เหตุใด “ฮูร์เร็ม สุลต่าน” หญิงผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์จักรวรรดิออตโตมัน ยังคงถูกกล่าวขวัญถึงปัจจุบัน ?

ที่มาของภาพ : Michael Bowles/Getty Photography

เชื่อกันว่าจิตรกรรมนี้ของ ฮูร์เร็ม สุลต่าน มีอายุย้อนไปถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 16 หรือต้นศตวรรษที่ 17 และเคยถูกจัดแสดงที่ห้องประมูลของซัทเทบีส์ (Sotheby's) บริษัทจัดการประมูลผลงานศิลปะ ในกรุงลอนดอนเมื่อปี 2021

Article Files

    • Author, ฮิลเคน โดกัก โบแรน
    • Perform, บีบีซี แผนกภาษาตุรกี

สตรีที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในจักรวรรดิออตโตมัน ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของผู้ปกครองที่ทรงอำนาจที่สุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ สุไลมานผู้เกรียงไกร (Suleiman the Horny) สตรีลึกลับผู้มอบมรดกตกทอดไว้ให้จารึก ตีความใหม่ และนำมาปรับปรุงใหม่ อย่าง “ฮูร์เร็ม สุลต่าน” ยังสร้างความหลงใหลให้คนรักประวัติศาสตร์มานานกว่าสี่ศตวรรษ แม้หลังจากที่พระนางสิ้นพระชนม์ไปแล้วในปี 1558

ฮูร์เร็ม สุลต่าน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม โรเซลานา ไม่ได้เป็นเพียงแค่พระสนมหรือพระชายาเท่านั้น พระองค์ได้ทรงผ่านเส้นทางชีวิตอันแสนพิเศษ ตั้งแต่จากการเป็นทาสสู่จุดสูงสุดของอิทธิพลจักรวรรดิออตโตมัน และยังทรงเป็นบุคคลผู้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองของราชสำนักออตโตมันในศตวรรษที่ 16 ด้วย

จักรวรรดิออตโตมันปกครองยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดย ถือเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดและดำรงอยู่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์

นักประวัติศาสตร์หลายคนกล่าวว่า “ยุคสุลต่านแห่งสตรี” (sultanate of girls) หรือช่วงเวลาที่สตรีในราชวงศ์มีอิทธิพลต่อการปกครองของจักรวรรดิออตโตมันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการขึ้นสู่อำนาจของฮูร์เร็ม

ช่วงเวลาที่พระองค์ทรงอยู่ในฮาเร็มของจักรวรรดิออตโตมัน ห้องส่วนพระองค์ในพระราชวังของสุลต่าน ซึ่งเป็นที่พำนักของพระมเหสี นางสนม สมาชิกที่เป็นสตรีคนอื่น ๆ ในราชวงศ์ และคนรับใช้หญิงของสุลต่าน และอีกมากมาย ถูกบันทึกไว้เป็นอย่างดี

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue learningได้รับความนิยมสูงสุด

Stop of ได้รับความนิยมสูงสุด

ถึงกระนั้น หลายศตวรรษผ่านไป ปริศนาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของพระองค์ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง พระนางเคยเป็นเชลยจากดินแดนที่ในยุคปัจจุบันคือ ยูเครน หรือไม่ หรือเป็นบุตรสาวของบาทหลวงนิกายออร์โธดอกซ์ หรืออาจเป็นอย่างที่ทฤษฎีที่ไม่น่าเชื่อว่า พระนางคือสตรีสูงศักดิ์ชาวอิตาลีที่ถูกโจรสลัดลักพาตัวไป ?

จากทาสสู่ราชสำนัก

นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮูร์เร็ม สุลต่าน เกิดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในรูธีเนีย (Ruthenia) ซึ่งเป็นภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของยูเครน โปแลนด์ และเบลารุสในปัจจุบัน

แต่ไม่มีบันทึกที่แน่ชัดเกี่ยวกับชื่อโดยกำเนิดของฮูร์เร็ม แม้แหล่งข้อมูลบางแห่งในยูเครนจะอ้างถึงเธอว่า อเล็กซานดรา ลิซอฟสกา หรือ อนาสตาเซีย แต่แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เชื่อว่าเธอเป็นที่รู้จักในชื่อต่าง ๆ เช่น ลา รอสซา (ที่แปลว่าสีแดง) โรซานนา (ที่แปลว่า สีชมพูสง่างาม) ร็อกโซแลน (หญิงชาวรูธีเนีย) ร็อกซานา หรือ ร็อกเซลานา ในยุโรปตะวันตก

อย่างไรก็ตาม เอกสารทางการของจักรวรรดิออตโตมันเรียกเธอว่า ฮาเซกิ ฮูร์เร็ม สุลต่าน คำว่า “ฮูร์เร็ม” ในภาษาเปอร์เซียแปลว่า ผู้เปี่ยมสุข และ “ฮาเซกิ” เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ที่สงวนไว้สำหรับพระมารดาแห่งบุตรขององค์สุลต่าน

ที่มาของภาพ : Tims Productions

ฮูร์เร็ม สุลต่าน กลายเป็นชื่อที่คุ้นเคยในประเทศตุรกี หลังจากละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์อันโด่งดัง ที่เล่าถึงเรื่องราวของสุไลมานผู้เกรียงไกรออกอากาศ โดยละครเรื่องนี้มีชื่อว่า “Horny Century” (แปลเป็นไทยว่า ศตวรรษที่ยอดเยี่ยม) ที่สำคัญยังได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก

บางแหล่งข้อมูลอ้างว่า ฮูร์เร็มเป็นบุตรสาวของนักบวชออร์โธดอกซ์ ขณะที่บางแหล่งระบุว่า เธอเกิดในครอบครัวชาวนา แต่ก็มีบันทึกระบุด้วยว่า เธอถูกกลุ่มโจรชาวตาตาร์ไครเมียจับตัวไปในเมืองโรฮาติน ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโปแลนด์ และปัจจุบันอยู่ในยูเครนตะวันตก ศาสตราจารย์เฟริดุน เอเมเซน จากตุรกีกล่าว

หลังจากนั้น เธอถูกขายเป็นทาส ถูกนำตัวไปยังจักรวรรดิออตโตมันในช่วงวัยรุ่นตอนต้น และถูกมอบให้เป็นของขวัญแก่พระราชมารดาของเจ้าชายสุไลมาน ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนามสุไลมานผู้เกรียงไกร เซย์เนป ทาริม ศาสตราจารย์ชาวตุรกีอีกท่านหนึ่งกล่าว

ที่มาของภาพ : Tims Productions

ฮูร์เร็ม สุลต่าน รับบทโดยนักแสดงสาว เมอเยม อูเซอร์ลี ในซีรีส์ทีวียอดนิยมเรื่อง “Horny Century”

นักประวัติศาสตร์ระบุว่า พระนางฮูร์เร็มอาจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของฮาเร็มในปี 1520 โดยอิงจากข้อเท็จจริงที่ว่าเจ้าชายเมห์เหม็ด พระโอรสพระองค์แรกประสูติในปีถัดมา

โดยสุไลมานทรงแหกธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาหลายศตวรรษ เมื่อได้อภิเษกสมรสกับพระนาง การกระทำดังกล่าวได้สร้างความตกตะลึงให้กับราชสำนักและยกระดับสถานะของฮูร์เร็มให้สูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ก่อนหน้านี้ไม่มีสุลต่านออตโตมันองค์ใดเคยอภิเษกสมรสกับพระสนมมาก่อน

ปมรากเหง้าจากอิตาลี

แม้จะมีความเห็นพ้องกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับรากเหง้าการเป็นชาวรูธีเนียนของฮูร์เร็ม แต่ทฤษฎีทางเลือกเกี่ยวกับภูมิหลังของเธอก็ยังเป็นที่ถกเถียง

ข้อกล่าวอ้างที่เป็นที่ถกเถียงอย่างมากที่สุดข้อหนึ่งมาจากนักวิจัย ดร. รินัลโด มาร์มารา ซึ่งกล่าวว่าเขาค้นพบต้นฉบับในหอจดหมายเหตุของนครวาติกัน ซึ่งบ่งชี้ว่า ฮูร์เร็มเรมเป็นสตรีชั้นสูงชาวอิตาลีชื่อ มาร์เกอริตา จากตระกูลมาร์ซิกลีในเมืองเซียนา

ที่มาของภาพ : Rinaldo Marmara

ต้นฉบับนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับรากเหง้าความเป็นชาวรูธีเนียนของ ฮูร์เร็ม สุลต่าน โดยมันบ่งชี้ถึงสายเลืoดขุนนางที่ถูกปิดบังไว้

ตามเอกสารข้างต้น เธอและพี่ชายถูกโจรสลัดจับตัวไปขายเป็นทาสในราชสำนักออตโตมัน ดร. มาร์มารา กล่าว พร้อมเสริมว่า ต้นฉบับเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 4 ลูกหลานของฮูร์เร็ม กับสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอัตลักษณ์ความเป็นชาวรูธีเนียนของเธอ และบ่งชี้ถึงสายเลืoดขุนนางที่ถูกปกปิดไว้

อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ยังคงตั้งข้อสงสัย โดย ศาสตราจารย์ทาริมเตือนว่า ความถูกต้องของคำกล่าวอ้างนี้ยังต้องการข้อพิสูจน์มาสนับสนุนอีกอย่างมาก

เธอชี้ให้เห็นถึงการไม่มีการกล่าวถึงใด ๆ เรื่องนี้ในบันทึกของเอกอัครราชทูตชาวเวนิสที่มีรายละเอียดอย่างมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องซุบซิบในราชสำนักและกิจการทางการทูตในยุคสมัยนั้น

“หากมีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นจริง บันทึกนี้ คงจะบอกเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราคงรู้เรื่องนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว” เธอกล่าว

ศาสตราจารย์เอเมเซน สะท้อนความคลางแคลงใจนี้ โดยยอมรับว่าแม้ว่า ฮูร์เร็มมีการติดต่อกับสมาชิกราชวงศ์โปแลนด์ แต่นี่ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการทูตอย่างเป็นทางการ มากกว่าจะเป็นหลักฐานที่แสดงถึงต้นกำเนิดอันสูงส่ง

‘แม่มดรัสเซีย'

ความสับสนนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากวิธีการอ้างอิงถึงฮูร์เร็ม สุลต่านในแหล่งข้อมูลอื่น ๆ

เอกสารและบทกวีในยุคออตโตมันบางครั้งเรียกเธอว่า “แม่มดรัสเซีย” ซึ่งเป็นชื่อเล่นดูถูกเหยียดหยามที่นักวิจารณ์มักใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประหารชีวิตเจ้าชายมุสตาฟา พระโอรสองค์โตของสุไลมาน ซึ่งประสูติจากพระมเหสีอีกพระองค์และยังทรงเป็นองค์รัชทายาทลำดับแรกของราชบัลลังก์ออตโตมันด้วย

โดยเป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ฮูร์เร็มเป็นผู้บงการการล่มสลายของเขา และเปิดทางให้พระโอรสของพระนางได้ขึ้นครองราชย์แทน

ที่มาของภาพ : Photos From History/Universal Photography Group

นักเดินทางชาวตะวันตกและนักการทูตชาวเวนิสในสมัยนั้นกล่าวถึงฮูร์เร็ม สุลต่าน ว่าเป็นชาวรัสเซีย แต่นักวิชาการโต้แย้งว่า นั่นเป็นการสะท้อนถึงแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของเธอมากกว่าเชื้อชาติของเธอ

ศาสตราจารย์เอเมเซน อธิบายว่าคำว่า “รุส” ในบริบทของจักรวรรดิออตโตมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ชาวรัสเซียเชื้อสายรัสเซียเท่านั้น แต่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เรียกใครก็ตามที่มาจากทางเหนือ ซึ่งรวมถึงชาวยูเครนและชาวเบลารุสในปัจจุบัน

นักเดินทางชาวตะวันตกและนักการทูตชาวเวนิสในสมัยนั้นยังกล่าวถึงฮูร์เร็ม ว่าเธอเป็นชาวรัสเซีย แต่นักวิชาการโต้แย้งว่า นั่นเป็นการสะท้อนถึงแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์มากกว่าเชื้อชาติของเธอ

“ในเวลานั้น ยังไม่มีรัสเซียที่อยู่ภายในบริบทพรมแดนอย่างปัจจุบัน จากจดหมายโต้ตอบในช่วงเวลานั้น ความหมายของคำว่ารัสเซียคือ ‘จากภูมิศาสตร์ของรัสเซีย'” ศาสตราจารย์เอเมเซนกล่าว

“ในศตวรรษที่ 16 ดินแดนที่มีประชากรชาวยูเครนในโปแลนด์ถูกเรียกว่าจังหวัด ‘รุสเก' และโรฮาตินก็เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนนั้น” วิทาลี เชอร์โวเนนโก จากบีบีซี แผนกภาษายูเครนกล่าวเสริม

“ชาวยูเครนในสมัยนั้นถูกเรียกว่า ‘รุสซิน' แต่คำนี้ไม่เกี่ยวข้องกับรัสเซียเลย” เขากล่าว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อัตลักษณ์ของฮูร์เร็ม สุลต่าน กลับมีกลายมามีความสำคัญทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยูเครน ซึ่งเธอได้รับการยกย่องในฐานะบุคคลสำคัญระดับชาติ

รูปปั้นที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอตั้งอยู่ในบ้านเกิดของเธอที่เมืองโรฮาติน และมัสยิดในเมืองมาริอูโปล ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ก็มีชื่อของเธออยู่เคียงข้างกับชื่อสุไลมาน

ในปี 2019 ตามคำร้องขอของสถานทูตยูเครนประจำกรุงอังการา ของตุรกี ได้มีการลบข้อความ “ต้นกำเนิดรัสเซีย” ของเธอออกจากจารึกบนหลุมศwของเธอในมัสยิดสุไลมานิเยในนครอิสตันบูล

จารึกที่ได้รับการปรับปรุงใหม่นี้เน้นย้ำถึงมรดกทางวัฒนธรรมยูเครนของเธอ ซึ่งย้ำถึงการสืบทอดมรดกชื่อเสียงของเธอในบริบทของภูมิรัฐศาสตร์สมัยใหม่

งานด้านการกุศล

อิทธิพลของฮูร์เร็ม แผ่ขยายออกไปไกลเกินกว่ากำแพงฮาเร็ม และมันก็ยั่งยืนกว่า และนั่นคืองานด้านการกุศลของเธอ

เธอได้มอบหมายให้สร้างมัสยิด โรงทาน และมูลนิธิการกุศลในเมืองอิสตันบูลและกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน โดยชื่อเขตฮาเซกิในนครอิสตันบูลยังคงมีชื่อของเธอมาจนถึงทุกวันนี้

พระศwของฮูร์เร็ม สุลต่าน ถูกฝังไว้ในมัสยิดสุไลมานิเย และต่อมาจึงมีการสร้างสุสานขึ้น ณ จุดที่หลุมฝังพระศwของพระองค์ตั้งอยู่ ตามคำสั่งของสุลต่านสุไลมานิเย เอง

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ฮูร์เร็ม สุลต่าน สิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุทางธรรมชาติในนครอิสตันบูลเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 1558 พระศwของพระนางถูกฝังไว้ในมัสยิดสุไลมานิเย ต่อมา ด้วยพระบัญชาของสุลต่านสุไลมานิเย พระองค์จึงทรงสร้างสุสานขึ้น ณ ที่หลุมฝังพระศwแห่งนั้น

การสิ้นพระชนม์ของพระนางถือเป็นจุดสิ้นสุดของชีวิตอันแสนพิเศษ แต่มิได้เป็นจุดสิ้นสุดของคำถามต่าง ๆ รอบตัวพระนาง

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการเป็นทาสชาวรูธีเนียน มาจากครอบครัวขุนนางชั้นสูงชาวอิตาลี หรือสตรีผู้ทรงอำนาจที่ถูกเข้าใจผิด

ฮูร์เร็ม สุลต่าน ยังคงเป็นหนึ่งในบุคคลที่น่าหลงใหลและประวัติของพระนางก็เป็นที่ถกเถียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ออตโตมันและประวัติศาสตร์โลก