หากเราลองย้อนกลับไปในอดีตสัก 120 ล้านปีก่อน สิ่งที่เราจะสังเกตเห็นได้ทันทันทีเลยนั่นก็คือ บรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสีขนไม่สวยงามเอาเสียเลยเมื่อเทียบกับไดโนเสาร์
.
ตามรายางานใหม่ที่เผยแพร่ไว้บนวารสาร Science ระบุว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคนั้นทุกตัวมีขนสีเข้ม เพื่อเอาไว้พรางตัวจากนักล่าในเวลากลางคืน
.
ทีมวิจัยเริ่มต้นด้วยสมมติฐานที่ว่าสีขนนั้นสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ ถ้างั้นมันก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม หรือก็คือวิถีชีวิตอาจสามารถชี้ถึงสีที่พวกมันอาจมีอยู่ได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในขณะนั้นยังมีขนาดเล็กมาก และอาศัยอยู่ในภายใต้เงาของไดโนเสาร์
.
ด้วยการใช้สเปกโตรโฟโตเมตรีเพื่อวัดปริมาณของสี จากนั้นจึงใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเพื่อตรวจสอบเมลานิน (ถุงผลิตและเก็บเมลานินภายในเซลล์เมลาโนไซต์) ของสัตว์แต่ละชนิดอย่างใกล้ชิด ซึ่งพบความสัมพันธ์ระหว่าสีขน รูปร่าง และขนาดของเมลานิน ท้ายที่สุดก็ใช้แนวโน้มเหล่านั้นเพื่อสร้างแบบจำลองเชิงทำนาย
.
ฟอสซิลเหล่านั้นเป็นซากของสัตว์ที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ขุดโพรงคล้ายตุ่นปัจจุบัน สัตว์ปีนต้นไม้ และสัตว์บกที่คล้ายกระรอกบิน ทีมวิจัยพบว่าเมลาโนโซมที่กลายเป็นฟอสซิลของแต่ละซากนั้นมีความคล้ายคลึงกันมา มันมีรูปร่างเป็นวงรี และมีขนาดกลาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วชี้ให้เห็นว่าพวกมันมีความหลากหลายด้านสีน้อยกว่าปัจจุบันมาก
.
เมื่อทีมวิจัยนำข้อมูลทั้งหมดที่สังเกตได้เข้าสู่แบบจำลองที่ทำไว้ตอนแรกก็พบว่าเมลาโนโซมเหล่านั้นสอดคล้องกับสีเฉดเทา หรือกล่าวได้อีกอย่างคือ พวกมันทั้งหมดในฟอสซิลที่ตรวจสอบต่างมีสีเดียวกันคือ สีเทา
.
ทีมวิจัยเสริมว่า ข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นเบาะแสว่าเหตุใดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจึงมีสีขนที่หลากหลายมากขึ้นหลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นสัตว์ลักล่าหลักของพวกมันหายไป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็ค่อยก้าวขึ้นมาใช้ชีวิตทั้งในกลางวัน กลางคืน และพื้นที่ส่วนใหญ่ และก็กลายเป็นบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสีสันหลากหลายแบบที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/wildlife/77342/early-mammals-coloration/
.
#NationalGeographicThailand
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's