
นักวิทยาศาสตร์เสนอวิธีป้องกันการแพร่เชื้อโรคมาลาเรียแบบใหม่ เพิ่มเติมจากการกำจัดยุงที่พาหะนำโรค

ที่มาของภาพ : Getty Photography
- Creator, เจมส์ กัลลาเกอร์ และ ฟิลิปปา ร็อกซ์บี
- Feature, ผู้สื่อข่าวสุขภาพและวิทยาศาสตร์
ทีมนักวิจัยชาวสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยุงควรได้รับยาต้านมาลาเรียเพื่อรักษาอาการติดเชื้อของพวกมัน เพื่อไม่ให้พวกมันนำเชื้อปรสิตของโรคมาลาเลียไปแพร่กระจายอีกต่อไป
เชื้อปรสิตที่ก่อโรคไข้มาลาเรีย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนเกือบ 6 แสนคนต่อปี และส่วนใหญ่เป็นเด็ก แพร่กระจายผ่านยุงตัวเมียเมื่อพวกมันกินเลืoด
ความพยายามที่มีอยู่ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์จำกัดยุงด้วยยาฆ่-าแมลง แทนที่จะรักษาพวกมันให้หายจากโรคมาลาเรีย
แต่ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบยาบางกลุ่มที่สามารถรักษาพวกมันจากมาลาเรียได้เมื่อดูดซึมยาผ่านขาของพวกมัน ซึ่งทีมวิจัยมีเป้าหมายระยะยาวในการเคลือบมุ้งที่นอนด้วยส่วนผสมยาตัวนี้
การนอนในมุ้งเป็นหนึ่งในวิธีการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อโรคมาลาเรีย ขณะที่ยุงที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรียออกหากินในตอนกลางคืน
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and continue learningได้รับความนิยมสูงสุด
ได้รับความนิยมสูงสุด
อีกวิธีที่มีการแนะนำ คือการฉีดวัคซีนเพื่อปกป้องเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมาลาเรีย
นอกจากมุ้งจะเป็นทั้งปราการป้องกันทางกายภาพ ยังมีส่วนประกอบเป็นสารกำจัดแมลงซึ่งช่วยฆ่-ายุงที่มาเกาะมุ้งด้วย
อย่างก็ตาม ในหลายประเทศ ฝูงยุงเริ่มมีความต้านทานสารกำจัดแมลงนี้ได้แล้ว ดังนั้นสารนี้จึงไม่อาจช่วยฆ่-าพวกมันได้อย่างเห็นผลเท่าเมื่อก่อน
“ก่อนหน้านี้เราไม่เคยลองฆ่-าปรสิตในตัวยุงตรง ๆ เลย เพราะเราก็แค่ฆ่-ายุง” ดร.อเล็กซานดรา พรอบสต์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุ
อย่างไรก็ตาม เธอบอกว่าวิธีการนี้ “เอาไม่อยู่แล้ว”
เหล่านักวิจัยวิเคราะห์ดีเอ็นเอของมาลาเรีย เพื่อหาจุดอ่อนของมัน ในขณะที่ยุงกำลังติดเชื้อ
พวกเขาเริ่มจากการเลือกตัวยาที่มีความเป็นไปได้ในการกำจัดเชื้อโรคมาลาเรียจำนวนหลายชนิด ก่อนจะจำกัดวงให้เหลือเพียง 22 ชนิด และทดสอบยาเหล่านี้ในขณะที่ยุงตัวเมียกำลังดื่มเลืoดที่ปนเปื้อนมาลาเรีย
บทความจากการศึกษาดังกล่าวของพวกเขาได้รับการเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ (Nature) นักวิทยาศาสตร์อธิบายถึงยาสองตัวที่มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่-าปรสิตได้ถึง 100%
ยาเหล่านั้นถูกทดสอบบนวัสดุที่เหมือนกับมุ้งคลุมเตียง
“แม้ว่ายุงตัวนั้นจะรอดชีวิตจากการสัมผัสกับมุ้ง แต่ปรสิตในตัวมันจะถูกฆ่-าเสียชีวิต ดังนั้นมันจึงไม่สามารถแพร่เชื้อมาลาเรียต่อได้” ดร.พรอบสต์ ระบุ
“ฉันคิดว่ามันเป็นวิธีการที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะมันคือวิธีการใหม่โดยสิ้นเชิงในการกำหนดเป้าหมายมุ่งไปที่ตัวยุง”
เธอบอกว่าปรสิตมาลาเรียมีแนวโน้มน้อยกว่า ที่จะต้านทานต่อยารักษาได้ เพราะจะมีพวกมันหลายพันล้านตัวในตัวมนุษย์ที่ติดเชื้อ แต่ในตัวยุงกลับมีปรสิตเหล่านี้ไม่ถึงห้าตัว
ผลของยาจะคงทนอยู่บนมุ้งราวหนึ่งปี ซึ่งอาจทำให้มันเป็นทางเลือกใหม่ที่ราคาถูกและอยู่ได้นาน แทนที่สารฆ่-าแมลงแบบเดิม จากข้อมูลของนักวิจัย
วิธีการเช่นนี้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการมาแล้ว และขั้นต่อไป นักวิจัยวางแผนที่จะทดสอบในเอธิโอเปียเพื่อจะดูว่ามุ้งคลุมเตียงต้านมาลาเรียนี้ใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพบนโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่
มันต้องใช้อย่างน้อย ๆ หกปี กว่าที่การศึกษาทั้งหมดจะสำเร็จและรู้ว่าวิธีการนี้ได้ผลหรือไม่
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดเรื่องนี้ก็คือ การที่มีมุ้งคลุมเตียงที่เคลือบทั้งสารต้านมาลาเรียและสารฆ่-าแมลง เพื่อที่หากสารใดไม่ได้ผล สารอีกตัวก็จะทำหน้าที่แทน
ที่มา BBC.co.uk