พื้นที่ใดบ้างที่ไทยและเมียนมายังปักปันเขตแดนไม่แล้วเสร็จ ?
Article knowledge
- Creator, จิราภรณ์ ศรีแจ่ม
- Role, ผู้สื่อข่าว.
เขตแดนทางบกของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมีความยาวประมาณ 5,656 กิโลเมตร โดยพบว่าเส้นเขตแดนที่ยาวมากที่สุด คือ เส้นเขตแดนไทย-เมียนมา ความยาว 2,401 กิโลเมตร
ทว่าการปักปันเขตแดน (Demarcation of Boundary) บริเวณดังกล่าวกลับมีความคืบหน้าน้อยที่สุด เมื่อเทียบเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ
นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย บอกว่าในตอนนี้เพิ่งปักปันเขตแดนสำเร็จเพียง 59 กิโลเมตรเท่านั้นในบริเวณแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก
ข้อมูลจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า เขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นผลมาจากการตกลงกำหนดเขตแดนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจเจ้าอาณานิคม เช่น ฝรั่งเศส และ อังกฤษ
สำหรับเส้นเขตแดนไทย-เมียนมาเป็นผลจากการกำหนดเส้นเขตแดน (Delimitation of Boundary) ตามสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษที่ทำขึ้นระหว่างปี 1968-1940 จำนวน 9 ฉบับ รวมถึงบันทึกความเข้าใจไทย-เมียนมา ซึ่งจัดทำขึ้นในปี 1991 จำนวน 1 ฉบับ
Skip เรื่องแนะนำ and continue learningเรื่องแนะนำ
Conclude of เรื่องแนะนำ
เหตุใดงานปักปันหลักเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตกและทางเหนือของไทยจึงเป็นงานท้าทายที่สุด และมีความคืบหน้าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเส้นเขตแดนไทย-ลาว และ ไทย-มาเลเซียที่ปักปันเขตแดนสำเร็จไปแล้วมากกว่า 90% ขณะที่งานปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชาก็สำเร็จไปแล้วมากกว่าครึ่ง
ร่วมสำรวจเรื่องนี้ไปกับ. ผ่านการพูดคุยกับอธิบดีอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายคนปัจจุบัน
ความหมายของเส้นเขตแดนและการปักปันเขตแดน
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ อธิบายว่า การกำหนดเส้นเขตแดน (Delimitation of Boundary) หมายถึงการกำหนดแนวเส้นเขตแดนเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปหลักฐานทางเอกสารสนธิสัญญา หรือกำหนดเส้นเขตแดนลงในแผนที่หรือแผนผัง ตามผลที่ได้จากการเจรจาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างประเทศของประเทศทวิภาคี ในสำนักงาน หรือบนโต๊ะเจรจา ว่าจะให้แนวเส้นเขตแดนเป็นไปอย่างไร เช่น ให้เป็นไปตามสันปันน้ำ (Watershed) หรือร่องน้ำลึก (Thalweg) หรือสภาพธรรมชาติอื่น ๆ หรือเป็นแนวเส้นตรง
ส่วนการปักปันเขตแดน (Demarcation of Boundary) หมายถึง การแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกันชี้ชัด หรือเจาะจงลงไปว่าเส้นแบ่งเขตแดนของรัฐ หรือประเทศที่กำหนดกันไว้ในชั้นการกำหนดเส้นเขตแดนนั้น จะอยู่ ณ ที่ใด ในภูมิประเทศ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนดังกล่าวจะต้องสร้างหลักเขตแดน เพื่อเป็นเครื่องหมายลงในภูมิประเทศ หรือบนพื้นแผ่นดิน เป็นหลักฐานแสดงแนวเส้นเขตแดนระหว่างกันไว้ให้ปรากฏอย่างชัดเจน
ดังนั้น โดยข้อเท็จจริงแล้ว ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างมีกำหนดเส้นเขตแดนประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ทำร่วมกันในอดีตแล้ว แต่ขณะเดียวกันงานที่ยังดำเนินอยู่ถึงทุกวันนี้ คือ การปักปันเขตแดน ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงเส้นเขตแดนในภูมิประเทศจริง
ด้านอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ อธิบายเพิ่มเติมว่าในบางครั้งกรมแผนที่ทหารต้องฝ่าฟันป่าดงดิบและทุ่นระเบิดเข้าไปหาจุดกำหนดเส้นเขตแดนตามที่ระบุไว้ในแผนที่ เพื่อพบว่าจุดกำหนด (marker) ได้หายไปแล้วก็มี
“แผนที่บางอัน เช่น แผนที่ของกัมพูชาบอกว่า [เส้นเขตแดนอยู่ตรง] ต้นไม้สูงสุด เป็นต้นไม้ต้นใหญ่อายุร้อยกว่าปีแล้วนะ ปัจจุบันลงไปดูพบว่าต้นไม้ถูกปลวกกินไปแล้ว แล้วจะให้ทำอย่างไรเมื่อแผนที่บอกว่าให้ไปหาต้นไม้นี้ แต่ต้นไม้มันไม่มีในพื้นที่แล้ว นี่คือตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้น” นางสุพรรณวษา กล่าว
“แต่ในบางพื้นที่ก็สามารถเข้าถึงได้ แล้วเห็นอะไรบางอย่าง ก็สามารถปักหลักเขตแดนได้ นั่นก็คือกระบวนการ demarcation (ปักปันเขตแดน) ซึ่งเป็นการเข้าไปสร้างสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง” เธออธิบาย
เหตุใดงานปักปันเขตแดนไทย-เมียนมา มีความคืบหน้าน้อยที่สุด
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายบอกกับ.ว่า ปัจจุบันยังมีนิมิตรหมายที่ดีระหว่างไทยกับเมียนมาในการปักปันเขตแดนร่วมกัน แต่การทำงานได้ชะงักลงไปช่วงหนึ่งจากปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่าง
“เราไม่ได้พบกับทางเมียนมามานานมากนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ทางด้านการเมืองของเขา และหลายปีผ่านมาทางเขาก็มี priority (การให้ความสำคัญ) กับเรื่องอื่นอยู่ ทั้งเรื่องบ้านเมืองของเขาและการสู้รบกับชนกลุ่มน้อย พอเข้าช่วง[การระบาดของโรค]โควิด-19 ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น กลายเป็นว่าเราไม่สามารถเรียกประชุมกลไกหลักที่จัดการเรื่องเขตแดนซึ่งเรียกว่า Joint Boundary Committee (คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-เมียนมา หรือ JBC) ได้”
โดยปกติแล้วการประชุม JBC ควรเกิดขึ้นทุกปี แต่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี 2560 และมีแผนว่าจะการประชุมขึ้นอีกครั้งในปี 2568
การปักปันเขตแดนไทย-เมียนมาบริเวณใด มีความคืบหน้ามากที่สุด
นางสุพรรณวษา กล่าวว่า งานปักปันเขตแดนที่มีความคืบหน้ามากที่สุดอยู่บริเวณแม่น้ำรวก-แม่น้ำสาย ความยาว 59 กิโลเมตร โดยทั้งสองประเทศเห็นร่วมกันให้ปักหลักเขตแดนแบบคงที่ (mounted boundary demarcation) เนื่องจากแม่น้ำทั้งสองสายมีการเปลี่ยนทางเดินน้ำอยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่กำหนดการปักหลักแบบคงที่ในบริเวณแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก คือ บันทึกความเข้าใจไทย-เมียนมา เรื่องเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก ฉบับลงวันที่ 16 มิ.ย. 1991 แต่ชาวบ้านบางส่วนยังเข้าใจแม่น้ำคือเส้นเขตแดนระหว่างสองประเทศ และเข้าไปตั้งบ้านเรือนชิดแนวแม่น้ำทั้งสองฝั่งในเวลาต่อมา
“บางคนเข้าใจว่าแม่น้ำอยู่ตรงไหน ฉันก็สามารถเข้าไปตั้งบ้านชิดแม่น้ำได้ แต่มันไม่ใช่ หลักเขตแดนได้ mounted มาแล้ว มันก็เลยเกิดปัญหาว่าประชาชนไปสร้างบ้านคร่อมเขตแดน รุกล้ำอธิปไตยของอีกฝ่ายหนึ่ง” อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ กล่าว
โดยพบว่ามีบ้านเรือนของฝั่งไทยรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนเมียนมาจำนวน 45 จุด และฝั่งเมียนมารุกล้ำเข้ามายังฝั่งไทยจำนวน 33 จุด ซึ่งทางการของทั้งสองประเทศพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการรุกล้ำเพิ่มเติม และพยายามหามาตรการจัดการรุกล้ำในพื้นที่ดังกล่าว เช่น รื้อถอนออก เป็นต้น
การรุกล้ำลำน้ำสายยังส่งผลให้ชาวบ้านในจังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา รวมถึง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างหนักจากลำน้ำที่แคบลงและตื้นเขิน รวมถึงปัญหาดินโคลนข้ามพรมแดนที่สร้างความเสียหายอย่างหนักเมื่อช่วงเดือน ก.ย.- ต.ค. ที่ผ่านมา จนทำให้รัฐบาลของทั้งสองประเทศเล็งเห็นตรงกันว่าต้องใช้กลไกที่อยู่ภายใต้บันทึกความเข้าใจไทย-เมียนมา เรื่องเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวกฯ เพื่อบำรุงแนวเขตแดนร่วมกัน
โดยช่วงเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาเกี่ยวกับเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก (JCR) ครั้งที่ 3 และทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการขยายช่องทางการไหลของน้ำ โดยการขุดลอกแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก เป็นแนวทางการสำคัญการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และควรแก้ปัญหาสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยในเบื้องต้นจะดำเนินการสำรวจและขุดลอกร่องน้ำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูน้ำหลากของปี 2568
ทว่า การดูแลรักษาแนวเขตแดนบริเวณนี้ก็ยังมีความท้าทายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องหลักเขตแดนถูกทำลายโดยคนในท้องถิ่นด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำที่ยังเกิดขึ้นได้
“เนื่องจากลำน้ำมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้แผ่นดินไปงอกอีกฝั่งหนึ่งเคย mounted ไว้แล้ว กลายเป็นว่าดินที่เคยเป็นของไทย มันไปงอกฝั่งเมียนมา ดังนั้นหน้าที่ของกรมสนธิสัญญาฯ ในเรื่องเขตแดน นอกจากเข้าไปดูเรื่องการปักปันแล้ว โดยดูว่าตีความจากสนธิสัญญาอะไร แล้วไปหา marker สิ่งนั้น ก็ต้องมีการปักหลักด้วยโดยเราใช้กรมแผนที่ทหารทำหน้าที่ตรงนี้ หลังจากนั้นเราก็ต้องเข้าไปดูแลรักษาหลักด้วย เพราะบางทีมันอาจหายไป เช่น แม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก เราก็ต้องเข้าไปดูว่าเมื่อแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางไปแล้ว เราจะไปรักษาหลักคงที่ที่อยู่ตรงนี้ได้อย่างไร” เธอกล่าว
“จุด hotspot” อื่น ๆ ที่ยังปักปันเขตแดนไม่สำเร็จ
เนื่องจากมีเพียง 59 กิโลเมตรเท่านั้นที่ปักปันเขตแดนเสร็จสิ้น หมายความว่ายังเหลือแนวเขตแดนอีกจำนวนมากที่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการในขั้นตอนปักปันเขตแดน .รวบรวมจุด hot field หรือ จุดสำคัญ ๆ ที่น่าจับตาความเคลื่อนไหว ดังนี้
- ปัญหาดอยลาง-ดอยห้วยฮะ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
เกิดจากฝ่ายไทยและฝ่ายเมียนมายึดถือเส้นเขตแดนคนละแนว โดยฝ่ายไทยยึดถือแนวสันเขาดอยห้วยฮะที่ลึกเข้าไปในฝั่งเมียนมา ขณะที่ทางฝั่งเมียนมายึดแนวสันเขาดอยลางที่เข้ามาในฝั่งไทย จนส่งผลให้เกิดการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 20,000 ไร่ โดยทั้งสองฝ่ายยังวางกำลังทหารบนพื้นที่ทับซ้อนเพื่อธำรงอธิปไตยและความมั่นคงแห่งรัฐ จากข้อมูลของเรื่องความเข้าใจเรื่องเขตแดนไทย-พม่า ซึ่งเขียนโดย รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช ม.ธรรมศาสตร์
“หากสำรวจภูมิประเทศแนวหุบเขาระหว่างดอยลางกับดอยห้วยฮะ รวมถึงหุบเขาในบริเวณข้างเคียงจะพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเต็มไปด้วยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวไทใหญ่ประมาณ 50-60 หลังคาเรือน ตลอดจนมีการวางกำลังทหารของไทย ทหารเมียนมา รวมถึงทหารของไทใหญ่ และว้าแดง กระจายกันไปตามหุบเขา ซึ่งจากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว ย่อมส่งผลให้บริเวณดอยลางและดอยห้วยฮะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญต่อความได้เปรียบทางทหารและอาจส่งผลให้ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกลายเป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมืองระหว่างประเทศ” รศ.ดร.ดุลยภาค เขียนไว้ในบทความดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2011
- เกาะใต้สะพานบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 1 อ.แม่สอด จ.ตาก บริเวณตลาดริมเมย
พบว่าเกิดเกาะใต้สะพานเนื่องจากแม่น้ำเมยเปลี่ยนทิศทาง และมีชาวบ้านเข้าไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าว
“เนื่องจากจุด hot field มีหลายจุดด้วยกัน เช่น กรณีแม่น้ำเมยตรงใต้สะพาน และบริเวณดอยลาง-ห้วยฮะที่ต่างฝ่ายต่างเห็นไม่ตรงกัน ก็ต้องเตรียมนำเรื่องนี้เข้าไปหารือกัน” อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ กล่าวกับ.
- ด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
พบว่าทั้งฝ่ายไทยและเมียนมาต่างอ้างกรรมสิทธิ์บริเวณดังกล่าวโดยถือแผนที่คนละฉบับ ปัจจุบันพื้นที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากและกำลังเป็นฐานสแกมเมอร์ของกลุ่มจีนเทาที่เข้ามาตั้งในเขตอิทธิพลของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตยหรือดีเคบีเอ (Democratic Karen Buddhist Military – DKBA)
“มันเป็นแผนที่ที่ประหลาดมากเลย คือ เป็นรูปเหมือนนิ้วมือ ทางเราก็โต้แย้งอยู่เหมือนกันว่าเราไม่เคยยอมรับเส้นนี้ตรงนี้ เพราะมันเหมือนเป็นเส้นที่คนสำรวจเขาเดินไป แล้วเดินย้อนกลับมา ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นแบบนั้น” อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ บอก
ดังนั้น จนกว่าจะมีข้อยุติที่ทั้งสองประเทศเห็นร่วมกัน แต่ละฝ่ายก็ต้องพยายามไม่ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมไปจากเดิม สำหรับปัญหาของเมืองสแกมเมอร์ที่ขยายตัวมากขึ้น หาก ณ จุดหนึ่งสามารถปักปันหลักแดนได้สำเร็จ ก็จะทราบแนวเขตที่แน่ชัด และใช้อำนาจทางกฎหมายของแต่ละประเทศจัดการในเขตแดนของตนเองได้
- จุดผ่อนปรนชายแดนไทย-เมียนมา ช่องด่านสิงขร อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
เป็นช่องทางการค้าที่เชื่อมต่อไปยังเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา รวมถึงนครย่างกุ้งได้ และยังอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลกลางเมียนมา
นางสุพรรณวษาบอกว่า ทางการไทยพยายามผลักดันการปักปันหลักเขตแดนบริเวณนี้อย่างมาก เนื่องจากเห็นศักยภาพในฐานะช่องทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ โดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารทะเลต่าง ๆ รวมถึงการท่องเที่ยว
ที่ผ่านมาทางการไทยและเมียนมาได้ร่วมกันสำรวจเขตแดนร่วมกันซึ่งเรียกว่าเจดีเอส (Joint detail Discover – JDS) ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อผลักดันให้ด่านสิงขรเป็นจุดผ่านแดนถาวร ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการไหลเวียนของสินค้าและผู้คนมากกว่าจุดผ่อนปรนชายแดนเช่นปัจจุบัน เนื่องจากการก่อสร้างที่ตามมาหลังการเกิดขึ้นของจุดผ่อนปรนพิเศษช่องด่านสิงขรอาจทำลายจุดกำหนดหลักปักปันเขตแดน เช่น สันปันน้ำ ฯลฯ หรือเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศบางส่วนไป
“JDS ก็คือทางกรมแผนที่ทหารลงไปสำรวจภูมิประเทศในพื้นที่ว่ามันมียอดเขา ห้วย ลำน้ำอย่างไร มีสิ่งก่อสร้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ วัด อะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้มีภาพพื้นที่ตรงนั้น และเป็นหลักฐานที่ freeze (คงสภาพ) พื้นที่เอาไว้ และเมื่อถึงเวลาที่พร้อมจะเจรจา เราก็อ้างหลักฐานภาพถ่ายเหล่านั้นขึ้นมาประกอบ ดังนั้น หากคุณจะก่อสร้างก็ก่อสร้างต่อไป สมมติเวลาเปิดด่านแล้วจะทำถนนอย่างดี ทำที่รองรับ ตม. ศุลกากร ซึ่งเข้าไปเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ เราก็จะทำ JDS เพื่อเก็บหลักฐานไว้” อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ อธิบายให้เห็นภาพ
แต่ในเวลาต่อมาพบว่าทางการเมียนมาไม่ยอมรับ JDS ที่เกิดขึ้น แม้ว่าแม่กองสนามของทั้งสองฝ่ายยอมรับว่า JDS ดังกล่าวเกิดขึ้นร่วมกันจริง และทางฝ่ายไทยก็ยืนยันว่าต้องใช้ JDS ประกอบการเปิดด่านถาวรสิงขร
“ณ ตอนนี้ก็มีการพูดคุยกันแล้ว มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ก็จะลองพยายามดูว่าจะรับตัว JDS อย่างที่เคยตั้งใจกันไว้หรือไม่ เพราะมันก็เป็นประโยชน์ต่อการเจรจาต่อไป จะลองดูว่ามันจะหาทางออกเพื่อจะเปิดด่านควบคู่ไปกับการรักษาเรื่องเขตแดนได้หรือเปล่า เพราะคิดว่ามันต้องสมดุลกัน” นางสุพรรณวษา กล่าว
เหตุใดงานปักปันเขตแดนจึงไม่สามารถเร่งรัดได้ ?
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กล่าวว่า งานปักปันเขตแดนที่เกี่ยวข้องกับกรมสนธิสัญญาฯ จะเป็นเรื่องการตีความสนธิสัญญาต่าง ๆ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดตั้งแต่ยุคสมัยเจ้าอาณานิคม
“เราก็เป็นประเทศที่เคารพสนธิสัญญาและพันธะกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันเราไม่ได้มีเครื่องไม้เครื่องมือ เพราะเราก็นั่งอยู่ในออฟฟิศ เมื่อลงพื้นที่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือกับกรมแผนที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความร่วมมือต่อกันดีมาก ขณะที่กรมเอเชียตะวันออกของกระทรวงการต่างประเทศก็จะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะมันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจกัน…บริบทของการเมืองและความสัมพันธ์เป็นตัวที่ช่วยเอื้อให้เกิดการคุยเรื่องเขตแดน เพราะเขตแดนมันมีความเป็นปรปักษ์อยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน มันเป็นเรื่องการปกป้องอธิปไตยที่พ่วงมาด้วยกัน ดังนั้นการที่เราจะไปคุยอะไรที่เป็นเทคนิค เป็นข้อกฎหมายที่อาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเสีย มันเต็มไปด้วยความรู้สึกที่เผชิญหน้า” เธอกล่าว
ดังนั้น เธอจึงเห็นว่างานปักปันเขตแดนจึงไม่สามารถทำด้วยความเร่งรัดได้ เนื่องจากต้องรักษาบรรยากาศการเจรจาไม่ให้เกิดสุญญากาศ และเอื้อให้เกิดการพูดคุยร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกความท้าทายหนึ่งของกระบวนการนี้
ที่มา BBC.co.uk