โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านเป็นอย่างไร สหรัฐฯ ต้องการอะไรจากเรื่องนี้ ผ่านการเจรจาครั้งแรกในรอบหลายปี ?

ที่มาของภาพ : AP

คนงานปั่นจักรยานหน้าอาคารเครื่องปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์ ในเมืองบูเชห์ทางตอนใต้ของอิหร่าน เมื่อ 10 ต.ค. 2010

  • Writer, ราฟฟี เบิร์ก
  • Role, บีบีซีนิวส์

สหรัฐอเมริกา และอิหร่าน มีกำหนดเจรจากันครั้งแรกในรอบหลายปีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อหารือข้อตกลงใหม่เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ที่เป็นที่ถกเถียงของอิหร่าน

หลังจากก่อนหน้านี้โดนัลด์ ทรัมป์ ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกได้ดึงสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับมหาอำนาจของโลกในปี 2018 อีกทั้งยังกลับมาคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและสร้างความไม่พอใจให้กับอิหร่าน

ทรัมป์ยังเตือนด้วยว่าจะมีการปฏิบัติการทางการทหารหากการเจรจาไม่สำเร็จ

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ (ซ้าย) และ อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน ที่เข้าร่วมการเจรจาครั้งนี้

หลังจากการหารือกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้สรุปผลการเจรจาครั้งแรกในโอมาน เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งนับเป็นการประชุมระดับสูงสุดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน นับตั้งแต่ปี 2018

ทั้งสหรัฐฯ และอิหร่านต่างอธิบายถึงการประชุมที่เกิดขึ้นว่าเป็น “เชิงสร้างสรรค์” และยืนยันว่า การหารือกันรอบสองจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยสหรัฐฯ ยกย่องว่า การ “สื่อสารทางตรง” เป็นกุญแจในการจะบรรลุข้อตกลงที่เป็นไปได้

and proceed readingเรื่องแนะนำ

Discontinue of เรื่องแนะนำ

การประชุมครั้งแรกนี้เป็นไปอย่างกระชับโดยใช้เวลาสองชั่วโมงครึ่ง และมีรายงานว่าบรรยากาศเต็มไปด้วยความให้เกียรติซึ่งกันและกัน และมีการเตรียมเวทีสำหรับการเจรจารอบสองด้วย

อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่านเปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ของรัฐอิหร่านว่า การหารือกันครั้งแรก “จัดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่สันติและให้เกียรติกันมาก เพราะไม่มีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม” โดยเขาเปิดเผยว่าการเจรจากันอีกครั้งในสัปดาห์หน้านั้น อาจไม่เกิดขึ้นที่โอมาน แต่ยังคงมีประเทศในตะวันออกกลางเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย

ขณะที่ทำเนียบขาว ระบุว่าการเจรจาครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันเสาร์หน้า

ทำไมอิหร่านจึงไม่ได้รับอนุญาตให้ถือครองอาวุธนิวเคลียร์?

ทางการอิหร่าน ระบุว่า โครงการนิวเคลียร์ของตนเองมีวัตถุประสงค์เพื่อพลเรือนเท่านั้น พวกเขายังยืนยันว่าไม่ได้พยายามจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แต่หลาย ๆ ประเทศ รวมถึงผู้เฝ้าระวังนิวเคลียร์นานาชาติอย่าง “ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ” (Global Atomic Vitality Agency – IAEA) ไม่เชื่อตามคำกล่าวอ้างดังกล่าว

ความคลางแคลงใจในเจตนาของอิหร่านเกิดขึ้นเมื่อพบว่ามีสถานที่ดำเนินการเกี่ยวกับนิวเคลียร์แบบลับ ๆ หลายแห่งในประเทศเมื่อปี 2002

นี่ถือเป็นการละเมิดข้อตกลงที่เรียกว่า “สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์” (Nuclear Non-Proliferation Treaty – NPT) ซึ่งอิหร่านและประเทศอื่น ๆ เกือบทั้งหมดได้ลงนามกันไว้

สนธิสัญญาฉบับนี้อนุญาตให้ประเทศต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารได้ เช่น เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ การเกษตร และพลังงาน แต่ไม่อนุญาตให้มีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

ในแผนที่นี้ จุดต่าง ๆ แสดงถึงประเภทของสถานที่ดำเนินการเกี่ยวกับนิวเคลียร์ในอิหร่าน อาทิ สถานที่ทำการวิจัย เหมืองแร่ยูเรเนียม โรงงานแปลงสภาพ รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงงานเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียม

โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก้าวหน้าไปถึงขั้นไหน?

ตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่เรียกว่า “แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม” (Joint Entire Notion of Action – JCPOA) ในปี 2018 อิหร่านได้ละเมิดคำมั่นสัญญาสำคัญเพื่อตอบโต้การตัดสินใจของสหรัฐฯ ที่กลับมาคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้ง

พวกเขาติดตั้งเครื่องหมุนเหวี่ยง (เครื่องทำให้บริสุทธิ์) หลายพันเครื่อง เพื่อเพิ่มสมรรถนะของยูเรเนียม ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามข้อตกลง JCPOA

การสร้างอาวุธนิวเคลียร์ต้องใช้ยูเรเนียมที่ผ่านการเพิ่มสมรรถนะจนมีความบริสุทธิ์ถึง 90% ซึ่งภายใต้ข้อตกลง JCPOA อิหร่านได้รับอนุญาตให้เพิ่มสมรรถนะของยูเรเนียมได้เต็มที่ 300 กิโลกรัม โดยทำให้บริสุทธิ์ได้เพียง 3.67% ซึ่งถือว่าเพียงพอกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อพลเรือนและใช้เพื่อการศึกษาวิจัย แต่ไม่ใช่สำหรับsะเบิดนิวเคลียร์

แต่ในเดือน มี.ค. 2025 ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ระบุว่าอิหร่านมีแร่ยูเรเนียมราว 275 กิโลกรัมแล้ว ที่ถูกเสริมสมรรถนะให้บริสุทธิ์ถึง 60% ซึ่งในทางทฤษฎีถือว่าเพียงพอในการผลิตอาวุธได้ประมาณครึ่งโหล หากอิหร่านยังคงเพิ่มสมรรถนะแร่นี้ต่อ

เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ เคยกล่าวว่าพวกเขาเชื่อว่าอิหร่านจะสามารถเปลี่ยนแร่ยูเรเนียมเหล่านี้ให้เป็น ยูเรเนียมเกรดอาวุธสำหรับผลิตsะเบิดหนึ่งลูกได้ในระยะเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาระบุว่าอิหร่านจะต้องใช้ระยะเวลาราว 12 – 18 เดือน ในการสร้างเป็นอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็บอกว่าอุปกรณ์แบบ “หยาบ ๆ” อาจใช้เวลาสร้างเพียง 6 เดือนหรือน้อยกว่านั้น

ทำไมทรัมป์จึงถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ก่อนหน้านี้ ?

สหประชาชาติ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ต่ออิหร่านตั้งแต่ปี 2010 หลังมีข้อสงสัยว่าโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านถูกใช้เพื่อพัฒนาsะเบิด

การคว่ำบาตรดังกล่าวทำให้อิหร่านหยุดการขายน้ำมันในตลาดต่างประเทศ และอายัดสินทรัพย์ต่างประเทศของอิหร่านมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.35 ล้านล้านบาท) เศรษฐกิจของอิหร่านเข้าสู่ภาวะถดถอย และค่าเงินลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น

ในปี 2015 อิหร่านและหกประเทศมหาอำนาจของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ยอมรับข้อตกลง JCPOA หลังผ่านการเจรจาต่อรองมาหลายปี

ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการจำกัดสิ่งที่อิหร่านทำได้กับโครงการนิวเคลียร์ในประเทศแล้ว ยังเปิดช่องให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศสามารถเข้าถึงสถานที่ดำเนินการเกี่ยวกับนิวเคลียร์ทั้งหมดในอิหร่านได้ เพื่อตรวจสอบสถานที่ต้องสงสัย โดยมหาอำนาจเหล่านี้ตกลงที่จะยกเลิกการคว่ำบาตรเพื่อเป็นการตอบแทน

ข้อตกลง JCPOA ถูกกำหนดให้มีอายุ 15 ปี ก่อนที่ข้อจำกัดต่าง ๆ จะสิ้นสุดลง

ที่มาของภาพ : Getty Photographs

ช่างเทคนิคชาวอิหร่านสวมถุงมือและชุดป้องกัน ด้านหน้าอุปกรณ์ในโรงงานแปลงสภาพยูเรเนียมอิสฟาฮาน (Isfahan Uranium Conversion Amenities – UCF) ในอิหร่าน เมื่อ 3 ก.พ. 2007

เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกในปี 2018 เขาได้ตัดสินใจถอนสหรัฐฯ ซึ่งเคยเป็นเสาหลักของข้อตกลงนี้ ออกจากข้อตกลงดังกล่าว

เขาบอกว่ามันเป็น “ข้อตกลงที่แย่” เพราะไม่เป็นการถาวรและไม่ได้กล่าวถึงโครงการขีปนาวุธของอิหร่านลงไปด้วย ทรัมป์จึงกลับมาดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้งเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ “กดดันขั้นสูงสุด” เพื่อบีบบังคับให้อิหร่านเข้ามาสู่การต่อรองข้อตกลงใหม่ที่มีขอบข่ายขยายออกไปอีก

การตัดสินใจของทรัมป์ได้รับอิทธิพลจากพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ซึ่งต่อต้านข้อตกลงนี้ ซึ่งผู้ที่มีบทบาทหลักผู้นั้นคือ อิสราเอล

ขณะนั้นอิสราเอลอ้างว่า อิหร่านยังคงแอบดำเนินการโครงการนิวเคลียร์ลับ และเตือนว่าอิหร่านจะใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ได้จากการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร มาเสริมความแข็งแกร่งในกิจกรรมการทางทหาร

สหรัฐฯ และอิสราเอลต้องการอะไรในตอนนี้?

การประกาศของทรัมป์เรื่องการเจรจากับอิหร่านดูเหมือนจะทำให้อิสราเอลรู้สึกแปลกใจ เขาพูดมานานแล้วว่าจะทำข้อตกลง “ที่ดีกว่า” ข้อตกลง JCPOA แม้ว่าจนถึงทุกวันนี้อิหร่านจะยังคงปฏิเสธการต่อรองข้อตกลงใหม่

ก่อนหน้านี้ ทรัมป์เตือนว่าหากอิหร่านยังไม่เจรจาข้อตกลงใหม่ “จะมีการทิ้งsะเบิด”

ไมค์ วอลทซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ เคยระบุว่า ทรัมป์ต้องการ “การรื้อถอนอย่างเต็มรูปแบบ” ของโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน พร้อมกล่าวเสริมว่า “นั่นคือการพัฒนา นั่นคือการทำให้เป็นอาวุธ และนั่นคือโครงการขีปนาวุธเชิงยุทธศาสตร์ของอิหร่าน”

แม้ว่าทรัมป์จะบอกว่ามันจะเป็นการ “เจรจาโดยตรง” แต่ อับบาส อารักชี รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน ระบุว่าการเจรจาต่อรองในโอมานนั้น จะเป็นการเจรจาโดยอ้อม เขาบอกว่าอิหร่านพร้อมจะร่วมกับสหรัฐฯ แต่ทรัมป์ต้องตกลงก่อนว่าจะไม่มี “ตัวเลือกทางการทหาร”

ที่มาของภาพ : Reuters / Getty Photographs

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ (ซ้าย) เขียนจดหมายถึง อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน (ขวา) ในเดือน มี.ค. ถึงแนวทางข้อตกลงใหม่ที่เป็นไปได้

หลังการประกาศของทรัมป์ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล ก็ออกมาระบุว่า ข้อตกลงที่ยอมรับได้สำหรับเขานั้น จะต้องรวมถึงการที่อิหร่านตกลงจะกำจัดโครงการนิวเคลียร์ในประเทศเท่านั้น เขาย้ำว่ามันหมายถึงการที่ “เราเข้าไปข้างใน sะเบิดสถานที่ดำเนินการ และรื้ออุปกรณ์ทั้งหมด ภายใต้การกำกับดูแลและการดำเนินการตามแนวทางของชาวอเมริกัน”

ความกลัวสูงสุดของอิสราเอลคือการที่ทรัมป์อาจยอมรับการประนีประนอม โดยไม่ไปถึงจุดที่อิหร่านยอมจำนนอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเขาอาจจะบอกได้ว่ามันเป็นชัยชนะทางการทูตแล้ว

อิสราเอล ซึ่งไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) ถูกสันนิษฐานว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองด้วย ซึ่งไม่มีการยืนยันหรือปฏิเสธจากอิสราเอล ขณะที่อิสราเอลเชื่อว่า การที่อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์โดยที่ไม่ยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอลนั้น จะก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญ

สหรัฐฯ และอิสราเอล สามารถโจมตีอิหร่านได้หรือไม่?

ทั้งสหรัฐฯ และอิสราเอล มีศักยภาพทางการทหารที่จะทิ้งsะเบิดเพื่อทำลายโครงสร้างพื้นฐานทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน แต่ปฏิบัติการเช่นนั้นจะซับซ้อนและเสี่ยง ขณะที่ผลลัพธ์ก็ไม่แน่นอน

ไซต์นิวเคลียร์ที่สำคัญถูกฝังลึกอยู่ใต้ดิน หมายความมีเพียงsะเบิดทำลายบังเกอร์ที่ทรงพลังที่สุดเท่านั้นที่จะเข้าถึงมันได้ แม้ว่าสหรัฐฯ จะมีsะเบิดเหล่านี้อยู่ในครอบครอง แต่ไม่ทราบว่าอิสราเอลมีsะเบิดเหล่านี้หรือไม่

และแทบจะแน่นอนว่าอิหร่านต้องป้องกันตัวเอง ซึ่งอาจรวมถึงการโจมตีฐานปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และยิvขีปนาวุธใส่อิสราเอล

ในปฏิบัติการลักษณะนี้ สหรัฐฯ อาจต้องใช้ฐานทัพในภูมิภาคอ่าว (อาหรับ) รวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม ประเทศอย่างกาตาร์ ที่เป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุด อาจไม่ตกลงที่จะช่วยโจมตีอิหร่าน ด้วยความกลัวว่าจะถูกตอบโต้

รายงานเพิ่มเติมโดย ลีส ดูเซต์ หัวหน้าผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และ บาบารา ทาสช์ บีบีซีนิวส์