
ครม.เห็นชอบร่างแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่จะทำร่วมกับสหรัฐฯ เปิดสาระสำคัญของแผน หวังออกจากประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านลิขสิทธ์
สำนักข่าวอิศรา . รายงานว่า วันที่ 27 พฤษภาคม 2568 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Thailand intellectual Property Work Knowing (IP Work Knowing)) ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) United States Trade Representative (USTR (ร่างแผนงานฯ) และมอบหมาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการตามแนวทางภายใต้ร่างแผ่นงานฯ ต่อไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
สาระสำคัญของประเด็นดังกล่าว ที่ผ่านมาสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ทำรายงานผลการจัดสถานการณ์ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯเป็นประจำทุกๆปี โดยไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้ปรับสถานะของไทย ให้ดีขึ้น โดยปรับจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษเป็นบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง และไทยยังคงสถานะในบัญชีดังกล่าวจากนั้นเป็นต้นมา
โดยในปี 2567 พณ. โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ จึงได้จัดทำร่างแผนงานฯ เพื่อระบุแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การถอดไทยจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองและทุกบัญชี ขณะที่สาระสำคัญของร่างแผนงานดังกล่าว มีดังนี้
1.ประเด็นลิขสิทธิ์
-เผยแพร่ร่างกฎหมายลิขสิทธิ์และกฎระเบียบหรือมาตรการ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในโอกาสที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียให้ความเห็น ต่อร่างกฎหมายลิขสิทธิ์และกฎระเบียบหรือมาตรการ รวมทั้งนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
-ในส่วนที่เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ (รวมถึงช่องทางโทรศัพท์มือถือ) ให้มีการยกระดับการแก้ไขปรับปรุงระบบการชี้แจงหรือระบบแจ้งให้ทราบให้ชัดเจน และนำข้อมูลที่เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบ (Seek for and Takedown) หรือปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาที่ละเมิดซึ่งอยู่บนเครือข่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
-ให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติเพื่อเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก5 (WIPO Copyright Treaty (WCTและสนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก6 WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT)
-แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อพัฒนาการป้องกัน การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี7 Technological Protection Measures (TPM) ที่มีประสิทธิภาพให้เสร็จ
-ยกระดับหรือแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อกำจัดช่องว่างที่อาจมีตามข้อยกเว้นของการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิ8 Rights Management Information (RMI)
-แก้ไขปัญหาองค์กรจัดเก็บ Collective Management Organization (CMO) โดยคงไว้ซึ่งฐานข้อมูลและระบบการยืนยันที่มีประสิทธิภาพ และรับรองความโปร่งใสและธรรมาภิบาล เช่น การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ การออกและการใช้บังคับกฎระเบียบหรือการนำมาตรการที่เหมาะสมมาปรับใช้
-แก้ไขปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ที่ให้ พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรองการจัดซื้อคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ของหน่วยงานภาครัฐที่มีความรัดกุมและได้มาตรฐานเดียวกัน โดยผลักดันให้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง และมีความต่อเนื่องเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่ภาคเอกชนและประชาชน รวมทั้งแสดงออกถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าวตามเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
2.ประเด็นเครื่องหมายการค้า
ปรับปรุงกระบวนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า โดยการแก้ไขปัญหางานจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าค้างสะสม และเพิ่มจำนวนผู้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
3.ประเด็นสิทธิบัตรและเภสัชภัณฑ์
-แก้ไขปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตร ได้แก่ เผยแพร่ ร่างกฎหมายสิทธิบัตร กฎระเบียบ หรือมาตรการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในโอกาสที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ให้ความเห็นต่อร่างกฎหมายสิทธิบัตร และกฎระเบียบ หรือมาตรการ และนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย รวมถึงให้การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรในร่างกฎหมายสิทธิบัตรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย
-สร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการใช้ข้อมูล ในเชิงพาณิชย์อย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้อมูลผลการทดสอบหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย
-แก้ไขปัญหาคุณภาพในการออกสิทธิบัตรและปัญหางานค้างสะสม โดยเฉพาะในสาขาเภสัชภัณฑ์11 ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบสิทธิบัตร ผ่านการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตร การอบรมผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรและมาตรการทางปกครองอย่างอื่นที่เหมาะสม
-แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติกรรมสารเจนิวา12 (Geneva Act) ภายใต้ความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ13 (Hague Settlement Touching on the Global Registration of Industrial Designs) และปรับปรุงระบบจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย ผ่านแนวทางปฏิบัติและนโยบายของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และเตรียมระบบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรับคำขอภายใต้ความตกลงดังกล่าว
4.การบังคับใช้สิทธิ
-ให้ข้อมูลสถิติและข้อมูลอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ14 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามแผนที่นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ระยะ 20 ปี สู่ประเทศไทย 4.015 (Thailand 4.0 Intellectual Property Roadmap) โดยรวมถึงข้อมูลสถิติรายปีเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิ ณ จุดผ่านแดน การสืบสวน สอบสวน การจับกุม การยึดอายัด การทำลายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและสถิติการดำเนินการของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
-มีมาตรการบังคับใช้สิทธิทางแพ่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขข้อกังวลกรณีเจ้าของพื้นที่ยุยงหรือส่งเสริมให้ผู้เช่ากระทำการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในเชิงพาณิชย์ เช่น การผลิต หรือการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น
-สืบสวนและดำเนินคดีทรัพย์สินทางปัญญา ทั่วประเทศให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งรวมถึงการแอบถ่ายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ การละเมิด ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ เพื่อให้เกิดการเยียวยาและบทลงโทษ
-แก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ โดยการใช้อุปกรณ์และแอปพลิเคชันที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสตรีมและดาวน์โหลดเนื้อหา ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ
-ดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการผลิต การกระจายผลิตภัณฑ์ และการขายเภสัชภัณฑ์ปลอมในไทย
ที่มาภาพ: Facebook คลองถม เซ็นเตอร์ – Klongthom Center
ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )