ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ พยายามสร้างประวัติศาสตร์เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

ที่มาของภาพ, NAZA

คำบรรยายภาพ, ยาน PSB จะทำลายสถิติเมื่อบินผ่านที่ร้อนระอุ

Article info

  • Creator, รีเบกกา โมเรลล์ และอลิสัน ฟรานซิส
  • Role, บรรณาธิการข่าววิทยาศาสตร์, นักข่าววิทยาศาสตร์อาวุโส

ยานอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (Nationwide Aeronautics and Predicament Administration – NASA) หรือนาซา กำลังพยายามสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ (Parker Advise voltaic Probe – PSP) ขององค์การนาซา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ยานสัมผัสดวงอาทิตย์” กำลังพุ่งเข้าไปในชั้นบรรยากาศภายนอกของดาวฤกษ์ของเรา เผชิญกับอุณหภูมิที่เลวร้ายและรังสีที่แผ่กระจาย

ยานไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้เป็นเวลาหลายวันในระหว่างการบินผ่านอันร้อนระอุนี้ และนักวิทยาศาสตร์จะรอสัญญาณ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 27 ธ.ค. เพื่อดูว่าตัวยานจะรอดอยู่หรือไม่

มีความหวังว่ายานดังกล่าวจะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของดวงอาทิตย์ได้ดีขึ้น

ดร. นิโคลา ฟ็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของนาซา กล่าวกับบีบีซีว่า “มนุษย์ศึกษาดวงอาทิตย์มาหลายศตวรรษแล้ว แต่เราไม่สามารถสัมผัสบรรยากาศของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งได้จนกว่าจะได้ไปเยือนสถานที่นั้นจริง ๆ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสัมผัสบรรยากาศของดวงอาทิตย์ได้อย่างแท้จริง ยกเว้นแต่ว่าเราจะบินผ่านมัน”

Skip เรื่องแนะนำ and proceed studyingเรื่องแนะนำ

Dwell of เรื่องแนะนำ

ที่มาของภาพ, NASA

คำบรรยายภาพ, ยานอวกาศจะบินเข้าไปในชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์

ยาน PSB ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี 2018 โดยมุ่งหน้าสู่ใจกลางของระบบสุริยะ

ยานนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปแล้ว 21 ครั้ง และเข้าใกล้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในวันคริสต์มาสอีฟ 24 ธ.ค. ยานนี้ได้ทำลายสถิติด้วยการเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด โดยอยู่ห่างจากพื้นผิวของดวงอาทิตย์ราว 3.8 ล้านไมล์ (6.2 ล้านกิโลเมตร)

แม้ฟังดูไม่ใกล้ขนาดนั้น แต่นิโคลา ฟ็อกซ์ อธิบายให้เห็นภาพว่า “เราอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 93 ล้านไมล์ ดังนั้น หากเราวางดวงอาทิตย์และโลกไว้ห่างกัน 1 เมตร ยาน PSB ก็จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าใกล้มาก”

ยาน PSB จะต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง 1,400 องศาเซลเซียส และรังสีที่อาจจะแผ่ออกมา ทำให้ระบบอิเล็กทรอนิกส์บนยานเสียหาย

ยานได้รับการปกป้องด้วยเกราะคาร์บอนคอมโพสิตหนา 11.5 ซม. (4.5 นิ้ว) แต่กลยุทธ์ของยานอวกาศ คือการเข้าและออกอย่างรวดเร็ว

โดยข้อเท็จจริง ยานจะเคลื่อนที่เร็วกว่าวัตถุใด ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยพุ่งด้วยความเร็ว 430,000 ไมล์ต่อชั่วโมง เทียบเท่ากับการบินจากลอนดอน สหราชอาณาจักร ไปมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ในเวลาไม่ถึง 30 วินาที

ที่มาของภาพ, PA Media

คำบรรยายภาพ, ปรากฏการณ์ที่เกิดจากลมสุริยะ

แล้วทำไมถึงต้องใช้ความพยายามทั้งหมดนี้เพื่อ “สัมผัส” ดวงอาทิตย์

นักวิทยาศาสตร์หวังว่า เมื่อยานอวกาศเคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศชั้นนอก หรือโคโรนา (Corona) ของดวงอาทิตย์ จะสามารถไขปริศนาที่สืบต่อกันมายาวนานได้

“โคโรนาร้อนมากจริง ๆ และเราไม่รู้ว่าทำไม” ดร.เจนนิเฟอร์ มิลลาร์ด นักดาราศาสตร์จากฟิฟต์ สตาร์ แลบ (Fifth Necessary particular person Labs) อธิบาย

“พื้นผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงราว 6,000 องศาเซลเซียส แต่โคโรนาซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศภายนอกที่บางและคุณสามารถมองเห็นได้ในระหว่างเกิดสุริยุปราคา มีอุณหภูมิสูงหลายล้านองศา และอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากขึ้น ดังนั้น คำถามคือแล้วชั้นบรรยากาศนั้นร้อนขึ้นได้อย่างไร”

ภารกิจนี้ยังควรช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจลมสุริยะ ซึ่งเป็นกระแสของอนุภาคมีประจุที่พุ่งออกมาจากโคโรนาอย่างต่อเนื่อง ได้ดียิ่งขึ้น

เมื่ออนุภาคเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ท้องฟ้าจะสว่างไสวด้วยแสงเหนือที่สวยงาม

แต่สิ่งที่เรียกว่าสภาพอากาศในอวกาศนี้ก็สามารถสร้างปัญหาได้เช่นกัน เพราะทำให้ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบสื่อสารหยุดทำงาน

“การทำความเข้าใจดวงอาทิตย์ กิจกรรมของดวงอาทิตย์ สภาพอากาศในอวกาศ รวมถึงลมสุริยะ มีความสำคัญมากต่อชีวิตประจำวันของเราบนโลก” ดร.มิลลาร์ดกล่าว

ที่มาของภาพ, NASA

คำบรรยายภาพ, นักวิทยาศาสตร์หวังว่ายานสำรวจนี้จะช่วยเราไขปริศนาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ได้

นักวิทยาศาสตร์ของนาซาต้องเผชิญกับการรอคอยอย่างกระวนกระวายใจในช่วงคริสต์มาส ขณะที่ยานอวกาศไม่สามารถติดต่อกับโลกได้

นิโคลา ฟ็อกซ์ กล่าวว่า ทันทีที่ส่งสัญญาณกลับบ้าน ทีมจะส่งหัวใจสีเขียวให้เธอเพื่อแจ้งให้เธอทราบว่ายานสำรวจปลอดภัยดี

เธอยอมรับว่า รู้สึกกังวลเกี่ยวกับความพยายามอันกล้าหาญนี้ แต่เธอก็มีศรัทธาในยานสำรวจ

“ฉันจะเป็นห่วงยานอวกาศ แต่เราออกแบบยานให้ทนต่อสภาพที่โหดร้ายเหล่านี้ได้จริง ๆ มันเป็นยานอวกาศลำเล็กที่แข็งแกร่งมาก”