เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการนวดไทย คุยกับแพทย์แผนไทย-แพทย์กระดูก หลังเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ “นวดบิดคอ”
Article recordsdata
- Writer, ปณิศา เอมโอชา
- Function, ผู้สื่อข่าว.
นับตั้งแต่เข้าเดือนสุดท้ายของปี วงการนวดไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (wellness) ของประเทศ ที่ทำรายได้สูงถึง 1.24 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าอาจไม่ปลอดภัย หลังเกิดเหตุการณ์สูญเสียสองกรณี
เหตุการณ์แรกเป็นกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.ชญาดา พร้าวหอม นักร้องสาววัย 20 ปี โดยก่อนที่เธอจะเสียชีวิต เธอได้ออกมาเปิดเผยถึงการไปนวดที่ร้านแห่งหนึ่งใน จ.อุดรธานี ซึ่งมีการนวดแบบบิดคอ ทำให้เธอเชื่อว่าการนวดลักษณะนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการแขนขาอ่อนแรงและกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
กระแสวิจารณ์จากผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จึงมุ่งไปที่การนวดไทย ทว่าต่อมา นายสมศักดิ์ เทพสุทินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกมาชี้แจงว่า การเสียชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นจาก “การนวดบิดคอ” จนทำให้กระดูกคอหักหรือเคลื่อน แต่เป็นเพราะโรคกระดูกไขสันหลังอักเสบ และย้ำว่าการนวดไทยไม่ทำให้เสียชีวิต
ขณะที่กรณีที่สอง ผู้เสียชีวิตเป็นชาวต่างชาติ มีรายงานข่าวว่านายลี มูน ทัก ชาวสิงคโปร์วัย 52 ปี เสียชีวิตหลังจากเข้ารับการนวดน้ำมัน
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจชี้ว่า ผู้เสียชีวิตหลับและกรนขณะนวด ก่อนจะแสดงอาการหายใจอึดอัด แม้พนักงานพยายามช่วยชีวิตแล้ว แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตเอาไว้ได้ โดยฝั่งภรรยาผู้เสียชีวิตไม่ติดใจ และกล่าวเสริมว่า ก่อนมานวด สามีได้ดื่มเบียร์มา และมีการใช้ชีวิตในลักษณะที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก และสุดท้ายเธอขอไม่ให้มีการชันสูตรศพ
แม้ความสงสัยต่อเหตุการณ์ทั้งสองจะคลี่คลายไปแล้ว แต่.ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนวดไทยและการนวดบิดคอ ตลอดจนความแตกต่างระหว่าง “หมอนวด” และ “แพทย์แผนไทย” ไปจนความเสี่ยงของการนวดที่อาจมีได้
นวดแผนไทยคืออะไร ?
แพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) อรสา โอภาสวัฒนา อาจารย์พิเศษคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเจ้าของสถานพยาบาลแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแพทย์แผนไทย และเป็นผู้ให้การรักษาผ่านการนวดแผนไทย อธิบายกับ.ว่า การนวดแบบแพทย์แผนไทยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบเชลยศักดิ์ และแบบราชสำนักหรือการนวดอายุรเวท (แพทย์แผนไทยประยุกต์)
เธอเสริมว่าการนวดทั้งสองแบบนั้น “เป็นการนวดเพื่อบำบัดรักษา บรรเทาอาการปวดทั้งคู่ แต่ปัจจุบัน การนวดแบบราชสำนักใช้สำหรับการรักษาแน่นอน และแบบเชลยศักดิ์ ถูกนำมาสอนผู้ช่วยที่ [เข้ารับ] อบรมการนวดมากกว่า”
ในบทความโดย อ.นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ตีพิมพ์บนเว็บไซต์ของกองการแพทย์ทางเลือก อธิบายความแตกต่างเพิ่มเติมและที่มาระหว่างการนวดทั้งสองแบบ โดยชี้ว่า ต้นกำเนิดของการนวดแบบเชลยศักดิ์นั้นมาจากชาวบ้านช่วยเหลือกันเองในครอบครัว และจะมีการใช้อวัยวะอื่น ๆ ในการนวดนอกจากมือ เช่น การใช้ศอก ท่อนแขน และส้นเท้า
ในทางตรงกันข้าม การนวดแบบราชสำนักมีที่มาจากในพระราชวัง ดังนั้น การนวดจึงต้องรักษาความสุภาพและมักใช้แค่นิ้วมือกดลงบนร่างกาย อีกทั้งยังมีข้อปฏิบัติที่ค่อนข้างเคร่งครัดกว่า ทว่าการนวดไทยทั้งสองแบบยังต้องคงความสุภาพเอาไว้และจะมีการไหว้เสมอ
พท.ป.อรสา เสริมต่อว่า หลักสูตรแผนแพทย์ไทย ในระบบมหาวิทยาลัยมีการสอนทั้งแบบราชสำนักดั้งเดิม และแบบที่ประยุกต์นำการนวดทั้งสองแบบมารวมกัน
.ยังพบว่าการนวดไทยของสำนักวัดโพธิ์ เป็นแบบผสมผสานทั้งนวดแบบเชลยศักดิ์และราชสำนัก
จากการรวบรวมจาก. ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีด้านการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งหมายถึง การเรียนการสอนตามหลักการแพทย์แผนไทยที่มีการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาด้วย
“หมอนวด” กับ “แพทย์แผนไทย” ต่างกันอย่างไร
พท.ป.อรสา อธิบายว่า “หมอนวดไทย” ที่ประชาชนเข้าไปใช้บริการนั้น อาจไม่ใช่ “แพทย์แผนไทย” ทุกคน
ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556 ระบุว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย” หรือ “ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์” จะต้องเป็นบุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพจากสภาการแพทย์แผนไทย
เธอขยายความต่อว่า คนที่จะเป็นแพทย์แผนไทยได้หมายถึงต้องเรียนจบระดับปริญญาตรีและมีการสอบใบประกอบวิชาชีพ (แผน ข.) หรือผู้ที่มีวุฒิ ม.3 ขึ้นไป แล้วไปลงเรียนหลักสูตร 800 ชั่วโมง และจบจากสถาบันที่ได้รับการรับรอง (แผน ก.)
ขณะที่ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อศึกษาการนวดหรือการประกอบอาชีพนั้น จะเป็นทั้งกลุ่มที่ได้รับการอบรมจนเป็น “ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย” หรือผู้ที่ได้รับการอบรมมาแล้วเป็นเวลา 330 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนกลุ่ม “ผู้ให้บริการด้านการนวด” จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมไม่ต่ำกว่า 150 ชั่วโมง ซึ่งทั้งสองกลุ่มหลังนี้จะมีการขึ้นทะเบียนกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่กับสภาการแพทย์แผนไทย
เมื่อถามต่อว่าแล้ว “ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย” แตกต่างกับผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมทั่วไปอย่างไร พท.ป.อรสา ชี้ว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่ขั้นตอนและกระบวนการรักษา เพราะเมื่อเป็นแพทย์แผนไทยแล้ว ก็จะต้องมีการซักประวัติ การตรวจกระดูก การตรวจกล้ามเนื้อ และการไล่ลำดับตามสัญญาณของโรคต่าง ๆ
“สมมติคนไข้ปวดคอ-บ่า-ไหล่มา แต่พอเราตรวจร่างกายแล้ว เรารู้ว่าเป็นที่กล้ามเนื้อหัวไหล่กับกล้ามเนื้อข้อต่อมันดึงกัน อันนี้เราต้องนวดไป เช็คร่างกายไป ถามว่าถ้าเป็นคนนวดที่ฝึกมา 150 ชั่วโมง เขาพอจะบรรเทาอาการปวดได้ไหม ก็ต้องยอมรับว่าทำได้ระดับหนึ่ง… แต่ในกรณีฉุกเฉิน เรา [แพทย์แผนไทย] จะประเมินศักยภาพตัวเองได้ว่า คนนี้ควรจะอยู่คลินิกหรือเปล่า หรือควรจะส่งต่อแล้ว”
เมื่อมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ให้บริการแล้ว สถานบริการเองจึงมีความแตกต่างกันออกไปเช่นกัน
ตามข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ณ เดือน ต.ค. 2567 ซึ่งรวบรวมโดยสมาคมสปาไทย พบว่า สถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั้งหมด 17,897 แห่ง แบ่งเป็น ร้านนวดเพื่อสุขภาพ 16,609 แห่ง สปา 1,092 แห่ง และนวดเพื่อความงาม 196 แห่ง ซึ่งสถานให้บริการเหล่านี้ ก็จะมีความแตกต่างจากคลิกนิกแพทย์แผนไทยที่ต้องยื่นคำร้องขอเปิดคลินิกภายใต้กรมสนับสนุนสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ และสภาแพทย์แผนไทย
โดยปัจจุบันยังไม่มีกฎเรื่องต้องมี “ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย” หรือ “ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์” ในสถานที่ประกอบการเพื่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
ข้อดี-ประโยชน์ของการนวดไทย
นพ.วีระพันธ์ สุวรรณนามัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ กล่าวกับ.ว่า การนวดที่ทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการนวดแบบแพทย์แผนไทย นวดน้ำมัน หรือการนวดแบบแพทย์แผนจีน ล้วนเป็นประโยชน์กับร่างกาย เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และกระตุ้นการไหลเวียนของหลอดเลือด
“ถามว่ามีประโยชน์ไหม ต้องบอกว่ามีครับ เพราะว่าการนวดมันเป็นการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ และผ่อนคลายความตึงเครียดได้ เพราะฉะนั้นในคนที่มีความเจ็บปวด ความตึงของกล้ามเนื้อ จากการทำงาน หรือจากชีวิตประจำวัน การนวดมันทำให้ผ่อนคลาย ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว… มีรายงานการวิจัยหมดครับ เพราะฉะนั้นถามว่ามีประโยชน์ไหม มีประโยชน์ทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจ”
ในบทความสุขภาพที่ตรวจสอบโดย ดร.เมเรดิธ กู๊ดวิน แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์แห่งอเมริกา (American Board of Medical Specialties) ซึ่งเธอมีประสบการณ์หลากหลายด้านในเวชศาสตร์ครอบครัวแบบครบวงจร ระบุว่า การนวดแผนไทยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและอาการปวดไมเกรนได้
สำหรับประเด็นเรื่องการช่วยรักษาอาการปวดนั้น พบว่าเมื่อปี 2560 มีงานวิจัยโดยคนไทย ที่เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันออร์โธปิดิกส์ และแผนกสนับสนุนวิชาการ จากโรงพยาบาลเลิดสิน และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ที่ตีพิมพ์บนวารสารนานาชาติด้านการนวดบำบัดและการดูแลร่างกาย (World Journal of Therapeutic Rubdown and Bodywork) ซึ่งศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 120 คน
เมื่อแบ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน โดยให้กลุ่มหนึ่งใช้การรักษาแบบการนวดแผนไทย และอีกกลุ่มหนึ่งใช้วิธีการอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนไหวข้อต่อ (เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการกดจุด) การใช้แผ่นร้อน และการยืดกล้ามเนื้อด้วยมือในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด โดยทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาสัปดาห์ละสองครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และผลลัพธ์พบว่าทั้งสองกลุ่มมีอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ยังพบว่า การนวดแผนไทยอาจช่วยผู้ที่มีอาการตึงหรือเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหว
ในงานศึกษาโดยคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านศาสตร์การกายภาพบำบัด Journal of Bodily Therapy Science) เมื่อปี 2557 พบว่าการนวดแผนไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยไม้สำหรับออกกำลังกาย ช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังจากทำโปรแกรม 8 สัปดาห์
อีกงานศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในปีเดียวกันบนวารสารวิจัยชีวการแพทย์นานาชาติ (BioMed Examine World) โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งศึกษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม 60 คน พบว่าการนวดแผนไทยเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ให้ผลลดอาการปวดเทียบเท่ากับการกินยาไอบูโพรเฟนเป็นเวลา 3 สัปดาห์
การนวดไทยยังได้รับการยอมรับเรื่องการบรรเทาอาการเครียด และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้ด้วย
ความเสี่ยงจากการนวดไทยและวิธีป้องกัน
อย่างไรก็ดี การนวดไทยก็ไม่ได้ปราศจากความเสี่ยง นพ.วีระพันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ชี้ว่า มี 3 จุดสำคัญของร่างกายที่ไม่ควรถูกกดหรือถูกนวด ได้แก่
- จุดที่เปราะบางของร่างกาย อาทิ บริเวณกระหม่อม
- จุดที่เป็นเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณคอ
- จุดที่เป็นเส้นประสาท บริเวณใต้รักแร้
เขาเสริมว่า “อันนี้เคยเจอว่ากด [บริเวณใต้รักแร้] มาจนแขนลีบ นิ้วลีบไปเลย มันเป็นจุดที่เส้นประสาทเยอะที่สุด” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง กล่าว
เมื่อพิจารณาจาก 3 จุด สำคัญนี้ ก็จะสามารถแตกออกไปเป็นจุดอันตรายอื่น ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงเพิ่มเติมได้ เช่น บริเวณระหว่างข้อศอก ท้อง ใต้ข้อพับเข่า และหลังตาตุ่มเท้า โดยเขาย้ำว่า การนวดที่ดีควรจะกดไปบนกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น
สำหรับ พท.ป.อรสา เธอแนะนำว่า สำหรับผู้เข้ารับการนวดที่ทราบว่า ตัวเองมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาจเลือกเข้ารับการนวดกับแพทย์แผนไทยที่มีใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากแพทย์ฯ สามารถวินิจฉัยความเสี่ยงได้ และอาจเลือกให้แนวทางการรักษาอื่น ๆ แทนการนวด
“บางคนไม่เข้าใจว่า เวลาซักประวัติแล้วทำไมนวดไม่ได้ เช่น เป็นความดันสูง ปกติก็ไปร้านนวดเพื่นวดได้ แต่ปกติหลังนวดความดันจะสูงขึ้น มันเป็นความเสี่ยง บางทีคนไข้อาจจะมีลิ่มเลือดซึ่ง คนไข้ก็ไม่รู้ หมอก็ไม่รู้”
นพ.วีระพันธ์ เสริมเช่นกันว่า ผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาแพทย์ก่อน เช่น ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เด็กที่อายุน้อยเกินไป ผู้หญิงตั้งครรภ์ หรือคนที่มีความเปราะบางของกระดูก เช่น มีกระดูกบาง คนอายุมาก ๆ หรือคนที่เป็นมะเร็ง
“บางทีเวลามะเร็งกระจายไปที่อื่น ๆ อาจจะมีความเจ็บปวดได้ ทำให้คนที่เป็นมะเร็งพยายามจะไปนวด ถ้านวดผ่อนคลายเบา ๆ ผมคิดว่าคงไม่ได้อันตราย แต่ถ้านวดกดจุด กดให้แรง ๆ บางทีอาจกดจนกระดูกหัก เป็นไปได้ในคนที่เป็นมะเร็ง คนที่มีไข้อยู่ ป่วยแบบเฉียบพลันอยู่ ท้องเสีย เป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นโควิด อย่างนี้ผมคิดว่าไม่ควรนวด”
นอกจากนี้ นพ.วีระพันธ์ ยังเสริมว่า ความเสี่ยงอีกประการสำคัญคือ การเข้ารับการนวดกับผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนและมีความรู้มากพอ
“การที่เราจะไปเลือกหมอนวด เลือกร้านนวด ก็ขอให้เลือกอย่างที่มีใบรับประกัน มีใบของกระทรวงสาธารณสุขรับรอง เลือกหมอนวดอาจจะต้องเช็คประวัติบ้าง และสุดท้ายคือเราต้องระวังตัวเอง เราก็ต้องสังเกตเองด้วยว่าจุดไหนที่ไม่ควรกด ถ้าดูผิดท่าแล้ว เราไม่ต้องเกรงใจหมอนวด เราต้องบอกเขา ไม่เอาจุดนี้ ไม่เอาจุดนั้น ไม่ต้องเกรงใจกัน ความปลอดภัยของเราสำคัญที่สุด”
จัดกระดูก-ดัดคอ เป็นการนวดแผนไทยหรือไม่ และมีความเสี่ยงหรือไม่ ?
นพ.วีระพันธ์ อธิบายว่าการนวดจัดกระดูกหรือบิดคอนั้นถูกเรียกว่า “ไคโรแพรคติก” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง และมีหลักการในการใช้ความเร็วสูงแต่ไม่ได้ใช้แรงมาก ในการบิดหรือจัดกระดูก “ซึ่งแก้ปวดได้”
“โดยหลักการเขาไปตัดเส้นประสาทขาเข้าของการเจ็บปวด เพราะฉะนั้นคนที่ทำแล้วจะรู้สึกสบายขึ้น” ทว่า นพ.วีระพันธ์ เสริมว่า ทั้งไคโรแพรคติกเอง หรือการนวดกดจุดที่ไม่ได้ใช้ความเร็วสูง มีงานวิจัยออกมาชี้ว่า แก้ปวดได้พอกัน จึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เข้ารับบริการ
สำหรับไคโรแพรคติกนั้น ไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการถึงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับบริการ อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในปี 2017 พบว่า หลังการศึกษารายงาน 250 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับ “ไคโรแพรคติก, ออสทีโอพาธี, การบำบัดด้วยมือ, การจัดกระดูกสันหลัง และการเคลื่อนข้อต่อกระดูกสันหลัง” ประมาณการอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงมีตั้งแต่ 1 ครั้งต่อการรักษา 2 ล้านครั้ง ไปจนถึง 13 ครั้งต่อผู้ป่วย 10,000 คน
แม้ว่าจะเป็นศาสตร์แพทย์ทางเลือกเช่นเดียวกัน และอาจมีท่าทางการนวดที่คล้ายกันบ้าง ทว่า พท.ป.อรสา ชี้ว่า สำหรับแพทย์แผนไทยนั้น “ถ้าคำว่า ‘จัดกระดูกโดยตรง' ในแพทย์แผนไทยยังไม่มี”
“แต่ถามว่าเวลาเรานวด เรานอนคว่ำแล้วยืดตัว ยืดหลังง่าย ๆ บางทีแค่กดลงไป มันก็มีการดังกร๊อบแล้ว ไม่ต้องถึงกับดัดกระดูก”
ตามข้อมูลจากสมาคมไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย การแพทย์ทางเลือกชนิดนี้ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขของไทยมาตั้งแต่ปี 2549 แต่แพทย์ผู้ให้การรักษาการจัดกระดูกนั้นต้องผ่านการสอบไคโรแพรคติกในประเทศไทย ซึ่งตามข้อมูลจากสมาคมพบว่ามีแพทย์จัดกระดูกทั้งหมด 35 คน ในปัจจุบัน
อีกประการที่สำคัญคือ ไคโรแพรคติกจะต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่มีใบอนุญาตประกอบการคลินิกหรือโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ในสถานที่อื่น ๆ เช่น สปา หรือ ฟิตเนสเซ็นเตอร์
ที่มา BBC.co.uk