ส่วนใดบ้างของร่างกายมนุษย์ที่วิวัฒนาการยังไม่สามารถอธิบายได้ ?

ที่มาของภาพ : Getty Photography

Article Data

    • Author, แม็กซ์ เทลฟอร์ด
    • Role,

ลูกอัณฑะของมนุษย์มีขนาดเล็กอย่างมากหากดูจากสัดส่วนของร่างกาย และเมื่อเทียบกับลูกพี่ลูกน้องในกลุ่มไพรเมตของเรา ถึงแม้วิวัฒนาการสามารถอธิบายเรื่องนี้กับเราได้ แต่ยังคงมีส่วนอื่น ๆ ในร่างกายคนเราที่ยังมีเงื่อนงำเป็นปริศนาอยู่

ร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องจักรที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนมากมาย ตั้งแต่ระดับเซลล์ที่ต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ไปจนถึงแขนขา ดวงตา ตับ และสมอง ซึ่งประกอบเข้าด้วยกันอย่างพอดิบพอดี และเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ 4,000 ล้านปีของพวกเรา

ทว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์ยังคงพยายามไขปริศนาว่าทำไมมนุษย์ถึงมีวิวัฒนาการในรูปแบบเฉพาะตัวเช่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น ทำไมมนุษย์ถึงมีคาง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น รวมถึงพยายามหาคำตอบว่าเหตุใดลูกอัณฑะของมนุษย์มีขนาดใหญ่เป็นสามเท่าของกอริลลา เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว แต่มีขนาดเล็กเพียง 1 ใน 5 เมื่อเทียบกับลิงชิมแปนซี ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มใหม่ที่ชื่อ The Tree of Existence (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า ต้นไม้แห่งชีวิต) ว่าพวกเรายังคงแสวงหาคำตอบของคำถามที่ขึ้นต้นว่า “ทำไม” เหล่านี้ และตอนนี้เริ่มมีคำตอบสำหรับบางคำถามเหล่านั้นแล้ว

เรื่องราวของวิวัฒนาการบอกเราถึงวิธีที่แต่ละสายพันธุ์ถูกสร้างขึ้นจากจุดเริ่มต้นที่เรียบง่าย ในยามที่ส่วนประกอบแต่ละชิ้นของสิ่งมีชีวิตถูกเพิ่มลงไปในพิมพ์เขียว

หากเราปีนป่ายต้นไม้แห่งวิวัฒนาการ เราสามารถไล่ตามเส้นทางที่คดเคี้ยวและแวะชมกิ่งก้านใดกิ่งก้านหนึ่งซึ่งมีความเฉพาะทางมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในนั้น

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด and proceed readingได้รับความนิยมสูงสุด

Extinguish of ได้รับความนิยมสูงสุด

ที่มาของภาพ : Getty Photography

ลิงแสมมีลูกอัณฑะใหญ่กว่าสัตว์กลุ่มไพรเมตชนิดอื่น ๆ เพราะมันสามารถผสมพันธุ์ได้อย่างอิสระ ซึ่งหมายความว่าอสุจิของมันต้องแข่งขันกับตัวอื่น ๆ

ยกตัวอย่างเช่นมนุษย์เรานั้นเคยเป็นสัตว์มาก่อนที่จะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกระดูกสันหลัง จากนั้นจึงวิวัฒนาการเป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตและอื่น ๆ ตามลำดับ

กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เราแบ่งปันแต่ละแขนงของวิวัฒนาการร่วมกัน เผยให้เห็นลำดับการปรากฏของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรา ร่างกายและลำไส้ (ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของแขนงสัตว์) ต้องเกิดขึ้นก่อนกระดูกสันหลังและแขนขา (แขนงสัตว์มีกระดูกสันหลัง) ตามมาด้วยน้ำนมและขน (ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ซึ่งเกิดขึ้นก่อนเล็บมือ (ของสัตว์ในกลุ่มไพรเมต)

มีวิธีหนึ่งที่เราสามารถศึกษาแยกต่างหากว่าเหตุใดเราจึงวิวัฒนาการร่างกายแต่ละส่วนขึ้นมา แต่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อคุณลักษณะนั้นได้วิวัฒนาการขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งในแขนงที่แยกจากกันของต้นไม้แห่งชีวิต

การวิวัฒนาการซ้ำลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “การเบนเข้าหากัน (convergence)” ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับนักชีววิทยา เพราะทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์ ตัวอย่างเช่น นกนางแอ่นและนกแอ่นเคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ใกล้ชิดกัน แต่ปัจจุบันเราทราบจากทั้งข้อมูลสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ รวมถึงการเปรียบเทียบโครงกระดูกว่า นกนางแอ่นมีความใกล้ชิดกับนกเค้าแมว มากกว่านกแอ่น

ขนาดมีความสำคัญเมื่อพูดถึงวิวัฒนาการ

ทว่าวิวัฒนาการแบบเบนเข้าหากันก็กลายเป็นสิ่งมีประโยชน์ เมื่อเราคิดว่ามันเป็นการทดลองทางธรรมชาติ

ขนาดของลูกอัณฑะเป็นตัวอย่างอันคลาสสิก โดยพบว่าลิงโคโลบัสขาวดำและลิงบอนเนตเพศผู้ ต่างมีขนาดตัวแทบจะเท่ากันเมื่อมันโตเต็มวัย เช่นเดียวกับลิงชิมแปนซี มนุษย์ และกอริลลา แต่กลายเป็นว่าขนาดลูกอัณฑะของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายกันเหล่านี้กลับแตกต่างกันอย่างมาก เช่น ลูกอัณฑะของลิงโคโลบัสสีดำมีน้ำหนักเพียง 3 กรัม ขณะที่ลิงบอนเนตมีน้ำหนักมากถึง forty eight กรัม

ที่มาของภาพ : Getty Photography

ลิงบอนเนตในศรีลังกา เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ลิงแสม

เราอาจตั้งสมมติฐานที่น่าเชื่อถือได้หลายข้อเกี่ยวกับขนาดอัณฑะที่แตกต่างกันของพวกมัน อัณฑะขนาดใหญ่อาจเปรียบได้กับหางของนกยูง ซึ่งแม้จะไม่มีประโยชน์โดยตรง แต่ก็อาจดึงดูดเพศเมีย

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายที่ดูสมเหตุสมผลที่สุดน่าจะเกี่ยวข้องกับวิธีการผสมพันธุ์ของพวกมัน

ลิงโคโลบัสเพศผู้จะแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อเข้าถึงฝูงตัวเมียซึ่งจะผสมพันธุ์กับลิงตัวผู้ตัวนั้นเพียงตัวเดียว ในทางตรงกันข้าม ลิงในสกุลมาคาก (Macaques) เช่น ลิงวอก ลิงแสม จะอยู่กันอย่างสงบในฝูงผสมที่มีลิงอยู่รวมกันประมาณ 30 ตัว และมีรูปแบบความรักที่แตกต่างออกไป โดยทุกตัวผสมพันธุ์กับทุกตัวได้อย่างเสรี เช่น ตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว (polygamy) และตัวเมียผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว (polyandry) เป็นต้น

ลิงโคโลบัสที่มีฮาเร็มของตัวเองผลิตปริมาณอสุจิที่น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะอสุจิเพียงหยุดเดียวก็สามารถให้กำเนิดลูกได้แล้ว ดังนั้นพวกมันจะผลิตอสุจิให้มากมายไปทำไมกัน ?

สำหรับลิงสกุลมาคากเพศผู้ การแข่งขันเพื่อสืบพันธุ์เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับอสุจิ ซึ่งต้องแข่งกับอสุจิของตัวผู้ตัวอื่นที่ผสมพันธุ์ก่อนหรือหลังพวกมัน ด้วยเหตุนี้ ลิงสกุลมาคากที่มีอัณฑะขนาดใหญ่จึงน่าจะผลิตอสุจิได้มากกว่า ซึ่งเพิ่มโอกาสในการส่งต่อยีนของตัวเองไปยังทายาท

ที่มาของภาพ : Getty Photography

นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่มกว่าที่สมัยบรรพบุรุษเรากินในยุคแรก ๆ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ขากรรไกรของเราเปลี่ยนรูปร่างไป

คำอธิบายเรื่องขนาดลูกอัณฑะที่แตกต่างกันอาจฟังดูสมเหตุสมผล แต่มันเป็นจริงเช่นนั้นหรือ ? นี่คือจุดที่วิวัฒนาการแบบเบนเข้าหากันจะช่วยหาคำตอบให้เราได้

หากเรามองไปทั่วทั้งกิ่งก้านสาขาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในต้นไม้แห่งชีวิต เราจะพบว่ามีหลายกลุ่มที่วิวัฒนาการอัณฑะในขนาดที่แตกต่างกันออกไป ในแทบทุกกรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เราพบว่าอัณฑะขนาดใหญ่มักปรากฏในสายพันธุ์ที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์แบบไม่เลือกคู่ ส่วนอัณฑะขนาดเล็กพบในสายพันธุ์ที่มีคู่ครองเพียงตัวเดียว

กอริลลาหลังเงินเพศผู้ซึ่งมีอัณฑะขนาดเล็ก มีสิทธิผสมพันธุ์กับตัวเมียในฮาเร็มของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว ส่วนชิมแปนซีและลิงโบโนโบที่มีอัณฑะขนาดใหญ่นั้นมีพฤติกรรมผสมพันธุ์แบบไม่เลือกหน้าสูงมาก

ในขณะเดียวกัน โลมาอาจเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอัณฑะใหญ่ที่สุด โดยมีน้ำหนักถึง 4% ของน้ำหนักตัว (หรือคิดเป็นน้ำหนักอัณฑะมนุษย์ประมาณ 3 กิโลกรัม หากใช้อัตราส่วนเดียวกัน) แม้ว่าชีวิตทางเพศของโลมาในธรรมชาติจะยากต่อการศึกษา แต่อย่างน้อยโลมากระโดด (spinner dolphins) ก็แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราคาดไว้ นั่นคือพวกมันมีการผสมพันธุ์แบบหมู่ที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า วูซเซิลส์ (wuzzles)

และเนื่องด้วยการสังเกตหลายต่อหลายครั้งจากวิวัฒนาการแบบเบนเข้าหากัน (convergent evolution) เราจึงสามารถค้นพบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันระหว่างขนาดของอัณฑะกับพฤติกรรมทางเพศในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลากหลายชนิด แต่สำหรับมนุษย์เราซึ่งมีขนาดอัณฑะปานกลาง คุณจะตีความอย่างไรก็แล้วแต่คุณเลย!

ทว่า แล้วคางของมนุษย์ล่ะ ?

คางของมนุษย์เป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานเกี่ยวกับจุดประสงค์ของมัน เช่นเดียวกับอัณฑะ

มันมีแนวคิดที่เป็นไปได้หลายข้อที่พยายามอธิบายวิวัฒนาการของคางมนุษย์ โดยบางทฤษฎีเสนอว่าคางอาจวิวัฒนาการขึ้นเพื่อเสริมความแข็งแรงของขากรรไกรสำหรับมนุษย์ยุคหินที่ต้องต่อสู้ ขณะที่บางแนวคิดมองว่าคางอาจวิวัฒนาการขึ้นเพื่อขับเน้นความสง่างามของเคราเพศชาย หรือมันอาจเป็นเพียงผลพลอยได้จากการคิดค้นการปรุงอาหารและอาหารที่มีเนื้อสัมผัสนุ่มนวลลง อันส่งผลให้ขากรรไกรอ่อนแอลง และเหลือไว้เพียงส่วนยื่นของใบหน้าที่ไม่มีหน้าที่อะไรก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งตกค้างจากการที่ขากรรไกรค่อย ๆ อ่อนแอลง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจ คือ เราไม่สามารถพบคางได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น แม้แต่ในลูกพี่ลูกน้องที่ใกล้ชิดสุดของเราอย่างมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล เนื่องจากคางของมนุษย์โฮโมเซเปียนมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะถึงแม้มีคำอธิบายความเป็นไปได้มากมายว่าถึงวิวัฒนาการของมัน แต่ในกรณีนี้กลับไม่มีคำตอบจากวิวัฒนาการแบบเบนเข้าหากันและด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่มีวิธีที่สมเหตุสมผลในการทดสอบสมมุติฐานเหล่านั้น

ดังนั้น บางส่วนของธรรมชาติมนุษย์อาจถูกกำหนดไว้ให้เป็นปริศนาไปตลอด

หมายเหตุ แม็ก เทลฟอร์ด เป็นศาสตราจารย์โจดเรล (Jodrell Professor) ด้านสัตววิทยาและกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London)