
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน วิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมและหุ่นยนต์ดำน้ำวัดค่าความเค็มระหว่างละติจูดใต้ 50° ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลังปี 2015 คือ น้ำผิวมหาสมุทรใต้มีค่าความเค็มสูงขึ้นผิดปกติ พร้อมกับปริมาณน้ำแข็งทะเลลดลงอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา
.
โดยปกติชั้นผิวน้ำอุ่นกว่าที่อยู่ด้านล่างจะถูกกันด้วยน้ำจืดคั่นชั้น แต่เมื่อผิวน้ำมีความเค็มมากขึ้น ความร้อนจากชั้นล่างจึงขึ้นมาละลายน้ำแข็งจากด้านล่าง ส่งผลให้การก่อตัวของน้ำแข็งในฤดูหนาวลดลง ทำให้พื้นที่น้ำแข็งยิ่งลดลง น้ำทะเลจึงยิ่งดูดกลืนความร้อนมากขึ้น กลายเป็นห่วงโซ่ที่เร่งวิกฤตโลกร้อนต่อเนื่อง
.
หนึ่งในหลักฐานที่ทีมวิจัยพบ คือการกลับมาของ “โพลินญา” (polynya) จุดน้ำทะเลเปิดขนาดใหญ่บริเวณ Maud Upward thrust ในทะเลเวดเดลล์ ซึ่งขยายเกือบเท่าพื้นที่เวลส์ และหายไปตั้งแต่ยุค 1970’s แสดงถึงสภาพแปลกประหลาดทางธรรมชาติที่ไม่เคยพบมาก่อน
.
ทีมวิจัยกล่าวว่าการค้นพบครั้งนี้สวนทางกับแบบจำลองทางภูมิอากาศเดิมที่คาดหวังว่าจะยังมีการ “เจือจางความเค็ม” จากน้ำละลายที่มาจากแผ่นน้ำแข็งทวีปและฝนหิมะ ทำให้ยังมีน้ำแข็งทะเลจำนวนมาก แต่ผลการศึกษาล่าสุดแสดงว่า น้ำทะเลกลับกลายเป็นเค็มมากขึ้น ทำให้การลดลงของน้ำแข็งทะเลเร็วกว่าที่คิด
.
อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้ที่ https://ngthai.com/atmosphere/78544/antarctic-sea-ice-salinity/
.
#NationalGeographicThailand แอนตาร์กติกา #ภาวะโลกร้อน
RSS)
ที่มา : National Geographic Thailand's