“มันมาเยอะเมื่อปีนี้ ไปตรงไหนก็เจอ” สำรวจการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ในทะเลภาคตะวันออก

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

ปลาหมอคางดำที่ชาวประมงหว่านแหได้บริเวณชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี เมื่อ 30 เม.ย. 2568

  • Author, นงนภัส พัฒน์แช่ม
  • Role, ผู้สื่อข่าว.

ตั้งแต่ ก.ค. 2567 กรมประมงออกหลายมาตรการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ทั้งการประกาศรับซื้อ ปล่อยปลานักล่า ดัดแปลงพันธุกรรมให้ปลาเป็นหมัน ฯลฯ หลังพบพวกมันแพร่พันธุ์ในหลายพื้นที่ รวมถึงในบึงมักกะสัน กรุงเทพฯ

ผ่านมาเกือบ 10 เดือน มีรายงานว่าปลาหมอคางดำยังคงแพร่กระจายออกไปในหลายพื้นที่ และพบในทะเลฝั่งอ่าวไทยทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก อาทิในจังหวัด ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ

สัปดาห์ที่ผ่านมา นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวท็อปนิวส์ ว่า สามารถควบคุมการระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศจาก 19 จังหวัด เหลือเพียง 16 จังหวัด โดยมีเพียง 5-6 จังหวัดที่พบการระบาดระดับปานกลาง และไม่พบการระบาดในระดับหนาแน่นแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังมีการเผยแพร่ภาพจากโซเชียลมีเดียอยู่เรื่อย ๆ ว่าพบเห็นพวกมันชุกชุมในหลายพื้นที่

.สำรวจอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี ซึ่งถูกรุกรานด้วยปลาหมอคางดำจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ปกติใกล้ชายฝั่ง และหาคำตอบว่าเหตุใดมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินมาแล้วเกือบ 10 เดือนยังกำจัดพวกมันไม่ได้

Skip ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับความนิยมสูงสุด

Discontinuance of ได้รับความนิยมสูงสุด

ที่ไหน ๆ ก็เจอ ‘ปลาหมอคางดำ'

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

ชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบนในพื้นที่หมู่ 7 ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

ชาวประมงเรือเล็กคนหนึ่งหว่านแหใกล้ชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบนติดกับบ้านของเขา หลังเห็นฝูงปลาหมอคางดำว่ายมาใกล้ ช่วงบ่ายของวันที่ 30 เม.ย. ที่บีบีซีลงพื้นที่ จากการหว่านแหเพียงครั้งเดียว เขาได้ปลาหมอคางดำราว 10-20 ตัว ซึ่งเขาบอกว่าจะใช้พวกมันเป็นอาหารให้สุนัข แมว และปลาเก๋าที่เลี้ยงไว้

เขาปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของพวกมันในพื้นที่ พร้อมบอกให้เราไปคุยกับ “ผู้ใหญ่นิด” น้าชายของเขาซึ่งเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านคนเก่าแก่ในพื้นที่ ขณะที่ชาวประมงในพื้นที่อีก 2 คนที่เราเจอก็บอกว่าพบปลาหมอคางดำเป็นประจำบริเวณท่าเทียบเรือประมงในอ่าวคุ้งกระเบน

ทั้งนี้ จากการสำรวจเพิ่มเติมโดยการวางอวนห่างประมาณ 100 เมตรจากชายฝั่งในอ่าว นอกจากปลาหมอคางดำที่ติดอวนมา ยังพบสัตว์น้ำพื้นถิ่นต่าง ๆ อาทิ ปลาข้างปาน ปลากระบอก ปลาใบขนุน ปลากะล่อน รวมถึงปูหินและปูม้าด้วย

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

กุ้ง ปู ปลากระบอก (ล่างซ้าย) และปลาชนิดอื่น ๆ ที่ส่วนมากเป็นปลาข้างปาน ติดอวนมาพร้อมกับปลาหมอคางดำ เมื่อ 1 พ.ค. 2568

“พบปลาหมอคางดำตั้งแต่ 3-4 ปีที่แล้ว มันเริ่มมีนะ แต่ตอนนี้เริ่มเยอะ” นิด อิ่มสาระพางค์ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เปิดเผยกับ. “มันมาเยอะเมื่อปีนี้ ไปตรงไหนก็เจอ”

เขาบอกว่าเขาติดตามการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่ ในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นกลุ่มประมงในหมู่บ้าน เขาเล่าว่าพบพวกมันในแหล่งน้ำตั้งแต่ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และหลังจากนั้นก็พบว่ามีจำนวนที่ชุกชุมขึ้นเรื่อย ๆ

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

นิด อิ่มสาระพางค์ ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวคุ้งกระเบน หว่านแหเพื่อสำรวจปริมาณปลาหมอคางดำในคลองส่งน้ำที่ใช้สำหรับเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร

นอกจากบริเวณชายฝั่ง เขาพา.สำรวจคลองส่งน้ำที่ใช้สำหรับเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน โดยทดลองหว่านแหลงในคลองหนึ่งครั้ง พบว่าปลาที่ได้เป็นปลาหมอคางดำเกือบทั้งหมด ส่วนปลาชนิดอื่นที่ติดมาด้วยมีเพียง “ปลากะล่อน” ตัวเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัวเท่านั้น

นิดเปิดเผยอีกว่าปลาหมอคางดำเหล่านี้อยู่ในบ่อร้างที่มีอยู่จำนวนมากในพื้นที่ ซึ่งอยู่ในโครงการพระราชดำริที่จัดสรรให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง แต่บางคนก็ไม่ได้ทำต่อ

เขาให้ข้อมูลเสริมด้วยว่า สำหรับเกษตรกรที่ยังเลี้ยงกุ้งอยู่ ตอนนี้ยังไม่ถูกรุกรานจากปลาหมอคางดำ เพราะมีวิธีบริหารจัดการ

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

ภาพเปรียบเทียบปริมาณของปลาหมอคางดำ (ซ้าย) และปลากะล่อน (ขวา) ที่พบจากการหว่านแหในคลองส่งน้ำที่ใช้สำหรับเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรอ่าวคุ้งกระเบน เมื่อ 30 เม.ย. 2568

.สำรวจบ่อกุ้งของเกษตรกรรายอื่น ๆ ส่วนที่ยังประกอบการอยู่ พบว่ามีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือภายในบ่อจะมีกังหันตีน้ำ เหนือน้ำมีการคลุมตาข่ายกันนก และบริเวณท่อที่ส่งน้ำเข้าไปในบ่อจะถูกคลุมทับด้วยอวนตาถี่เพื่อกรองน้ำที่เข้าบ่อ

“ถ้าปลาหมอคางดำเข้ามา กุ้งก็ไม่เหลือ ” ผู้เลี้ยงกุ้งรายหนึ่งบอกกับ. เขาบอกว่าแม้ลำคลองข้างบ่อกุ้งของเขาจะเต็มไปด้วยปลาหมอคางดำ แต่พวกมันไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปในบ่อของเขาได้ เพราะก่อนจะลงกุ้ง เขาได้สูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยงกุ้งของตนเองจนหมด จากนั้นใช้กากชาโรยเพื่อให้ปลาหมอคางดำที่ยังหลงเหลืออยู่เสียชีวิตก่อน แล้วจึงใส่น้ำเข้าบ่อใหม่โดยกรองผ่านอวนตาถี่

เกษตรกรรายนี้เล่าว่า นี่เป็นวิธีการที่ผู้เลี้ยงกุ้งในโครงการใช้เหมือนกันทั้งหมด ซึ่งเขามองว่าเป็นวิธีที่ได้ผลในการป้องกันไม่ให้ปลาหมอคางดำเข้ามากินกุ้งที่เลี้ยงไว้ จึงรู้สึกว่าการแพร่ระบาดของมันยังไม่ได้ส่งผลกระทบกับเขาเท่าใดนัก

ขณะที่ประธานกลุ่มประมงฯ ผู้ซึ่งก็เคยทำบ่อเลี้ยงกุ้ง มองว่าการจะกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเกษตรกร แต่สิ่งที่เป็นโจทย์หนักคือการกำจัดมันในทะเล เพราะไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันในการกำจัดได้ เนื่องจากจะกระทบกับปลาอื่น ๆ ที่เป็นแหล่งรายได้ของชาวประมง

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

บ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรในพื้นที่โครงการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีกังหันตีน้ำและตาข่ายปกคลุม เกษตรกรเล่าว่าใช้อวนตาถี่คลุมท่อที่ส่งน้ำเข้าบ่อเพื่อป้องกันปลาหมอคางดำ

ผลกระทบต่อชาวประมง เมื่อสัตว์ทะเลน้อยลง

อ่าวคุ้งกระเบน เป็นพื้นที่ที่อยู่ในโครงการ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ซึ่งดำเนินโครงการพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนและพื้นที่ใกล้เคียงราว 4,000 ไร่ ใน อ.ท่าใหม่ และ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี โดยมีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำการเกษตร รวมถึงอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรประมง

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา ที่นี่ทำโครงการ “ธนาคารปูม้า” ขยายพันธุ์ปูม้าในอ่าวซึ่งกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญอย่างหนึ่งของชาวประมง แต่หลังปลาหมอคางดำเข้ามา ปริมาณปูม้าก็ลดลง

“เดี๋ยวปลาหมอคางดำไประบาดที่บ้านเรา จะเอามาทำเหยื่อปู” นี่คือความคิดแรกของ นิวัติ ธัญญชาติ อดีตผู้ร่วมดำเนินโครงการธนาคารปูม้ากับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยขณะนี้เขาเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนที่เข้าไปนั่งใน “คณะกรรมการนโยบายและแผนงานแห่งชาติ” ของกรมทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังเป็นผู้ที่เคลื่อนไหวเรื่องปลาหมอคางดำใน จ.จันทบุรี ด้วย

ที่มาของภาพ : Bio Thai

นิวัติ ธัญญชาติ (ซ้ายสุด) เป็นตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำใน จ.จันทบุรี ร่วมเสวนากับตัวแทนเกษตรกรจากจังหวัดอื่น ๆ ที่มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai)

เขาบอก.ว่าเริ่มพบปลาหมอคางดำที่แม่น้ำในพื้นที่ปากน้ำประแสร์ จ.ระยอง ตั้งแต่ปี 2560 โดยที่ไม่รู้ว่าในเวลาต่อมาเมื่อมันแพร่ระบาดในจังหวัดจริง ๆ สัตว์ที่เขาคิดว่าจะใช้เป็นเหยื่อปู จะกลับมากินไข่ปูม้าที่เขาพยายามเพาะพันธุ์ในอ่าวคุ้งกระเบน

“พอ 2562-2563 ลูก ๆ บ้านผู้ใหญ่ก็บ่นว่าปูม้าในอ่าวหมด… ช่วงโควิด ชาวบ้านก็ไม่ค่อยได้จับ แต่ทำไมปูม้ามันหาย ก็คุยกับพี่โต (อดีต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ) ว่าสาเหตุเพราะอะไร หรือน้ำมันร้อน เพราะลูกปูเราก็ปล่อยแบบมหาศาลแล้วนะ เป็นแสน ๆ แม่ปู ระดมปล่อยต่อคืนไม่รู้กี่สิบล้านลูกปู แต่มันไม่เพิ่ม มันมีแต่จะถอย ๆ” เขาย้อนเล่า

“ก็หาสาเหตุจน เอ้า มันมีปลาหมอคางดำมาโผล่ แต่มันตัวใหญ่แล้ว แสดงว่าต้องเป็นมันหรือเปล่า… ก็เลยลองปล่อยปูตอนกลางวันดู ปรากฎว่าลูกมัน (ปลาหมอคางดำ) ตัวเล็ก ๆ แบบนี้ พรึ่บ กิน มันปล่อยออกจากปากเลยนะ เหมือนเอเลียน มันปล่อยลูกออกจากปากแล้วมันก็เฝ้าอยู่… มันกินไข่ปู” นิวัติระบุ

ขณะที่นิดสะท้อนว่านอกจากปูม้าแล้ว ปริมาณปลากระบอก ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจในอ่าวคุ้งกระเบนอีกชนิดหนึ่งก็ลดลงนับจากนั้น ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นเพราะปลาหมอคางดำไปกินไข่หรือตัวอ่อนของพวกมัน ทำให้ชาวประมงเรือเล็กบางส่วนเลิกอาชีพนี้ไป ส่วนคนที่ยังทำต่อก็ต้องหางานเสริมหรือพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ

“ผมว่าถ้าไม่มีการปราบปรามกันจริงจังนะ ในอนาคตไม่เกิน 5 ปี สัตว์ที่ชาวบ้านทำประมงอยู่นี่ ผมว่าจะไม่เหลือ แล้วจะไม่เหลืออะไรเลย ต้องเปลี่ยนอาชีพ การประมงพื้นบ้านเนี่ย ปลาหมอคางดำมันจะครองพื้นที่หมด” ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านผู้นี้สะท้อน

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

ปลาหมอคางดำที่ติดมากับอวนประมงในทะเลอ่าวคุ้งกระเบน (เมื่อ 1 พ.ค. 2568)

‘รับซื้อไม่ต่อเนื่อง – เงื่อนไขไม่คุ้มเหนื่อย'

ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2567 กรมประมงออกประกาศ รับซื้อปลาหมอคางดำจากแพปลาในพื้นที่ 11 จังหวัด รวมถึงจันทบุรี ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท เพื่อนำไปผลิตน้ำหมักชีวภาพ หลัง ครม. เห็นชอบแผนการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567-2570 ของกรมประมง

นิดเล่าว่าขณะนั้นชาวบ้านก็แข็งขันกันจับปลาหมอคางดำส่งให้กับผู้ค้าคนกลาง ซึ่งรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 15 บาท และขายต่อให้กับรัฐในราคา 20 บาท

อย่างไรก็ตาม กระบวนการเหล่านี้มีอายุอยู่ไม่ถึงสองสัปดาห์ หลังจากนั้นก็ไม่มีผู้ค้าคนกลางเข้ามารับซื้อปลาหมอคางดำจากชาวประมงอีกเลย ซึ่งเขามองว่าเป็นเพราะผู้ค้าคนกลางเผชิญกับเงื่อนไขมากมายที่ไม่คุ้มกับค่าเหนื่อย อาทิ ต้องสำรองจ่ายให้กับชาวประมงไปก่อน แล้วอีก 15 วันถึงจะเบิกเงินจากประมงอำเภอได้ รวมถึงจุดรับซื้อที่อยู่ต่างอำเภอทำให้เงินที่จะได้รับไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

“สมมุติว่าเขาได้ซัก 200 กิโลไปส่ง ได้เงินประมาณ 1,000 บาท (จากส่วนต่างกิโลกรัมละ 5 บาท) เขาไม่เหลืออะไรหรอก หักค่าน้ำมันไปกลับ 300 บาท บวกลบง่าย ๆ นะ ค่าคนงานหนึ่งคนก็ต้องให้เขา ตีไปวันนึง 300 แล้ว ต้องมีคนงานช่วยยกช่วยขนถ่าย ไป 600 แล้ว ค่าน้ำแข็งอีก 200 ต้องซื้อน้ำแข็งมาดอง ก็ไป 800 แล้ว เขาเหลืออีก 200 บาท เขากินข้าวอีกจานนึง 50 บาท คาราบาวด้วย 60 บาท แล้ว ถ้าสูบบุหรี่ก็อีก 70 บาท เข้าเนื้อแล้ว” นิดอธิบาย

ด้าน สมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ ประมงจังหวัดจันทบุรี ยอมรับกับ.ว่า การรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ไม่ต่อเนื่องจริง โดยที่ผ่านมามีการรับซื้อ 3 ครั้ง ทั้งหมดเกิดขึ้นเพียง 1-2 เดือนในช่วงปีงบประมาณ 2567 ส่วนหลายเดือนที่หายไปเพราะรองบประมาณ ซึ่งเพิ่งได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีมา 98 ล้านบาท ทำให้เปิดรับซื้อรอบที่ 4 ได้

อย่างไรก็ตาม สมพรมองว่าอีกปัจจัยหนึ่งอยู่ที่ความร่วมมือของคนในพื้นที่ด้วย เพราะในการประกาศรับซื้อทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา บางอำเภอก็ไม่มีผู้มาลงทะเบียนจะรับซื้อจากชาวประมงเลย ส่วนกระแสที่ว่ารับซื้อแล้วต้องเดินทางไกลในการไปขายให้รัฐนั้น หากเอกชนช่วยกันรับซื้อไปใช้ประโยชน์ด้วยก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะในหลายชุมชนก็มีโครงการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งสามารถนำปลาหมอคางดำไปใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้ว

“ครั้งที่ 4 นี้พูดกันง่าย ๆ ว่าเราอ้อนวอนนะ ให้มีคนรับซื้อ เพราะมันมีกระแสที่บอกว่า อำเภอท่าใหม่ จะไปขายอำเภอนายายอาม มันไกล ผมถึงบอกว่าทำไมล่ะ คนในพื้นที่ไม่ช่วยกัน” สมพรกล่าวเชิงตัดพ้อกับ.

ประมงจังหวัดจันทบุรีผู้นี้ยังชี้แจงกรณีที่ผู้ค้าคนกลางอาจได้กำไรไม่คุ้มทุนด้วยว่า “รอบ 2 รอบ 3 เขาไม่ repair (กำหนด) เลยนะว่าคุณจะต้องรับซื้อกิโลละ 15 บาท ผู้รวบรวมซื้อกิโลละกี่บาทก็ได้ แต่ราชการจ่ายให้ 20 บาท เพราะฉะนั้นคุณจะซื้อ 10 บาทก็ได้ แต่กระแสที่บอกว่าทำไมถึงไม่ค่อยมีคนมาซื้อ คนจับมาขาย เพราะเขาบอกว่าเขาไปทำประมงอย่างอื่นได้เงินมากกว่าไปจับปลาหมอคางดำ”

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

ท่าเทียบเรือประมงภายในอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นจุดที่ชาวประมงบอกว่ามักพบปลาหมอคางดำชุกชุม

8 พ.ค. – 30 ก.ย. 2568 คือกำหนดการรับซื้อปลาหมอคางดำรอบล่าสุดของกรมประมง (รอบที่ 4 ใน จ.จันทบุรี) ที่ประกาศเงื่อนไขออกมาแล้วว่า รัฐจะใช้งบประมาณในการรับซื้อ 20 บาท/กิโลกรัม โดยจ่ายให้กับชาวประมงหรือผู้จับปลามาขาย 15 บาท/กิโลกรัม และจ่ายให้กับผู้รวบรวมหรือแพปลาที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการรวบรวม 5 บาท/กิโลกรัม โดยมี 40 จุดรับซื้อกระจายอยู่ใน 14 จังหวัด

“เขาเจ้าหน้าที่ประมงก็มาบอกให้ผมช่วยหาแม่ค้าคนกลางให้” ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวคุ้งกระเบนบอกกับ. “ผมก็บอกไปว่าผมหาไม่ได้หรอก ถ้าเงื่อนไขแบบเดิม”

นิดเชื่อว่าหากมีการเพิ่มราคาในการรับซื้อปลาหมอคางดำให้คุ้มค่าเหนื่อยของผู้ค้าคนกลางและชาวประมง เช่น อาจเพิ่มเป็น 25 บาท/กิโลกรัม ให้ผู้ค้าคนกลางได้กำไรเพิ่มขึ้น หรืออาจแบ่งส่วนต่างให้ชาวประมงด้วย และทำอย่างต่อเนื่อง การจะระดมจับปลาหมอคางดำให้เหลือน้อยจนไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้น ไม่เกินความสามารถของชาวประมงในพื้นที่

ทว่าประมงจังหวัดจันทบุรีก็ตั้งคำถามเรื่องงบประมาณว่า “ส่วนหนึ่งว่าราคาไม่จูงใจ แต่ผมถามว่าจะต้องเอางบประมาณมาเท่าไหร่ เพื่อจะซื้อกิโล 50-100 บาท”

ปล่อยปลานักล่าได้ผลแค่ไหน ?

ที่มาของภาพ : Nongnapat Patcham/BBC Thai

ปลากะพงที่มีการแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในโครงการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ สามารถกินปลาหมอคางดำที่ตัวเล็กกว่าได้

ตั้งแต่ ก.ค. 2567 ที่กรมประมงเริ่มปล่อยปลานักล่า อาทิ ปลากะพงขาว และปลาอีกง ในพื้นที่แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในหลายจังหวัดนั้น ที่จันทบุรีนอกจากจะมีการแจกปลากะพงขาวให้กับเกษตรกรไปปล่อยในบ่อที่พบปลาหมอคางดำแล้ว ผู้นำกลุ่มประมงฯ เล่าว่าที่อ่าวคุ้งกระเบนก็มีการนำปลากะพงราว 70,000 ตัวมาปล่อยเช่นกัน โดยส่วนหนึ่งเป็นปลาที่เอกชนในพื้นที่สนับสนุนด้วย

อย่างไรก็ตาม เขามองว่ามาตรการนี้ไม่ได้ผลมากนัก เพราะธรรมชาติของปลาหมอคางดำมักอยู่บริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ขณะที่ปลากะพงมักอยู่บริเวณน้ำลึก ทำให้พวกมันแทบไม่ได้เจอกัน มีเพียงบางจุด เช่นใต้สะพานท่าเทียบเรือประมงที่ปลาทั้งสองชนิดอยู่บริเวณเดียวกัน เพราะมีร่มเงาบังจากแดด ซึ่งเขาก็เคยเห็นปลากะพงว่ายไล่กินปลาหมอคางดำบริเวณนั้น แต่ก็เป็นเพียงจุดเดียวเท่านั้น

ขณะที่ประมงจังหวัดจันทบุรี อธิบายกับ.ว่า การปล่อยปลากะพงในพื้นที่นั้น เจตนาเพื่อปล่อยเป็น “พื้นที่กันชน” จำกัดวงไม่ให้ปลาหมอคางดำแพร่กระจายออกไปยังอำเภออื่น เพราะในพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนก็มี “ปลาผู้ล่า” ชนิดอื่น ๆ อยู่ ซึ่งผลการสำรวจของกรมประมงพบว่าภายในอ่าวยังมีความหลากหลายชีวภาพ มีปลาอยู่ 11 ชนิด ซึ่งมีจำนวนมากกว่าปลาหมอคางดำ

กรมประมงยืนยันปลาหมอคางดำระบาดน้อยลง

เมื่อไม่นานมานี้ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวท็อปนิวส์ ว่า สามารถควบคุมการระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศจาก 19 จังหวัด เหลือเพียง 16 จังหวัด โดยมีเพียง 5-6 จังหวัดที่พบการระบาดระดับปานกลาง และไม่พบการระบาดในระดับหนาแน่นแล้ว

ขณะที่ข้อมูลจากประมงจังหวัดจันทบุรี บอกว่าการระบาดในจังหวัดมีอยู่เพียง 2 อำเภอ คือ อ.ท่าใหม่ และ อ.นายายอาม ซึ่งเชื่อมต่อกับจังหวัดระยอง โดยจากการสำรวจโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่แบ่งโซนสำรวจกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจันทบุรี พบว่าปลาหมอคางดำมีความชุกชุมลดลงนับตั้งแต่ที่รัฐออกมาตรการต่าง ๆ

โดยผลสำรวจเมื่อเดือน ก.ค. 2567 พบความชุกชุมของปลาหมอคางดำภายในจังหวัดอยู่ที่ 185 ตัว/100 ตำรวจม. ขณะที่ผลสำรวจล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. 2568 พบว่าเหลือเพียง 17 ตัว/100 ตำรวจม.

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวกองทัพอากาศ) สำรวจความชุกชุมของปลาหมอคางดำเมื่อ 29 เม.ย. – 1 พ.ค. 2568 พบว่าเฉพาะในพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนพบ 28 ตัว ซึ่งคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 74.27 ตัว/100 ตำรวจม.

เฟซบุ๊กของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังโพสต์ข้อมูลการสำรวจการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำในทะเลจังหวัดต่าง ๆ ช่วงเดือน มี.ค. – พ.ค. 2568 พบหลายจังหวัด อาทิ ระยอง สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร มีปลาหมอคางดำในทะเล แต่ปริมาณที่พบเท่าที่มีการเปิดเผย ยังไม่ชุกชุมเท่ากับในอ่าวคุ้งกระเบน

ขณะที่ในลำคลองธรรมชาติ โซเชียลมีเดียเผยแพร่วิดีโอฝูงปลาหมอคางดำ ว่าพบไปถึง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช แล้ว

ข้าม Facebook โพสต์ ยินยอมรับเนื้อหาจาก Facebook

บทความนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจาก Facebook เราขอความยินยอมจากคุณก่อนใช้คุกกี้ หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บันทึกอะไรลงไป คุณอาจต้องอ่านนโยบายคุกกี้ของ Facebook และนโยบายความเป็นส่วนตัวของ Facebook ก่อนให้ความยินยอม หากต้องการอ่านเนื้อหานี้ โปรดเลือก “ยินยอมและไปต่อ”

สิ้นสุด Facebook โพสต์

กำจัดปลาหมอคางดำ หน้าที่ใคร ?

นับจนถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 10 เดือนแล้วที่กรมประมงออก 5 มาตรการในการกำจัดปลาหมอคางดำ ปัญหาสำคัญที่คนในพื้นที่สะท้อน คือมาตรการเหล่านั้นไม่ต่อเนื่อง และบางแนวคิดก็ยังไม่เห็นผลในทางปฏิบัติ เช่น แนวคิดการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ปลาเป็นหมัน

“ต้องวางมาตรการให้เด็ดขาดหน่อย” ประธานกลุ่มประมงฯ ระบุ เขามองว่ายังไม่เห็นเจ้าภาพที่ชัดเจนในกำจัดปลาหมอคางดำอย่างจริงจังและต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งที่บางพื้นที่ เช่นในบ่อร้างต่าง ๆ ที่ไม่ได้เลี้ยงกุ้งแล้วนั้น การกำจัดพวกมันให้หมดไปไม่ใช่เรื่องยาก แต่ทุกวันนี้กลับขึ้นอยู่กับเจ้าของบ่อแต่ละบ่อเองว่าจะทำอย่างไรกับพวกมัน

“เขาก็ไม่ได้ทำลายปลาหมอคางดำนะ ส่วนหนึ่งเขาก็เอาไปทำเหยื่อปูได้ เอาไปทำเหยื่อปลากะพงได้ เขาก็เก็บของเขาไว้อย่างนี้ โดยที่ไม่ได้เลี้ยงนะ ธรรมชาติ ไม่ได้ให้อาหาร” นิดบอกกับ. “แต่ถ้าจะกำจัดจริง ๆ เขาก็ยินดีร่วมมือ”

“คือคนที่อยู่ในโครงการพระราชดำรินะครับ ถ้าลองไปถามจริง ๆ เขามีความสนใจมากน้อยแค่ไหนในการกำจัด” ประมงจังหวัดจันทบุรีตั้งคำถาม “เพราะผมลงไปทำสองรอบ เรียกคุยด้วยซ้ำไป ต้องยอมรับนะครับว่า บางครั้งเกษตรกรก็รอขอความช่วยเหลืออย่างเดียว ให้รัฐทำให้หมด”

ประมงจังหวัดจันทบุรีผู้นี้บอกกับ.ด้วยว่า จากที่เขาเคยไปทำกิจกรรม “ลงแขก ลงคลอง” ช่วยกันล่าปลาหมอคางดำกับชาวบ้าน ทั้งที่ตอนแรกตกลงกันดีว่าจะให้ “ทีมผู้ล่า” เข้าไปล่า แต่เมื่อรู้ว่าปลาขายได้กิโลกรัมละ 15 บาท เจ้าของบ่อก็อยากจะเก็บปลาไว้เอง

“หลายท่านนี่พูดว่าจะต้องกำจัดให้เป็นศูนย์ ผมว่าอะไรก็แล้วแต่ที่อยู่ในธรรมชาติ คุณไม่สามารถกำจัดให้เป็นศูนย์ได้” สมพรระบุ เขามองว่าหากเอกชนช่วยกันเอาปลาหมอคางดำไปใช้ประโยชน์ เช่น เอาไปรังสรรค์เป็นเมนูต่าง ๆ ทำน้ำหมักชีวภาพ หรือเอาเนื้อไปขายให้ผู้เลี้ยงปูทะเล ก็จะช่วยควบคุมปริมาณของพวกมันได้

“จะให้ภาครัฐดำเนินการอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชนหรือภาคชาวประมงนี่ ผมเข้าใจว่าการแก้ปัญหานะ ถ้าไม่บูรณาการร่วมกันโอกาสสำเร็จยาก” เขาระบุ

ที่มาของภาพ : Thai Records Pix

เครือข่ายประชาชน 19 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ นำปลาหมอคางดำราว 2 ตันไปเทที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเน้นย้ำข้อเรียกร้อง เมื่อ 18 มี.ค. 2568

ย้อนไปเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2568 เครือข่ายประชาชน 19 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ รวมตัวเคลื่อนไหวโดยนำปลาหมอคางดำ 2 ตันไปเทที่หน้าทำเนียบรัฐบาล หลังข้อเรียกร้องที่เครือข่ายยื่นถึงรัฐบาลเมื่อ 13 ม.ค. ไม่ได้รับการตอบสนอง

ข้อเรียกร้องดังกล่าวมี 4 ข้อ คือ

  • ขอให้ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบหาผู้กระทำความผิด
  • กำจัดปลาหมอคางดำให้หมดภายใน 1 ปี และเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศ
  • ประกาศเขตภัยพิบัติทันที
  • ให้หน่วยงานรัฐฟ้องผู้กระทำความผิดมาชดใช้เยียวยา

ต่อมา 27 มี.ค. 2568 เครือข่ายฯ จัดเสวนาโดยมีตัวแทนเกษตรกรจากจังหวัดต่าง ๆ อาทิ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ จันทบุรี ร่วมพูดคุยถึงการดำเนินการกำจัดปลาหมอคางดำ ว่าที่ผ่านมาไม่ได้ผลเพราะขาดความเอาจริงเอาจังและการรับฟังข้อเสนอของเกษตรกร โดยพวกเขาเน้นย้ำข้อเรียกร้องเดิมอีกครั้ง พร้อมบอกว่าจะยกระดับการเคลื่อนไหวหากยังไม่ได้รับการตอบสนอง

ที่มาของภาพ : Bio Thai

เครือข่ายประชาชน 19 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ ระบุว่าพวกเขาจะยกระดับการเคลื่อนไหวหากยังไม่ได้รับการตอบสนองตามข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อ (เมื่อ 27 มี.ค. 2568)

นิวัติ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเครือข่ายที่ออกมาเคลื่อนไหว บอกว่าหลังจากการไปเทปลาหน้าทำเนียบฯ และ สส.พรรคประชาชนนำไปอภิปรายในสภา มีเพียงการตั้งงบประมาณมา 98 ล้านบาทเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำ แต่ยังไม่เห็นรายละเอียดวิธีการกำจัดที่ชัดเจน รวมถึงหน้าตาของคณะทำงานที่จะเข้ามาบริหารการใช้งบประมาณเหล่านี้ ซึ่งมีความสำคัญ เพราะหากไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ก็อาจทำให้กำจัดพวกมันไม่ถูกจุด

นอกจากนี้ เขายังมองว่างบประมาณที่ใช้กำจัดปลาหมอคางดำไม่ควรมาจากภาษีของประชาชน แต่กรมประมงควรฟ้องเอาจากผู้ที่ทำให้ปลาหมอคางดำระบาด

“ถ้าปลาหมอคางดำหมดแล้วเนี่ย คุณก็ต้องไปดำเนินคดีกับคนที่ทำให้ระบาด แล้วก็เอาเงินกับภาษีกลับมาคืนรัฐให้ได้” นิวัติย้ำ

ก่อนหน้านี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CFP ถูกตั้งคำถามว่าเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในไทยหรือไม่ เพราะเคยขอนำเข้าปลาหมอคางดำเมื่อปี 2549 ก่อนที่ปี 2555 จะเริ่มพบการแพร่ระบาดของพวกมันในแหล่งน้ำใน ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ตำบลเดียวกันกับที่ศูนย์ทดลองของ CPF ตั้งอยู่ ซึ่งที่ผ่านมา CPF ปฏิเสธมาโดยตลอด โดยระบุว่าปลาหมอคางดำที่นำเข้ามาเสียชีวิตหมดแล้ว

สำนักข่าว “ไทยพีบีเอส” รายงานว่า CPF ได้ฟ้องหมิ่นประมาท นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) ที่มักออกมาตั้งคำถามและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ แต่ในขณะเดียวกัน CPF เองก็ถูกกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบในบางพื้นที่ อาทิ จ.สมุทรสงคราม ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดรายได้เพราะปลาหมอคางดำเช่นกัน

ขณะที่ความเคลื่อนไหวจากภาครัฐยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่าปลาหมอคางดำซึ่งเป็น “เอเลียนสปีชีส์” นี้ เข้ามาแพร่ระบาดในไทยได้อย่างไร และใครต้องรับผิดชอบกับการแพร่ระบาดของพวกมันจนสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล แม้การวิเคราะห์จากกรมประมงเอง จะเคยพบว่าปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดในประเทศไทยมีแหล่งที่มาร่วมกัน และการแพร่กระจายของพวกมันไปยังจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ห่างออกไปน่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ มากกว่าจะเป็นไปตามธรรมชาติ