
ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดข้อกังขาต่อผู้รับเหมาจีนบางส่วน เมื่อเข้ามารับงานภาครัฐของไทย ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ความสูงราว 30 ชั้น ที่กำลังก่อสร้างบนพื้นที่เขตจตุจักร พังถล่มหลังแผ่นดินไหวเมื่อ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ปลุกกระแสความสนใจกรณีทุนจีนที่เข้ามาลงทุนกับธุรกิจเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในไทย หลังพบว่าโครงการดังกล่าวมีบริษัทจีนเข้ามาเป็นกิจการร่วมค้า รวมถึงเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง ก็มาจากบริษัทจีน
สำนักข่าว “สปริงนิวส์” รวบรวมข้อมูลการรับงานโครงการรัฐของบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นกิจการร่วมค้ากับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในการรับงานก่อสร้างอาคารดังกล่าว พบว่าตั้งแต่บริษัทฯ เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 ได้ร่วมเป็น “กิจการร่วมค้า” ในโครงการภาครัฐถึง 13 โครงการ วงเงินตั้งแต่หลักร้อยล้านบาท ไปจนถึงหลักพันล้านบาท
ขณะที่ข้อมูลของ “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์” ประเมินสถานการณ์ในภาพรวม ว่าผู้รับเหมาไทยจะเผชิญกับความท้าทายจากการเข้ามาของผู้รับเหมาจีนมากขึ้น
บีบีซีไทย พูดคุยกับ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ว่าช่องโหว่อะไรบ้างที่ทำให้บริษัทจีนสามารถเข้ามาแข่งขันประมูลงานภาครัฐไทย และบางครั้งทำให้เกิดปัญหาตามมา
‘กิจการร่วมค้า – ใช้นอมินี' 2 รูปแบบผู้รับเหมาจีนประมูลงานรัฐไทย
“ที่จริงแล้วผู้รับเหมาจีนเข้ามาหลายปีแล้วนะคะ 10 กว่าปีแล้ว แต่ว่าแนวโน้ม มันหนักหน่วงขึ้นในช่วงระยะเวลา 10 ปีหลัง” ลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยกับบีบีซีไทย
and proceed readingเรื่องแนะนำ
Close of เรื่องแนะนำ
เธอเล่าว่าวิธีการที่ผู้รับเหมาจีนเข้ามาประมูลงานภาครัฐไทย มี 2 รูปแบบ คือ เข้ามาในลักษณะบริษัทจีนที่เป็น “กิจการร่วมค้า” (Joint Venture) กับบริษัทไทย และเข้ามาในลักษณะของการใช้ “นอมินี” คนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51% เพื่อเปิดบริษัทที่มีคนจีนคุม แล้วเข้ามาประมูลงานภาครัฐ
นอกจากนี้ อาจมีลักษณะของการที่เป็นบริษัทจากจีน และขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI เพื่อเข้ามารับงานก่อสร้างภาครัฐแบบเต็มตัวได้ แต่การจะเข้ามาในลักษณะนี้นั้น บริษัทจะต้องผ่านการทำโครงการที่เคยเป็นกิจการร่วมค้ากับบริษัทไทยมาก่อน ถึงจะขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับ BOI เข้ามาทำโดยเป็นบริษัทจีน 100% ได้
“มันจะมีผู้รับเหมาจีนที่เข้ามาอย่างถูกต้อง และมันมีผู้รับเหมาจีนแบบที่เราเรียกกันว่าจีนศูนย์เหรียญ ที่มีคนงานเข้ามาในลักษณะแบบ มีใช้วีซ่านักเรียน หรือว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีวีซ่าแล้วก็ยิ่งสบาย ทีนี้เวลาเราดู ผู้รับเหมา เราอาจจะต้องดูว่าเขาเข้ามาในลักษณะไหน” ลิซ่า ระบุ
เธอยังบอกอีกว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้รับเหมาไทยแข่งขันกับผู้รับเหมาจีนลำบาก เพราะบริษัทจีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนให้เข้ามาประกอบธุรกิจในต่างประเทศ และบางครั้งก็ได้ประโยชน์จากมาตรการยกเว้นภาษี และได้เปรียบจากต้นทุนวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถหาได้ในราคาที่ถูกกว่า
“คือผู้รับเหมาจีน ด้วยความที่เขาได้รับการสนับสนุน เขามาในต้นทุนที่ต่ำ เพราะฉะนั้น งานภาครัฐหลาย ๆ อันที่ผู้รับเหมาไทยประมูลไม่ได้หรือว่าไม่เอา อย่างเช่น ราคากลางไม่ได้ ราคาที่ผู้รับเหมาไทยทำไม่ได้เนี่ย ผู้รับเหมาจีนจะทำได้ แล้วก็เขาก็จะรับขึ้นมาทำ” นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ผู้นี้ระบุ
เธอยังบอกด้วยว่า ที่ผ่านมาในการประมูลงานของภาคเอกชน ที่ไม่ได้มีข้อกำหนดมากเท่ากับการประมูลงานของรัฐ บางครั้งพบว่าผู้รับเหมาจีนเสนอราคาต่ำกว่าผู้รับเหมาไทย 15-20% ทำให้บางครั้งเจ้าของโครงการก็จะเลือกผู้รับเหมาจีน ซึ่งส่งผลกระทบกับบริษัทผู้รับเหมาไทย
“จริง ๆ แล้วสถานการณ์รับเหมาของไทย มันไม่ดีมาหลายปีแล้วนะคะ ตั้งแต่โควิดมาถึงปัจจุบันเนี่ย มันไม่ดีขึ้นเลย ประเด็นหลัก โดยเฉพาะงานราชการ คือว่าราคากลางมันต่ำกว่าฝั่งจีน พอราคากลางต่ำปุ๊บ ผู้รับเหมาไทยจำนวนมากเราก็ไม่เข้าประมูล” ลิซ่า เปิดเผย “มันก็จะมีบริษัทจีน ทำ Joint Venture (กิจการร่วมค้า) อันนี้จะเป็นช่องให้ผู้ประกอบการจีน”
“ขณะเดียวกัน… งานเอกชนก็ถูก disrupt (เปลี่ยนแปลง) โดยผู้ประกอบการจีน งานเอกชนเนี่ยมันไม่ได้ถูกมาปรับด้วย พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง หรืออะไรก็แล้วแต่เลย เขาอยากจะจ้างใคร อยากจะจ้างคนที่ราคาต่ำไหม อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ในภาพรวมมันไม่ดีมานานแล้ว”
“โดยเฉพาะเวลาเรามีปัจจัยลบ อย่างเช่น แนวโน้มการขึ้นค่าแรง หรือว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการไทย ตอนนี้ไม่ดี คือมีข่าวในช่วงแบบเดือนที่ผ่านมา มันก็ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถที่จะสู้กับผู้ประกอบการจีนได้” เธอระบุ
การสนับสนุนจากรัฐบาลไทยให้จีนเข้ามาลงทุน

ที่มาของภาพ : Royal Thai Government
ช่วงทศวรรษผ่านมา มีรายงานผู้บริหารในรัฐบาลไทยในหลายสมัยนายกรัฐมนตรี พบปะส่งเสริมความร่วมมือกับบริษัทก่อสร้างของจีนอยู่ในหลายวาระ อาทิ
29-30 ม.ค. 2559 จากเอกสารข่าวของ “กระทรวงการคลัง” รายงานการพบปะระหว่าง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพร้อมคณะ กับ หลายบริษัทจีนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อาทิ China National Constructing Field materials Community (CNBM), China Minmetals Corporation, และ Strength China Community เพื่อหารือความเป็นไปได้ในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งการหารือยังได้รับความร่วมมือจาก ธนาคาร ICBC ธนาคารใหญ่ที่สุดของจีน ที่จะให้การสนับสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนของกลุ่มนักลงทุนจีนในไทยด้วย
18 ต.ค. 2566 หลัง ครม. มีมติรับหลักการโครงการแลนด์บริดจ์ได้ 2 วัน “กรมประชาสัมพันธ์” รายงานการพบปะระหว่าง ผู้บริหารบริษัท CHEC ที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างในโครงสร้างสาธารณูปโภคใหญ่ที่สุดของจีน กับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งระบุว่า ยินดีที่มีการลงทุนจากบริษัท CHEC ในไทย โดยขอให้บริษัทฯ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้อง
11 พ.ค. 2567
30 ก.ย. 2567
การสนับสนุนให้บริษัทจีนเข้ามาลงทุนโครงการก่อสร้างในไทยนั้น มุมมองจากนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ไม่ได้มองว่าจะมีแต่ข้อเสีย
“ผู้รับเหมาจีนที่ดีก็มี ที่มีศักยภาพก็มี และถ้าเกิดว่าเขา Joint (ร่วมค้า) กับผู้รับเหมาไทย มันจะทำให้เกิด technology transfer (การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี)” ลิซ่า บอกกับบีบีซีไทย เธอมองว่าเมื่อมีบริษัทต่างชาติเข้ามาทำกิจการร่วมค้าในไทย ควรมีข้อกำหนดบังคับให้ต้องมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ซึ่งในบางประเทศมีข้อกำหนดนี้ ขณะที่ไทยยังไม่มีกฎเกณฑ์แน่ชัด ทำให้ยังไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรจากการเข้ามาของผู้รับเหมาจีน
“แน่นอนในฐานะที่เป็นผู้รับเหมาไทย เราก็ไม่อยากให้คนจีนเข้ามาแข่งขันหรอก เพราะว่าหลายครั้งที่เราไม่สามารถที่จะสู้ราคาได้ แต่อันนี้เราให้ข้อมูลในความ gorgeous (เป็นธรรม) ว่า คนที่เขาทำงานเก่ง ทำงานเป็นก็มี ซึ่งเราก็ใช้ประโยชน์จากเขาได้ ถ้าเกิดว่ามันมีข้อกำหนดว่า เขาเข้ามา Joint (ร่วมค้า) อะไรแบบนี้แล้ว เขาจะต้อง transfer (แลกเปลี่ยน) เทคโนโลยีบางอย่างให้” เธอกล่าว
“ผู้รับเหมาไทย” มีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันจากจีนรุนแรงขึ้น
ข้อมูล “รายงานภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จัดทำล่าสุดของปี 2566 มีโครงการจากจีนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 1,448 โครงการ มูลค่ารวมเกือบ 7 แสนล้านบาท โดยมีการลงทุนในหมวด “โลหะและวัสดุ” จำนวน 222 โครงการ คิดเป็น 15.33% ของจำนวนโครงการทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สถิติการลงทุนโดยตรงจากจีนที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ตลอดปี 2567 พบว่าปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว จีนได้รับการส่งเสริมการลงทุนในหมวด “อุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ” (Steel and Field materials Trade) ในไทยแล้ว 151 โครงการ นับเป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับการลงทุนในหมวดอื่น ๆ ทั้งหมด โดยมูลค่าการลงทุนเฉพาะหมวดนี้ 40,630 ล้านบาท
ขณะที่ “สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ” ของปี 2567 ในภาพรวม พบว่า “จีน” เป็นประเทศที่มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มากที่สุด คือ 743 โครงการ อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินลงทุนจากจีน ซึ่งรวมอยู่ที่ 174,440 ล้านบาท นั้น ยังเป็นรอง “สิงคโปร์” ที่เข้ามาลงทุนด้วยจำนวนโครงการน้อยกว่า แต่ใช้เงินลงทุนมากกว่า
ทั้งนี้ จากคำอธิบายในเว็บไซต์ของ BOI หมวด “กิจการผลิตวัสดุ” ครอบคลุมถึงกิจการผลิตปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค แต่ก็หมายรวมถึงวัสดุอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์นาโน แก้ว เซรามิก ด้วย
นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ มองว่า ข้อมูลดังกล่าวอาจจะไม่เพียงพอสะท้อนสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยตรง แต่อาจแปลผลได้ว่า ช่วงปีที่ผ่านมามีบริษัทหรืออุตสาหกรรมจีน ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมากในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งบางครั้งอาจผลิตสินค้าประเภทเดียวกับคนไทย แต่เมื่อได้ประโยชน์ทางภาษีก็อาจทำให้ผลิตสินค้าได้ในราคาถูกจนคนไทยเองไม่สามารถที่จะแข่งขันได้

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ด้านรายงานของ “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์” เมื่อเดือนที่ผ่านมา ประเมินว่า มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐ ซึ่งโดยปกติจะมีสัดส่วนกว่า 57% ของมูลค่าการก่อสร้างโดยรวมนั้น มีแนวโน้มขยายตัว 3% ในปี 2568 แตะระดับ 856,000 ล้านบาท จากปัจจัยหนุน ทั้งงบประมาณที่เพิ่มขึ้น การเบิกจ่ายดำเนินการได้ต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์ใหม่ ๆ
ทว่า แนวโน้มการขยายตัวของภาคก่อสร้างโดยรวม ยังอยู่ในระดับต่ำ ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยต่อไปในอดีต ท่ามกลางความเสี่ยงด้านความล่าช้าในการเปิดประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์ใหม่ ๆ การฟื้นตัวช้าของตลาดที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ตลาดรับเหมาก่อสร้างมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
รายงานดังกล่าวยังระบุถึง “การเข้ามาแข่งขันประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างชาวจีน” ว่าเป็น “ความท้าทายสำคัญ” ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยเผชิญการแข่งขันที่รุุนแรงขึ้น และยังนำมาสู่การใช้สินค้าวัสดุุก่อสร้างจากจีนมากขึ้น โดยเฉพาะเหล็ก และอะลูมิเนียม ส่งผลกระทบต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน (offer chain) ของภาคก่อสร้างไทย ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในระยะข้างหน้า
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่จีนเข้ามา แต่คือการกำกับดูแลจากฝั่งไทย
“โดยปกติงานภาครัฐมันจะถูกควบคุมโดยผู้ควบคุมงานอยู่แล้ว ซึ่งผู้ควบคุมงานบางแห่ง… เขาใช้บุคลากรภายในมาตรวจสอบ นั่นหมายความว่า ในการทำงานของผู้รับเหมา ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาไทย หรือผู้รับเหมาจีน หรือว่าร่วมกันเนี่ย เขาจะต้องขออนุญาตใช้วัสดุก่อน แล้วเขาจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว” ลิซ่าอธิบาย
เธอมองว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้รับเหมาจีนที่เข้ามา เพราะแม้อาจจะเสนอราคาที่ถูกกว่า แต่หากมีการกำกับดูแลจากผู้ควบคุมงานให้การก่อสร้างทุกขั้นตอนเป็นไปตามสเปกที่กำหนดไว้ทั้งหมด คุณภาพการก่อสร้างก็อาจไม่ได้ต่างกัน
เธอยกตัวอย่างเช่น เหล็กเส้น ที่กำลังถูกพูดถึงจากกรณีอาคารถล่มนั้น ที่จริงแล้วก่อนจะนำมาใช้ได้ ผู้รับเหมาจะต้องขออนุมัติก่อนว่าจะใช้เหล็กยี่ห้ออะไร ขนาดเท่าไหร่ ที่ถูกต้องตามสเปก เมื่อได้รับอนุมัติจึงจะสามารถนำเข้ามาใช้ก่อสร้างได้ และเมื่อมีการประกอบเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น คาน หรือ เสา หรือแม้แต่การต่อเหล็ก ผูกเหล็กต่าง ๆ ก็ต้องมีผู้คุมงานเข้ามาตรวจสอบ ว่าทำอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมหรือไม่
“การที่เรามีคนตรวจสอบเยอะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมงานก่อนที่จะดำเนินการได้เนี่ย ดิฉันไม่เชื่อว่าจะมีผู้รับเหมาไปลดแบบ อย่างที่เคยที่บอกว่า ใช้เหล็กไม่ถูกขนาด อะไรอย่างนี้ดิฉันว่าไม่ คือถ้าระหว่างทางมันมีการกำกับดูแล แล้วก็ตรวจสอบแบบเข้มข้นกันจริง ๆ ตามกระบวนการตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ของรัฐจริง ๆ ดิฉันมองว่า มันไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น” เธอระบุ

ที่มาของภาพ : Thai Facts Pix
เกณฑ์ราคาที่ไม่ได้สะท้อนคุณภาพ
นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ ผู้นี้ ให้ความเห็นด้วยว่า ผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ เช่น ไม่เกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน สามารถทำงานได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือทำงานเสร็จออกมาตรงตามสเปก มักจะมีต้นทุนแฝง ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจจะแพงกว่า ซึ่งพอการประมูลงานภาครัฐใช้เกณฑ์ราคาเป็นตัวตั้ง ก็ทำให้ผู้ประกอบการที่มีคุณภาพแข่งขันไม่ได้
“ทางสมาคมเองเราพูดมาตลอดว่า ‘เกณฑ์ราคา' ในงานบางลักษณะอาจจะไม่ใช่เกณฑ์ที่ดีที่สุด จริง ๆ แล้ว มันควรจะเอาความสามารถ หรือศักยภาพ เข้ามาร่วมในการประมูลด้วย” ลิซ่าเปิดเผยถึงข้อเสนอของสมาคมฯ ที่อยากให้มีการใช้เกณฑ์การให้คะแนนผู้รับเหมาที่มีคุณภาพ มาประกอบการพิจารณาในการเข้าประมูลงานภาครัฐด้วย โดยจะต้องมีเกณฑ์การให้คะแนนที่โปร่งใสและไม่เอื้อให้กับผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง ซึ่งเธอเชื่อว่าหากมีการปรับเกณฑ์ในลักษณะนี้ ผู้รับเหมาไทยจะสามารถแข่งขันกับผู้รับเหมาจีนได้
“การบริหารไซต์ก่อสร้างให้ได้งานเสร็จเร็วกว่ากำหนด หรือแม้แต่การยกระดับความปลอดภัยในการทำงาน อะไรพวกนี้มันมีต้นทุนทั้งนั้น มันไม่ใช่มาได้เปล่า ๆ มันจะต้องมีการลงทุนที่ยกระดับความปลอดภัย มันต้องมีลงทุนที่จะบริหารงานก่อสร้างให้เสร็จเร็ว อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นพอทุกอย่างมันเป็นต้นทุน พวกนี้ราคาเขาเลยอาจจะไม่ใช่ราคาที่ต่ำที่สุดในการประมูล ที่หลาย ๆ ครั้งเราจะเห็นว่าบริษัทที่ดีเนี่ย ราคาประมูลเขาจะสูงกว่าบริษัทอื่น เพราะว่าเขามีต้นทุนพวกนี้” เธออธิบาย
ช่วงโหว่กฎหมายและการบังคับใช้ที่ไม่เข้มแข็ง
“ปัญหาของประเทศไทยก็คือว่า ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลก หรือว่า เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกนี่แหละ น่าจะเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่ใคร ๆ ก็มาเป็นผู้รับเหมาได้ หมายความว่า เข้ามาปุ๊บ ถ้ามีนอมินี ก็สามารถไปที่กระทรวงพาณิชย์และจดทะเบียนตั้งบริษัทรับเหมา ก่อสร้างได้เลย โดยที่ไม่ได้มีใบอนุญาต ไม่ได้มี license (ใบอนุญาต) ควบคุม” ลิซ่า บอกกับบีบีซีไทย
เธอเปิดเผยว่าสมาคมฯ เคยผลักดันให้มี พ.ร.บ.ก่อสร้างฯ เพื่อกำหนดให้ต้องมีการออกใบอนุญาตให้กับบริษัทที่จะประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง โดยจะต้องตรวจสอบก่อนว่าบริษัทดังกล่าวมีวิศวกร สถาปนิก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพก่อสร้างประจำบริษัทก่อน จึงจะออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างได้ แต่ปัจจุบันไทยยังไม่มีข้อกำหนดนี้ ทำให้เป็นช่องโหว่ให้มีบริษัทนอมินีที่อาจไม่มีคุณภาพ
“ตัวเลขแท้จริงเราเลยไม่เคยมีว่าผู้รับเหมาจีนเข้ามาเท่าไหร่ มีความเป็นนอมินีหรือไม่เป็นนอมินี ถ้าเราเช็กกับกระทรวงพาณิชย์ มีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างน่าจะสองสามหมื่นบริษัท ซึ่งสองสามหมื่นบริษัทนี้ มันแทบจะแยกไม่ได้เลยว่า มีศักยภาพ ไม่มีศักยภาพ เป็นคนจีน หรือเป็นคนไทย เป็นนอมินี หรือไม่เป็นนอมินี เพราะว่ายังไงก็สามารถเดินไปและจดทะเบียนได้เลย” เธอสะท้อนให้ฟัง
ลิซ่า ยังพูดถึงกระบวนการตรวจสอบบริษัทนอมินีของภาครัฐที่ผ่านมา มักจะเป็นการเข้ามาตรวจสอบหลังบริษัทก่อปัญหาขึ้น แต่ไม่ได้ตรวจสอบในเชิงรุก ทั้งที่การตรวจสอบไม่ยาก และการบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทเหล่านี้ยังใช้เวลานาน ทำให้ผู้รับเหมาที่ไม่ได้คุณภาพไม่เกรงกลัว
“คือภาครัฐ เวลาเอาผิดมันช้า คือพอพบผิดปุ๊บ แทนที่จะรีบดำเนินการ แทนที่จะรีบตัดสินเพื่อให้เป็นตัวอย่าง เป็นมาตรฐานว่าคุณทำแบบนี้ไม่ได้ กว่าจะเข้ากระบวนการสอบ กว่าจะตัดสิน บางทีมันผ่านไป 3 ปี 5 ปี… การตัดสินล่าช้าพวกนี้มันทำให้กฎหมายไม่แข็งแรง มันทำให้คนไม่กลัว” เธอสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบันทีเกิดขึ้น
“แม้แต่ขั้นตอนการ blacklist (ขึ้นบัญชีดำ) ผู้รับเหมาที่แย่ ๆ กว่าจะทำเสร็จ มันคือใช้เวลา 2-3 ปี ซึ่งหลายครั้งเขาสามารถไปประมูลงานอื่นได้ และความเสียหายมันก็เกิดขึ้น” เธอกล่าวทิ้งท้าย
ที่มา BBC.co.uk