ผึ้งกลายเป็นเครื่องมือจัดการปัญหาระหว่างช้างกับคนในแอฟริกาได้อย่างไร ?

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

ช้างเข้าใกล้พื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ เพื่อหาน้ำและอาหาร

data

  • Creator, เจนนาทาโร ทอมม่า
  • Perform, บีบีซีมุนโด

ผึ้งกลายเป็นมาเป็นตัวช่วยของเกษตรกรในวิธีที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน นั่นคือช่วยป้องกันพืชผลของพวกเขาจากช้าง

ในตอนนี้ พื้นที่เพาะปลูกทั่วโลกเริ่มทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยของช้างมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นอันตราย เมื่อช้างเดินเตร่ผ่านพื้นที่ผลผลิตเหล่านี้

แต่ในเคนยา หลังผ่านการศึกษาวิจัยมานานหลายทศวรรษ ผู้เชี่ยวชาญค้นพบวิธีง่าย ๆ อันแสนชาญฉลาดในการยับยั้งสกัดกั้นช้าง วิธีนั้นคือการสร้างรั้วที่ทำมาจากรังผึ้ง

วิธีการนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความรู้ในท้องถิ่นที่มีมาอย่างยาวนานว่าช้างไม่ชอบรังผึ้ง ป้อมปราการมีปีกเหล่านี้เป็นวิธีที่อ่อนโยนแต่ก็มีประสิทธิภาพในเวลาเดียวกัน เพราะช่วยลดการปะทะรุนแรงระหว่างช้างกับเกษตรกรได้

วิธีการนี้ถูกนำไปใช้งานทั่วโลก ตั้งแต่ประเทศโมซัมบิกทางตอนใต้ของแอฟริกามาจนถึงประเทศไทย แล้วผึ้งที่ช้างเกลียดมากเป็นอย่างไร ?

and proceed readingเรื่องแนะนำ

อยู่กับช้าง

ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก

ในประเทศเคนยาซึ่งมีประชากรและความต้องการใช้ทรัพยากรกำลังเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่ที่คนอยู่อาศัยเริ่มทับซ้อนกับพื้นที่อยู่อาศัยของช้างมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ จำนวนช้างที่เพิ่มมากขึ้น ยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ขนาดใหญ่เหล่านี้

“การขยายพื้นที่การเกษตรบังคับให้ช้างต้องเข้าไปในพื้นที่ที่คนอาศัยอยู่ เพื่อหาอาหารและน้ำ” เกรธา ฟรานเซสกา อิโอริ ที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์ช้างในเอธิโอเปีย กล่าว

“ทุกที่ที่มีช้าง มักมีรายงานหรือเหตุความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้น” อิโอริ ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างของรัฐบาลและองค์กรไม่แสวงหากำไรหลายแห่ง กล่าวเสริม

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

ผึ้งสามารถยับยั้งช้างไม่ให้บุกรุกพืชผลของชุมชนในชนบทได้

แกรม แชนนอน นักนิเวศวิทยาสัตว์ป่าจากมหาวิทยาลัยบังกอร์ในเวลส์ สหราชอาณาจักร ซึ่งศึกษาช้างแอฟริกันมากว่า 2 ทศวรรษ บอกด้วยว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้มักมาจากภูมิหลังที่ยากจน

“ดังนั้น การทำการเกษตรจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขาและครอบครัว”

ทว่าน้ำและพืชผลซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากก็มักจะดึงดูดช้างด้วยเช่นกัน ส่งผลให้พวกมันเข้าใกล้พื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่

คนในท้องถิ่นใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแลที่ดินของพวกเขา และช้างจะมา “เมื่อพืชผลที่คุณปลูกเริ่มใกล้สุกแล้ว” เอ็มมานูเอล มวัมบา เกษตรกรในมวาโคมา หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเคนยาที่กำลังเป็นแนวหน้าในความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง อธิบายปัญหาให้ฟัง

“ถ้าช้างมา… ทุกอย่างก็หายไป” มวัมบา กล่าว

“พวกเราบางคนต้องพึ่งพาพืชผลเพื่อการดำรงชีวิตของเรา ลองนึกภาพดูสิว่ามันจะเป็นอย่างไรหากทุกอย่างถูกทำลายในชั่วข้ามคืน” เขากล่าวเสริม

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

เกษตรกรพยายามยับยั้งช้างด้วยการวางรังผึ้งไว้รอบ ๆ ที่ดินของเขา

การเผชิญหน้าดังกล่าวอาจส่งผลรุนแรงต่อทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเกษตรกรอาจเสียชีวิตขณะพยายามป้องกันไม่ให้ช้างที่กำลังหิวโหยย่างเท้าเข้ามาในที่ดินของตนเอง และช้างเองก็อาจโดนฆ่-าโดยเกษตรกรที่พยายามป้องกันพืชผลของพวกเขา

เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเหล่านี้และช่วยยับยั้งช้าง นักวิทยาศาสตร์และคนในท้องถิ่นใช้เวลาหลายทศวรรษในการหาหนทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ หลากหลาย ไม่ว่าจำเป็นรั้วไฟฟ้า หอสังเกตการณ์ อิฐทาพริก ยาไล่ช้างที่มีกลิ่นเหม็น หรือการสร้างเสียงดังเพื่อให้ช้างวิ่งหนีออกไป ซึ่งแต่ละวิธีการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

ทว่าการใช้ผึ้งเพื่อไล่ช้างได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีแนวโน้มว่าให้ผลที่พึ่งพาได้และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ มันยังมีประโยชน์กับเกษตรกรในด้านอื่น ๆ ด้วย

ผึ้งคือทางออก

ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 เมื่อ ฟริตซ์ โวลราธ นักสิ่งแวดล้อมและประธานองค์กรการกุศลเซฟ ดิ แอลลิแฟนต์ส (Set the elephants) และ เอียน ดักลาส-แฮมิลตัน ผู้ก่อตั้งองค์กรดังกล่าว ได้ยินนิทานพื้นบ้านจากคนเลี้ยงสัตว์ชาวเคนยาที่เล่าว่าต้นไม้บางพื้นที่ไม่ได้รับอันตรายจากช้าง เพราะมีรังผึ้งอยู่บนต้นไม้

ด้วยแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้ โวลราธ และ ดักลาส-แฮมิลตัน เริ่มทำงานร่วมกับ ลูซี คิง ผู้อำนวยการฝ่ายการอยู่ร่วมกันขององค์กรเซฟ ดิ แอลลิแฟนต์ส เพื่อสืบสวนหาวิธีทางวิทยาศาสตร์ว่า ผึ้งสามารถทำให้สัตว์สี่ขาตัวใหญ่ยักษ์ชนิดนี้หวาดกลัวได้หรือไม่

ในปี 2007 งานวิจัยของพวกเขานำไปสู่ข้อสรุปว่า ไม่เพียงแต่ช้างจะอยู่ห่างจากต้นไม้ที่มีรังผึ้งแอฟริกาเท่านั้น แต่พวกมันยัง “ทำเสียงบอกให้ช้างตัวอื่น ๆ อยู่ห่าง ๆ ด้วย” ลูซี คิง กล่าว

“เรารู้ว่าผึ้งสามารถต่อยได้ และเรารู้ด้วยว่าพวกช้างไม่มีวันลืมสิ่งนี้” เธอระบุ

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

รังผึ้งตั้งอยู่ตามแนวรั้ว โดยแต่ละรังห่างกัน 10 เมตร

ลูซี คิง ออกแบบเครื่องมือสำหรับเกษตรกรเพื่อใช้ปกป้องพืชผลจากช้างที่หิวโหย นั่นคือรั้วที่ทำจากรังผึ้ง โดยเริ่มทดสอบแนวคิดนี้ครั้งแรกในปี 2008 ในชุมชนไลกิเปียของเคนยา ซึ่งกำลังเดือดร้อนจากการจู่โจมของช้างที่เกิดขึ้นประจำ

รั้วรอบแปลงเกษตรจะติดตั้งด้วยรังผึ้ง โดยรังผึ้งจะอยู่ระหว่างเสา 2 เสา แต่ละรังมีระยะห่างจากกัน 10 เมตร ผึ้งแอฟริกาจะถูกดึงดูดด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ขี้ผึ้งและน้ำมันตะไคร้ จากนั้นพวกมันจะเริ่มสร้างอาณานิคมในรังตามธรรมชาติ

“สำหรับพื้นที่เพาะปลูกทุก ๆ 0.4 เฮกตาร์ (ราว 4,000 ตำรวจม.) คุณต้องการทั้งหมด 24 รัง” คิงบอก

อย่างไรก็ตาม มีแค่ 12 รังเท่านั้นที่เป็นของจริง ขณะที่รังอื่น ๆ เป็นแค่ของปลอมที่ทำจากไม้สีทองและแผ่นโลหะ เพื่อลวงตาให้ช้างเข้าใจว่ามีรังผึ้งตั้งอยู่จริง ๆ ซึ่งสิ่งนี้ช่วยลดต้นทุนและทำให้ผึ้งแต่ละรังมีพื้นที่มากขึ้น

“เมื่อช้างเข้ามาในพื้นที่ท่ามกลางความมืด พวกมันจะได้กลิ่นผึ้งและน้ำผึ้ง พวกมันยังเห็นกล่องสีเหลือง ๆ ตั้งติด ๆ กันด้วย โดยไม่รู้เลยว่าอันไหนของจริงหรือปลอม นี่เป็นภาพลวงตาที่ใช้งานได้ผลเลยทีเดียว” คิง กล่าว

ประโยชน์อื่น ๆ ของผึ้ง

นอกเหนือจากการป้องกันไม่ให้ช้างเข้ามาในไร่สวนแล้ว รั้วรังผึ้งยังสร้างประโยชน์ด้านอื่น ๆ ให้กับชุมชนที่ใช้งานมันด้วย เช่น การมีรายได้เสริมจากผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง

“ถ้าเกษตรกรมีน้ำผึ้งและพืชผล มันก็ดีพอสำหรับการหาเลี้ยงชีพเพื่อให้ครอบครัวไปต่อได้” มวัมบา กล่าว เขาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีการทดสอบใช้รังผึ้งดังกล่าว

ในตอนนี้ มวัมบากลายเป็นหัวหน้าโครงการรั้วรังผึ้งขององค์กรเซฟ ดิ แอลลิแฟนต์ส และช่วยสอนวิธีสร้างรั้วรังผึ้ง รวมถึงวิธีดูแลรักษาให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ

ผู้หญิง “มักได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างในสัดส่วนที่ไม่สมส่วนกัน” คิง บอก

พวกเธอมักผู้ที่ต้องทำงานในไร่และพยายามไล่ช้างออกไปจนทำให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ

สำหรับผู้หญิงเหล่านี้ “ความรู้สึกมีอำนาจมากขึ้นในสถานการณ์เช่นนี้ หมายความว่าพวกเธอสามารถทำงานดูแลบ้านได้ หรืออาจกลับไปเรียนในโรงเรียน และทำให้แน่ใจว่าพวกเธอมีเวลาไปทำอย่างอื่น” คิง กล่าว

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

ผู้หญิงหลายคนทำงานในไร่สวน และช่วยไล่ช้างออกไป

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิงและนักวิจัยคนอื่น ๆ ได้รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของรังผึ้งในเคนยา

ปัจจุบันรั้วรังผึ้งกำลังได้รับการทดสอบและศึกษาวิจัยต่อในหลายประเทศ เช่น แทนซาเนีย โมซัมบิก และ ศรีลังกา

ข้อพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของวิธีนี้ยังได้มาจากผลลัพธ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกแห่งหนึ่งที่เผชิญความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างจนกลายเป็นปัญหาประจำวัน

ในปี 2024 คิงและเพื่อนร่วมงานได้ตีพิมพ์งานศึกษาระยะยาวที่วิเคราะห์ประสิทธิภาพของรังผึ้งในช่วง 9 ปี ในหมู่บ้านเล็ก ๆ สองแห่งทางตอนใต้ของเคนยา ได้แก่ มวัมบิติ และ มวาโคมา ซึ่งเป็นที่ที่เอ็มมานูเอล มวัมบา อาศัยอยู่

ชุมชนเหล่านี้พึ่งพาพืชผลทางการเกษตรอย่างมาก เช่น กะหล่ำปลีและข้าวโพด แต่มันก็เป็นสิ่งดึงดูดให้ช้างจำนวนมากข้ามฝั่งระหว่างตะวันออกและตะวันตกของอุทยานแห่งชาติซาโว ซึ่งเป็นบ้านของช้างกว่า 15,000 ตัว และนี่คือกลุ่มช้างที่ใหญ่ที่สุดในเคนยา

งานวิจัยชิ้นนี้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้คนภาคพื้นดิน ตั้งแต่กระบวนการติดตั้ง และรวบรวมข้อมูลจากรั้วรังผึ้งดังกล่าว

งานศึกษาพบว่า ช้างจำนวนเกือบ 4,000 ตัวที่เข้าใกล้รั้วรังผึ้ง มีประมาณ 75% ที่ถูกยับยั้งโดยรั้วเหล่านี้ นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถทำรายได้ประมาณ 2,250 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 74,250 บาท) จากการขายน้ำผึ้งด้วย

“ผมคิดว่ามันเป็นวิธีที่แยบยล” แชนนอน ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยครั้งนี้ กล่าว “คุณมีกลไกธรรมชาติที่สามารถยับยั้งสัตว์เหล่านี้ไม่ให้เข้าใกล้ฟาร์มได้ ผมคิดว่ามันเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมมาก”

ข้อเสียของรังผึ้ง

แชนนอนยอมรับว่า งานศึกษายังเผยให้เห็นจุดอ่อนบางประการของวิธีการนี้ ตัวอย่างเช่น ประชากรผึ้งอาจหายไปในปีที่แห้งแล้ง เนื่องจากขาดพรรณไม้ดอก

ในปี 2018 เมื่อรังผึ้งฟื้นตัวจากภัยแล้งของปีก่อนหน้านี้ ช้างจำนวนมากได้เข้ามาในหมู่บ้าน และรั้วรังผึ้งดังกล่าวก็สามารยับยั้งช้างได้ถึง 73%

“เช่นเดียวกับวิธีการหรือเครื่องมื่ออื่น ๆ มันมีข้อจำกัดในด้านประสิทธิภาพ” แชนนอน กล่าว

คิงเสริมว่า ยังกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลต่อรังผึ้ง “เพราะถ้าคุณมีภัยแล้งที่ผิดปกติทุก ๆ 4 ปี แทนที่จะเป็น 15-20 ปี เหมือนที่เคยเป็นมา คุณก็จะเผชิญปัญหาผึ้งฟื้นตัวไม่ทันเวลา”

นอกจากนี้ ฝนที่ตกหนักมากเกินไปก็อาจเป็นปัญหาสำหรับผึ้งได้ เพราะมันทำให้ดอกไม้และพุ่มไม้ล้มเสียชีวิตลง

นักวิจัยแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น พริกอัดก้อน หรือ หอสังเกตการณ์

“มันไม่มีทางแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดียว” คิง บอก

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

แม้ว่าแนวทางแก้ปัญหาในพื้นที่เหล่านี้อาจมีประโยชน์ในการบรรเทาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง แต่เครื่องมือนี้อาจตกอยู่ในอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและภูมิรัฐศาสตร์ได้

“เราจำเป็นต้องมีแนวทางหลายแง่มุมเสมอ ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาในระดับที่สูงกว่าด้วย เช่น การมีส่วนร่วมกับรัฐบาล” เขากล่าว

อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้รั้วรังผึ้งกำลังช่วยมวัมบาและชุมชนอื่น ๆ

“เราเริ่มต้นด้วยรังผึ้ง 2 อัน ตอนนี้เรามีกว่า 700 รัง ใน 3 หมู่บ้าน มันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับชุมชนในตอนนี้” มวัมบา กล่าว

เขาเสริมด้วยว่า วันนี้ชาวบ้านเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับช้าง

ก่อนที่รั้วรังผึ้งจะถูกติดตั้ง “ช้างบุกโจมตีแปลงเกษตรส่วนใหญ่ของที่นี่ แต่ในตอนนี้ ผู้คนเชื่อว่าพวกเขาสามารถอยู่ร่วมกันกับมันได้โดยไม่ต้องหวาดกลัว” เขากล่าวสรุป