แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/w9ri | ดู : 310453 ครั้ง

25 มี.ค. 2568 ที่ศาลอาญา ศาลอ่านคำสั่งรับฟ้อง หลังเสร็จสิ้นการไต่สวนมูลฟ้อง คดีที่บริษัท นาคราพิวัฒน์ จำกัด ซึ่งมี วิวัธน์ จิโรจน์กุล กรรมการผู้มีอำนาจ ผู้ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นประวัติศาสตร์ ‘2475 Dawn of Revolution’ เป็นโจทก์ฟ้อง มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน จำเลยที่ 1, เกษม ศิริสัมพันธ์ จำเลยที่ 2 (จำหน่ายเนื่องจากเสียชีวิต) และ เทวฤทธิ์ มณีฉาย อดีตบรรณาธิการบริหารประชาไท จำเลยที่ 3 และฟ้องบุคคลทั่วไปที่แชร์ข่าวอีก 3 รายเป็นจำเลยที่ 4,5 และ 6 ตามลำดับ

ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 มาตรา 14(1) และ (5) จากการนำเสนอข่าว “พบเจ้าของแอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution' รับโครงการทำสื่อแบบวิธีเฉพาะเจาะจง ‘กองทัพบก' 11 สัญญา” เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนจะมีคำสั่งดังกล่าว ทนายจำเลยได้ยื่นเอกสารคำแถลงตามมาตรา 161/1 และมาตรา 165/2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าคดีไม่มีมูลให้รับฟ้อง โดยระบุถึงเหตุผลหลายประการ สรุปความบางส่วนได้ว่า

-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) วรรคท้ายระบุว่า “..อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท พร้อมๆ กับข้อหาตาม ม.14(1) ตามพ.ร.บ.คอมฯ ได้ ซึ่งประเด็นนี้ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วในหลายกรณี

-โจทก์บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบของ ม.14(1) พ.ร.บ.คอมฯ ฟ้องของโจทก์มีความเคลือบคลุม ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะองค์ประกอบสำคัญของมาตรานี้คือ ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตหรือลวงลวงในการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ ซึ่งไม่ปรากฏในการบรรยายฟ้อง

-ในข้อหาหมิ่นประมาทฯ คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ซึ่งต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือนนับแต่วันรู้เหตุแห่งการกระทำ แต่โจทก์ฟ้องหลังจากผ่านไปแล้วราว 7 เดือน

-ในส่วนของข้อความที่ผิดฐานหมิ่นประมาทฯ ต้องเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม เมื่อพิจารณาคำฟ้อง เอกสารต่างๆ รวมถึงคำเบิกความของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อความเท็จ และไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์รับเงินจากกองทัพมาทำแอนิเมชั่น ‘2475 Dawn of Revolution’ ทั้งพยานยังเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ในการรับจ้างกองทัพบกโดยวิธีการเฉพาะเจาะจงหรือโดยวิธีพิเศษ เป็นกระบวนการที่เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์รับงานจากกองทัพบกในช่วงระหว่าง 2563-2565 จำนวน 11 สัญญาจริง

ส่วนที่โจทก์นำสืบยอมรับว่าแม้ข้อความไม่ปรากฏชัดเจนว่าโจทก์สร้างภาพยนตร์โดยรับเงินจากกองทัพบกโดยตรง แต่ข้อความดังกล่าวเป็นการชี้นำให้ผู้รับข่าวสารเข้าใจว่าโจทก์ได้รับงบจากกองทัพมาดำเนินการทำแอนิเมชั่นนั้น ก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างและนำสืบลอยๆ ของพยานโจทก์ อันเป็นการนำเอาความรู้สึกส่วนตัวเพียงคนเดียวมายืนยัน และเมื่อข้อความไม่ผิดตามความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 4 ถึง 6 จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/w9ri | ดู : 310453 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content