ที่ราบสูงโกลันอยู่ตรงไหน เหตุใดจึงเป็นชนวนขัดแย้งระหว่างซีเรียและอิสราเอล ?

ที่มาของภาพ, Getty Photos

Article recordsdata

  • Author, เจเรมี โฮเวลล์
  • Role, บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

กองทัพอิสราเอลได้เข้ายึดครองพื้นที่เขตกันชนปลอดทหารในที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) และพื้นที่หลายแห่งในพรมแดนของซีเรียในขณะนี้

ขณะที่นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลระบุว่า เขาได้ออกคำสั่งให้กองกำลังป้องกันอิสราเอล หรือ ไอดีเอฟ (Israel Defense Forces -IDF) เคลื่อนพลเข้าไปในเขตกันชนดังกล่าว พร้อมกับเข้าไปบัญชาการตามจุดสำคัญ ๆ ในบริเวณใกล้เคียง

ผู้นำอิสราเอลยังกล่าวอีกว่า ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันอิสราเอลจากการโจมตีจากกลุ่มกบฏต่าง ๆ ในซีเรีย หลังจากการล่มสลายของระบอบประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดของซีเรีย

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของอิสราเอลทำให้กลุ่มประเทศอาหรับหลายประเทศออกมาประณาม

ที่ราบสูงโกลันอยู่ที่ไหน และใครบ้างควบคุมพื้นที่ดังกล่าว ?

คำบรรยายภาพ, แผนที่แสดงตำแหน่งของกองกำลังกลุ่มกบฏในซีเรีย และพื้นที่ซึ่งอิสราเอลเพิ่งเข้ายึดครองได้บนที่ราบสูงโกลัน

ที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) เป็นที่ราบสูงหินแข็งทางตะวันตกเฉียงใต้ของซีเรีย ซึ่งถูกอิสราเอลเข้ายึดครองเป็นเวลานานกว่า 50 ปีมาแล้ว หลังเกิดสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลางเมื่อปี 1967 โดยในตอนแรกซีเรียใช้ที่ราบสูงโกลันถล่มโจมตีอิสราเอล แต่อิสราเอลตอบโต้จนกองทัพซีเรียต้องถอยร่นไป และสามารถบุกเข้าวางกำลังทหารยึดครองพื้นที่ 1,200 ตารางกิโลเมตรบนที่ราบสูงโกลันเอาไว้ได้

Skip เรื่องแนะนำ and continue readingเรื่องแนะนำ

Discontinue of เรื่องแนะนำ

ต่อมาซีเรียพยายามบุกโจมตีเพื่อทวงคืนพื้นที่ดังกล่าว ในระหว่างที่เกิดสงครามยมคิปปูร์ (Yom Kippur Struggle) ในภูมิภาคตะวันออกกลางเมื่อปี 1973 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ทั้งสองประเทศยอมลงนามในข้อตกลงสงบศึกเมื่อปี 1974 และยอมให้กองกำลังสังเกตการณ์ของสหประชาชาติเข้าประจำการตรงแนวเส้นหยุดยิง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

แต่ถึงกระนั้นในปี 1981 อิสราเอลกลับผนวกพื้นที่ดังกล่าวเข้ามาเป็นเขตแดนของตน และเริ่มมีกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานเข้าไปสร้างบ้านและที่พักอยู่บริเวณนั้น

ทว่า ประชาคมนานาชาติส่วนใหญ่แสดงการไม่ยอมรับ และต่างประณามการผนวกดินแดนของอิสราเอลในวงกว้าง ส่วนซีเรียประกาศกร้าวว่าจะไม่ทำข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอลอีก เว้นแต่อิสราเอลจะถอนกำลังทหารออกจากที่ราบสูงโกลันทั้งหมด

ในเดือน พ.ย. 2024 อิสราเอลถูกทางการซีเรียและสหประชาชาติตำหนิเนื่องจากมีการสร้างสนามเพลาะ หรือ คูที่ขุดเพื่อกำบังตัวจากข้าศึกในเวลารบตามแนว “พื้นที่แห่งการแยก” (Home of Separation) ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนพาดเข้าไปยังเขตกันชนด้วย

เหตุใดที่ราบสูงโกลันจึงมีความสำคัญ ?

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, จากที่ราบสูงโกลัน อิสราเอลสามารถสอดส่องเข้าไปในดินแดนของซีเรียได้หลายสิบไมล์

ซีเรียเคยโจมตีพื้นที่ทางตอนเหนือทั้งหมดของอิสราเอลด้วยปืนใหญ่ในช่วงระหว่างปี 1948-1967 เมื่ออิสราเอลเข้าควบคุมที่ราบสูงโกลัน ส่วนฝ่ายอิสราเอล สามารถมองเห็นกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรียได้อย่างชัดเจนจากที่ราบสูงแห่งนี้ รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของซีเรียด้วย ดังนั้น การควบคุมพื้นที่ดังกล่าวได้จะทำให้อิสราเอลมีจุดสังเกตการณ์ที่ยอดเยี่ยมในการเฝ้าจับตาความเคลื่อนไหวทางทหารของซีเรียได้

นอกจากนี้ความลาดชันของที่ราบสูงโกลันยังทำให้อิสราเอลมีแนวกันชนทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการโจมตีทางทหารจากซีเรียได้อีกด้วย (อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงสงครามในปี 1973)

ที่ราบสูงโกลันยังเป็นแหล่งน้ำสำคัญในภูมิภาคนี้ ที่โดยทั่วไปแล้วจะเผชิญกับความแห้งแล้งอยู่เป็นประจำ

น้ำฝนจากที่ราบสูงโกลันจะไหลลงสู่แม่น้ำจอร์แดน และทำให้พื้นที่โดยรอบมีแร่ธาตุสมบูรณ์เพียงพอสำหรับการทำไร่องุ่นและสวนผลไม้ รวมถึงเป็นทุ่งหญ้าสำหรับการเลี้ยงสัตว์

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญต่อข้อตกลงสันติภาพระหว่างซีเรียและอิสราเอลในอดีต คือ การที่ซีเรียต้องการให้อิสราเอลถอนกำลังทั้งหมดออกจากพื้นที่ชายแดนที่เป็นเคยของซีเรียก่อนปี 1967

นั่นจะทำให้ซีเรียสามารถควบคุมชายฝั่งทางตะวันออกที่ติดกับทะเลสาบกาลิลี (หรือที่รู้จักกันในอีกเชื่อว่า ทะเลสาบคินเนเรทของชาวอิสราเอล และทะเลสาบทิเบเรียสของชาวอาหรับ) ซึ่งจะกลายเป็นการกีดกันอิสราเอลจากแหล่งน้ำจืดที่สำคัญ ขณะที่อิสราเอลกล่าวว่า พื้นที่ชายแดนแห่งนี้ควรตั้งอยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก

ความเห็นของชาวอิสราเอลโดยทั่วไปสนับสนุนให้รักษาพื้นที่ที่ราบสูงโกลันเอาไว้ โดยบางส่วนมองว่าที่ราบสูงโกลันมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์มากเกินกว่าจะส่งมอบคืนให้กับซีเรีย

ใครที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูงโกลัน ?

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, อิสราเอลเคยยึดครองที่ราบสูงโกลันไว้ในปี 1967 และทำให้ชาวซีเรียหลายพันคนต้องอพยพหนีภัยสงครามออกไปจากพื้นที่ดังกล่าว

ชาวซีเรียเชื้อสายอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานบนที่ราบสูงโกลันส่วนใหญ่ ต่างอพยพหนีภัยสงครามในปี 1967 ไปจนเกือบหมด ทำให้ปัจจุบันมีชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวมากกว่า 30 ชุมชนแล้ว โดยคาดว่าประชากรในชุมชนของอิสราเอลดังกล่าวน่าจะมีอยู่ราว 20,000 คน ซึ่งอิสราเอลได้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเหล่านี้ขึ้นทันทีหลังสงครามสงบลงในปี 1967

การตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลบนที่ราบสูงโกลัน ถือว่าละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ แต่อิสราเอลไม่ยอมรับว่าการกระทำของตนเป็นสิ่งที่ผิด ทำให้ชาวยิวที่เข้ามาก่อตั้งชุมชนบนที่ราบสูงโกลัน ต้องอยู่อาศัยร่วมกับชาวซีเรียที่ยังไม่ได้อพยพไปไหนประมาณ 20,000 คน ซึ่งชาวซีเรียที่เหลืออยู่นี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาดรูซ (Druze) และเป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิมที่ไม่ได้อพยพหนีภัยสงครามไปเมื่อหลายสิบปีก่อน

ด้านซีเรียกล่าวว่า แผ่นดินตรงนั้นเป็นของซีเรยมาโดยตลอด พร้อมกับประกาศว่าจะยึดกลับมาเป็นดินแดนของตนอีกครั้ง ขณะที่อิสราเอลกล่าวว่า ที่ราบสูงแห่งนี้มีความสำคัญต่อการป้องกันประเทศและยังคงจะเป็นของตนตลอดไป

อิสราเอลเข้าไปทำอะไรในที่ราบสูงโกลันเมื่อไม่นานมานี้ ?

ที่มาของภาพ, Getty Photos

คำบรรยายภาพ, รถยานเกราะของอิสราเอลคันหนึ่งเคลื่อนเข้าไปในเมืองกูเนทรา หนึ่งในเมืองที่วางเปล่าของซีเรียบนที่ราบสูงโกลัน

กองกำลังป้องกันประเทศของอิสราเอล (IDF) ได้เข้ายึดครองพื้นที่เขตกันชนปลอดทหารบนที่ราบสูงโกลันแล้วในขณะนี้หลังจากกองทัพซีเรียถอนกำลังออกจากจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มกบฏฝ่ายต่อต้าน ด้านผู้บัญชาการกองกำลัง IDF ก็รับทราบว่า กองทัพของอิสราเอลได้ปฏิบัติการนอกเขตกันชนของที่ราบสูงโกลันแล้ว

นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ชี้แจงว่าปฏิบัติการทางทหารดังกล่าวคือ “การวางกำลังป้องกันชั่วคราวจนกว่าจะมีมาตรการความมั่นคงที่เหมาะสมกว่านี้”

“หากพวกเราสามารถสร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรและความสัมพันธ์อันสันติกับกองกำลังกลุ่มใหม่ที่ผงาดขึ้นในซีเรียได้ นี่คือความปรารถนาของเรา หากพวกเราไม่สามารถทำได้ พวกเราก็จะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อปกป้องความเป็นรัฐและอาณาเขตของอิสราเอล” เขากล่าว

รายงานข่าวของซีเรียระบุว่า กองทัพอิสราเอลได้รุกคืบเข้ามาในเขตแดนของตนลึกเกินกว่าแนวกันชน ทั้งยังเข้ามาอยู่ในระยะประชิดใกล้กรุงดามัสกัสเพียง 25 กิโลเมตร แต่ในตอนแรกแหล่งข่าวจากกองทัพอิสราเอลได้ปฏิเสธรายงานข่าวนี้

บรรดาประเทศในกลุ่มรัฐอาหรับ ต่างออกแถลงการณ์ประณามการบุกยึดครองเขตกันชนปลอดทหารของอิสราเอลโดยทั่วกัน แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศของอียิปต์ระบุว่า การกระทำเช่นนี้ไม่ต่างจาก “การเข้ายึดครองดินแดนของซีเรีย และเป็นการละเมิดข้อตกลงถอนทหารปี 1974 อย่างโจ่งแจ้งโดยไม่ละอายใจ”

นายเนทันยาฮูกล่าวว่า เขาจะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อปกป้องเขตแดนของอิสราเอล เนื่องจากกลุ่มกบฏได้เข้ายึดครองซีเรียแล้ว ข้อตกลงถอนทหารปี 1974 ถือว่า “สิ้นสุดลง”

ศาสตราจารย์กิลเบิร์ต อัชคาร์ จากสำนักวิชาบูรพคดีและแอฟริกาศึกษา (SOAS) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน บอกว่า “อิสราเอลอ้างว่าต้องการป้องกันเหตุโจมตีที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการบุกจู่โจมมาจากฝั่งซีเรีย เหมือนกับการโจมตีของกลุ่มฮามาสในวันที่ 7 ต.ค. ของปีที่แล้ว”

“แต่อันที่จริง นี่คือโอกาสเหมาะที่อิสราเอลจะรุกคืบไปข้างหน้า และลงมือยับยั้งกองกำลังใด ๆ ก็ตาม ไม่ให้เข้ามาปักหลักใกล้กับแนวพรมแดนของเขตยึดครองได้” ศ.อัชคาร์ แสดงความเห็น

นักวิเคราะห์หลายคนยังรู้สึกกังขาต่อการตัดสินใจของอิสราเอลในเรื่องนี้เช่นกัน

“ฝ่ายซีเรียเองก็ไม่เคยพูดว่าพวกเขาจะไม่ปฏิบ้ติตามข้อตกลงดังกล่าว” ศาสตราจารย์โยสซี เมเคลเบิร์กจากสถาบันคลังสมองด้านกิจการต่างประเทศ แชตแฮม เฮาส์ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กล่าว

“นี่เป็นการเคลื่อนไหวแบบชงลงมือก่อนของอิสราเอลเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ แต่ก็ยังไม่มีเหตุแห่งสงครามเกิดขึ้น [เหตุผลในการปฏิบัติการทางทหาร]”

ดร.เอชเอ เฮลเยอร์ จากราชสถาบันรวมเหล่าทัพ (RUSI) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและให้คำปรึกษาทางการทหารของสหราชอาณาจักร ประเมินว่า มีโอกาสที่กลุ่มกบฏในซีเรียจะเข้ายึดครองพื้นที่บนที่ราบสูงโกลันคืนในระยะเวลาอันสั้นนั้นมีน้อยมาก

“พวกเขาจะหมกมุ่นอยู่กับปัญหาภายในประเทศเกินกว่าจะคิดสร้างความขัดแย้งครั้งใหม่กับอิสราเอล” เขากล่าว

ศาสตราจารย์เมเคลเบิร์กกล่าวอีกว่า การบุกรุกเข้าไปในเขตซีเรียของอิสราเอลอาจจะบ่อนทำลายความสัมพันธ์กับรัฐบาลในอนาคตของซีเรีย

“อิสราเอลปฏิบัติการโดยการพยายามรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด แต่สิ่งนี้อาจเป็นผลเสียมากกว่า นี่ไม่ใช่วิธีผูกมิตรกับระบอบการปกครองใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น” เขากล่าวทิ้งท้าย