ตามรายงานใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Royal Society Birth Science เผยให้เห้นว่าปักษาสวรรค์ตัวผู้มีการใช้ ‘ไบโอฟลูออเรสเซนต์’ ในการเกี้ยวพาราสี ขณะเดียวกันตัวเมียก็มีบางจุดที่สามารถเรืองแสงได้เช่นกัน ซึ่งทำให้การสื่อสารของนกภายในเหล่ามีความซับซ้อนกว่าที่ใครคาดไว้
.
นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่า นกปักษาสวรรค์เพศเมียนั้นมองเห็นสีที่มากกว่ามนุษย์ เนื่องจากพวกมันมีเซลล์รูปกรวยที่ไว้รับแสงมากถึง 5 ประเภท ดังนั้นมันจึงมองเห็นไปได้ไกลกว่าสเปกตรัมที่เราเห็นอย่างเช่นภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต หรือ UV
.
การวิจัยก่อนหน้านี้เผยให้เห็นว่านกบางชนิดที่มีตัวกรอง UV ก็มีความสามารถในการตรวจจับไบโอฟลูออเรสเซนซ์ได้ และในนกเช่นเพนกวิน นกแก้ว หรือนกพัฟฟินเองก็มีการเรืองแสง นักวิทยาศาสตร์จึงสงสัยว่านกกลุ่มปักษาสรรค์จะมีเหมือนกันหรือไม่
.
แทนที่จะใช้นกที่มีชีวิต ทีมวิจัยได้ใช้ตัวอย่างนกที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แทน ทำให้พวกเขาสามารถสำรวจนกปักษาสวรรค์โดยไม่ต้องเดินทางไปไกล และไม่ต้องรบกวนนกเหล่านั้น จากการตรวจสอบทั้งหมด forty five ชนิด มี 37 ชนิด ที่มีขนเรืองแสง
.
สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ ปักษาสวรรค์ตัวผู้ 21 ชนิดมีการเรืองแสงด้านนอกร่างกายเช่น ท้อง หน้าอก หัว และคอ ในขณะที่อีก 16 สายพันธุ์กลับมีการเรืองแสงที่ปากและลำคอ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การเรืองแสงคือ หนึ่งในการส่งสัญญาณเพื่อการสืบพันธุ์ของนกวงศ์นี้
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/natural world/77252/fowl-biofluorescence-feathers/
.
#NationalGeographicThailand #นกปักษาสวรรค์ #นก
RSS)
ที่มา : Nationwide Geographic Thailand's