
หลังจาก “กีกี้” หรือ “Shocker Combatmen” กลายเป็นประเด็นในการอภิปรายในสภาเมื่อไม่นานมานี้ หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ภาวิน มาลัยวงศ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ พูดถึงกำเนิด “คาเมนไรเดอร์’ และยุคซีรีส์ซูเปอร์ฮีโร่แปลงร่างในวัฒนธรรมญี่ปุ่นอันเป็นผลพวงของสังคมยุคหลังสงครามแปซิฟิก และจะกลายเป็นวัฒนธรรมบันเทิงจากญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ อิชิโนโมริ โชทาโร (Ishinomori Shotaro) ราชามังงะ ผู้สร้างตัวละคร คาเมนไรเดอร์ เป็นคนในรุ่น “ยาเคอาโตะ” “Yakeato (焼け跡) Generation” หรือคนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1929 ถึง 1941 ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขายังเด็กเกินกว่าจะถูกเกณฑ์เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ว่ารู้ความและทันเห็นเหตุการณ์การทิ้งsะเบิดปรมาณู ตลอดจนผลพวงที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ประสบการณ์นี้สร้างความเจ็บป่วยทางจิตใจฝังรากลึก เขาเห็นตัวเองไม่มีประโยชน์ ถูกต้อนจนมุมในสถานการณ์ที่ไม่มีทางออก พอเติบโตขึ้น บางคนเป็นผู้ต่อต้านสงคราม บ้างเป็นศิลปิน นักเขียน ผู้กำกับภาพยนตร์
อิชิโนโมริสร้างสรรค์ผลงานอย่าง “คาเมนไรเดอร์” เปิดตัวในปี ค.ศ. 1971 เพื่อ Re-imagine จินตนาการความเป็นไปได้อื่น จำลองมัลติเวอร์สที่พวกเขาพอจะลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ไม่เป็นผู้สิ้นไร้ในทุกรูปแบบ โดยซีรีส์คาเมนไรเดอร์ นับเป็นการปักหมุดจุดเริ่มต้น “ยุคทองของ โทคุชัตสึ” หมายถึงละครโทรทัศน์แนวไลฟ์แอคชันจากประเทศญี่ปุ่น เนื้อหาแนวฮีโร ใช้มนุษย์จริงแสดงประกอบกับสเปเชียลเอฟเฟ็คต่าง ๆ โดยยุคทองของโทคุชัตสึ หรือเหล่าฮีโรมนุษย์แปลงร่างอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1971 ถึง 1989 ขณะที่พล็อตเรื่องหลังยุคทองเมื่อเข้าสู่ยุคเฮเซหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่หลัง ค.ศ. 2000 ซูเปอร์ฮีโรเหล่านี้ยิ่งเดินเรื่องไปสู่เฉดเทามากขึ้น ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ที่มา ประชาไท ( prachatai.com )