4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนางงามจักรวาล (Miss Universe) เปลี่ยนแปลงอย่างไร ในรอบ 73 ปี

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, สุชาตา ช่วงศรี ตัวแทนประเทศไทยในการประกวดมิสยูนิเวิร์สครั้งที่ 73

เช้าวันนี้ (17 พ.ย.) ผู้ที่ชื่นชอบการประกวดนางงาม หรือ แฟนนางงาม คงปักหลักเชียร์ตัวแทนของประเทศตัวเอง ในการประกวดนางงามจักรวาล หรือ มิสยูนิเวิร์ส (Miss Universe) ซึ่งจัดต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 73 มีกรุงเม็กซิโกซิตี้ เป็นเจ้าภาพ

การประกวดครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประกวดทั้งหมดกว่า 120 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือ สุชาตา ช่วงศรี หรือ โอปอล สาวไทยวัย 21 ปี จากจังหวัดภูเก็ต กำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่ผ่านมา การประกวดนางงามถูกท้าทายจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการประกวดในลักษณะนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ความบันเทิงนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในธุรกิจที่วิวัฒนาการตามยุคสมัย

.รวบรวมความเปลี่ยนแปลงสำคัญในช่วงระยะเวลา 73 ปี ของการประกวดนางงามที่ถูกเรียกว่า “โอลิมปิกด้านความงาม”

เปลี่ยนมือจากอเมริกามาสู่คนไทยและเม็กซิโก

องค์กรมิสยูนิเวิร์ส เจ้าของเวทีมิสยูเอสเอ มิสยูนิเวิร์สและมิสทีนยูเอสเอ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้วกว่า 70 ปี ถูกเปลี่ยนมือมาแล้วหลายครั้งด้วยเหตุผลทางธุรกิจ จนกระทั้งถึงปี 1996 โดนัลด์ ทรัมป์ มหาเศรษฐีของสหรัฐฯ ได้ซื้อกิจการและเข้าบริหารองค์กรนี้จนกระทั่งเขาตัดสินใจเข้าสู่การเมืองด้วยการลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2015 เขาจึงขายกิจการนี้ออกไปให้กับบริษัทด้านแฟชัน กีฬาและธุรกิจบันเทิง WME IMG Holdings (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Endeavor Community Holdings, Inc.) และดำเนินการมาจนถึงปี 2022

Skip เรื่องแนะนำ and continue discovering outเรื่องแนะนำ

Pause of เรื่องแนะนำ

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, “แอน” จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ (ซ้าย) และ ราอูล โรชา คานตู มหาเศรษฐีจากเม็กซิโก

ต่อมาในเดือนต.ค. 2022 บริษัท IMG Worldwide, LLC บริษัทย่อยของ Endeavor Community Holdings, Inc. ซึ่งเป็นเจ้าขององค์กรนางงามจักรวาล หรือ Miss Universe Group (MUO) ได้บรรลุขอตกลงในการขายกิจการให้กับบริษัทลูกของในสหรัฐฯ ของเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ของ “แอน” จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ นักธุรกิจคนไทยด้วยมูลค่าราว 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 760 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปไม่ถึงสองปี JKN Global Community ก็ประสบกับปัญหาทางการเงินและสภาพคล่องจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในขณะเดียวกันก็ได้ขายหุ้นในองค์กรมิสยูนิเวิร์ส 50% ให้กับ ราอูล โรชา คานตู มหาเศรษฐีชาวเม็กซิโก ผ่านการลงทุนใน JKN Legacy ด้วยมูลค่า 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 580 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบัน องค์กรมิสยูนิเวิร์สอยู่ในสถานะธุรกิจร่วมทุนระหว่างไทยและเม็กซิโก

เปิดรับความหลากหลายมากขึ้น

คำว่า “การประกวดนางงาม” มักสร้างความคาดหวังต่อผู้ชมรวมถึงคณะกรรมการตัดสิน คือ ผู้ชนะต้อง “สวยประจักษ์” แต่นิยามดังกล่าวมักจะถูกท้าทายด้วยประโยคที่ว่า “Beauty is in the learn about of the beholder” หรือ “สวยหรือไม่อยู่ที่ใครเป็นคนมอง” นอกจากนี้ยังถูกท้าทายจากอิทธิพลความคิดเรื่องสตรีนิยมที่มองว่า การประกวดนางงามเป็นการมองว่าผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุทางเพศ ที่เน้นการประกวดประขันด้านความสวยงามเพียงอย่างเดียว

แต่ในระยะหลังผู้จัดการประกวดทั้งระดับนานาชาติและระดับประเทศเริ่มมีการใช้เวทีประกวดในการเฟ้นหานางงามที่เป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคมได้เพิ่มมากขึ้น อย่างเมื่อปี 2561 ในการประกวดมิสยูนิเวิรส์ 2018 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ที่มี “อังเฆลา ปอนเซ” สตรีข้ามเพศคนแรกจากสเปนเข้าร่วมการประกวดในครั้งนั้นด้วย เพื่อสะท้อนความเท่าเทียมกัน

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, อังเฆลา ปอนเซ หญิงข้ามเพศจากสเปนร่วมการแข่งขันมิสยูนิเวิร์สในปี 2018

ขณะที่การเปิดกว้างทั้งในเรื่องเพศสภาพและสีผิวเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นผ่านเวทีประกวดนางงามที่นับวันจะเข้าถึงผู้คนได้เพิ่มมากขึ้นผ่านการเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์

ปรากฏการณ์ที่สำคัญในปี 2562 อีกอย่างคือ ถือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สาวผิวดำ “มงลง” 5 เวทีการประกวดหลักของโลก ประกอบด้วย โซซีบีนี ทุนซี จากแอฟริกาใต้ผู้คว้ามุงกุฏมิสยูนิเวิร์ส 2019, เนีย แฟรงคลิน ครองตำแหน่งมิสอเมริกา, โทนี-แอนน์ ซิงห์ สาวงามจากจาเมกาคว้ามงกุฎมิสเวิลด์, เคลีห์ แกร์รีสคว้ามงกุฎมิสทีนยูเอสเอ และเชสลี คริสต์ ชนะการประกวดเวทีมิสยูเอสเอ

ที่มาของภาพ, Getty Images/ Reuters

คำบรรยายภาพ, ผู้ชนะเลิศของ 5 เวทีการประกวดนางงามชั้นนำของโลกประจำปี 2019

นอกจากการก้าวข้ามเรื่องเพศสภาพและสีผิวแล้ว ผู้เข้าประกวดนางงามในยุคหลังยังแสดงความคิดเห็นทางสังคม การเมืองและสิทธิมนุษยชนบนเวทีประกวดอย่างเปิดเผยด้วย รวมถึงการโอบรับนางงามร่างใหญ่ด้วย

ต่อมาในปี 2022 องค์กรนางงามจักรวาลก็เปิดโอกาสให้หญิงสาวที่ผ่านการสมรสและมีบุตรสามารถเข้ามาร่วมการประกวดได้ รวมทั้งทลายเพดานอายุเหมือนเดิมที่กำหนดไว้ที่อย่างอายุไม่เกิน 28 ปี ออกไป จนทำให้ในการประกวดในระดับประเทศมีผู้หญิงสูงวัยเข้ามาร่วมประกวดด้วย

ในรอบ 70 ปี ชาติใดครองมงกุฎจักรวาลมากที่สุด

  • อันดับที่ 1: สหรัฐฯ มีผู้คว้ามงกุฎนางงามจักรวาลมาแล้วถึง 9 ครั้ง ในปี 1954, 1956, 1960, 1967, 1980, 1995, 1997, 2012 ส่วนคนสุดท้ายคือ อาร์บอนนีย์ เกเบรียล แฟชั่นดีไซเนอร์ ในปี 2022
  • อันดับที่ 2: เวเนซูเอลา ถือว่าเป็นมหาอำนาจด้านความงามของโลก หากไม่นับรวมเจ้าของเวทีอย่างสหรัฐฯ ด้วยจำนวนมงกุฎที่ได้จากเวทีมิสยูนิเวิร์สมากถึง 7 ครั้ง ในปี 1979, 1981, 1986, 1996 และสามารถสร้างประวัติศาสตร์โดยมีผู้ชนะที่ครอบครองตำแหน่งนางงามจักรวาลถึงสองปีซ้อนในปี 2008 และ 2009 ก่อนที่ปีสุดท้ายที่คว้ามงกุฎจากเวทีนี้ได้ในปี 2013 ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพ
  • อันดับที่ 3: เปอร์โตรีโก คว้าไปแล้วมงกุฎนางงามจักรวาลไปถึง 5 ครั้งในปี 1970, 1985, 1993, 2001 และ 2006
  • อันดับที่ 4: ฟิลิปปินส์ สามารถพิชิตมงกุฎจักรวาลไปแล้ว 4 มงกุฎ ในปี 1969, 1973, 2015 และคนล่าสุดคือ แคทริโอนา เกรย์ ในปี 2018 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
  • อันดับที่ 5: สวีเดน, แอฟริกาใต้ เม็กซิโก และอินเดีย ที่เก็บไปมงกุฎไปแล้วประเทศละ 3 มงกุฎ

สำหรับประเทศไทย เคยชนะในการประกวดนางงามจักรวาลแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ อาภัสรา หงสกุล ในปี 1965 และครั้งที่สอง คือ ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ในปี 1988

ที่มาของภาพ, Bettmann/Contributor

คำบรรยายภาพ, อาภัสรา หงสกุล นางงามจักรวาลคนแรกของไทยเมื่อปี 2507

ย้อน 100 ปี เส้นทางเวทีประกวดนางงาม

การประกวดนางงามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวัฒนธรรมความบันเทิงและเหตุผลทางธุรกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 1921 หรือกว่า 100 ปีที่แล้วโดยกลุ่มนักธุรกิจท้องถิ่นในเมืองแอตแลนติกซิตี้ ของรัฐนิวเจอร์ซี ของสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือนระหว่างช่วงวันหยุดแรงงานของสหรัฐฯ โดยใช้ชื่อการประกวดว่า “Inter-Metropolis Beauty” เพื่อเฟ้นหาสาวงามที่สุดในชุดอาบน้ำ ในเวลาต่อมางานประจำปีนี้ได้รับความนิยมจึงเพิ่มขนาดของงานและจำนวนผู้ร่วมงานมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับการสนับสนุนและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นสื่อหลักในขณะนั้น

ที่มาของภาพ, Library of Congress/Corbis/VCG by approach of Getty Images

คำบรรยายภาพ, การคัดเลือกมิสอเมริกา (ไม่ระบุปี) แต่เวทีประกวดแห่งนี้ถือว่าเก่าแก่ที่สุดของโลก

แม้ว่าจะผ่านแรงกดดันของสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องการประกวดนางงามเวทีมาหลายครั้ง จนต้องยุติลงชั่วคราวในบางช่วง แต่หลังเหตุการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การจัดประกวดนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งพร้อมกับใช้ชื่อว่า “มิสอเมริกา” และปรับบริบทการประกวดความงามอย่างเดียวมาสู่การทดสอบความสามารถของผู้ประกวดด้วย โดยผู้ชนะจะได้เงินรางวัลเป็นทุนการศึกษา และยังเป็นเวทีการประกวดนางงามระดับชาติของสหรัฐฯ ที่เก่าแก่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน

ส่วนการเกิดขึ้นของเวทีนางงามจักรวาลหรือมิสยูนิเวิร์สนั้น เป็นผลพวงที่เกิดจากการปฏิเสธการสวมชุดว่ายน้ำในที่สาธารณะของโยลันด์ เบตเบซ ผู้ชนะตำแหน่งมิสอเมริกาประจำปี 1951 ทำให้บริษัท แฟซิฟิก มิลส์ ผู้ผลิตและออกแบบชุดว่ายน้ำยี่ห้อ “Catalina Swimwear” จากรัฐแคลิฟอร์เนียตัดสินใจยุติการเป็นสปอนเซอร์ชุดว่ายน้ำให้กับเวทีมิสอเมริกาแล้วมาก่อตั้งเวทีคู่แข่งในประเทศขึ้นก็คือ มิสยูเอสเอ เป็นเวทีประกวดระดับชาติ พร้อมกับมิสยูนิเวิร์สขึ้นในปีนั้นเพื่อเฟ้นหาตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ มาประกวดในระดับนานาชาติ

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ, จูเลีย มอร์ลีย์ (ซ้าย) สานต่อปณิธานของสามีด้วยสานต่อการจัดประกวดนางงามโลกหรือ Miss World มาแล้วเป็นครั้งที่ 71 เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ที่นครมุมไบ ของอินเดีย

ในช่วงเวลาเดียวกันที่เกิดองค์กรมิสยูนิเวิร์ส อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก อีกหนึ่งเวทีประกวดนางงามก็ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1951 คือ “มิสเวิลด์” โดย เอริค มอร์ลีย์ พิธีกรชื่อดังชาวอังกฤษ

หลังจากมอร์ลีย์เสียชีวิตลง การประกวดนี้ถูกรับช่วงต่อโดยภรรยาของเขาคือ จูเลีย มอร์ลีย์

นอกจากนี้ยังมีการประกวดนางงามสำคัญเวทีอื่น ๆ ด้วย เช่น มิสอินเตอร์เนชั่นแนลของญี่ปุ่น (1960) มิสเอิร์ธของฟิลิปปินส์ (2001) มิสซูปราเนชั่นแนลของโปแลนด์ (2009) และมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลของไทย (2013) เป็นต้น