า หรือส่งข้อความหลายครั้งจํานวนมากก็จะทําให้การส่ง SMS มีความล่าช้าออกไปมากขึ้น เพราะระบบการส่ง SMS ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีข้อจํากัดจํานวนการส่งต่อครั้งไม่เกินประมาณ 200,000 เลขหมาย
นายไตรรัตน์ ยืนยันว่า การสื่อสารส่งต่อข้อความของ ปภ. ไปถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สํานักงาน กสทช. ถือเป็น เรื่องเร่งด่วนที่สุด เพราะเป็นเหตุการณ์ร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นและได้มีการประสานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในทันที หลังได้รับข้อความจาก ปภ. เช่นกรณีเหตุการณ์ในวันนี้ ปภ. ได้ส่งข้อความสั้นที่ต้องการให้ส่งต่อไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ จํานวน 4 ครั้ง คือครั้งแรกเวลา 14.30 น. จากนั้นส่งมาอีกครั้งในเวลา 16.00 น. จํานวน 2 ข้อความ และครั้งสุดท้ายส่งมาในเวลา 16.30 น. ซึ่งสํานักงาน กสทช. ก็ได้ส่งข้อความต่อให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในทันที
ส่วนกรณีระบบเตือนภัย (Cell Broadcast) ผู้ที่เป็นหลักในการจัดทําระบบ จัดหาผู้ดําเนินการ และผู้กําหนดข้อความ คือ ปภ. ส่วนสํานักงาน กสทช. เป็นเพียงผู้สนับสนุนงบประมาณ ซึ่งขณะนี้ทางด้านผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือพร้อมในเรื่องระบบแล้ว เหลือรอระบบจาก ปภ. หากยังดําเนินการไม่ได้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็ยังดําเนินการไม่ได้ เพราะระบบจะเชื่อมต่อกัน
“วันนี้เจ้าหน้าที่ของเราพาพ่อไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โทรมาแจ้งผมตอนแผ่นดินไหว ตึกยังสั่น และมีผู้ป่วย ติดอยู่บนตึกจํานวนมากว่า ขอให้ช่วยประสานผู้ให้บริการมือถือเพื่อแก้ปัญหาทราฟฟิคเร่งด่วนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ หมอ พยาบาล เพราะการสื่อสารมีปัญหาเนื่องจากมีคนใช้โทรศัพท์จํานวนมาก ต้องมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากตึก พวกเราก็รีบประสานค่ายมือถือ ทันที ประชุมด่วนทันที ผมยืนยันว่า ไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ไม่มีใครสบายใจ และไม่สามารถนิ่งนอนใจ กับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติได้ บางอย่างอาจไม่ได้รวดเร็วในทันทีเพราะมีผู้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน แต่เจ้าหน้าที่สํานักงาน กสทช. ทุกคนก็พร้อมเป็นตัวกลางในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่” นายไตรรัตน์ กล่าว
อย่างไรก็ดี สถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้อาจมีกลุ่มมิจฉาชีพใช้วิธีส่ง SMS ลวงลวงประชาชน เพื่อให้กดลิงก์เข้าไป ติดตามข่าวสาร ลวงลวงในรูปแบบต่างๆ จึงขอให้ประชาชนไม่กดลิงก์จาก SMS ที่ไม่มีแน่ใจโดยเด็ดขาด
ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )