รวมเทศกาลรอบโลกในเดือน ธ.ค.

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, ขบวนแห่ในช่วงเหมายันในเมืองเพนแซนซ์ สหราชอาณาจักร

Article records

  • Author, เจเรมี โฮเวลล์
  • Role, บีบีซีเวิลด์เซอร์วิส

เทศกาลคริสต์มาสซึ่งเกิดขึ้นหลังวันเหมายันในซีกโลกเหนือไม่นาน ได้กลายเป็นเทศกาลประจำเดือน ธ.ค. ที่โด่งดังที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ในซีกโลกเหนือนั้น ยังเป็นช่วงที่ผู้คนนับล้านในจีน อิหร่าน และอเมริกาใต้ร่วมเฉลิมฉลองกัน โดยมีเทศกาลที่สืบทอดกันมาหลายร้อยหรือหลายพันปี

ในประเทศทางตอนใต้ของแอฟริกา ช่วงเหมายันกลางฤดูร้อนในเดือน ธ.ค. ก็มีเทศกาลฉลองผลไม้แรกของฤดูด้วยการจัดงานอย่างพิถีพิถันตามประเพณีดั้งเดิม

เทศกาลกลางฤดูหนาวจะจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. อย่างไร

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, การรับประทานเนื้อแกะตุ๋นในร้านหม้อไฟ เป็นประเพณียอดนิยมช่วงเทศกาลตงจื้อ

เทศกาลตงจื้อ (Dongzhi) เป็นเทศกาลของจีนที่แปลว่า “การมาถึงของฤดูหนาว” เทศกาลนี้มีมายาวนานถึง 2,500 ปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น การเฉลิมฉลองจะเริ่มขึ้นในวันเหมายันและกินเวลานาน 15 วัน

กล่าวกันว่าเทศกาลนี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดดั้งเดิมของจีนเกี่ยวกับหยินและหยาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีและความสมดุล

Skip เรื่องแนะนำ and continue readingเรื่องแนะนำ

Stay of เรื่องแนะนำ

เมื่อระยะเวลาของวันสั้นลง ผู้คนเชื่อว่าพลังงานหยางจะขาดแคลน ดังนั้นที่เทศกาลตงจื้อ ผู้คนจึงกินอาหารที่เป็นหยาง (ร้อน) เพื่อต่อต้านหยิน (เย็น) ของฤดูหนาว ได้แก่ ทังหยวน หรือ ขนมบัวลอยจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาพบกันอีกครั้งและความเจริญรุ่งเรือง เกี๊ยวเนื้อ สตูว์เนื้อแกะ และโจ๊กธัญพืช (ทำจากถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้แห้ง)

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, ยัลดาเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูหนาวของอิหร่านและการกลับมาเกิดใหม่ของดวงอาทิตย์

ยัลดา (Yalda) หรือเรียกอีกชื่อว่า ชาบ-อี ยัลดา (Shab-e Yalda) หรือ ไซเยชเมห์ร (Zayeshmehr) เป็นเทศกาลเก่าแก่ของอิหร่านที่มีอายุกว่า 5,000 ปี จัดขึ้นในวันก่อนเหมายัน ซึ่งเป็นวันแรกของฤดูหนาวตามปฏิทินอิหร่าน

ชื่อนี้มาจากคำภาษาโบราณซีรีแอก (Syriac) แปลว่า “วันเกิด” ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซีย เทศกาลนี้ถือเป็นการกลับมาเกิดใหม่ของมิธรา เทพแห่งดวงอาทิตย์ เพราะนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาจนถึงเหมายัน ดวงอาทิตย์จะอยู่บนท้องฟ้านานขึ้น

มิธราเป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่าง ความดี และความเข้มแข็งบนโลก เทศกาลนี้จัดขึ้นโดยชาวโซโรอัสเตอร์ จากอีกศาสนาหนึ่งในตะวันออกกลาง นั่นคือ ศาสนามิธรา

ยัลดาเป็นหนึ่งในงานเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดในเปอร์เซียก่อนอิสลาม และยังคงมีการเฉลิมฉลองโดยชาวโซโรอัสเตอร์ในอิหร่านและทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้

ในอดีต งานเฉลิมฉลองยัลดาเกี่ยวข้องกับการให้ของขวัญ การตกแต่งบ้านด้วยต้นไม้ และอนุญาตให้คนรับใช้มาปกครองเจ้านายเป็นเวลา 1 วัน เชื่อกันว่าชาวโรมันได้ยืมประเพณีนี้มาใช้ในเทศกาลเหมายัน หรือที่เรียกว่า แซตเทอร์นาเลีย (Saturnalia) หลังจากนั้นจึงได้มีการนำมาปฏิบัติเป็นเทศกาลคริสต์มาส

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, ในยุคอินคา คาปัค ไรมี ถือเป็นช่วงเวลาที่ชายหนุ่มกลายเป็นนักรบ

ในเปรูและเอกวาดอร์ ผู้คนบางส่วนยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลเก่าแก่อย่าง คาปัค ไรมี (Capac Raymi)

เทศกาลนี้สร้างขึ้นโดยชาวอินคา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้จนถึงศตวรรษที่ 16 และจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ อินติ เทพแห่งดวงอาทิตย์ เทศกาลนี้จัดขึ้นในช่วงเหมายัน ซึ่งเป็นวันแรกของปีใหม่ของชาวอินคา

ผู้คนจะทำการบูชายัญสัตว์ ดื่มชิชาเดโจรา (เบียร์ข้าวโพด) เคี้ยวใบโคคา และเต้นรำ จากนั้นจะรวบรวมเถ้ากระดูกจากการบูชายัญแล้วโยนลงในแม่น้ำเพื่อถวายแด่เทพเจ้าวีราโคชา ผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง

นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่เยาวชนชายได้รับการสถาปนาให้เป็นนักรบของอาณาจักรอินคาอีกด้วย

เทศกาลคาปัค ไรมี ยังคงได้รับการเฉลิมฉลองในหมู่บ้านบางแห่งในเทือกเขาแอนดีสของเปรูและเอกวาดอร์ ขบวนแห่เป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลอง เด็กชายอายุ 6-7 ขวบจะได้รับกางเกงขายาวตัวแรก และเด็กหญิงจะได้รับริบบิ้นผูกผมเป็นครั้งแรก

เทศกาลกลางฤดูร้อนจะจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. อย่างไร?

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, นักรบเต้นรำเพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ในช่วงเทศกาล Incwala กลางฤดูร้อนในเอสวาตินี

ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาใต้ เหมายันยังคงเฉลิมฉลองด้วยเทศกาลที่เรียกว่าเทศกาลผลแรก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูเก็บเกี่ยว

นี่เป็นประเพณีโบราณของกลุ่มชน เช่น Bhaca (ซึ่งเรียกว่า Ingcubhe) Ndebele (ซึ่งเรียกว่า Inxwala) Swazi (ซึ่งเรียกว่า Incwala) และ Zulus (ซึ่งเรียกว่า Umkhosi Wokweshwama)

เป็นช่วงเวลาที่หัวหน้าครอบครัวจะได้ชิมผลผลิตแรกที่เก็บได้ในปีนั้น โดยได้ยกเลิกข้อห้ามไม่ให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัวรับประทานผลผลิตนั้นแล้ว

นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองประเทศจะได้ลิ้มลองผลผลิตแรกอีกด้วย โดยจะมีการบูชายัญสัตว์ และผู้ปกครองจะทุบฟักทอง (น้ำเต้าป่า) เพื่อสื่อว่าราษฎรจะได้สนุกสนานไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, สมเด็จพระราชาธิบดีกูดวิลล์ ซเวเลตินี กาเบกูซูลู ทรงฟื้นฟูเทศกาลผลไม้แรกขึ้น

อังกฤษได้สั่งห้ามพิธีกรรมนี้ในหมู่ชาวซูลูหลังจากเข้ายึดครองดินแดนของพวกเขาเมื่อสิ้นสุดสงครามอังกฤษ-ซูลูในปี 1879 อย่างไรก็ตาม ในปี 1990 พิธีกรรมนี้ได้รับการฟื้นฟูโดยสมเด็จพระราชาธิบดีกูดวิลล์ ซเวเลตินี กาเบกูซูลู และนับแต่นั้นเป็นต้นมา พิธีกรรมนี้ก็ได้จัดขึ้นทุกปีที่พระราชวังเอ็นโยเคนี รอยัล (Enyokeni Royal Palace) ในนอนโกมาของแอฟริกาใต้

เทศกาลผลไม้แรกที่เรียกว่า Massive Incwala ยังเป็นงานวัฒนธรรมที่สำคัญในเอสวาตินี (เดิมเรียกว่าสวาซิแลนด์) โดยกินเวลา 6 วัน และเป็นช่วงเวลาสำหรับการเฉลิมฉลองสถาบันกษัตริย์ของเอสวาตินี เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อกษัตริย์ นักรบจะถอนหญ้าในทุ่งของพระองค์ในวันถัดจากเทศกาล

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, เทศกาลควันซาของชาวแอฟริกันอเมริกันสมัยใหม่มีต้นกำเนิดมาจากเทศกาลผลไม้แรกแบบดั้งเดิม

เทศกาลผลไม้แรกที่เรียกว่า Massive Incwala ยังเป็นงานวัฒนธรรมที่สำคัญในเอสวาตินี (เดิมเรียกว่าสวาซิแลนด์) โดยกินเวลา 6 วัน และเป็นช่วงเวลาสำหรับการเฉลิมฉลองสถาบันกษัตริย์ของเอสวาตินี เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อกษัตริย์ นักรบจะถอนหญ้าในทุ่งของพระองค์ในวันถัดจากเทศกาล

เทศกาลผลไม้แรกยังเป็นช่วงเวลาสำหรับการชำระล้างและฟื้นฟูจิตวิญญาณ และเป็นพื้นฐานของควันซา (Kwanzaa) ซึ่งเป็นเทศกาลสมัยใหม่สำหรับชาวแอฟริกันอเมริกัน ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.- 1 ม.ค. ทั้งนี้ชื่อ ควันซา มาจากคำว่า matunda ya kwanza ซึ่งแปลมาจากภาษาสวาฮีลีว่า “ผลผลิตแรกแห่งการเก็บเกี่ยว”

ควันซาถือกำเนิดขึ้นในปี 1966 โดย เมาลานา รอน คาเรนกา ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาด้านแอฟริกันที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อส่งเสริมค่านิยมครอบครัวและสังคมแบบแอฟริกันดั้งเดิมในหมู่ประชากรแอฟริกัน-อเมริกันในประเทศสหรัฐฯ