แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/7ca1 | ดู : 10 ครั้ง
รายจ่ายเพิ่ม-หนี้สาธารณะสูง-เปิดรายงานความเสี่ยงการคลังปี-67-แนะปฏิรูปโครงสร้างรายได้

ครม.รับทราบ ‘รายงานความเสี่ยงการคลังฯ’ ปีงบ 67 พบ ‘ความสามารถจัดเก็บรายได้ต่ำ-รายจ่ายเพิ่ม-‘หนี้สาธารณะ’พุ่งไม่หยุด' คาดปีงบ 72 หนี้ฯต่อจีดีพีแตะ 69.32% แนะรัฐบาลเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างรายได้-ลดรายจ่ายไม่จำเป็น

…………………………………

สำนักข่าวอิศรา . รายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ เมื่อวันที่ 22 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบรายงานความเสี่ยงทางการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2567 ตามที่กระทรวงการคลัง โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง เสนอ ทั้งนี้ รายงานความเสี่ยงทางการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2567 ดังกล่าว มีสาระสำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

ความเสี่ยงด้านรายได้ รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายในปีงบประมาณ 2567 แต่มีปัจจัยกดดันต่อเนื่องไปในปีงบประมาณ 2568 และระยะปานกลาง โดยในปีงบประมาณ 2567 กลุ่มรายได้รัฐบาลที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจสูงขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.16 เมื่อเทียบปีก่อน เนื่องจากผลการจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้รับผลกระทบจากยอดขายรถยนต์และยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดรถยนต์ เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ดี กลุ่มรายได้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และรายได้จากการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินของรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ตามแรงกดดันในการดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันที่ลดลง รวมถึงมีรายได้พิเศษและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติม ส่งผลให้ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2567 ในภาพรวมเป็นไปตามเป้าหมายอยู่ที่ 2,797,679 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.91 จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนรายได้รัฐบาลสุทธิต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ปีปฏิทิน) อยู่ที่ร้อยละ 15.06 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน

สำหรับมุมมองความเสี่ยงในอนาคต คาดว่าอาจมีปัจจัยกดดันต่อเนื่องที่สำคัญจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างตลาดรถยนต์ ผลกระทบจากการบริหารการจัดเก็บรายได้ในปีก่อน รวมไปถึงประมาณการเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงกว่าที่ประมาณการไว้ นอกจากนี้ ความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเมื่อเทียบกับ GDP ในระยะปานกลาง ยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และค่าเฉลี่ยกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Rising Economies)

@ปี 67 ‘รายจ่ายยากต่อการลดทอน’อยู่ที่ 66.11% ของงบรายจ่าย

ความเสี่ยงด้านรายจ่าย ยังคงมีปัจจัยกดดันจากรายจ่ายเพื่อชำระหนี้และภาระผูกพัน และรายจ่ายด้านสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รายจ่ายชำระดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ส่งผลให้ภาพรวมรายจ่ายที่ยากต่อการลดทอนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.40 จากปีงบประมาณ 2566

อย่างไรก็ดี จากวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 13.09 จากปีก่อน ส่งผลให้สัดส่วนรายจ่ายที่ยากต่อการลดทอนในปีงบประมาณ 2567 ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 66.11 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567

สำหรับมุมมองความเสี่ยงในอนาคต พบว่า สัดส่วนรายจ่ายที่ยากต่อการลดทอนในปีงบประมาณ 2568 จะปรับตัวลดลงชั่วคราว เนื่องจากไม่มีรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง รวมถึงรายจ่ายเพื่อชำระคืนยอดคงค้างตามมาตรา 28แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ปรับตัวลดลงชั่วคราว ในขณะที่ในระยะปานกลางสัดส่วนรายจ่ายที่ยากต่อการลดทอน ยังคงมีปัจจัยกดดัน จากรายจ่ายเพื่อชำระหนี้และภาระผูกพันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตามระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาระรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จากการตั้งงบประมาณบางรายการไว้ไม่เพียงพอ

ในขณะที่สัดส่วนรายจ่ายสวัสดิการยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยอาจมีแรงกดดันจากสังคมในการจัดสรรสวัสดิการเพิ่มเติม ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายปรับเพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวและเพิ่มรายการสิทธิประโยชน์ ส่งผลให้งบประมาณที่ต้องจัดสรรให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มสูงขึ้น จากฐานเดิมในปีงบประมาณ 2569เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยบวกส่วนหนึ่งจากรายจ่ายเงินสำรองเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงในปีงบประมาณ 2569 เป็นต้นต้นไป

@ปี 72 หนี้สาธารณะต่อจีดีพี 69.32%-‘ภาคการคลัง‘เปราะบาง’

ความเสี่ยงด้านหนี้ ยังคงมีปัจจัยกดดันจากระดับหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในระดับสูง และความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มเข้าสู่แนวโน้มขาลง

โดยหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนอยู่ที่อยู่ที่ 11,627,853.54 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.20 ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลมีการกู้เงินสุทธิ (หลังหักรายจ่ายชำระเงินต้น) อยู่ที่ 494,260 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.69 ต่อ GDP ลดลงจากปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการพับวงเงินกู้เหลื่อมปี (2566-2567) จำนวน 50,356 ล้านบาท และมีวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลที่มีการลงนามในสัญญากู้ยืมแล้ว แต่ยังไม่มีการเบิกใช้ในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 97,000 ล้านบาท และวงเงินที่ขยายระยะเวลาการกู้ออกไปในปีงบประมาณ 2568 จำนวน 145,000 ล้านบาท

ในส่วนของภาระดอกเบี้ยต่อรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2567 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.59 สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่ปรับตัวลดลง โดยเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยและระดับหนี้คงค้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และความพยายามในการยืดอายุหนี้ของรัฐบาลให้ยาวขึ้น ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลขยายตัวได้ในระดับต่ำ

สำหรับมุมมองความเสี่ยงด้านหนี้ในระยะปานกลางจะมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น โดย (1) ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 69.32 ณ สิ้นปีงบประมาณ 2572 ตามระดับการขาดดุลงบประมาณที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 3.37 ต่อปี สูงกว่าปัจจัยบวกเชิงโครงสร้าง จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ช่วยให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.70 ต่อปี

และ (2) ดัชนีเตือนภัยทางการคลัง ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2569 มีค่าอยู่ที่ 3.36 (จากระดับขีดเตือนภัยที่ค่า 5) ส่งสัญญาณให้รัฐบาลระมัดระวังการดำเนินนโยบายขาดดุลระดับสูงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 14 โดยมีตัวบ่งชี้ที่แสดงค่าผิดปกติ ได้แก่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ รายได้รัฐบาล ดุลการคลัง หนี้รัฐบาล ราคาน้ำมันดิบ และอัตราแลกเปลี่ยน สะท้อนถึงความเปราะบางของภาคการคลัง ทั้งจากฐานะการคลังของรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่อาจยังมีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก รวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและแรงกดดันในการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานที่ยังมีอยู่

อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินภายในประเทศยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่ง ประกอบกับเงินสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง ทำให้มีกันชนรองรับความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศได้ ส่งผลให้หากมีความจำเป็นรัฐบาลยังคงมีสภาพคล่องในการกู้ยืมเงินภายใต้ต้นทุนที่ยอมรับได้

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ภายใต้การติดตามและบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด โดยระดับเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2567 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 514,101 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.70 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเบิกใช้เงินคงคลังสำหรับรายจ่ายที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ตั้งไว้ไม่เพียงพอ รวมทั้งสิ้น 123,541 ล้านบาท (ซึ่งรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในส่วนดังกล่าวในปีงบประมาณ 2559 ต่อไป) และมีการชะลอการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลของปีงบประมาณ 2567 บางส่วนออกไปในปีงบประมาณ 2568

ทั้งนี้ สภาพคล่องในปีงบประมาณ 2568 อาจมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติม (1) หากการจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามประมาณการ โดยรัฐบาลมีกรอบวงเงินกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้รองรับกรณีดังกล่าวได้เพียง 4,920 ล้านบาท รวมถึง (2) อาจมีรายจ่ายที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอและต้องเบิกใช้จากเงินคงคลังในระดับสูง ซึ่งประเด็นความเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวอาจเป็นปัจจัยกดดันต่อการบริหารสภาพคล่องต่อเนื่องไปในอนาคต ที่ควรระมัดระวังและบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด

@‘คลัง’ชงปฏิรูปโครงสร้าง-เพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้ฯ

สำหรับแนวทางในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆดังกล่าวในอนาคต รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการเร่งรัดลดระดับการขาดดุลกลับสู่ระดับปกติ ที่ไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP เพื่อฟื้นฟูพื้นที่การคลังสำหรับรองรับวิกวิกฤตและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยดำเนินการ

(1) ปฏิรูปโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พร้อมทั้งทบทวนมาตรการยกเว้น/ลดหย่อนต่างๆ ให้มีเท่าที่จำเป็น เพื่อให้รัฐบาลยังคงสามารถจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เพียงพอสำหรับรายจ่ายจ่ายที่ยากต่อการลดทอนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยไม่เบียดบังรายจ่ายลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศที่ยังยืนในระยะยาว ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบรายได้รัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าวแล้ว

(2) ปรับลดรายจ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็นลง โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน พร้อมทั้งให้หน่วยงานของรัฐพิจารณานำเงินนอกงบประมาณมาดำเนินภารกิจของหน่วยงานเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่ารักษาพยาบาลของระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของไทย เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางในการลดภาระ หรือเพิ่มประสิทธิภาพค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายด้วยแล้ว และ

(3) ส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณของประชาชนให้มีความครอบคลุมและเพียงพอมากยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคมในระยะยาวต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า มาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 กำหนดให้ภายในเดือน มี.ค.ของทุกปี ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานความเสี่ยงทางการคลังประจำปี ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงผลการประเมินความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของเศรษฐกิจมหภาค ระบบการเงิน นโยบายของรัฐบาลและผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ที่อาจก่อให้เกิดภาระทางการคลังของรัฐบาล และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้น

เมื่อกระทรวงการคลังได้จัดทำรายงานความเสียงทางการคลังประจำปีแล้ว ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ (คณะกรรมการฯ) เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง และเสนอ ครม.เพื่อทราบต่อไป

ที่มา สำนักข่าวอิศรา ( isranews.org )

ผู้เรียบเรียง

ให้คะแนนความพอใจของคุณ :

0 / 5 คะแนน 0

คุณให้คะแนน:

แชร์ลิ้งค์นี้ : https://ด่วน.com/7ca1 | ดู : 10 ครั้ง
  1. –-ยิvสารวัตรกำนันเสียชีวิต-จ.ปัตตานี-–-ตำรวจที่ถูกวางsะเบิด – ยิvสารวัตรกำนันเสียชีวิต จ.ปัตตานี – ตำรวจที่ถูกวางsะเบิด
  2. -อ.กุดจับ-ประเทดอุดรธานี-จงวิเคราะห์-“ผมผิดอะไร-ไม่ได้เปิดเ ✅ อ.กุดจับ ประเทดอุดรธานี จงวิเคราะห์ “ผมผิดอะไร ไม่ได้เปิดเ
  3. 22:04-อุบัติเหตุ-ถนนมอเตอร์เวย์-สาย-7-ขาเข้า-มุ่งหน้าต่างร-|-2025-05-03-15:05:00 22:04 อุบัติเหตุ ถนนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ขาเข้า มุ่งหน้าต่างร 2025-05-03 15:05:00
  4. @proudproud30-ติดหนักมาก-ถนนรามอินทรา-มุ่งหน้าเข้าแยกเมืองมี-|-2025-05-04-13:25:00 @proudproud30 ติดหนักมาก ถนนรามอินทรา มุ่งหน้าเข้าแยกเมืองมี 2025-05-04 13:25:00
  5. วันฉัตรมงคล-4-พฤษภาคม-2568-ทรงพระเจริญ-วันฉัตรมงคล-เป็นวันที วันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2568 ทรงพระเจริญ วันฉัตรมงคล เป็นวันที
  6. ๔-พฤษภาคม-วันฉัตรมงคล-“เราจะสืบสาน-รักษา-และต่อยอด-และครองแผ ๔ พฤษภาคม วันฉัตรมงคล “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ
  7. เอื้องสายครั่งสายสั้น-กล้วยไม้สกุลหวาย-สีสันสุดสะดุดตา-ดอกมี เอื้องสายครั่งสายสั้น กล้วยไม้สกุลหวาย สีสันสุดสะดุดตา ดอกมี
  8. ช่อง8-บุกพิสูจน์ส่องโอ่งน้ำหมักยาสมุนไพร? ช่อง8 บุกพิสูจน์ส่องโอ่งน้ำหมักยาสมุนไพร?
  9. บทสัมภาษณ์พิเศษ-เจาะลึกหนุมานหนึ่งในผู้จบหลักสูตรต่อต้านการก บทสัมภาษณ์พิเศษ เจาะลึกหนุมานหนึ่งในผู้จบหลักสูตรต่อต้านการก
  10. พลท.ภราดร-พัฒนถาบุตร-อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ-ประ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *


Share via
Click to Hide Advanced Floating Content
Send this to a friend