ภูเขาน้ำแข็งใหญ่ที่สุดของโลกเคลื่อนที่ขึ้นทางเหนือแล้วหลังหลุดจากกระแสน้ำวน
ภูเขาน้ำแข็งยักษ์ A23a ที่นักวิทยาศาสตร์และคนทั่วโลกเฝ้าติดตามได้กลับมาเคลื่อนที่อีกครั้งหลังจากติดอยู่ภายในกระแสน้ำวนแห่งหนึ่งและลอยแคว้งอยู่ที่นั้นเกือบปี โดยครั้งนี้มีแนวโน้มจะแตกตัวออกมา ขณะที่เคลื่อนที่ขึ้นไปทางทิศเหนือ
ภูเขาน้ำแข็งใหญ่แห่งนี้มีขนาดพื้นที่ราว 3,800 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่มหานครกรุงลอนดอนถึงสองเท่า หรือราวสองเท่าของขนาดพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีความหนาถึง 400 เมตร ได้แยกตัวออกจากแนวชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกาเมื่อปี 1986 แต่ต่อมาส่วนฐานของมันได้ปักลงในโคลนที่นอกชายฝั่ง
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า ความลึกของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำมีระยะเท่ากับระยะของลึกจากผิวน้ำถึงก้นทะเลเวดเดลล์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรใต้ และเป็นสถานที่ที่ทำให้ภูเขาน้ำแข็งนี้หยุดนิ่งอยู่นานกว่า 30 ปี
ต่อมาภูเขาน้ำแข็งนี้ก็เริ่มเคลื่อนตัวมาทางเหนืออีกครั้งในปี 2020 ทว่า นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิในปีนั้นเป็นต้นมา ภูเขาน้ำแข็งแห่งนี้ก็ได้หมุนแคว้งตรงจุดนั้นหลังจากที่มันติดอยู่ในแนวน้ำที่หมุนได้ใกล้กับหมู่เกาะออร์กนีย์ใต้ (South Orkney Islands)
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หน่วยสำรวจแอนตาร์กติกแห่งสหราชอาณาจักร (British Antarctic See–BAS) ระบุว่า ในขณะนี้ ภูเขาน้ำแข็งนี้กำลังเคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือ
Skip เรื่องแนะนำ and proceed readingเรื่องแนะนำ
Finish of เรื่องแนะนำ
“ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นว่า ภูเขาน้ำแข็ง A23a กลับมาเคลื่อนที่อีกครั้งหลังจากที่ติดแหง็กอยู่สักระยะหนึ่ง” ดร.แอนดรูว์ เมเจอร์ส นักสมุทรศาสตร์จากหน่วยงานสำรวจแอนตาร์กติกแห่งสหราชอาณาจักร กล่าว
“พวกเราสนใจว่า มันจะใช้เส้นทางเดียวกันกับภูเขาน้ำแข็งอื่น ๆ ที่ได้หลุดออกจากทวีปแอนตาร์กติกาหรือไม่”
เชื่อกันว่า ภูเขาน้ำแข็ง A23a ในที่สุดก็จะเคลื่อนออกจากทะเลใต้และเข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่จะเป็นสถานที่มีน้ำที่อุ่นขึ้นและทำให้มันแตกออกเป็นชิ้นส่วนภูเขาน้ำแข็งที่เล็กลงและละลายในที่สุด
ดร.เมเจอร์ส และสถาบัน BAS อยู่ระหว่างการตรวจสอบผลกระทบของภูเขาน้ำแข็งต่อระบบนิเวศในพื้นที่หลังจากที่ภูเขาน้ำแข็งเหล่านั้นเคลื่อนที่ผ่านไป
เมื่อหนึ่งปีก่อน บรรดานักวิจัยที่โดยสารบนเรือสำรวจ อาร์อาร์เอส เซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ (RRS Sir David Attenborough) ได้รวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างน้ำรอบ ๆ ภูเขาน้ำแข็ง A23a
ลอรา เทย์เลอร์ ชีวธรณีเคมี ที่ร่วมศึกษากับคณะวิจัยบนเรือสำรวจนี้บอกว่า “พวกเรารู้ว่า ภูเขาน้ำแข็งยักษ์เหล่านี้สามารถจะให้สารอาหารในน้ำได้ขณะที่พวกมันเคลื่อนตัวผ่าน และช่วยส่งเสริมให้ระบบนิเวศวิทยาดีขึ้น ในพื้นที่มีความสมดุลทางชีววิทยาน้อยกว่า
“สิ่งที่เราไม่ทราบคือ ภูเขาน้ำแข็งแต่ละชนิด แต่ละขนาดและมาจากต้นกำเนิด ที่แตกต่างกันสามารถทำให้เกิดกระบวนการนั้น ๆ ได้แตกต่างกันอย่างไร”
ที่มา BBC.co.uk