ทำไมหน่วยงานรัฐของไทย มักซื้อสินค้าได้ในราคาแพง และหลายครั้งได้ของคุณภาพต่ำ

ที่มาของภาพ : Reuters

เหตุการณ์ตึกที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่กำลังก่อสร้างถล่มลงมาหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายเป็นจำนวนมาก และได้กลายเป็นประเด็นที่ทำให้หลายฝ่ายออกมาเผยแพร่ข้อมูลและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้าง การออกแบบ ไปจนถึงเรื่องความเหมาะสมของการจัดซื้ออุปกรณ์ตกแต่งสำนักงานที่พบว่ามีราคาค่อนข้างแพง

ทั้งนี้ ข้อมูลจากชมรม STRONG ต้านทุจริตแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยราคาสิ่งของที่จะใช้ตกแต่งภายในตึก สตง. แห่งใหม่ ซึ่งพบว่าหลายรายการมีราคาสูงกว่าราคาที่ขายตามท้องตลาด เช่น ฟักบัวอาบน้ำ ชุดละกว่า 11,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ราคาตลาดขายอยู่ที่ราว 1,000 บาท หรือพรมถักมือราคาสูงถึง 165,000 บาท รวมถึงเก้าอี้ในห้องประชุมที่มีราคาตัวละเกือบ 100,000 บาท

.พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาคำตอบว่า เหตุใดหน่วยงานภาครัฐของไทยจึงมักซื้อของในราคาแพง รวมถึงอาจได้ของคุณภาพต่ำ และแนวทางการป้องกันการคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีอะไรบ้าง

ตึก สตง. วางแผนตกแต่งภายในหรูหรา: ห้องน้ำผู้บริหารงบ 4.1 ล้าน – เก้าอี้ราคาตัวละเกือบ 1 แสน

ที่มาของภาพ : ชมรม STRONG ต้านทุจริตแห่งประเทศไทย

เอกสารที่ทางชมรม STRONG ต้านทุจริตแห่งประเทศไทย เปิดเผยราคาพรมทอมือภายในห้องรับรองของตึก สตง.

ชมรม STRONG ต้านทุจริตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชน ออกมาเปิดเผยรายการการตกแต่งภายในอาคาร สตง. และราคาเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ซึ่งมีราคารวมกันกว่า 139 ล้านบาท โดยหลายชิ้นมีราคาสูงเมื่อเทียบกับราคาตลาดทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น พรมทอมือขนาด 6.00 ม. x 5.50 ม. ราคากว่า 165,000 บาท หรือ เก้าอี้ห้องประชุมหนังแท้นำเข้าจากอิตาลี ตัวละ 97,900 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการจัดซื้อฝักบัวอาบน้ำ ชุดละ 11,214 บาท จัดซื้อทั้งหมด 44 ชุด รวมมูลค่ากว่า 493,416 บาท โดยจากการตรวจสอบของ. พบว่าฟักบัวรุ่นดังกล่าวมีราคาขายอยู่ที่เพียงชุดละเพียง 1,592 บาท เท่านั้น รวมถึงก็อกน้ำระบบอัตโนมัติที่ สตง. จัดซื้อด้วยราคา 8,250 บาท แต่.พบสินค้ารุ่นเดียวกันขายในราคา 5,535 บาท

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

Terminate of ได้รับความนิยมสูงสุด

ทั้งนี้ งบประมาณสำหรับสุขภัณฑ์ในห้องน้ำของผู้บริหารตึก สตง. มีงบประมาณรวมกว่า 4.1 ล้านบาท จากการเปิดเผยของชมรม STRONG ต้านทุจริตแห่งประเทศไทย

ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) แสดงทัศนะกับ.ว่า สินค้ารายการข้างต้นมีราคา “แพงเกินไป มันไม่สมเหตุสมผล”

ด้าน นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาชน ยังได้เคยออกมาเปิดเผยด้วยว่า งบประมาณของห้องสันทนาการขนาด 3,000 ตำรวจม. ในตึกดังกล่าว ที่พบว่า “มีเวทีขนาด 150 ตำรวจม. พร้อม ห้องแต่งตัวชาย/หญิง, ห้องครัวเตรียมอาหาร, ห้องน้ำ forty five ห้อง, ลิฟท์ 3 ตัว, บันได 4 มุม… ใช้เงินภาษีกว่า 100 ล้านบาท”

โครงการภาครัฐอื่น ๆ ที่ซื้อของแพงกว่าราคาตลาด

มีโครงการจัดซื้อของภาครัฐอื่น ๆ อีกเช่นกัน ที่มีการซื้อของในราคาแพงกว่าราคาที่ขายตามท้องตลาด

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ได้เคยอภิปรายในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี พ.ศ. 2568 ถึงโครงการจัดจ้างทำถาดหลุมทานข้าว ของกระทรวงหลาโหม จำนวน 1 หมื่นใบ โดยถาดหลุมหนึ่งใบราคาเฉลี่ยใบละ 515 บาท สส. จากพรรคประชาชน ได้ยกตัวอย่างถาดหลุมที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับสเปคที่กระทรวงกลาโหมตั้งไว้ซึ่งขายอยู่บนแอปพลิเคชันขายสินค้าออนไลน์ โดยมีราคาถูกกว่าอยู่ที่ราว 360 บาทต่อถาด

ที่มาของภาพ : โทรทัศน์รัฐสภา

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายเรื่องข้อพิรุธโครงการจัดซื้อจัดจ้างถาดหลุมของกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2567

อีกหนึ่งกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายของ กรุงเทพมหานคร จำนวน 7 โครงการ ที่มีราคาสูงกว่าราคากลาง เช่น เครื่องออกกำลังกายของศูนย์วารีภิรมย์ และศูนย์วชิรเบญจทัศ จำนวนศูนย์ละ 11 รายการ มีราคารวมกว่า 4,999,990 และ 4,998,800 บาทตามลำดับ โดยพบว่ามีเครื่องออกกำลังกายหลายรายการที่มีราคาสูงกว่าราคาซื้อขายจริงตามท้องตลาด เช่น อุปกรณ์ลู่วิ่งไฟฟ้าที่ กรุงเทพมหานคร จัดซื้อในราคา 759,000 บาท และอุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้ออเนกประสงค์ที่ กรุงเทพมหานคร ซื้อมาในราคา 652,000 บาท ซึ่งการตรวจสอบของ กรุงเทพมหานคร เองพบว่ามีการจัดซื้อแพงเกินจริง

ที่มาของภาพ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรุงเทพฯ

กรุงเทพมหานคร เผยผลการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย พบเจตนาซื้อแพงเกินจริง เมื่อเดือน ก.ค. 2567

การทุจริตทำให้ภาครัฐต้องซื้อของราคาแพง – คุณภาพต่ำ

ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ นักวิจัยอาวุโส ด้านนโยบายการกำกับดูแลที่ดี สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุกับ.ถึงสาเหตุที่ทำให้ภาครัฐของไทยต้องซื้อของราคาแพง ที่สวนทางกับคุณภาพว่า สาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชัน โดยการกำหนดราคาซึ่งไม่สะท้อนราคาจริงในตลาด

“ราคากลางที่ภาครัฐกำหนดสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงหรือเปล่า หน่วยงานรัฐได้มีการสำรวจราคาตลาดก่อนที่จะมีการกำหนดราคากลางหรือเปล่า หรือว่าอาจขอให้บริษัทส่งคู่เทียบมา มีคู่เทียบมากพอหรือเปล่า ถ้าเป็นไปได้ควรมีมากกว่า 3 หรือ 5 เจ้า เพื่อจะได้ดูราคาที่แท้จริงในตลาด” นักวิจัยอาวุโส จากทีดีอาร์ไอ ระบุ

ธารทิพย์ กล่าวเสริมด้วยว่า การเปิดประมูลโครงการของภาครัฐอาจขาดการแข่งขันที่แท้จริง และเอื้อประโยชน์ให้กับเพียงบางบริษัท ซึ่งนำไปสู่การต้องซื้อของในราคาแพง

“รัฐกำหนดลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทแค่ไม่กี่รายหรือเปล่า ทำให้จากที่จะมีคนเข้ามาแข่งขัน 10 รายเพื่อให้ได้สินค้าราคาที่ถูกลงและคุณภาพที่ดีขึ้นเมื่อมีการแข่งขัน พอเอื้อประโยชน์แค่ไม่กี่ราย จาก 10 ราย ก็อาจเหลือแค่ 2-3 ราย หรือแค่รายเดียวเท่านั้น ทำให้ได้ของราคาแพงกว่าคนอื่น และคุณภาพอาจไม่ได้ดีกว่า”

นักวิจัยอาสุโสจากทีดีอาร์ไอยังระบุด้วยว่า การตั้งเวลาการเปิดประมูลที่สั้นเกินไป อาจทำให้ผู้ประกอบการหลายรายอาจเตรียมตัวไม่ทัน และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประมูลบางราย “เพราะฉะนั้น มันโยงใยกันไปหมด ราคากลางก็ได้ที่ไม่ใช่ราคาตลาด คุณภาพก็ไม่ดี TOR ก็อาจเอื้อให้ไม่กี่ราย หรือข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาที่สั้นไปทำให้ขาดการแข่งขันที่แท้จริง”

ด้าน ดร.มานะ แสดงทัศนะกับ.ถึงเรื่องการทุจริตในโครงการจัดซื้อของภาครัฐ ว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเป็นสาเหตุหลักของการที่ภาครัฐต้องซื้อของแพง

“การเรียกรับเงินใต้โต๊ะเกิดขึ้นมาก พอมีการจ่ายสินบน คนขายเขาคิดว่าเขาจ่ายแล้ว เขาก็ต้องเอาให้คุ้ม ขณะเดียวกันคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ก็จะคิดว่า เมื่อตัวเองรับเงินมาแล้วก็จะหยวน ๆ หลับตากันไป ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งทำกำไรมากกว่าปกติ” ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ระบุ

ความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อ ทำให้ได้ของไม่ตรงความต้องการ

“ในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ บางทีเจ้าหน้าที่ตั้งเรื่องขอซื้อวันนี้ กว่าจะได้ของจริง ๆ อาจใช้เวลาถึงปีครึ่ง สองปี เราจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์ มันตกยุค มันล้าสมัยไปทันที” ดร.มานะ กล่าวกับ.เกี่ยวกับการมีขั้นตอนมากเกินจำเป็นของภาครัฐ ซึ่งทำให้การจัดซื้อเป็นไปได้อย่างล่าช้า

ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวด้วยว่า การจัดทำงบประมาณโครงการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ของภาครัฐมักทำงบประมาณต่อเนื่องจากที่เคยทำมา คือการบวกสัดส่วนเพิ่มจากงบเดิมที่เคยได้รับจัดสรรมาในอดีต ซึ่งต่างจากประเทศที่เจริญแล้วที่มักทำงบประมาณโดยการใช้ งบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budgeting) คือการสำรวจใหม่ในทุก ๆ ปี ว่าในปีนั้น ๆ มีความต้องการด้านใด และจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ดังนั้นงบประมาณที่เคยได้ในปีก่อน ๆ ก็อาจไม่เกิดซ้ำในปีปัจจุบัน

“ประเทศไทยกลายเป็นว่า เคยได้รับงบทำถนนเท่านี้ ปีถัดมาก็บวกไปอีก 5%-10% เคยได้รับงบอบรมเท่านี้ ก็บวกไปอีก 5-10% เพราะฉะนั้นมันไม่เกิดความคุ้มค่า มันไม่ถูกประยุกต์ให้ตรงกับความจำเป็นของ ณ วันนี้ และอนาคต… เป็นวิธีการทำงานที่มักง่าย และเกิดช่องว่างมาก” ดร.มานะ กล่าวกับ.

ดร.มานะ ยังระบุด้วยว่า โครงการจัดซื้อของภาครัฐไทยมักขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จากการไม่เปิดเผยข้อมูล จึงทำให้ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการของตนได้ เขายกตัวอย่างกรณีโครงการจัดซื้อเสาไฟกินรีว่า หากประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดซื้อ และทราบถึงราคาที่สูง ประชาชนอาจไม่ได้ต้องการเสาไฟกินรีอีกต่อไป และอาจอยากนำเงินส่วนต่างเหล่านี้ไปใช้ในด้านอื่น ๆ แทน

“เรื่องเสาไฟกินรี ประชาชนก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการมากำหนด เช่นว่าเขาอยากได้เสาไฟที่สว่างไสวเป็นเสาทันสมัย และประหยัด ต้นหนึ่งอาจจะใช้เงินสัก 15,000 บาท แต่ผู้บริหารก็มักจะบอกว่า ประชาชนอยากได้เสาไฟที่มีประติมากรรมเป็นกินรี และมันทำให้ราคาสูงขึ้นไป” ดร.มานะ ระบุ

ช่องว่างของกฎหมายทำให้ถูกผู้ขายเอาเปรียบ-ขายพ่วง

ตามข้อสังเกตของ ดร.มานะ จุดอ่อนด้านช่องว่างทางกฎหมายถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ภาครัฐอาจต้องซื้อของบางรายการในราคาแพงกว่าปกติ โดยในบางครั้งผู้ขายอาจมีเงื่อนไขว่า หน่วยงานจะได้สินค้าที่ราคาถูกลงไปอีกหากซื้อสินค้าชนิดอื่นพ่วงไปด้วย เงื่อนไขเช่นนี้ทำให้ภาครัฐได้สินค้าบางอย่างมาในราคาถูก แต่กลับต้องจ่ายราคาแพงให้กับสินค้าที่ขายพ่วงมา

“ซื้อปากกา พร้อมกับกระดาษ ดินสอ โต๊ะ เครื่องเขียน และอุปกรณ์จำนวนมาก กลายเป็นว่า ของบางอย่างสามารถทำราคาได้ถูกมากผิดปกติ จนไปบวกราคากับสินค้าอื่น ๆ ทำให้คนขายสามารถขายชิ้นนั้นได้ถูกกว่าผู้เสนอขายรายอื่น ๆ” ดร.มานะ กล่าว

ด้านนักวิชาการอาวุโสจากทีดีอาร์ไอชี้ว่า หากภาครัฐเปิดให้มีการแข่งขันที่สูงมากพอในการประมูลโครงการ เงื่อนไขเรื่องการซื้อพ่วงก็จะไม่เกิดขึ้นตามหลักกลไกตลาด

“ถ้าตลาดมันเปิดให้ทุกเจ้าเข้าไปแข่งขัน มันไม่น่าจะมีการจัดซื้อพ่วง ตามหลักการแข่งขันเสรี ไม่น่าจะมีเรื่องการซื้อของแพงคุณภาพต่ำ” ธารทิพย์ ระบุ

ที่มาของภาพ : EPA

เธอยังเสนอด้วยว่า การแก้ปัญหาทุจริตในไทยอย่างยั่งยืนสามารถทำได้โดยการที่รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้มีการตรวจสอบอย่างครบถ้วน “การจะขุดรากถอนโคนได้ มันโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นธุรกิจที่เอื้อให้ญาติพี่น้องคนโน้นคนนี้ เพราะฉะนั้นเราจะแก้ปัญหานี้ได้คือการเปิดเผยข้อมูลจริง ๆ ให้ทุกรายเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกันหมด”

ขณะที่ ดร.มานะ ระบุว่า การแก้ไขการขาดประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบราชการ อีกทั้งต้องดำเนินการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากการคอร์รัปชันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนและไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

“กรณีของตึก สตง. ครั้งนี้ มันร้ายแรงถึงขนาดมีคนเสียชีวิต คอร์รัปชันจึงเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน ไม่ใช่เรื่องของเงินทองของรัฐที่สูญเสีย หรือโดนปล้นไปแต่เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว” ดร.มานะ กล่าวสรุป