คนไข้ถูกส่งกลับบ้าน-อาหารอาจไม่พอถึง ก.พ. สถานการณ์ล่าสุดบ้านแม่หละหลังทรัมป์ออกคำสั่งระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศ
องค์กรช่วยเหลือผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา และเครือข่ายภาคประชาสังคม (เอ็นจีโอ) บางกลุ่ม ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการปฏิบัติการ ภายหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ สั่งระงับการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่มอบให้แก่ต่างประเทศเป็นเวลา 90 วัน
ไม่เพียงเจ้าหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้ที่จะ “ไม่ได้รับเงินเดือน” และไม่รู้อนาคตในหน้าที่การงานของตน แต่คำสั่งของผู้นำสหรัฐฯ ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อการให้บริการด้านสาธารณสุขและการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานในพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ หรือที่ถูกเรียกว่า ค่ายผู้ลี้ภัย จำนวน 9 แห่ง ที่ตั้งอยู่ชายแดนไทย-เมียนมา
บางคน “ท่อออกซิเจนถูกถอดแล้วกลับมารักษาตัวที่บ้าน”: สถานการณ์ล่าสุดในค่ายแม่หละ
หนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา (ไม่ประสงค์ออกนาม) ที่ทำอาชีพครูในค่ายแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก บอกกับ.ว่า เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 18.00 น. โรงพยาบาลทั้งหมด 3 แห่งในค่ายแม่หละได้ส่งผู้ป่วยทั้งหมด ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก กลับบ้านเพื่อรับการรักษาด้วยตัวเอง
“โรงพยาบาลในแม่หละทั้งแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกผู้ป่วยใน (IPD) ปิดหมดเลย” เขากล่าว
ผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในค่ายแม่หละผู้นี้บอกว่า มีผู้ป่วยสูงอายุจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน รวมถึงผู้ป่วยเด็กเล็กไม่ทราบจำนวน ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงพยาบาลครั้งนี้ และยังระบุด้วยว่ามีผู้ป่วยบางรายถูกถอดท่อออกซิเจนออกก่อนถูกส่งกลับบ้าน
Skip เรื่องแนะนำ and proceed studyingเรื่องแนะนำ
Stop of เรื่องแนะนำ
“ท่อออกซิเจนก็ถูกถอดออกแล้วกลับมารักษาตัวที่บ้าน โรงพยาบาลให้ข่าวว่าโรงพยาบาลต้องส่งผู้ป่วยกลับมารักษาที่บ้าน” ผู้ลี้ภัยที่ประกอบอาชีพครู ระบุ
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการส่งผู้ป่วยกลับมารักษาตัวเองในที่พักของตน
.ได้พูดคุยกับผู้ลี้ภัยแม่ลูกอ่อนชาวเมียนมา (ไม่ประสงค์ออกนาม) ที่อาศัยอยู่ค่ายผู้ลี้ภัยแห่งนี้ด้วย เธอบอกว่ารู้สึกกังวลอย่างมากหลังจากที่โรงพยาบาลในศูนย์พักพิงบ้านแม่หละปิดตัวลง เนื่องจากตนต้องดูแลลูกสาววัย 2 ขวบ และลุงอายุ 60 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับปอดและมักหายใจลำบาก โดยลุงของตนต้องทานยาเป็นประจำทุกวัน
เธอเล่าว่า ก่อนหน้านี้เธอสามารถรับยาของลุงได้จากโรงพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หลังจากโรงพยาบาลปิดตัวลง เธอต้องซื้อยาด้วยเงินตัวเองในราคา 30 บาทต่อเดือน ทั้งที่มีรายได้เพียงวันละ 50 บาทจากการรับจ้างเก็บผัก
“ตอนนี้เรามีปัญหา เพราะคุณลุงของฉันต้องกินยาทุกวัน แต่โรงพยาบาลถูกปิด ฉันไม่สามารถไปรับยาได้อีกต่อไป”
เธอบอกด้วยว่า ตนต้องดูแลสมาชิกครอบครัวอีก 10 คนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน พร้อมบอกว่าอาหารที่ได้รับมานั้น ต้องนำมาแบ่งกันทานกับคนในครอบครัวเนื่องจากรายได้ที่มีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
การบริการด้านสุขภาพภายใต้ IRC ถูกระงับลงชั่วคราว
ส่วนที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เจ้าหน้าที่เอ็นจีโอที่ทำงานใน อ.แม่สอด จ.ตาก กล่าวกับบีบีซีเมียนมาว่า “ผมได้รับจดหมายเมื่อวันที่ 25 ม.ค. ว่าเงินอุดหนุนจะจ่ายจนถึงวันที่ 24 เท่านั้น มีประกาศแจ้งว่าจะถูกระงับเป็นเวลา 85 วัน”
เขากล่าวเสริมว่า งานของพวกในการเตรียมการย้ายถิ่นฐานฉุกเฉินสำหรับผู้ขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง ได้กลายเป็นเรื่องยาก
เช่นเดียวกับโรงพยาบาลในค่ายผู้ลี้ภัยอุ้มผาง จ.เพชรบุรี ที่ต้องลดจำนวนเจ้าหน้าที่ลงเนื่องจากการระงับเงินทุนบางส่วน เป็นเหตุให้ผู้ป่วยบางรายต้องออกจากโรงพยาบาล เพราะมีเจ้าหน้าที่ดูแลไม่เพียงพอ
สำนักข่าวเคไอซี (Karen Data Centre – KIC) รายงานวันนี้ (28 ม.ค.) ว่า สหรัฐฯ ได้ระงับการให้เงินทุนแก่คณะกรรมการกู้ภัยระหว่างประเทศ (Worldwide Rescue Committee – IRC) เป็นเวลา 90 วัน นั่นทำให้การบริการด้านสุขภาพภายใต้ IRC ถูกระงับลงชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ป่วยทั้งหมดที่อยู่ในโรงพยาบาลในค่ายผู้ลี้ภัยต้องออกจากโรงพยาบาลไป ยกเว้นผู้ป่วยฉุกเฉิน และจะไม่มีการรับผู้ป่วยนอกอีกต่อไป
.พยายามติดต่อองค์กร IRC แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับจนถึงตอนนี้
สำนักข่าวเคไอซีรายงานโดยอ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในค่ายผู้ลี้ภัยนุโพ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ที่ยืนยันว่า ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว
“ฉันไปโรงพยาบาลแต่เช้า ฉันไม่รู้อะไรเลย ทุกหน่วยงานในสังกัดไออาร์ซีบอกว่างานจบแล้ว ฉันไม่รู้ว่าจะต้องหยุดอีกนานแค่ไหน เขาบอกว่าจะติดต่อฉันอีกครั้งหากเกิดอะไรขึ้น ฉันจะไม่ได้เงินเดือนในเดือนนี้ และไม่รู้ว่าจะได้คืนเมื่อใด” เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในค่ายผู้ลี้ภัยนุโพ กล่าว
นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ ประจำประเทศไทย เผยแพร่เอกสารภาษาเมียนมาผ่านบัญชีเอ็กซ์ของเขา โดยระบุว่า คำสั่งระงับความช่วยเหลือต่างประเทศของรัฐบาลทรัมป์ ทำให้โรงพยาบาลเอ็นจีโออเมริกันในค่ายผู้ลี้ภัยชายแดนไทย-เมียนมาต้องหยุดปฏิบัติงานทันที ผู้ป่วยทั้งหมดต้องย้ายออก
ข้าม Twitter โพสต์ ยินยอมรับเนื้อหาจาก Twitter
บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Twitter เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Twitter และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Twitter ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก “ยินยอมและไปต่อ”
คำเตือน: บีบีซีไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่มาจากภายนอก
สิ้นสุด Twitter โพสต์
บีบีซีติดต่อเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงย่างกุ้ง เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการระงับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ โดยได้รับคำตอบเพียงว่า “จะตอบกลับพร้อมคำแนะนำจากวอชิงตัน”
องค์กร TBC เผยมีอาหารไม่พอถึงเดือน ก.พ. ท่ามกลางความไม่แน่นอน
นายลีออน เดอ รีดแมตเทน ผู้อำนวยการบริหารองค์กรเดอะบอร์เดอร์คอนซอร์เที่ยม (The Border Consortium – TBC) บอกกับ.ว่า เขาให้ความเห็นในส่วนของค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ในความดูแลขององค์กรเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้มีอยู่ทั้งหมด 9 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมาใน จ.แม่ฮ่องสอน, จ.ตาก, จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี ซึ่งดูแลผู้ลี้ภัยรวมกันมากกว่า 100,000 คน โดยหลัก ๆ แล้วทางองค์กรจะเป็นผู้จัดหาอาหารและที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยภายในค่ายดังกล่าว
ผอ.องค์กร TBC บอกด้วยว่าองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for Worldwide Pattern – USAID) เป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ทุนขององค์กร โดยยังมีงบประมาณส่วนอื่น ๆ ที่มาจากองค์กรอื่น ๆ ของสหรัฐฯ อาทิ งบประมาณ สำหรับ อาหารและเชื้อเพลิงหุงต้ม ในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งมาจาก จากสำนักงานประชากร ผู้ลี้ภัย และการโยกย้ายถิ่นฐานของสหรัฐฯ หรือ Bureau of Population, Refugees, and Migration
อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่มีคำสั่งอย่างเป็นทางการว่าเงินที่ทาง USAID สนับสนุนองค์กร TBC นั้นเข้าข่ายถูกระงับตามคำสั่งของประธานาธิบดีทรัมป์หรือไม่
“โดยปกติแล้วจะเป็นการสั่งระงับการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมดที่ได้รับจากสหรัฐฯ ดังนั้นเราจึงยังไม่ทราบว่าความช่วยเหลือด้านอาหารจะได้รับยกเว้นจากคำสั่งนี้หรือไม่ หรืออาจมีข้อยกเว้นครั้งใหญ่สำหรับผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากมีการยกเว้นสำหรับชาวโรฮิงญาในฝั่งบังกลาเทศด้วยเช่นกัน ดังนั้นจนถึงตอนนี้จึงยังไม่ทราบอะไรมากนัก” นายลีออนกล่าว
ผอ.องค์กร TBC ยังบอกด้วยว่าในเบื้องต้น ทางองค์กรพยายามจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ในคลัง เช่น ถ่านสำหรับการหุงต้มซึ่งคาดว่าสามารถใช้ได้อีก 3 เดือน “ส่วนเรื่องอาหารเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากกว่ามาก ถ้าเดือนนี้ [ม.ค.] ก็ยังพอได้ เพราะเข้าสู่ช่วงปลายเดือนแล้ว แต่จะมี [อาหาร] ไม่เพียงพอสำหรับเดือน ก.พ. แน่นอน”
ดังนั้นทาง TBC จะพยายามหาทรัพยากรภายนอกจากแหล่งอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย หรือบางทีสหรัฐฯ อาจตัดสินใจยกเว้นการระงับงบสนับสนุนด้านอาหารซึ่งเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นอย่างหลัง
“แต่เราจะยังคงช่วยเหลือผู้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต่อ มันเป็นสิ่งที่เราหยุดไม่ได้ และไม่มีทางที่จะหยุดงานด้านนี้ได้ ผมคิดว่าเมื่อพวกเขาได้ยินข่าวนี้ ผู้คนภายในค่าย รวมถึงเพื่อนร่วมงานของผมซึ่งทำงานภาคสนาม ต่างใช้เวลาช่วงเช้าของวันนี้ในการหารือสถานการณ์กัน มันเป็นเรื่องรุนแรงมาก แต่เราต้องจัดการและดูแลกันต่อไป USAID คือผู้บริจาคหลักของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเมียนมา รวมถึงไทย-เมียนมา”
จุดเริ่มต้นสหรัฐฯ ระงับความช่วยเหลือต่างชาติ
ความเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายหลังประธานาธิบดีทรัมป์ ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารเมื่อ 20 ม.ค. ให้ระงับการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่มอบให้แก่ต่างประเทศเป็นเวลา 90 วัน ทว่าคำสั่งดังกล่าวไม่มีความชัดเจนว่าจะตัดงบประมาณส่วนไหนบ้าง เนื่องจากสภาคองเกรสได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลเอาไว้แล้ว
ต่อมาวันที่ 24 ม.ค. นายมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ สั่งระงับความช่วยเหลือสำหรับต่างประเทศเกือบทั้งหมด ยกเว้นการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านอาหาร และความช่วยเหลือทางการทหารแก่อิสราเอลและอียิปต์
บันทึกภายในที่ส่งให้กับเจ้าหน้าที่และสถานทูตสหรัฐฯ ทั่วโลก ซึ่งรั่วไหลออกมา และบีบีซีได้รับการยืนยัน ระบุตอนหนึ่งว่า “จะไม่มีการจัดสรรเงินทุนครั้งใหม่สำหรับโครงการใหม่หรือการขยายระยะเวลาของโครงการที่มีอยู่เดิม จนกว่าโครงการใหม่ที่เสนอมาหรือที่ขอขยายเวลานั้นจะได้รับการทบทวนและอนุมัติ”
นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้ทบทวนการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายใน 85 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าความช่วยเหลือเหล่านั้นสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของนโยบายการต่างประเทศของทรัมป์
เดฟ ฮาร์เดน อดีตผู้อำนวยการ USAID ในตะวันออกกลาง กล่าวกับบีบีซีว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ “สำคัญอย่างยิ่ง” เพราะอาจทำให้โครงการด้านการพัฒนาและด้านมนุษยธรรมต่าง ๆ ที่สหรัฐฯ สนับสนุนเงินทุนทั่วโลกถูกระงับลงทันทีระหว่างที่มีการพิจารณาทบทวน
ส่วนเจ้าหน้าที่ของ USAID อีกคน ระบุว่า เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ในยูเครนถูกบอกให้หยุดงานทั้งหมด ในจำนวนนี้รวมถึงโครงการสนับสนุนโรงเรียนและด้านสาธารณสุข เช่น การดูแลมารดาฉุกเฉิน และการฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก ๆ ด้วย
ข้อมูลจากรัฐบาลที่กรุงวอชิงตันระบุว่า สหรัฐฯ คือผู้บริจาคเงินช่วยเหลือต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริจาคเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.28 ล้านล้านบาท) ในปี 2023 โดยอิสราเอลได้รับเงินช่วยเหลือทางทหารปีละ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่อียิปต์ได้รับ 1.3 พันล้านดอลลาร์
ส่วนประเทศและดินแดนอื่นที่จะได้รับเงินสนับสนุนในทำนองเดียวกันในปี 2025 ได้แก่ ยูเครน, จอร์เจีย, เอสโตเนีย, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม, จิบูติ, โคลอมเบีย, ปานามา, เอกวาดอร์, อิสราเอล, อียิปต์, และจอร์แดน ตามคำขอของรัฐบาลโจ ไบเดน ที่ยื่นต่อสภาคองเกรส
ไทยพร้อมดูแลผู้ลี้ภัย
ส่วนท่าทีของรัฐบาลไทยได้ส่งสัญญาณพร้อมดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลผู้ลี้ภัย เพราะ “จะไปเสือกไสไล่ส่ง” คงไม่ได้ แต่ยังไม่มีการระบุรายละเอียดที่แน่ชัด
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยข้อมูลผู้ลี้ภัยที่อยู่บริเวณชายแดนไทยว่า มีผู้ลี้ภัยมากกว่า 1 แสนคน ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่ง ที่ผ่านมาได้รับเงินช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นหากนายโดนัลด์ ทรัมป์ หยุดการช่วยเหลือ หรือจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร “ก็ต้องคอยติดตาม”
อย่างไรก็ตาม รมว.สธ. บอกว่า จะถือโอกาสใช้กรณีนี้ในการแก้ไขปัญหาตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าคนไทยเสียสิทธิ ถูกแย่งสิทธิรักษาพยาบาล ก็จะถือโอกาสปรับเรื่องเหล่านี้ให้เข้ารูปเข้ารอยไป
“ในส่วนผู้ลี้ภัย เราคงทอดทิ้งไม่ได้ ในเมื่อเขามาอยู่ตรงนี้ แต่ผมจะจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะในเรื่องเข้าประเทศผิดกฎหมาย” รมว.สธ. กล่าว
ส่วนไทยจะนำงบจากส่วนไหนมาสนับสนุน หากรัฐบาลทรัมป์ตัดงบช่วยเหลือโครงการระหว่างประเทศนั้น นายสมศักดิ์กล่าวว่า “เป็นแค่ชั่วคราว จะไปเสือกไสไล่ส่งคงทำไม่ได้ ก็ต้องหวานอมขมกลืนไป” แต่ต้องจัดแจงทุกอย่างให้เรียบร้อย ไม่ให้เราต้องควักเนื้อ ส่วนตัวเชื่อว่าทำได้ อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับการดูแลผู้ลี้ภัยนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับ สธ. ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องคือเรื่องการรักษาพยาบาล ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปคุยกัน ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะตอบ
ที่มา BBC.co.uk