25 ปีในอำนาจของปูติน เขาดูแลรัสเซียตามคำขอผู้นำคนก่อนหรือไม่ ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos

บอริส เยลต์ซิน (ซ้าย) ประกาศไว้ว่า เขาจะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียทันทีและถ่ายโอนอำนาจใหักับ วลาดิเมียร์ ปูติน ในวันที่ 31 ธ.ค. 1999

Article files

  • Author, สตีฟ โรเซนเบิร์ก
  • Aim, บรรณาธิการ บีบีซีแผนกภาษารัสเซีย
  • Reporting from กรุงมอสโก

ผมจะไม่มีวันลืมวันส่งท้ายปีเก่าของปี 1999

ในขณะนั้นผมทำงานในตำแหน่งโปรดิวเซอร์ในสำนักงานประจำกรุงมอสโกของบีบีซี ทันใดนั้น ก็มีข่าวด่วนว่า “ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ของรัสเซียได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว”

การตัดสินใจครั้งนั้นของเยลต์ซินสร้างความประหลาดใจให้กับทุก ๆ คน รวมถึงผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษในกรุงมอสโกด้วย ตอนที่มีข่าวด่วนข่าวนั้น ไม่มีผู้สื่อข่าวสักคนอยู่ในสำนักงานบีบีซีแห่งนี้เลย นั่นจึงทำให้ผมต้องลุกขึ้นมาเขียนข่าวและรายงานข่าวออกอากาศทางบีบีซีครั้งแรกของผม

“บอริส เยลต์ซิน พูดอยู่เสมอว่า เขาจะอยู่จนครบวาระในตำแหน่งประธานาธิบดี” นี่คือสิ่งที่ผมได้เขียนไปและตามมาด้วยประโยคที่ว่า “ในวันนี้ เขาได้บอกกับชาวรัสเซียว่า เขาได้เปลี่ยนใจแล้ว”

นี่ถือเป็นการเริ่มต้นอาชีพในฐานะผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง และเริ่มต้นไปพร้อมกับการก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำรัสเซียของวลาดิเมียร์ ปูติน

and proceed studyingเรื่องแนะนำ

Finish of เรื่องแนะนำ

หลังจากการลาออกของเยลต์ซิน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญของรัสเซีย นายกรัฐมนตรีปูตินโดยตำแหน่งต้องรับหน้าที่เป็นประธานาธิบดีรักษาการ และในอีกสามเดือนต่อมา เขาก็ชนะการเลือกตั้ง

เมื่อออกจากที่ทำการรัฐบาลรัสเซีย หรือทำเนียบเครมลิน คำสั่งสุดท้ายก่อนลาของเยลต์ซินถึงปูตินคือ “ขอจงดูแลรัสเซีย!”

ที่มาของภาพ : Getty Photos

ประธานาธิบดีปูติน (ขวา) แสดงตนเป็นผู้ปกป้องอธิปไตยของรัสเซีย ซึ่งเขากล่าวว่าอดีตประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ล้มเหลวที่จะทำ

ผมนึกถึงคำพูดของเยลต์ซินเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนใกล้จะครบ 3 ปีเข้ามาทุกที นั่นก็เป็นเพราะการรุกรานเต็มรูปแบบของประธานาธิบดีปูตินได้สร้างผลกระทบอันเลวร้าย

ยูเครนประสบกับการทำลายล้างและการสูญเสียชีวิตจำนวนมากในเมืองต่าง ๆ ของประเทศ พื้นที่เกือบ 20% ถูกยึดครองไป และประชาชน 10 ล้านคนต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น

ทว่าสำหรับรัสเซีย ก็ไม่ต่างกัน

  • นับตั้งแต่การตัดสินใจเปิดฉากการโจมตีที่ประธานาธิบดีปูตินเรียกว่า “ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ” รัสเซียได้รับความเสียหายอย่างหนักในสนามรบ
  • เมืองต่าง ๆ ของรัสเซียยังคงถูกโดรนโจมตีอย่างสม่ำเสมอ
  • ทหารยูเครนสามารถเข้ายึดพื้นที่ส่วนหนึ่งของภูมิภาคเคิร์สก์ของรัสเซียได้
  • มาตรการคว่ำบาตรนานาชาติกำลังสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจของรัสเซีย
  • ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์ด้านประชากรของประเทศยังเลวร้ายอีกด้วย
  • การปราบปรามภายในประเทศก็เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น

ผมทำหน้าที่รายงานข่าวเกี่ยวกับปูตินมาแล้วนับตั้งแต่เขาขึ้นสู่อำนาจเมื่อ 25 ปีก่อน

ในวันที่ 31 ธ.ค. 1999 ใครจะคิดว่าผู้นำคนใหม่ของรัสเซีย ในขณะนั้น จะยังคงอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานในอีกสองทศวรรษครึ่งถัดมา หรือใครจะคิดว่ารัสเซียในวันนี้จะหันมาทำสงครามกับยูเครนและเผชิญหน้ากับตะวันตก

ที่มาของภาพ : Reuters

รัสเซียได้รับความเสียหายอย่างหนักในสนามรบ นับตั้งแต่ประธานาธิบดีปูติน เปิดฉากการโจมตีที่เขาเรียกว่า “ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ” ในยูเครนในปี 2022

ผมมักสงสัยว่า หากเยลต์ซินเลือกคนอื่นมาสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา แนวทางของประวัติศาสตร์จะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงหรือไม่ แน่นอนว่าคำถามนี้เป็นเรื่องทางวิชาการ ขณะที่ประวัติศาสตร์ก็เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัด และความเป็นไปได้ต่าง ๆ

สิ่งหนึ่งที่ผมสามารถพูดได้ว่า เป็นความแน่นอน นั่นคือ ตลอด 25 ปีนี้ ผมได้เห็นปูตินในรูปแบบต่าง ๆ และผมก็คงไม่ใช่แค่เพียงคนเดียวที่เห็นเช่นนั้น

ลอร์ด โรเบิร์ตสัน อดีตเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโตเคยบอกกับผมเมื่อปี 2023 ว่า “ปูตินที่ผมได้พบเคยทำงานดี และเคยจัดตั้งสภานาโต-รัสเซียด้วยกันมา แตกต่างอย่างมากจากคนบ้าอำนาจคนนี้ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน”

“ชายผู้ยืนข้าง ๆ ผมในเดือน พ.ค. 2002 ด้านขวาของผม และบอกว่า ยูเครนคือรัฐชาติที่มีอำนาจอธิปไตยและเป็นอิสระ ซึ่งจะตัดสินใจเรื่องความมั่นคงเอง ตอนนี้กลับกลายเป็นคนที่พูดว่า ยูเครน ไม่ใช่รัฐชาติ” ลอร์ด โรเบิร์ตสัน กล่าว

“ผมคิดว่าวลาดิเมียร์ ปูติน เป็นคนที่อ่อนไหวง่ายมากและมีความทะเยอทะยานอย่างยิ่งใหญ่สำหรับประเทศของเขา สหภาพโซเวียตเคยได้รับการยอมรับในฐานะมหาอำนาจอันดับที่สองในโลก ขณะที่รัสเซียไม่สามารถอ้างสิทธิ์ใด ๆ ในทิศทางนั้นได้ และผมเลยคิดว่า นี่ได้กัดกร่อนอีโก้หรืออัตตาของเขาไป” เขาเล่า

นี่คือหนึ่งคำอธิบายที่เป็นไปได้ในความเปลี่ยนแปลงที่เราสังเกตเห็นในตัวปูติน นั่นคือ ความทะเยอทะยานอันร้อนแรงของเขาที่จะ “สร้างให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง” (และเพื่อชดเชยสิ่งที่หลายคนมองว่าเป็นความพ่ายแพ้ของรัสเซียในสงครามเย็น) จึงทำให้รัสเซียต้องเผชิญกับการปะทะกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการปะทะกับโลกตะวันตกด้วย

ขณะที่ทำเนียบเคลมลินเองก็มีคำอธิบายอย่างหนึ่งที่แตกต่างออกไป

จากคำพูดหลายครั้งที่ปูตินได้กล่าว การแสดงความคิดเห็นที่ได้สะท้อนออกมา ดูเหมือนว่าปูตินจะได้รับแรงขับเคลื่อนจากความเคียดแค้นและความรู้สึกที่แผ่ซ่านไปทั่วว่า รัสเซียถูกโกหกและไม่ให้ความเคารพมานานหลายปี รวมทั้งความกังวลด้านความปลอดภัยที่ถูกตะวันตกเมินเฉย

แล้วปูตินเองเชื่อหรือไม่ว่า เขาได้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของเยลต์ซินที่ฝากให้เขา “ดูแลรัสเซีย”

ไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสได้ค้นหาคำตอบนั้น

หลังจากผ่านไปกว่าสี่ชั่วโมงในการแถลงข่าวส่งท้ายปีอันยาวนานของเขา ปูตินได้เชิญผมไปสัมภาษณ์

“บอริส เยลต์ซิน บอกคุณว่า ให้คุณดูแลรัสเซีย” ผมกล่าวนำพร้อมกับเตือนความทรงจำของประธานาธิบดี ก่อนที่จะยิvคำถามว่า “แล้วความสูญเสียครั้งใหญ่ใน ‘ปฏิบัติการทางทหารพิเศษ' ของคุณล่ะ กองกำลังยูเครน ที่ยึดครอง ในภูมิภาคเคิร์สก์ การคว่ำบาตร อัตราเงินเฟ้อสูง คุณคิดว่าคุณได้ดูแลประเทศของคุณดีแล้วหรือยัง”

“ดีแล้ว” ประธานาธิบดีปูตินตอบกลับ และกล่าวต่ออีกว่า “และผมไม่ได้แค่ดูแลเท่านั้น เรายังได้ถอยกลับออกมาจากขอบเหวอีกด้วย”

ปูตินยังได้ฉายภาพรัสเซียของเยลต์ซินว่า เป็นประเทศที่กำลังจะสูญเสียอธิปไตย เขากล่าวหาชาติตะวันตกว่า ได้ตบไหล่เยลต์ซินอย่างดูถูกดูแคลน ขณะเดียวกันก็ “ใช้รัสเซียเพื่อจุดประสงค์ของตนเอง” แต่สำหรับปูติน เขาบอกว่า เขา “กำลังทำทุกอย่าง เพื่อให้แน่ใจว่ารัสเซียเป็นรัฐอธิปไตยอิสระ”

สำหรับการแสดงตน ของปูติน ในฐานะผู้ปกป้องอธิปไตยของรัสเซีย นี่ถือเป็นมุมมองที่เขาคิดขึ้นมาแบบย้อนอดีตเพื่อพยายามหาเหตุผลสนับสนุนสงครามในยูเครนหรือไม่ หรือว่าปูตินเชื่อมุมมองนี้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัสเซียสมัยใหม่จริง ๆ

ผมยังไม่แน่ใจ ยังไม่แน่ใจในตอนนี้ แต่ผมรู้สึกว่านี่เป็นคำถามหนึ่งที่สำคัญ

คำตอบนี้อาจมีอิทธิพลต่อการสิ้นสุดของสงครามครั้งนี้ และทิศทางในอนาคตของรัสเซียก็เป็นได้