แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/5dqe | ดู : 329303 ครั้ง

บอร์ดค่าจ้างมีมติปรับค่าแรง 400 บาท 4 จังหวัด 1 อำเภอ ‘จังหวัดภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อำเภอเกาะสมุย' มีผล 1 ม.ค. 68


สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567เวลา 18.30 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ครั้งที่ 11/2567 ซึ่งมี กรรมการผู้แทนภาครัฐ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างได้พิจารณาเห็นชอบ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7 – 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) แบ่งเป็น 17 อัตรา ซึ่งพิจารณาจากค่าครองชีพและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมีอัตราสูงสุด คือ วันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท ดังนี้

1.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดจังหวัดภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

2.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 380 บาท ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

3.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราวันละ 372 บาท ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5)

4.กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 67 จังหวัดที่เหลือให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะได้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

นายบุญสงค์ กล่าวว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์ จำนวน 3,760,697 คน สำหรับ ปี 2568 คณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้กระจายอำนาจการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปยังภูมิภาค โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด รวม 77 คณะ เพื่อนำข้อเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดมาพิจารณาประกอบข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 มาตรา 87 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง กลุ่มที่ 2 ด้านความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง กลุ่มที่ 3 ด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยพิจารณาจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อให้ลูกจ้างมีค่าจ้างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้

ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

รวบพ่อค้าอาวุธปืนออนไลน์ ไม่เกรงกลัวกฎหมาย อ้างเงินขาดมือ ไม

FM91 24 ชั่วโมงข่าว : DJ ศรีสวรรค์ แสงสวรรค์ : ทุกวันจันทร์- 2025-03-31 22:06:00

ทุนจีนแอบถอดป้ายบริษัทออก หลังตึกถล่ม ออนไลน์ 1 เม.ย

3 พรรค เปิดตัว ผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม สส.นครศรีธรรมราช เขต 8

ยานภัณฑ์: คนงานอดอาหารเกือบเดือน ขอเบิกงบกลางช่วยค่าชดเชย 466 ล. ยังไม่เข้า ครม.

กลุ่มบางจากร่วมปันน้ำใจ ส่งต่อกำลังใจ พร้อมสนับสนุนภารกิจบรรเทาภัยแผ่นดินไหว

ศาลจำคุก 4 ชาวจีนฝ่าฝืนคำสั่งเเอบขนเอกสารตึก สตง.คนละ 2 ด. ปรับ 6 พัน รอลงอาญา 1 ปี

ตำรวจสอบสวนกลาง ขอความร่วมมือประชาชนทุกท่าน “งดสร้าง

สำรวจมาตรฐานเหล็กจากบริษัทจีนในไทย หลังพบเหล็กไม่ได้มาตรฐาน มาจาก บริษัท "ซิน เคอ หยวน"

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/5dqe | ดู : 329303 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content