
เกิดอะไรขึ้นบ้าง ในการซ้อมรบฮั่นกวงของไต้หวันที่ใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ ?

ที่มาของภาพ : Getty Photos
Article Info
-
- Writer, เทสซา หว่อง
- Role, ผู้สื่อข่าวดิจิทัล ประจำภูมิภาคเอเชีย บีบีซีนิวส์
การซ้อมรบ “ฮั่นกวง” ประจำปีนี้ของไต้หวัน เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา (9 ก.ค.) โดยจะกินเวลาราว 10 วัน ยาวนานราวสองเท่าของการซ้อมรบเมื่อปีที่แล้ว และถือเป็นการซ้อมรบครั้งใหญ่และยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีมา
แม้วัตถุประสงค์หลักคือการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนไต้หวันรับมือกับความเป็นไปได้ในการถูกโจมตีจากจีน แต่การซ้อมรบครั้งนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อแสดงศักยภาพด้านการป้องกันของไต้หวันต่อสาธารณชน และส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงรัฐบาลจีน
จีนอ้างสิทธิเหนือไต้หวันที่ปกครองตนเอง และให้คำมั่นว่าจะ “รวมชาติ” กับไต้หวันในวันหนึ่ง โดยไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลัง ซึ่งแนวโน้มนี้ได้จุดกระแสความกังวลว่าจะเกิดความขัดแย้งในวงกว้างที่อาจดึงให้สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของไต้หวัน เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ฮั่นกวงคืออะไร ?
การซ้อมรบฮั่นกวงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 1984 มีทหารนับพันนายเข้าร่วมในการฝึกซ้อมขนาดใหญ่ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เพื่อแสดงขีดความสามารถของอาวุธยุทโธปกรณ์ล่าสุดของไต้หวัน
แม้ชื่อเต็ม ๆ ในภาษาจีนจะมีความหมายทางเทคนิคว่า “การยึดแผ่นดินใหญ่กลับคืน” ซึ่งสะท้อนถึงเป้าหมายของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนชุดแรกของไต้หวัน แต่เป้าหมายแท้จริงของการซ้อมรบคือการฝึกซ้อมด้านการป้องกันประเทศของไต้หวัน
Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด
Halt of ได้รับความนิยมสูงสุด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จีนจะโจมตีไต้หวันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การซ้อมรบฮั่นกวงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสำคัญยิ่งขึ้น
มีอะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างการซ้อมรบ ?
ปีนี้ ทางการไต้หวันได้จัดการซ้อมรบจำลองสถานการณ์ผ่านการอภิปรายและวางแผนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการซ้อมรบจริงด้วยกระสุนจริง (dwell-fire drills) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ถึง 18 ก.ค.
ในการซ้อมครั้งนี้ จะมีการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์หลากหลายประเภท เช่น เครื่องยิvจรวด โดรน และขีปนาวุธที่พัฒนาโดยไต้หวันเอง รวมถึงระบบยิvจรวดเคลื่อนที่ไฮมาร์ส (Himars) ที่เพิ่งจัดหาจากสหรัฐฯ และเป็นระบบเดียวกับที่สหรัฐฯ ส่งมอบให้ยูเครน โดยมีพิสัยยิvไกลกว่าระบบที่ไต้หวันใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างมาก
การซ้อมรบครั้งนี้จะมีทหารกองหนุนเข้าร่วมประมาณ 22,000 นาย เพิ่มขึ้นราว 50% จากปีที่แล้ว
เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา การซ้อมรบจะไม่มีบทหรือแผนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อทดสอบการตอบสนองของกำลังพลต่อการโจมตีแบบฉับพลัน ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงว่าเป็นแนวทางที่สมควรดำเนินการมานานแล้ว
การเปลี่ยนแปลงนี้ดูเหมือนเป็นการตอบสนองต่อเสียงวิจารณ์ในอดีตที่มองว่าการซ้อมรบที่ผ่านมาเป็นเพียงกิจกรรมประชาสัมพันธ์มากกว่าจะเป็นการฝึกทางทหารจริงจัง
ปีนี้ การซ้อมรบบางส่วนจะเน้นรับมือกับยุทธวิธีสงครามแบบพื้นที่สีเทา (grey zone) ที่จีนใช้กดดันไต้หวันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเครื่องบินรบและเรือรบล้ำเข้าน่านฟ้าและน่านน้ำอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การซ้อมรบฮั่นกวงยังได้รวมองค์ประกอบด้านการป้องกันพลเรือน โดยมีประชาชนทั่วเกาะเข้าร่วมการฝึกอพยพและการรับมือเหตุโจมตีทางอากาศหลายรอบอีกด้วย

ที่มาของภาพ : Getty Photos
ในการฝึก “ความยืดหยุ่นในเขตเมือง” (urban resilience) ของปีนี้ ซึ่งแต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทางการจะส่งสัญญาณเตือนภัยผ่านโทรศัพท์มือถือเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งเปิดเสียงไซเรนเตือนภัยทางอากาศในเขตเมือง
การจราจรบนท้องถนนจะถูกจำกัด ขณะที่ศูนย์คมนาคมขนส่ง ร้านค้า โรงแรม และตลาดต่าง ๆ จะต้องระงับการให้บริการชั่วคราว
ตามรายงาน ระบุว่าทางการยังจะทดสอบความสามารถของสังคมไต้หวันในการรับมือกับข้อมูลเท็จ รวมถึงการแทรกแซงจากกรมงานแนวร่วม (United Front Work Division – UFWD) ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการทดสอบส่วนนี้ในรูปแบบใดโดยเฉพาะ
เหตุใดไต้หวันเพิ่มความเข้มข้นของฮั่นกวง ?
จีนได้เพิ่มความเข้มข้นของ “สงครามพื้นที่สีเทา” (greyzone struggle) และปฏิบัติการข้อมูลบิดเบือน (disinformation) ต่อไต้หวัน ซึ่งผู้สังเกตการณ์บางรายมองว่าเป็นความพยายามในการบั่นทอนความสามารถด้านการป้องกันของไต้หวันอย่างต่อเนื่อง
ทางการสหรัฐฯ ได้เตือนว่าจีนเป็น “ภัยคุกคามอันใกล้” ต่อไต้หวัน โดยอ้างอิงถึงเส้นเสียชีวิตปี 2027 ที่หลายฝ่ายกล่าวหาว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กำหนดไว้เพื่อให้กองทัพจีนมีความพร้อมในการรุกรานไต้หวัน
ทางการจีนไม่เคยยืนยันเส้นเสียชีวิตดังกล่าว แต่สหรัฐฯ ยืนยันว่าจีน “กำลังเตรียมความพร้อมอย่างจริงจังในการใช้กำลังทหาร เพื่อเปลี่ยนดุลอำนาจในภูมิภาคเอเชีย”
ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนตึงเครียดยิ่งขึ้นภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีวิลเลียม ไล จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (Democratic Modern Birthday party) ซึ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว
ประธานาธิบดีไลถูกทางการจีนมองว่าเป็น “พวกแบ่งแยกดินแดน” และได้ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวต่อจีนมากกว่าผู้นำคนก่อน รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารของไต้หวันอย่างจริงจัง
ทำไมฮั่นกวนปีนี้สำคัญเป็นพิเศษ ?
การเปลี่ยนแปลงในการซ้อมรบฮั่นกวงถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างของไต้หวันในการปฏิรูประบบทหารและการป้องกันประเทศ หลังจากที่กองทัพไต้หวันถูกวิจารณ์ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ความเชื่อมั่นของสาธารณชนชาวไต้หวันต่อกองทัพของตนเองยังมีความผันผวน และโดยทั่วไปอยู่ในระดับกลาง ๆ โดยจากผลสำรวจหนึ่งในปีที่ผ่านมา พบว่ามีเพียง 47.5% ที่ระบุว่ามีความเชื่อมั่นในขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศ
ภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งสองสมัย สหรัฐฯ ได้ผลักดันไต้หวันอย่างต่อเนื่องให้เพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศ และปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย
ความพยายามของไต้หวันในการเสริมสร้างการป้องกันตนเองยิ่งทวีขึ้น เมื่อความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นว่าหากจีนเปิดฉากโจมตี ไต้หวันจะสามารถพึ่งพาการแทรกแซงทางทหารจากสหรัฐฯ ภายใต้การนำของทรัมป์ได้หรือไม่
แม้กฎหมายสหรัฐฯ จะกำหนดให้มีพันธะช่วยเหลือไต้หวันในการป้องกันตนเอง แต่ทรัมป์กลับมีท่าทีคลุมเครือในเรื่องนี้ และล่าสุดเขาได้ปฏิเสธให้ความเห็นว่า จะยับยั้งจีนไม่ให้ยึดไต้หวันด้วยกำลังหรือไม่
นอกจากการปรับเปลี่ยนในการซ้อมรบฮั่นกวง ไต้หวันยังได้ดำเนินมาตรการด้านความมั่นคงอื่น ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น การขยายระยะเวลารับราชการทหารภาคบังคับ การพัฒนาเรือดำน้ำและขีปนาวุธของตนเอง และการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการป้องกันพลเรือนและในเมือง
นอกจากนี้ ไต้หวันยังได้ลงทุนในระบบอาวุธขนาดเล็กและเคลื่อนที่ได้มากขึ้น เช่น โดรน และเพิ่มการฝึกทหารในสงครามอสมมาตร (uneven struggle) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่เรียกว่า “ยุทธศาสตร์เม่น” (porcupine formulation) ที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้ไต้หวันเป็น “เป้าหมายที่ยึดยาก” สำหรับผู้รุกราน
ที่มา BBC.co.uk