นโยบายภาษีทรัมป์สร้างแรงสะเทือนอย่างหนักต่อจีนมาก่อน แต่ครั้งนี้จีนพร้อมแล้ว
Article knowledge
- Creator, ลอรา บิกเกอร์
- Role, ผู้สื่อข่าวบีบีซี ประจำจีน
เสียงฟู่และลมที่พ่นออกมาทำให้หนังเรียบลื่นขึ้น ประหนึ่งรองเท้าคาวบอยสไตล์อเมริกันแท้ ๆ ในโรงงานแห่งหนึ่งบนชายฝั่งตะวันออกของจีน
จากนั้นกระบวนการก็เริ่มซ้ำกับรองเท้าคู่ถัดไปขณะที่สายการผลิตหมุนไป มีเสียงการเย็บ การตัด และการบัดกรี ดังก้องสะท้อนจากเพดานสูง
“เราเคยขายรองเท้าบูทได้ประมาณล้านคู่ต่อปี” เผิง ผู้จัดการฝ่ายขายวัย forty five ปี ซึ่งไม่ต้องการเปิดเผยชื่อจริงของตน กล่าว
นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งในสมัยที่ 2
การเรียกเก็บภาษีศุลกากรจำนวนมากในช่วงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกของ ทรัมป์ จุดชนวนให้เกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก เวลาผ่านไป 6 ปี ธุรกิจของจีนกำลังเตรียมรับมือกับผลที่ตามมาหลังจากเขาหวนคืนทำเนียบขาวอีกครั้ง
Skip เรื่องแนะนำ and continue studyingเรื่องแนะนำ
Pause of เรื่องแนะนำ
“เราควรดำเนินไปในทิศทางใดในอนาคต” นายเผิงถาม เพราะไม่แน่ใจว่า ทรัมป์ 2.0 จะมีความหมายต่อเขา เพื่อนร่วมงานของเขา และประเทศจีนอย่างไร
การต่อสู้ที่ใกล้เข้ามา
สำหรับตลาดตะวันตกที่ระมัดระวังต่อความทะเยอทะยานของปักกิ่งมากขึ้น การค้าได้กลายเป็นอำนาจต่อรองที่ทรงพลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเศรษฐกิจจีนที่กำลังซบเซาต้องพึ่งพาการส่งออกมากขึ้นเรื่อย ๆ ทรัมป์ กลับมาทำตามสัญญาที่หาเสียงเอาไว้ ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าที่ผลิตในจีน และขู่ว่าจะขึ้นภาษี 10% ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.พ.
นอกจากนี้ เขายังสั่งให้ทบทวนการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาของปักกิ่งเพื่อต่อรองกับวอชิงตัน และตอนนี้ดูเหมือนว่าการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงขึ้น (และภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น) จะมุ่งเป้าไปที่พันธมิตรของสหรัฐฯ เช่น แคนาดาและเม็กซิโก
ทรัมป์ อาจกดปุ่มหยุดการต่อสู้กับปักกิ่งที่กำลังงวดเข้ามา ทว่าหลายคนเชื่อว่ามันจะยังคงเกิดขึ้นอยู่ เป็นเรื่องยากในการหาตัวเลขที่แท้จริงว่ามีธุรกิจมากน้อยแค่ไหนต้องย้ายฐานการผลิตออกจากจีน แต่บริษัทใหญ่ ๆ เช่น ไนกี้ (Nike), อาดิดาส (Adidas) และพูมา (Puma) ได้ย้ายไปยังเวียดนามแล้ว เช่นเดียวกับธุรกิจของจีนด้วย ซึ่งทำให้ห่วงโซ่อุปทานเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ปักกิ่งยังคงเป็นผู้เล่นหลักก็ตาม
นายเผิงกล่าวว่า เจ้านายของเขาซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานได้พิจารณาที่จะย้ายโรงงานผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับบริษัทคู่แข่งอีกหลายราย
วิธีนี้จะช่วยบริษัทได้ แต่บริษัทต้องสูญเสียการจ้างงานพนักงานไป ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่มาจากเมืองหนานทงที่อยู่ใกล้เคียงและทำงานที่นี่มานานกว่า 20 ปีแล้ว
นายเผิง ซึ่งภรรยาเสียชีวิตตั้งแต่ลูกชายยังเล็ก กล่าวว่า โรงงานแห่งนี้เป็นเหมือนครอบครัวของเขามาโดยตลอด “เจ้านายของเราตั้งใจแน่วแน่ที่จะไม่ทอดทิ้งพนักงานเหล่านี้”
เขาตระหนักถึงสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่เขากล่าวว่าเขาและคนงานของเขากำลังพยายามหาเลี้ยงชีพเท่านั้น พวกเขายังคงได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2019 เมื่อ ทรัมป์ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผลิตในจีน เช่น เสื้อผ้า และรองเท้า โดยกำหนดอัตราภาษี อยู่ที่ 15%
ตั้งแต่นั้นมาคำสั่งซื้อก็ลดลง และจำนวนพนักงานที่เคยมีมากกว่า 500 คน ก็ลดลงเหลือเพียง 200 กว่าคนเท่านั้น หลักฐานของเรื่องนี้ก็คือสภาพโรงงานที่ว่างเปล่า ขณะที่ เผิง พาบีบีซีเดินชมที่ทำงานของเขา
คนงานกำลังตัดหนังให้เป็นทรงที่ต้องการเพื่อส่งให้ช่างควบคุมเครื่อง พวกเขาต้องแม่นยำ เพราะถ้าผิดพลาด หนังราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากสหรัฐฯ อาจเสียหายได้
โรงงานกำลังพยายามรักษาต้นทุนให้ต่ำ เนื่องจากลูกค้าชาวอเมริกันบางรายกำลังพิจารณาย้ายธุรกิจออกจากจีน และยังมีภาษีศุลกากรเป็นภัยคุกคามอีก
นั่นหมายถึงการสูญเสียแรงงานที่มีทักษะ: อาจต้องใช้เวลานานถึง 1 สัปดาห์ในการผลิตรองเท้าหนึ่งคู่ ตั้งแต่การทำให้หนังให้เรียบ ขัดเงารองเท้าที่ผลิตเสร็จแล้ว และการบรรจุเพื่อส่งออก
นี่คือสิ่งที่ทำให้จีนกลายเป็นผู้ผลิตชั้นนำของโลก การผลิตซึ่งใช้แรงงานราคาถูกที่มีความชำนาญการ และต้นทุนเหล่านี้ต้องใช้เวลาหลายปีในการสร้างขึ้นมา
“เมื่อก่อนการตรวจสอบสินค้าและจัดส่งสินค้าเป็นวัฏจักรที่ต่อเนื่องกันตลอดเวลา ผมรู้สึกอิ่มเอมใจมาก” เผิง ซึ่งทำงานที่นี่มาตั้งแต่ปี 2015 กล่าว “แต่ตอนนี้คำสั่งซื้อลดลง ทำให้ผมรู้สึกสูญเสียและวิตกกังวลมาก”
ในอดีตรองเท้าคาวบอยถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อพิชิตดินแดนตะวันตกอันป่าเถื่อน แต่ตอนนี้มีการผลิตรองเท้าคาวบอยที่นี่มานานกว่าทศวรรษแล้ว และนี่คือเรื่องราวที่คุ้นเคยในภาคใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าริมแม่น้ำแยงซีที่ผลิตสินค้าแทบทุกอย่าง ตั้งแต่สิ่งทอไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้า
สินค้าเหล่านี้อยู่ในกลุ่มสินค้ามูลค่าหลายร้อยพันล้านดอลลาร์ที่จีนส่งไปยังสหรัฐฯ ในแต่ละปี ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อวอชิงตันกลายมาเป็นพันธมิตรทางการค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน
สถานะดังกล่าวถดถอยลงภายใต้การนำของ ทรัมป์ แต่สถานะคู่ค้ารายใหญ่ก็ไม่ได้รับการฟื้นคืนภายใต้การนำของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงใช้มาตรการภาษีศุลกากรส่วนใหญ่ในยุค ทรัมป์ 1.0 ขณะที่ความสัมพันธ์กับปักกิ่งเริ่มเสื่อมถอยลง
ในความเป็นจริง สหภาพยุโรปก็ได้กำหนดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยกล่าวหาว่าจีนผลิตออกมามากเกินไป ซึ่งการผลิตมักจะได้รับการสนับสนุนจากเงินอุดหนุนของรัฐ ทรัมป์ สะท้อนให้เห็นสิ่งนี้ว่าการปฏิบัติทางการค้าที่ “ไม่เป็นธรรม” ของจีนทำให้คู่แข่งจากต่างประเทศเสียเปรียบ
ปักกิ่งมองว่าวาทกรรมดังกล่าวเป็นความพยายามของชาติตะวันตกที่จะขัดขวางการเติบโตของจีน และเตือนวอชิงตันซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าจะไม่มีผู้ชนะในสงครามการค้า แต่จีนก็กล่าวด้วยว่าพร้อมจะพูดคุยและ “จัดการกับความแตกต่างอย่างเหมาะสม”
ประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งกล่าวถึงภาษีศุลกากรว่าเป็น “อำนาจอันยิ่งใหญ่เพียงหนึ่งเดียว” ของเขาที่มีเหนือจีน ก็ต้องการจะเจรจาอย่างแน่นอน
ยังไม่ชัดเจนว่าเขาต้องการอะไรเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ในช่วงฮันนีมูนของ ทรัมป์ กับจีนในวาระแรกของเขา เขาเดินทางมาปักกิ่งเพื่อขอความช่วยเหลือจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ในการพบกับ คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ครั้งนี้เชื่อกันว่าเขาอาจต้องการการสนับสนุนจากสีเพื่อทำข้อตกลงกับ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เพื่อยุติสงครามในยูเครน ล่าสุดเขากล่าวว่าจีนมี “อำนาจมหาศาลเหนือสถานการณ์นั้น”
ภัยคุกคามจากภาษีนำเข้า 10% เกิดจากความเชื่อที่ว่าจีนกำลัง “ส่งเฟนทานิลไปยังเม็กซิโกและแคนาดา” ดังนั้น จึงสามารถเรียกร้องให้จีนดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อยุติการหลั่งไหลดังกล่าว
หรือเพราะเขาต้องการเข้าร่วมประมูลแข่งขันในติ๊กตอก (TikTok) เขาอาจต้องการเจรจาเรื่องความเป็นเจ้าของของแพลตฟอร์ม หรือเทคโนโลยีล้ำค่าที่เป็นพลังขับเคลื่อนแอปพลิเคชัน เพราะปักกิ่งจำเป็นต้องตกลงในการขายดังกล่าว
ไม่ว่าข้อตกลงจะเป็นอย่างไร มันอาจช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้ อย่างไรก็ตาม หากขาดข้อตกลงดังกล่าว โอกาสของการฮันนีมูนครั้งที่ 2 ก็อาจสิ้นสุดลงทันที และอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ทรัมป์ กับ สี กลายเป็นการเผชิญหน้ากันมากขึ้น
แวดวงธุรกิจเริ่มวิตกกังวลแล้ว โดยผลการสำรวจประจำปีของหอการค้าอเมริกันในจีนแสดงให้เห็นว่านักธุรกิจมากกว่าครึ่งหนึ่งรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจที่อาจเสื่อมถอยลงไปอีก
ท่าทีที่อ่อนลงของ ทรัมป์ ต่อจีนดูเหมือนจะช่วยลดความรู้สึกต่าง ๆ ลงได้บ้าง แต่เขายังคงมีความหวังว่าการขึ้นภาษีศุลกากรจะช่วยกดดันให้ผู้ซื้อหันหลังจากจีนและย้ายฐานการผลิตกลับมายังสหรัฐฯ
ธุรกิจจีนบางส่วนกำลังย้ายไปอยู่จริง ทว่าไม่ได้ไปที่อเมริกา
ย้ายฐาน
หวง เจาตง นักธุรกิจ ได้สร้างโรงงานแห่งใหม่นอกกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เพื่อรองรับคำสั่งซื้อจำนวนมากจากวอลมาร์ท (Walmart) และคอสต์โก (Costco) ห้างค้าปลีกและค้าส่งยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ
นี่เป็นโรงงานแห่งที่ 2 ของเขาในกัมพูชา และพวกเขาร่วมกันผลิตเสื้อผ้าเดือนละ 5 แสนตัว ตั้งแต่เสื้อเชิ้ตไปจนถึงชุดชั้นใน
ไม้แขวนเสื้อที่แขวนกางเกงผ้าฝ้ายเพิ่งผ่านหน้าผู้สื่อข่าวบีบีซีไปบนสายการผลิตอัตโนมัติ เคลื่อนจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งที่กำลังใส่เอวยางยืดและเย็บชายกระโปรง
ตอนนี้ เมื่อลูกค้าชาวอเมริกันที่คาดว่าจะมาซื้อสินค้าถามคำถามแรกที่เขาคาดว่าจะถูกถาม นั่นคือคำถามว่าสำนักงานตั้งอยู่ที่ไหน นายหวงมีคำตอบที่ถูกต้อง ไม่ใช่ที่ประเทศจีน
“ในกรณีของบริษัทจีนบางแห่ง ลูกค้าบอกกับพวกเขาว่า ‘ถ้าคุณไม่ย้ายการผลิตไปยังต่างประเทศ ฉันจะยกเลิกคำสั่งซื้อของคุณ'”
ภาษีศุลกากรทำให้ซัพพลายเออร์และผู้ค้าปลีกต้องตัดสินใจอย่างยากลำบาก แต่ก็ไม่ชัดเจนเสมอไปว่าใครจะเป็นผู้แบกรับต้นทุนทั้งหมด บางครั้งอาจเป็นลูกค้าก็ได้ นายหวงกล่าว
“ยกตัวอย่างวอลมาร์ท ผมขายเสื้อผ้าให้พวกเขาในราคา 5 ดอลลาร์ แต่ปกติแล้วพวกเขาจะขึ้นราคา 3.5 เท่า ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นจากภาษีที่สูงขึ้น ราคาที่ผมขายให้พวกเขาอาจเพิ่มขึ้นเป็น 6 ดอลลาร์ ถ้าพวกเขาขึ้นราคา 3.5 เท่า ราคาขายปลีกก็จะเพิ่มขึ้น”
แต่โดยทั่วไปแล้ว เขาบอกว่าเป็นซัพพลายเออร์ หากสายการผลิตของเขาอยู่ในประเทศจีน เขาประเมินว่าภาษีที่เพิ่มขึ้นมา 10% อาจทำให้เขาจ่ายภาษีเพิ่มอีก 800,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.7 ล้านบาท) จากรายได้ของเขา
“นั่นมากกว่ากำไรที่ผมได้รับ มันมหาศาลและเราไม่สามารถจ่ายไหว หากคุณผลิตเสื้อผ้าในจีนภายใต้เงื่อนไขภาษีศุลกากรเช่นนี้ มันจะไม่ยั่งยืน” เขากล่าว
ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำหนดภาษีนำเข้าสินค้าจีนตั้งแต่ 100% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึง 25% สำหรับเหล็กและอะลูมิเนียม จนถึงขณะนี้ สินค้าขายดีหลายรายการได้รับการยกเว้นภาษี เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทีวีและโทรศัพท์มือถือไอโฟน
แต่ภาษีนำเข้า 10% ที่ทรัมป์เสนออาจส่งผลกระทบต่อราคาของสินค้าทุกชนิดที่ผลิตในจีนและส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งใช้ได้กับสินค้าหลายประเภท ตั้งแต่ของเล่น ถ้วยชา ไปจนถึงแล็ปท็อป
นายหวงกล่าวว่า สิ่งนี้จะกระตุ้นให้โรงงานต่าง ๆ ย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นมากขึ้น โรงงานแห่งใหม่หลายแห่งผุดขึ้นรอบ ๆ โรงงานของเขา และบริษัทจีนจากศูนย์กลางการผลิตสิ่งทอ เช่น มณฑลซานตง เจ้อเจียง เจียงซู และกวางตุ้ง ต่างก็ย้ายเข้ามาเพื่อผลิตแจ็คเก็ตฤดูหนาวและเสื้อผ้าขนสัตว์
รายงานจากกลุ่มรีเสริชแอนด์มาร์เก็ตส์ (Analysis and Markets) ซึ่งเป็นกลุ่มวิเคราะห์และวิจัยเชิงลึก ระบุว่า ปัจจุบันโรงงานผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชาประมาณ 90% ดำเนินการโดยชาวจีนหรือมีเจ้าของเป็นชาวจีน
การลงทุนจากต่างประเทศ ครึ่งหนึ่งของประเทศมาจากจีน โดยถนนและสะพาน 70% สร้างขึ้นด้วยเงินกู้ที่ปักกิ่งให้มา ตามรายงานของสื่อของรัฐบาลจีน
ป้ายตามร้านอาหารและร้านค้าหลายแห่งเป็นภาษาจีนคู่กับภาษากัมพูชาซึ่งเป็นภาษาประจำท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีถนนวงแหวนที่ชื่อว่า สี จิ้นผิง บูเลอวาร์ด (Xi Jinping Boulevard) เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีจีนอีกด้วย
กัมพูชาไม่ใช่ผู้รับผลประโยชน์เพียงรายเดียว จีนได้ลงทุนอย่างหนักในส่วนต่าง ๆ ของโลกภายใต้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของประธานาธิบดีสี ซึ่งเป็นโครงการด้านการค้าและโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มอิทธิพลของปักกิ่งด้วย
นั่นหมายความว่าจีนมีทางเลือก
สื่อของรัฐบาลจีนอ้างว่า ปัจจุบันการนำเข้าและส่งออกของจีนมากกว่าครึ่งหนึ่งมาจากประเทศในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง(Belt and Aspect road Initiative – BRI) โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เคนนี เหยา จากอลิซพาร์ทเนอร์ ผู้ให้คำแนะนำแก่บริษัทจีนเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับภาษีศุลกากร กล่าวว่า สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน
เขาบอกกับบีบีซีว่า ในช่วงวาระแรกของ ทรัมป์ บริษัทจีนหลายแห่งสงสัยถึงภัยคุกคามด้านภาษีศุลกากร ตอนนี้พวกเขาถามว่าเขาจะทำธุรกิจไปตามห่วงโซ่อุปทานและกำหนดภาษีศุลกากรกับประเทศอื่น ๆ หรือไม่
นายเหยากล่าวว่า หากเป็นไปได้ บริษัทจีนควรพิจารณาขยายธุรกิจไปยังพื้นที่อื่น ๆ แทน “ตัวอย่างเช่น แอฟริกาหรือละตินอเมริกา ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากกว่า แต่ก็ควรพิจารณาพื้นที่ที่ยังไม่เคยสำรวจมาก่อน”
ในขณะที่อเมริกาประกาศว่า “อเมริกาต้องมาก่อน” ปักกิ่งก็กำลังพยายามอย่างดีที่สุดที่จะแสดงตนว่าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มั่นคง และมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่จีนทำกำลังได้ผล
จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ขึ้นมาเป็นตัวเลือกอันดับ 1 สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามผลสำรวจของสถาบันวิจัย ISEAS Yusof-Ishak ในสิงคโปร์
แม้ว่าการผลิตจะย้ายไปต่างประเทศแล้ว แต่เงินก็ยังคงไหลมายังประเทศจีน โดย 60% ของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเสื้อผ้าในโรงงานของนายหวงในพนมเปญมาจากประเทศจีน
และการส่งออกก็กำลังเติบโต โดยปักกิ่งลงทุนมากขึ้นในการผลิตสินค้าระดับไฮเอนด์ ตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ เมื่อปีที่แล้ว ดุลการค้าของจีนกับโลกเกินดุลเพิ่มขึ้นเกือบ 6% จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นปีต่อปี โดยทำสถิติสูงสุดที่ 992,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจจีนทั้งในมณฑลเจียงซูและพนมเปญ กำลังเตรียมตัวสำหรับช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนหรืออาจวุ่นวายก็ได้
นายเผิงหวังว่า สหรัฐฯ และจีนจะสามารถหารือกันอย่าง “ฉันมิตรและสงบ” เพื่อให้ภาษีศุลกากร “อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม” และหลีกเลี่ยงสงครามการค้า
“คนอเมริกันยังคงต้องซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้” เขากล่าว ก่อนที่จะขับรถออกไปพบลูกค้ารายใหม่ ๆ
ที่มา BBC.co.uk