แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/0uh9 | ดู : 10 ครั้ง
ในช่วงที่วิกฤตปากีสถาน-อินเดียรอบล่าสุดยังคงฝุ่นตลบ-แต่ก็มีน

ในช่วงที่วิกฤตปากีสถาน-อินเดียรอบล่าสุดยังคงฝุ่นตลบ แต่ก็มีนักวิเคราะห์ประเมินไว้แล้วว่าปัญหาข้อพิพาทแคว้นแคชเมียร์จะยังคงไม่จบลงง่าย และจะเกิดการปะทะครั้งใหม่ขึ้นอีกครั้ง เพราะกองทัพปากีสถานต้องการใช้ความขัดแย้งกับอินเดียเช่นนี้ในการให้ความชอบธรรมแก่การมีอยู่ของตัวเอง เรื่องนี้ยังสะท้อนว่าวิธีการแบบสงครามอสมมาตรของปากีสถานยังใช้ได้ผล

มีนักวิเคราะห์เสนอมุมมองเกี่ยวกับวิกฤตความขัดแย้งอินเดีย-ปากีสถานรอบล่าสุด ว่าใครมีส่วนได้หรือส่วนเสียอะไรกับความขัดแย้งนี้ เรื่องเริ่มต้นจากเหตุการณ์โจมตีแบบก่อการร้ายที่เมืองปาฮาลกัม แคว้นจัมมูร์-แคชเมียร์ เมื่อเดือน เม.ย. 2568 เป็นเหตุให้มีพลเรือนเป็นนักท่องเที่ยวเสียชีวิต 26 ราย เหตุเกิดในพื้นที่ๆ อินเดียปกครองอยู่

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการโจมตีโดยสมาชิก 5 ราย ของกลุ่มติดอาวุธ ชื่อกลุ่ม “The Resistance Front” หรือ TRF ที่ใช้อาวุธปืนกล M4 Carbine และ AK-47 โจมตีสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองปาฮาลกัม นับเป็นการโจมตีพลเรือนครั้งร้ายแรงที่สุดในอินเดียนับตั้งแต่เหตุการณ์โจมตีมุมไบปี 2551

การโจมตีนี้ก่อให้เกิดวิกฤตความขัดแย้งครั้งใหม่ เมื่ออินเดีย กล่าวหาว่า ปากีสถานให้การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในการโจมตีนักท่องเที่ยว แต่ปากีสถาน ก็ปฏิเสธข้อกล่าวหา ทางการอินเดีย ได้โต้ตอบด้วยการไล่ทูตปากีสถาน และเรียกทูตของตัวเองจากปากีสถาน กลับประเทศ มีการยกเลิกสนธิสัญญาร่วมกันและระงับการออกวีซา ฝ่ายปากีสถานโต้ตอบด้วยการจำกัดทางการค้า ปิดกั้นไม่ให้อินเดียเดินทางข้ามแดนและเดินทางข้ามน่านฟ้าของปากีสถาน

ต่อมาก็มีการสู้รบข้ามแดนเกิดขึ้น โดยฝ่ายอินเดียยิvจรวดขีปนาวุธใส่ที่ๆ พวกเขาเรียกว่าเป็นฐานของ “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งไม่เพียงแค่โจมตีแคว้นแคชเมียร์เท่านั้น แต่ยังโจมตีใส่แคว้นปัญจาบ ของปากีสถาน หลังจากนั้นต่างฝ่ายก็ใช้โดรนสังหารโจมตีใส่พื้นที่เขตแดนของอีกฝ่าย แล้วก็กล่าวหาอีกฝ่ายว่าเป็นผู้เริ่มโจมตีก่อน

ความตึงเครียดดำเนินมาจนถึงขีดสุดตอนที่อินเดียกับปากีสถานต่างก็ยิvจรวดถล่มฐานทัพหลายแห่งของอีกฝ่าย ทำให้ในตอนนั้นโลกได้เตรียมรับมือกับสงครามเต็มรูปแบบที่อาจจะปะทุได้ จนกระทั่งในที่สุด สหรัฐฯ ก็ต้องเข้าไปเป็นตัวกลางเจรจาหยุดยิv ทางฝ่ายปากีสถาน แสดงท่าทีขอบคุณสหรัฐฯ ที่เข้ามาช่วยเจรจา แต่ทางอินเดีย ยืนยันว่า การหยุดยิvเกิดขึ้นได้เพียงแค่ 2 ฝ่ายตกลงกันโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางเป็นประเทศที่ 3

มีการทำข้อตกลงหยุดยิvในวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้อินเดีย กับปากีสถาน รอดจากการนำประเทศตัวเองไปสู่สงครามเต็มรูปแบบ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการยกระดับความตึงเครียดทางการทหารมากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลังจากหยุดยิvแล้ว ก็ได้กลายมาเป็นการทำ “สงครามวาทกรรม” แทน โดยที่ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าพวกตนเป็นฝ่าย “ชนะ” ในความขัดแย้งนี้

ความขัดแย้งนี้เพื่ออะไร? ใครได้ใครเสีย?

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งระบุว่า จากวิกฤตล่าสุดที่เกิดขึ้น ดูเหมือนจะไม่มีฝ่ายใดเลยที่กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่ทั้งอินเดียและปากีสถานต่างก็เอาความขัดแย้งนี้มาอ้างว่าฝ่ายตัวเองเป็นฝ่ายได้ ถึงแม้ว่าจะประสบความสูญเสียทั้งสองฝ่ายก็ตาม

ขณะเดียวกัน ก็มีมุมมองว่าการที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ได้เป็นตัวกลางในการเจรจาข้อพิพาทแคชเมียร์รอบล่าสุด อาจจะกลายเป็นผลบวกต่อปากีสถานก็ได้ ในแง่ที่ว่ามันทำให้ข้อพิพาทแคชเมียร์กลายเป็นเรื่องในระดับโลก แทนที่จะเป็นแค่ในระดับภูมิภาค

ข้อพิพาทแคว้นแคชเมียร์นี้ เป็นรากเหง้าของความขัดแย้งระหว่างอินเดีย กับปากีสถาน ครั้งล่าสุด จากการที่ 3 ประเทศได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และจีน ต่างก็ปกครองพื้นที่คนละส่วนกันในแคชเมียร์ โดยที่จีน ปกครองพื้นที่ฉนวน 2 ส่วนเล็กๆ ขณะที่ปากีสถาน และอินเดีย ต่างก็มีข้อพิพาทกัน ซึ่งปากีสถาน มองว่า พื้นที่บางส่วนที่อินเดีย ปกครองอยู่ในปัจจุบัน จริงๆ แล้วต้องเป็นของปากีสถาน โดยไม่นับพื้นที่ๆ จีนปกครองอยู่ แต่อินเดีย มองว่า แคว้นแคชเมียร์ทั้งหมดจริงๆ แล้วต้องเป็นของอินเดีย โดยที่จีน เป็นประเทศwันธมิตรกับปากีสถาน และมีข้อพิพาทกับอินเดีย

ความขัดแย้งเช่นนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปี เคยมีการทำข้อตกลงที่เรียกว่า “ข้อตกลงซิมลา” หลังการการเจรจาระหว่าง บังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน โดยที่หลังจากนั้น อินเดียก็พยายามใช้วาทกรรมที่ว่า ความขัดแย้งแคว้นแคชเมียร์เป็นเรื่องที่ตกลงกันได้ระหว่าง 2 ประเทศโดยไม่ต้องมีชาติที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่ปากีสถาน ต้องการให้นานาชาติเข้ามามีบทบาทแก้ไขข้อพิพาทมากกว่า โดยอ้างข้อมติของสหประชาชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้

วอลเตอร์ ลัดวิก อาจารย์อาวุโสจากวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า ความขัดแย้งรอบล่าสุดได้ให้โอกาสปากีสถานในการทำให้ประเด็นแคชเมียร์กลายเป็นประเด็นระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของพวกเขาที่มีมาเป็นเวลานาน โดยอ้างเรื่องที่สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนช่วยเจรจาครั้งล่าสุด

แต่รัฐบาลอินเดียก็มีส่วนได้จากความขัดแย้งครั้งล่าสุดนี้เช่นกัน สุดา รามาจันดรัน บรรณาธิการฝ่ายเอเชียใต้ จากนิตยสาร ดิ ดิปพโลแมต กล่าวว่า รัฐบาล นเรนทรา โมดี อาจจะสามารถอ้างใช้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการเรียกเสียงสนับสนุนจากฐานเสียงชาตินิยมอินเดียได้ แต่ก็อาจจะสูญเสียความนิยมไปบ้างจากกลุ่มหัวรั้นหลังจากที่มีการตกลงหยุดยิv

นักวิเคราะห์อื่นๆ ยังบอกอีกว่า การที่ปากีสถานใช้วิธีการก่อการร้ายอาจจะส่งผลเสียต่อปากีสถาน ทำให้ภาพลักษณ์เป็นลบเพราะถูกมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้าย และทำให้อินเดีย ได้ประโยชน์ทางการทูตจากการที่ทำให้โลกหันมาสนใจเรื่องดังกล่าวนี้ ซึ่งอินเดีย ได้ทำการกล่าวหาปากีสถาน มาโดยตลอดว่ารัฐบาลปากีสถาน คอยหล่อเลี้ยงอุ้มชู กลุ่มติดอาวุธ เพื่อปฏิบัติการแบ่งแยกดินแดนแคชเมียร์จากอินเดีย แต่ปากีสถาน ก็บอกว่า พวกเขาแค่สนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนแค่ในด้านการทูต และในเชิงขวัญกำลังใจเท่านั้น

สงครามวาทกรรม

อีกเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นคือสงครามวาทกรรมที่ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าฝ่ายตัวเองโจมตีทหารหรือกลุ่มติดอาวุธฝ่ายตรงข้ามได้จำนวนมาก แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็จะบอกว่าไม่จริงและยกตัวเลขเรื่องที่อีกฝ่ายโจมตีใส่พลเรือน เช่น กรณีการโจมตีของอินเดียในวันที่ 7 พฤษภาคม ที่พวกเขาอ้างว่าสามารถสังหาร “ผู้ก่อการร้าย” ได้มากกว่า 100 ราย แต่ปากีสถานก็บอกว่าจรวดของอินเดียตกใส่มัสยิดในเขตชุมชนทำให้มีพลเรือนเสียชีวิต 40 ราย มีเด็กรวมอยู่ด้วย มีทหารเสียชีวิต 11 นาย เท่านั้น

ทางด้านปากีสถาน เองก็อ้างว่า พวกเขายิvเครื่องบินรบของฝ่ายอินเดียตกได้ โดยที่อินเดียไม่ได้ยืนยันหรือปฏิเสธในเรื่องนี้ กองทัพปากีสถานเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบินที่พวกเขายิvตก ซึ่งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และฝรั่งเศส ก็ยืนยันว่าอินเดียสูญเสียเครื่องบินของตัวเองไปอย่างน้อย 2 ลำ ทางการอินเดียเปิดเผยต่อสื่อแค่ว่ามีเครื่องบินรบ 2 ลำตกในเขตที่อินเดียปกครอง แต่ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นเครื่องบินของใคร

อัสฟานดิยาร์ มีร์ นักวิจัยอาวุโสของศูนย์สติมสันในวอชิงตันดีซี กล่าวว่า การที่ปากีสถานยิvเครื่องบินตกโดยมีสื่ออิสระหลายแห่งยืนยันในเรื่องนี้จะทำให้การหยุดยิvส่งผลดีต่อปากีสถานเอง

แต่ลัดวิก ก็เตือนว่า เรื่องที่ปากีสถาน ยิvเครื่องบินตกได้อาจจะไม่ได้นับเป็นความสำเร็จอะไร อย่างมากที่สุดก็เป็นชัยชนะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่ได้ทำให้ปากีสถาน ได้เปรียบทางการทหารในแบบที่เห็นได้ชัดเจน

ในทางตรงกันข้าม เมื่อพิจารณาด้านยุทธศาสตร์การทหารแล้ว มีนักวิเคราะห์มองว่าอินเดียอาจจะเป็นฝ่ายได้เปรียบด้วยซ้ำ จากการที่อินเดีย ทำการโจมตีลึกเข้าไปในเขตแดนของปากีสถาน มากขึ้น เช่น ในการโจมตีวันที่ 7 พ.ค. 2568 อินเดียก็ยิvจรวดใส่เป้าหมายในปัญจาบ 4 แห่ง นับเป็นการโจมตีแคว้นที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด และนับเป็นแคว้นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของปากีสถาน อีกทั้งในการโจมตีเมื่อวันที่ 10 พ.ค. อินเดียก็โจมตีโดนเป้าหมายเป็นฐานทัพอากาศปากีสถาน 3 แห่งที่อยู่ลึกเข้าไปในแคว้นปัญจาบ

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าอินเดียได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทะลวงเข้าไปในดินแดนของปากีสถานได้มากกว่า ลัดวิก บอกว่า การที่อินเดียโจมตีเป้าหมายในปากีสถานได้สำเร็จนั้น สะท้อนให้เห็นว่าปากีสถานมีความบกพร่องในแนวป้องกัน

ปากีสถานได้อะไรจากการสร้างวิกฤตในครั้งนี้

ซี คริสทีน แฟร์ ศาสตราจารย์จากโครงการศึกษาด้านความมั่นคงของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ เขียนบทวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ในสื่อ Foreign Coverage โดยมองว่า ถึงแม้จะมีการตกลงหยุดยิvเกิดขึ้นในความขัดแย้งครั้งล่าสุด แต่ในอนาคตก็อาจจะเกิดวิกฤติการสู้รบระหว่างอินเดียกับปากีสถานในเรื่องแคชเมียร์อีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะสำหรับกองทัพปากีสถานที่ปกครองประเทศอยู่นั้น พวกเขาต้องอาศัยประเด็นแคชเมียร์เป็นเหตุผลในการดำรงอยู่ของตนเองโดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบในทางวัตถุ

สำหรับแฟร์ ความขัดแย้งรอบล่าสุดนี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่า สิ่งที่ผู้นำปากีสถานประเมินเอาไว้เป็นเรื่องจริง ในเรื่องที่ว่าพวกเขาสามารถใช้วิธีการแบบสงครามอสมมาตรได้ผล ถึงแม้จะมีความเสี่ยงก็ตาม

สงครามอสมมาตร หมายถึง การสู้รบจากฝ่ายที่เสียเปรียบ โดยอาศัยวิธีการทำสงครามการสู้รบย่อยๆ หรือการก่อการร้ายแทนการทำสงครามใหญ่ๆ ซึ่งในที่นี้เป็นกรณีที่ปากีสถานอาศัยกลุ่มติดอาวุธที่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุน ในการก่อการร้ายต่อพื้นที่แคชเมียร์ส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอินเดียได้สำเร็จ ถึงแม้ว่าอินเดียจะมีการวางระบบต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ไว้อย่างดี แต่พวกเขาก็ไม่สามารถป้องกันเหตุร้ายได้ทั้งหมด เป็นการสะท้อนเชิงสัญลักษณ์ว่าอินเดียไม่สามารถรักษาความสงบหรือควบคุมแคชเมียร์เอาไว้ได้ทั้งหมด

ประวัติศาสตร์ของปากีสถานเองก็ดูจะผูกโยงกับแคชเมียร์ ทำให้ข้อพิพาทเขตแดนแคว้นแห่งนี้มีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา จนแทบจะเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์การสร้างชาติ จากการที่ มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถาน ก็ได้พูดย้ำความสำคัญของแคชเมียร์ที่มีต่อปากีสถาน บอกว่าแคชเมียร์เปรียบเสมือนเส้นเลืoดใหญ่ของปากีสถาน ผู้นำทหารและนายกรัฐมนตรีปากีสถานรุ่นต่อรุ่นก็อ้างใช้วาทะแบบนี้ จนมันกลายเป็นฉันทามติร่วมกันของคนในประเทศทั้งชนชั้นนำและสามัญชน ที่มองว่าแคชเมียร์เป็นของปากีสถาน

ในมุมของปากีสถานแล้ว การแบ่งแยกชมพูทวีปเมื่อปี 2490 ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะแคชเมียร์ซึ่งเป็นแคว้นเดียวในบริติชอินเดียที่มุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน ถ้าหากไม่มีแคชเมียร์ ประเทศปากีสถานก็ยัง “ไม่สมบูรณ์” ในสายตาของพวกเขา

เรื่องนี้ทำให้กองทัพปากีสถาน ฉวยใช้แคชเมียร์มาตั้งเป็นมหายุทธศาสตร์ของตนเอง เพื่อที่จะเรียกร้องการสนับสนุนจนทำให้กองทัพปากีสถานมีอำนาจนำทางการเมือง มีกำลังพลจำนวนมาก โดยมีทหารประจำการ 654,000 นาย กองกำลังผสม 500,000 นาย และทหารกองกนุน 550,000 นาย

นอกจากนี้ การสร้างความชัดแย้งเรื่องแคชเมียร์ ยังทำให้กองทัพปากีสถานผูกขาดนโยบายรัฐและทรัพยากรของประเทศได้ ถึงแม้ว่าปากีสถานจะไม่ได้มีสถานะทางการเงินที่ดีนักและยังต้องพึ่งพาการเงินจากต่างประเทศรวมถึงจาก IMF อยู่ก็ตาม แต่กองทัพปากีสถานก็ต้องการความขัดแย้งกับอินเดียเพื่อหล่อเลี้ยงตัวเอง ทั้งในทางอุดมการณ์และในทางทรัพยากร จนทำให้มีคำพูดที่ว่า

“ประเทศส่วนใหญ่มีกองทัพเป็นของตัวเอง แต่สำหรับปากีสถานแล้ว กองทัพมีประเทศเป็นของตัวเอง” แฟร์ กล่าว

เรียบเรียงจาก

What did India and Pakistan ranking – and lose – of their defense power standoff?, Aljazeera, 14-05-2025

Another Conflict Over Kashmir Is Coming, Foreign Coverage, 16-05-2025

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก

ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

ปตท. เดินหน้าขยายการลงทุนโรงแยกอากาศแห่งที่ 2 มุ่งหน้าสู่ Obtain Zero Emissions

ไล่ล่าจับกุมหนุ่มเสพยาซิ่งรถเครื่องย้อนศร หนีสุดชีวิต . ตำรว

‘รมว.คลัง’ชง‘ครม.’เคาะแต่งตั้ง‘ผู้ว่าฯธปท.’คนใหม่ 15 ก.ค.นี้

เปิด 2 เงื่อนไข “วอลเลย์บอลหญิงไทย” รอดตกชั้น VNL 2025 ก่อนดวลแคนาดานัดชี้ชะตา วันที่ 14 ก.ค

ภูเขาไฟใต้ทะเลบางแห่งอาจปะทุขึ้นในเร็ว ๆ นี้ แล้วมันน่ากังวลแค่ไหน ?

หนุ่มเสพยาซิ่งรถมอไซค์ย้อนศร หวังหนีตำรวจสุดชีวิต สุดท้ายไม่

วันที่ 13 กรกฎาคม 2568 เวลา 18.30 น. ฝนเล็กน้อยสลับปานกลางเข 2025-07-13 11:fifty three:00

📝 ชุดข้อมูลภูมิประเทศ “หมู่เกาะทะเลไทย” สำหรับการบริหารจัดกา

"สีกากอล์ฟ" อ้างบัญชี 7 ล้านถูกแฮ็ก อ้อน "พระ" โอน 1.8 แสน 13ก.ค.68

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/0uh9 | ดู : 10 ครั้ง
  1. สีกากอล์ฟ-เขย่าวงการสงฆ์-ชมคลิป-:-สีกากอล์ฟ-เปิดใจคบอดี สีกากอล์ฟ เขย่าวงการสงฆ์ 📱 ชมคลิป : สีกากอล์ฟ เปิดใจคบอดี
  2. โอ้ป้า-หาเรื่อง-:-ข้าววัด-ฟังธรรม-โอ้ป้าหาเรื่อง-ทำบุญ-#fm-|-2025-07-13-12:01:00 โอ้ป้า หาเรื่อง : ข้าววัด ฟังธรรม โอ้ป้าหาเรื่อง ทำบุญ FM 2025-07-13 12:01:00
  3. ส่องแมงมุมกระโดด-นักจับแมลงตัวน้อย-หลากสีสันในผืนป่าคลองลาน ส่องแมงมุมกระโดด นักจับแมลงตัวน้อย หลากสีสันในผืนป่าคลองลาน
  4. create-unforgettable-moments-at-pullman-bangkok-king-strength Create Unforgettable Moments at Pullman Bangkok King Strength
  5. 21-ล้าน-ทรัพย์สิน-‘อินทพร-จั่นเอี่ยม’-ผอสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ-รายได้-18-ล./ปี 21 ล้าน ทรัพย์สิน ‘อินทพร จั่นเอี่ยม’ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รายได้ 1.8 ล./ปี
  6. ๑๓-กรกฎาคม-วันคล้ายวันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ-พระองค์เจ้าโสม ๑๓ กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสม
  7. รวบหนุ่มยิvคู่อริหวังชำระแค้น-หลบหนีหมายจับนานกว่า-10-ปี.-ต รวบหนุ่มยิvคู่อริหวังชำระแค้น หลบหนีหมายจับนานกว่า 10 ปี . ต
  8. มุมมองจิตแพทย์-“สีกาเข้าหาพระสงฆ์”-เข้าข่ายไซโคพาธข่าวที่คุ มุมมองจิตแพทย์ “สีกาเข้าหาพระสงฆ์” เข้าข่ายไซโคพาธข่าวที่คุ
  9. 1947-น.-ถนนสุขุมวิท-แยกนานา-ไปอโศก-รถติดขัดมาก-กลับกัน-ฝั่ง-|-2025-07-13-12:49:00 19.47 น. ถนนสุขุมวิท แยกนานา ไปอโศก รถติดขัดมาก กลับกัน ฝั่ง 2025-07-13 12:49:00
  10. pr-content-ตัวอย่าง-หนูทดลอง-little-explorers-ep.20-น้ ตัวอย่าง หนูทดลอง Little Explorers Ep.20 น้
  • No recent comments available.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend