เมื่อไทยยังไม่สามารถค้าวัวกับจีนได้โดยตรง เพราะยังไม่สามารถควบคุมโรคสัตว์ข้ามพรมแดนได้สมบูรณ์แบบ ผู้ประกอบการค้าวัวไทยจึงต้องดิ้นรนค้าวัวกับลาวและเวียดนาม โดยหวังใช้เป็นทางผ่านไปสู่ตลาดค้าวัวของจีน ในสถานการณ์นี้ ไทยจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้การค้าวัวยั่งยืนและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยหนึ่งในความพยายามนั้นก็คือการทำงานเครือข่ายนักวิจัย ชุมชน และรัฐบาลระดับท้องถิ่น เพื่อจัดการโรคสัตว์ในระดับพื้นที่ผ่านแอป “ผ่อดีดี” ซึ่งนำมาทดลองใช้กับ อปท. 400 แห่ง ครอบคลุมเกษตรกรเกือบ 20,000 ราย สามารถตรวจจับโรคปากและเท้าเปื่อยในวัว และหยุดยั้งก่อนโรคจะระบาดเป็นวงกว้างได้ 5 ครั้งแล้ว
22 ธ.ค. 2567 จากสามตอนที่แล้ว เมื่อไทยยังไม่สามารถค้าวัวกับจีนได้โดยตรง เพราะยังไม่สามารถควบคุมโรคสัตว์ข้ามพรมแดนได้สมบูรณ์แบบ ผู้ประกอบการค้าวัวไทยจึงต้องดิ้นรนค้าวัวกับลาวและเวียดนาม โดยหวังใช้เป็นทางผ่านไปสู่ตลาดค้าวัวของจีน
ในสถานการณ์นี้ ไทยจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้การค้ายั่งยืนและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โพธาภรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ศึกษาการค้าวัวในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มองการค้าที่มีมานานหลายทศวรรศนี้ในฐานะ “เครื่องจักรทางเศรษฐกิจ” ที่ยกระดับความยากจนของผู้คน
“ในเมื่อไม่ว่าอย่างไรการค้านอกระบบมันต้องดำรงอยู่ เพราะแรงกดดันทางเศรษฐกิจของผู้คนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเกษตรกรที่ส่วนใหญ่ยากจน เราก็น่าจะแสวงหาหนทางการค้าที่จะช่วยยกระดับพวกเขาให้พ้นความยากจนไปด้วยกัน ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียม ยกทุกคนขึ้นพ้นน้ำไปด้วยกัน”
อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ ผศ.ดร.มาโนช พบว่าผลประโยชน์ในการค้าวัว ยังไม่ถูกจัดสรรอย่างเท่าเทียม สะท้อนผ่านราคาขายวัวที่ชายแดนจีน ซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาขายของเกษตรกรมากถึง 150% แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ตกอยู่ที่นายหน้าและผู้เคลื่อนย้ายวัวเป็นหลัก
นี่สอดคล้องกับการศึกษาการค้าวัวพม่าในไทยของรองศาสตราจารย์ ดร. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่านายหน้าเป็นผู้ได้สัดส่วนผลประโยชน์สูงสุดของการค้านี้
นายหน้าคือผู้ที่ทำกำไรโดยไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพวัวและความปลอดภัย การค้าที่ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ในลักษณะนี้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการยกระดับห่วงโซ่การผลิตวัวให้มีมาตรฐานและปลอดภัย ทั้งยังส่งเสริมให้มีการลักลอบนำเข้าและส่งออกวัวเพื่อลดต้นทุน
วัวเลี้ยงในฟาร์มที่มีการกำกับมาตรฐาน ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล
เพิ่มมาตรฐานการผลิตวัว กระจายผลประโยชน์
ผศ.ดร.มาโนช เล่าว่านักวิชาการจีนเคยให้ข้อมูลว่าไทยมีข้อได้เปรียบคือความแข็งแกร่งด้านระบบศุลกากรและการควบคุมโรคสัตว์ขาเข้า แต่ไม่มีความได้เปรียบในเชิงแข่งขันกับเนื้อที่มาจากประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันในตลาดจีนที่มีการแข่งขันสูง
“ตลาดเนื้อในจีนที่เราเข้าไปเน้นราคาถูก เน้นทำทุกอย่างให้ต้นทุนต่ำ การกดต้นทุนต่ำคือการต้องตัดมาตรการที่จำเป็นหลายอย่างออก ต้องมองข้ามหลายสิ่ง รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย” ผศ.ดร.มาโนชกล่าว
“ประเทศไทยไม่สามารถเอาสถานะการเป็นครัวของโลกที่ต้องเน้น Meals safety practice (มาตรการยกระดับความปลอดภัยในอาหาร) ไปแลกกับการค้าแบบนี้ได้อีก การค้าวัวมีชีวิตเคยเหมาะกับเวลาหนึ่ง แต่มันยากที่จะเติบโตต่อไป นอกเสียจากว่าไทยจะเอาต้นทุนในการเป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลกที่มีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีไปแลกกับมัน”
แม่ค้าชำแหละเนื้อวัวในตลาด ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล
ผศ.ดร.มาโนช ยังเห็นว่าไทยต้องปรับระบบการผลิตเนื้อวัวให้เป็นระบบอุตสาหกรรมมาตรฐานสูง เหมือนที่ไทยทำสำเร็จในระบบการผลิตเนื้อไก่และอาหารทะเล
ไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารที่โลกยอมรับ ควรใช้มาตรฐานโรงเชือดที่ดีมาแก้ปัญหา หันไปส่งออกเนื้อตัดแต่ง พัฒนาการผลิตทั้งระบบให้ได้มาตรฐานโลก เพื่อที่ไทยจะไม่สูญเสียที่ยืนในห่วงโซ่นี้
“แต่ระบบอุตสาหกรรม ก็จะทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยหลุดออกจากวงจรไป การค้าในสมัยก่อนโอบอุ้มคนตัวเล็กตัวน้อยไว้ เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาเริ่มสูญเสียสิ่งที่พวกเขาเคยมีให้กับตัวกลาง คนจนเหลือพื้นที่ยืนน้อยลง หากปรับเป็นระบบอุตสาหกรรม พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรสิ้นเชิง
ทำอย่างไรจะให้ระบบอุตสาหกรรมโอบอุ้มคนกลุ่มนี้ไว้ด้วย เป็นคำตอบที่ยาก แต่ก็ต้องหาให้ได้”
ยกระดับความสามารถเกษตรกร
ศรีนีวสันต์ อันชา (Srinivasan Ancha) ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ Asian Model Financial institution (ADB) ระบุว่า ความสามารถของเกษตรกรในการพัฒนาพันธุ์วัวและบริหารจัดการโรค เป็นหนึ่งในหัวใจหลักที่จะยับยั้งการลักลอบเคลื่อนย้ายวัวในประเทศลุ่มน้ำโขง
ปัจจุบัน เกษตรกรหลายคนไม่สามารถเข้าสู่ช่องทางค้าวัวทางการได้ เพราะพวกเขาไม่สามารถแข่งขันกับผู้ค้ารายอื่น โดยเฉพาะเมื่อต้นทุนของการเลี้ยงวัวบวกกับต้นทุนการป้องกันและกักกันโรคสูงเกินกว่าที่เกษตรกรจะจ่ายได้
ต้นทุนเหล่านี้รวมถึงค่าวัคซีน ค่าตรวจโรค และค่าอาหารวัวในขณะที่โดนกักกันเพื่อตรวจสอบโรคตามมาตรฐานการส่งออกวัวไปจีน โดยอาจลากยาวได้ถึง 82 วัน ประกอบด้วยการกักกันวัว Forty five วันในฟาร์ม 30 วันในศูนย์กักกันที่ชายแดน และเมื่อวัวผ่านชายแดนจีนแล้ว ต้องนำเข้าสู่โรงเชือดภายใน 7 วัน
“เกษตรกรต้องมีพันธุ์วัวที่มีคุณภาพ เพื่อที่จะขายได้ราคาดี แล้วจึงมีเงินทุนไปจ่ายค่ากักกันและสอบสวนโรค เมื่อเรามีสามปัจจัยนี้ ได้แก่ คุณภาพวัวชั้นดี ขนาดวัวได้มาตรฐาน และต้นทุนการควบคุมโรคที่ไม่แพงเกินไป เมื่อนั้นการค้าวัวด้วยช่องทางที่เป็นทางการจึงเกิดขึ้นได้แท้จริง และการลักลอบค้าวัวจะลดลง” ศรีนีวสันต์กล่าว
เกษตรกรไทยตรวจสุขภาพวัวที่ตนเองเลี้ยงในฟาร์ม ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล
เมื่อปี 2560 เอดีบีพูดคุยกับกระทรวงการเกษตรในแต่ละประเทศลุ่มน้ำโขง และพบความต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาห่วงโซ่การเลี้ยงและส่งออกสัตว์ โดยเน้นที่การส่งเสริมมาตรฐานและคุณภาพสัตว์ และการป้องกันและควบคุมโรค
หลังจากนั้นจึงเริ่มทำโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยเริ่มจากการให้ทุนรัฐบาลกัมพูชาในปี 2565 ตามด้วยรัฐบาลลาวในปีนี้ โดยคาดหวังว่าจะสามารถตั้งพื้นที่ปลอดโรคในจังหวัดที่มีการผลิตวัว รวมทั้งตั้งศูนย์เพาะพันธุ์วัวแห่งแรกในสองประเทศ และศูนย์ผลิตวัคซีนแห่งแรกในกัมพูชา พร้อมปรับปรุงศูนย์ผลิตวัคซีนเดิมในลาวภายใน 7 ปีข้างหน้า
ส่วนในพม่า รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ได้แสดงความสนใจรับทุนเช่นกัน แต่กระบวนการรับทุนต้องหยุดชะงัก เพราะเกิดการรัฐประหารในปี 2564 เสียก่อน
อย่างไรก็ดี โครงการของเอดีบีทำเพียงบางพื้นที่ในกัมพูชาและลาว ซึ่งมีศักยภาพบริหารจัดการโรคสัตว์ข้ามพรมแดนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค การจัดปฏิรูปการผลิตวัวทั้งระบบอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น
ประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมทั้งไทย นั่งอยู่ในคณะกรรมการโรคสัตว์ข้ามพรมแดนแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Meals and Agriculture Organization) และองค์การอนามัยสัตว์โลก (World Organization for Animal Health)
แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมีบทบาทด้านการสร้างความร่วมมือเพื่อติดตามโรคสัตว์ข้ามพรมแดน แต่การทำงานของรัฐบาลแต่ละประเทศในระดับพื้นที่ยังมีความท้าทายด้วยหลายปัจจัย รวมทั้งทรัพยากรด้านปศุสัตว์ที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย
ศรีนีวสันต์ให้ความเห็นว่า อีกหนึ่งความท้าทายคือลักษณะการทำงานแบบตั้งรับแทนที่จะเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันโรค ทั้งยังมีทัศนคติการทำงานแบบ “ป้องกันตัวเอง”
โดยสะท้อนผ่านแนวโน้มที่เจ้าหน้าที่แต่ละประเทศ มักจะปฏิเสธว่ามีการระบาดของโรคสัตว์จริง หลักๆเพราะความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการค้า
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ขยายการดูแลสุขภาพสัตว์ให้เท่าคน
“ระบบการป้องกันโรคของไทยอยู่ในระดับดีเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค ปัญหาของเราคือการปฏิบัติในระดับพื้นที่” นายสัตวแพทย์เทิดศักดิ์ ญาโณ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว
เขายืนยันว่าสุขภาพของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับการดูแลคุ้มครองร่วมกันตามแนวทาง One Health หรือสุขภาพหนึ่งเดียว โดยต้องบูรณาการแนวคิดนี้เข้าสู่การทำงานในทุกระดับ ไม่แยกประเทศ หรือแยกสุขภาพสัตว์ออกจากสุขภาพคน
“ไทยแม้จะริเริ่มแนวคิดนี้แล้ว แต่ระบบดูแลคนและสัตว์ยังห่างกันมาก ระบบสาธารณสุขของไทยดีระดับโลก มีโรงพยาบาลครอบคลุมตั้งแต่ระดับศูนย์ จังหวัด อำเภอ ไปจนถึงตำบล บางตำบลมีโรงพยาบาล 2 แห่ง
แต่ปศุสัตว์บางอำเภอ มีเจ้าหน้าที่ 4-5 คน มีเจ้าหน้าที่ที่จะรับมือกับการระบาดของโรค หรือมีสิทธิ์ประกาศเขตโรคระบาด แค่ 1 คน”
แผงขายยาและวัคซีนป้องกันโรควัว ภาพ:ณัฐกิตติ์ มีสกุล
แม้จะมีความท้าทายหลายประการ แต่ก็มีความพยายามจากเครือข่ายนักวิจัย ชุมชน และรัฐบาลระดับท้องถิ่น ในการจัดการโรคสัตว์ในระดับพื้นที่ โดยไม่รอการสั่งการจากฝ่ายนโยบาย
หนึ่งในความพยายามนั้นคือการทำแอพพลิเคชั่นมือถือ Participatory One Health Digital Illness Detection หรือ PODD อ่านว่า ”ผ่อดีดี” มีความหมายว่า “มองให้ดีดี” ในภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่
เครื่องมือชิ้นนี้ตั้งระบบตรวจจับการระบาดของโรคสัตว์ โดยมีสมาชิกในชุมชนเป็นผู้รายงานเข้าสู่ระบบ เมื่อพบการตายผิดธรรมชาติหรือการตายจำนวนมากของสัตว์ในพื้นที่ของตนเอง
“อาสาสมัครในหมู่บ้านจะแจ้งเมื่อพบสัตว์ตายผิดปกติหรือไม่ทราบสาเหตุ เรามีข้อกำหนดชัดเจนว่า สัตว์ตายไม่ทราบสาเหตุกี่ตัวต่อเนื่องกี่วัน จึงจะนับเป็นการระบาด” น.สพ.เทิดศักดิ์ กล่าว ในฐานะผู้ออกแบบระบบร่วมกับทีมงาน
“ข้อมูลจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่ที่ว่าใครอยากได้ข้อมูลนี้บ้าง ระบบส่งให้ได้ทันที”
ที่มา: YouTube/BBC
ระบบการแจ้งโรคในสัตว์แบบมีส่วนร่วมเช่นนี้ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศที่มีขนาดภาคส่วนปศุสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างบราซิล ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
ส่วน PODD ได้นำมาทดลองในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 400 แห่งของไทย ครอบคลุมเกษตรกรเกือบ 20,000 ราย สามารถตรวจจับโรคปากและเท้าเปื่อยในวัว และหยุดยั้งก่อนโรคจะระบาดเป็นวงกว้างได้ 5 ครั้งแล้ว คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นประมาณ 5 ล้านบาท
PODD ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดรายการ Trinity Dilemma ในปี 2564 และกำลังเริ่มทดลองใช้ในลาว โดยได้อบรมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครใน 5 แขวง เมืองละ 50 คน ได้แก่ คำม่วน สะหวันนะเขด จำปาสัก บอลิคำไซ และเวียงจัน
น.สพ.เทิดศักดิ์หวังว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะขยายการใช้งานไปยังกัมพูชาและเคนยาเร็วๆ นี้ ส่วนพม่านั้น น่าจะสนใจเช่นกันหากสถานการณ์ภายในสงบ
รายงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประชาไท กับ Mekong Look ภายใต้การสนับสนุนจาก Internews' Earth Journalism Community
ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )