คำพูดของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เอ่ยถึงนางแบบแอฟริกา เข้าข่ายเหยียดสีผิวหรือไม่ ?
ย้อนไปเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 68 นายทักษิณ ชินวัตร ได้ลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อช่วยหาเสียงให้กับผู้สมัครนายก อบจ.เชียงราย จากพรรคเพื่อไทย โดยในระหว่างการปราศรัย นายทักษิณได้พูดถึงนางแบบเชื้อสายแอฟริกาตอนหนึ่งว่า “หมู่คนแอฟริกาดำก็ดำ แล้วก็จมูกก็แหมบ” แต่ก็สามารถขึ้นมาเป็นนางแบบแถวหน้าของโลกได้ พร้อมเสนอว่าผู้หญิงไทยที่ไม่ต้องผ่านการศัลยกรรม ก็สามารถก้าวไปเป็นนางแบบระดับโลกได้เช่นกัน
คำพูดดังกล่าวของนายทักษิณ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมตามมา เช่น นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกมาแสดงความเห็นว่า คำพูดดังกล่าวนั้นไม่เหมาะสม และแนะนำให้นายทักษิณออกมาขอโทษ
สื่อต่างประเทศอย่าง South China Morning Put up ได้หยิบยกประโยคดังกล่าวขึ้นมาในการรายงานข่าวเกี่ยวกับนายทักษิณเช่นกัน
ด้านนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นว่าคำพูดเหล่านั้นของนายทักษิณ ไม่ถือเป็นการเหยียดเชื้อชาติ และยืนยันว่าบิดาไม่ได้มีเจตนาที่จะเหยียดสีผิว
.ขอพาไปสำรวจ ว่าคำกล่าวของอดีตนายกฯ ทักษิณ เข้าข่ายการเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว (Racism) หรือไม่ หากมองด้วยหลักการสากล
Skip เรื่องแนะนำ and proceed studyingเรื่องแนะนำ
Discontinue of เรื่องแนะนำ
“การเหยียดสีผิว” คืออะไรในความหมายสากล ?
การเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว (Racism) นั้น ไม่ใช่ประเด็นใหม่ในสังคมโลก แต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว
องค์การสหประชาชาติ (United Countries) ได้ให้คำนิยามของการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวว่าคือ การแบ่งแยก การจำกัด หรือการให้สิทธิพิเศษใด ๆ ที่มีพื้นฐานอยู่บนเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย ชาติกำเนิดหรือชาติพันธุ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือมีผลทำให้การรับรองและการใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หรือด้านอื่น ๆ ของชีวิตสาธารณะเป็นโมฆะหรือเสียหาย
รศ.ดร.จักรกริช สังขมณี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ.ว่า การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาตินั้นเกิดจากกระบวนการสร้างความแตกต่างและความพยายามที่จะจัดลำดับความสำคัญระหว่างกลุ่มคน โดยอ้างอิงลักษณะทางเชื้อชาติ สีผิว หรือลักษณะทางวัฒนธรรมบางประการ พร้อมระบุด้วยว่าในยุคปัจจุบัน ได้มีการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาใช้สร้างความชอบธรรมให้กับแนวคิดเหยียดเชื้อชาติอีกด้วย เช่น การวัดขนาดของโครงกะโหลกศีรษะเพื่อที่จะบ่งชี้ลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อให้เข้าใจว่ามีลักษณะที่เด่นกว่าชาติอื่น ๆ
ประโยคที่ทักษิณพูด ถือเป็นการเหยียดเชื้อชาติสีผิวหรือไม่ ?
“หมู่คนแอฟริกาดำก็ดำ แล้วก็จมูกก็แหมบ จมูกดั้งแหมบ แต่ปรากฏว่าเขาจ้างไปเป็นนางแบบระดับโลก เดินทีได้เป็นล้าน บ้านเราหน้าตาก็ยังดีกว่านะ เรื่องอะไรต้องไปใส่ดั้ง เสริมกราม ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น” นี่คือคำพูดของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่กล่าวในระหว่างการปราศรัยที่ จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมา
รศ.ดร.จักรกริช เห็นว่าในทางมานุษยวิทยาแล้ว คำเหล่านี้ได้แสดงออกถึงการเหยียดชนชาติอย่างชัดเจน เนื่องจากมีการแสดงออกถึงการเหมารวมลักษณะทางกายภาพ เช่น คนเชื้อสายแอฟริกันเป็นคนผิวสีดำ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ว่าคนแอฟริกาทุกคนจะมีสีผิวดังกล่าว
“มันแสดงออกถึงอคติทางเชื้อชาติทางกายภาพ ยกตัวอย่างว่ามันมีลักษณะของการเหมารวมอยู่ เช่น มันมีการใช้คำว่า ‘ดำ' การใช้คำว่า ‘จมูกแหมบ' “
อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ยังระบุด้วยว่า คำพูดของนายทักษิณมีลักษณะการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วย เช่นเรื่องลักษณะจมูกของชาวแอฟริกา ที่ถูกระบุว่ามีลักษณะทางกายภาพเฉพาะบางอย่างซึ่งไม่สมควรได้รับโอกาสในการทำอาชีพเกี่ยวกับความสวยความงาม รวมถึงยังมีการยกย่องกายภาพของคนไทยว่าเป็นลักษณะที่ดีกว่าด้วย
รวิตา ระย้านิล นักจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับ.ในประเด็นดังกล่าวว่า การระบุลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้น หากเป็นประโยคบอกเล่าก็ไม่ได้มีปัญหา แต่เมื่อมีการใช้คำพูดแบ่งแยกเข้ามา เช่น ชอบหรือไม่ชอบ ถูกเลือกหรือไม่ถูกเลือก ก็อาจจะทำให้เข้าข่ายการเลือกปฏิบัติได้
“เมื่อเราระบุสีผิวมนุษย์ มันถูกโยงกับบริบทบางอย่าง เช่นคนผิวดำอาจเคยผ่านการถูกเลือกปฏิบัติ ผ่านการถูกทำร้าย เพราะฉะนั้นการใช้สีผิวในการพูดถึงคนในลักษณะที่มีการแบ่งแยก สามารถสื่อได้ว่าเป็นลักษณะของการเหยียด” เธอระบุ
อย่างไรก็ดี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ระบุกับผู้สื่อข่าวเมื่อถูกถามเกี่ยวกับคำพูดของนายทักษิณว่าเป็นการเหยียดผิวหรือไม่ โดยระบุว่า หากได้ฟังคำพูดเต็ม ๆ จะเห็นว่าบิดาของตนไม่ได้มีเจตนาที่จะเหยียดผิวแน่นอน และที่นายทักษิณพูดประเด็นดังกล่าว ก็มีเจตนาที่จะพูดถึงเรื่องโอกาสของหญิงไทยที่จะไปประกอบอาชีพนางแบบมากกว่า
รศ.ดร.จักรกริช ให้ความเห็นว่า แม้ว่าเราจะไม่สามารถทราบเจตนาที่แท้จริงของผู้พูดได้ รวมถึงคำพูดดังกล่าวก็อาจเกิดจากความไม่รู้ (lack of consciousness) แต่ “แน่นอนว่าความคิดเหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงลักษณะของการเหยียดเชื้อชาติ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็แล้วแต่”
“เมื่อคำเหล่านี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือสื่อต่างชาตินำไปไปโคว้ทเป็นภาษาอังกฤษ มันเป็นคำที่รุนแรงและค่อนข้างที่จะน่าละอายเมื่อออกมาจากปากของอดีตผู้นำ” นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริม
ทัศนะเรื่องการเหยียดเชื้อชาติสีผิวในสังคมไทย
บทความ “ไทยแลนด์” แดนเหยียดผิวจริงหรือ?” โดย รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายเกี่ยวกับความเมินเฉยของสังคมไทยต่อเรื่องการเหยียดสีผิวไว้ว่า สังคมไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสีผิวอย่างจริงจัง และแม้รัฐธรรมนูญจะระบุว่าห้ามมีการแบ่งแยกบนพื้นฐานของสีผิว “แต่ไม่เคยมีหน่วยงานรัฐ นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นสังคม หรือเป็นประเด็นระดับชาติที่ต้องเอามาแก้ไข ไม่มีบทลงโทษ”
บทความดังกล่าวยังระบุด้วยว่า สังคมไทยมีแนวโน้มที่จะให้คุณค่าผิวขาวเป็นพื้นฐาน เนื่องจากในอดีตชนชั้นปกครองมักมีผิวพรรณที่ไม่ดำคล้ำ ส่วนในวรรณกรรมไทยหลายเรื่องก็มีการสร้างภาพว่าคนชั่วและคนที่มีลักษณะด้อยกว่ามักมีผิวดำ
รศ.ดร.จักรกริช แสดงทัศนะว่า การเหยียดสีผิวและเชื้อชาตินั้นถูกฝังรากลึกไว้ในสังคมไทย โดยชี้ให้เห็นว่า เนื่องจากสังคมไทยมีความคุ้นชินกับวัฒนธรรมการมีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเป็นลำดับชั้น คุ้นชินกับการอยู่ที่สูงหรือการถูกกดทับ จึงไม่ได้มีความรู้สึกว่าคำพูดเหล่านี้เป็นการดูถูก
“เราคุ้นชินกับการถูกกดทับ หรือลดทอนคุณค่าลง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ได้รู้สึกว่าคำพูดเหล่านี้หรือการดูถูกกันเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ” รศ.ดร.จักรกริช ระบุ
ที่มา BBC.co.uk